สาเหตุเกิดจากเชื้อฟัยท๊อฟเธอร่าเข้าทำลายใบ กิ่ง ลำต้น ดอก ผล และราก ซึ่งจะอาศัยอยู่ในดิน แพร่ระบาดได้ทั้งในน้ำและอากาศ ซึ่งจะมีอาการตามจุดที่พบเข้าทำลาย
- ใบ กิ่งอ่อน จะมีอาการเน่า ใบอ่อนเหี่ยวเหลือง มีจุดแผลสีน้ำตาลอ่อนฉ่ำน้ำ แล้วเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลดำ เส้นใบมีสีน้ำตาลดำ
- กิ่ง ลำต้น และโคนต้น มีจุดฉ่ำน้ำสีน้ำตาล และมีน้ำเยิ้มออกมาในช่วงเช้า เมื่อถากเปลือกจะพบว่าเปลือกเน่า เนื้อไม้เป็นสีน้ำตาล ส่วนที่เน่ามีกลิ่นหืน แผลเน่าจะลุกลามรวดเร็ว #มักพบโรคร่วมกับการเข้าทำลายของมอดเจาะลำต้นทุเรียน_และจะระบาดในช่วงฤดูฝนที่มีฝนตกชุกติดต่อกัน
วิธีควบคุมกำจัดแบบผสมผสาน
1.การตัดแต่งกิ่งให้โปร่ง ให้อากาศถ่ายเทสะดวก และนำส่วนที่เป็นโรคไปเผาทำลายนอกแปลง
2.เลี้ยงไตรโคเดอร์ม่าศัตรูโรคในธรรมชาติของฟัยท๊อฟเธอร่าในดิน ปรับกรดด่างของดินให้อยู่ที่ 6.5 นำไตรโคเดอร์ม่ามาขยายเชื้อในปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก หรือมูลไส้เดือน สัดส่วน 1 กิโลกรัม ต่อปุ๋ย 50 กิโลกรัม จากนั้นนำไปหว่านให้ทั่วรวบๆใต้ทรงพุ่ม อัตรา 50-100 กรัมต่อตารางเมตร
3.กรณีพบอาการเล็กน้อยให้ขูดผิวเปลือกส่วนที่เป็นโรคออกแล้วทาแผลด้วยปูนแดง
4.หากอาการเริ่มรุนแรงให้ขูดผิวเปลือกบริเวณแผล ออก แล้วทาด้วยเมทาแลกซิล35% อัตรา 50-60 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร ในกรณีที่พบอาการรุนแรงเกิดที่รากหรือตำแหน่งที่สูงขึ้นไปให้นำไทแรม 50 กรัม ผสมน้ำ 20 ลิตร ขุดดินเปิดโคนต้นบริเวณที่เป็นโรคแล้วราดรดทุกๆ 7 วันครั้ง 2-3 รอบ หรือนำไทแรม 30 กรัม ผสมกับทีบูโคนาโซล 10 ซีซี.ต่อน้ำกลั่น 1ลิตร คนให้เข้ากันแล้วใส่กระบอกฉีดยา นำไปฉีดอัดเข้าส่วนที่เป็นโรค
ฟัยท๊อฟเธอร่ามักพบระบาดในดินที่มีความชื้นสูง อากาศชื้นมีฝนตก จึงควรป้องกันตั้งแต่เริ่มสร้างสวนทุเรียน เลือกพื้นที่ปลูกที่ระบายน้ำได้ดี ตัดแต่งกิ่งให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก แสงแดดส่องได้ทั่วถึง หรือพูนดินที่โคนต้นทุเรียนเป็นหลังเต่าเพื่อป้องกันไม่ให้น้ำขังแฉะบริเวณโคนต้น
* ปลูกพืชแล้วมีปัญหาปรึกษาเรา_0862823215