แอนแทคโนสในมะละกอ ถือว่าเป็นภัยเงียบของมะละกอก็ว่าได้ สังเกตได้ยาก แต่ร้ายไม่เบา กว่าจะรู้ตัว ผลผลิตก็เสียหายไปซะแล้ว
วิธีสังเกตอาการของโรค เริ่มต้นจากใบ จะเป็นจุดขอบแผลสีน้ำตาล เนื้อเยื่อส่วนกลางจะมีสีซีดจาง หรือขาดเป็นรู และมักพบจุดดำเล็กๆ กระจายทั่วบริเวณแผล ใบ จะเป็นจุดขอบแผลสีน้ำตาล
ซึ่งเชื้อราจะแพร่กระจายจากแหล่งเพาะเชื้อไปตามผล กิ่งก้านใบที่เป็นโรค โดยอาศัยลม ฝน แล้วเข้าทำลายผลอ่อน โดยสปอร์ของเชื้อจะงอก แทงเข้าสู่ผิวผลได้โดยไม่ต้องมีบาดแผลเกิดขึ้น จากนั้นเจริญฟักตัวอยู่ในเนื้อเยื่อใต้ผิวเปลือกผล จนผลเริ่มสุกจึงจะแสดงอาการของโรคออกมา ผลมีลักษณะแผลกลมฉ่ำน้ำ แล้วยุบลงไปในผล ตรงกลางจุดจะมีสปอร์สีส้มหรือชมพูขึ้นเป็นวงฟูเป็นชั้นๆบริเวณแผล และลุกลามขยายวงกว้าง ส่งผลทำให้ผลเน่าเสียเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
ป้องกันกำจัดโรค
1.เก็บทำลายใบแห้งที่ร่วงหล่น โดยเผาทำลาย เพื่อตัดต้นตอของการระบาดของเชื้อโรค
....
2.มะละกอที่ปลูกเพื่อขายผลสุก ควรจะฉีดพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อราจำพวกคาเบนดาซิม แมนโคเซฟ หรือไวมิกซ์เซอร์ ทุกๆ 14-20วัน ตั้งแต่ระยะแทงช่อดอก หรือเริ่มติดผล โดยเฉพาะช่วงที่อากาศอบอ้าวและความชื้นสูง
....
3.จุ่มผลมะละกอในน้ำร้อนที่อุณหภูมิ 48องศาเซลเซียส นาน 20นาที แล้วลดอุณหภูมิให้เย็นลงหลังจุ่มในน้ำร้อน จะช่วยลดปัญหาการเกิดโรคนี้ในผลสุก
....
4.หรือรับมือด้วยไตรโคเดอร์ม่า ไตรโคซิลลัส(ไตรโคฯ+บาซิลลัส) หรือจุลินทรีย์เฟิร์สวัน(ไตรโคฯ+บาซิลลัส+กลิโอคลาเดียม+สเต็ปโตมิค) ผสมร่วมกับปุ๋ยคอก,ปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยอินทรีย์ แล้วหว่านลงดินเป็นประจำ อย่างน้อยปีละ 2-3ครั้ง หรือผสมน้ำฉีดพ่นให้ทั่วต้นพืช และฉีดพ่นลงดินรอบโคนต้น เพื่อป้องกันกำจัดเชื้อราสาเหตุโรคพืชที่อยู่ในดิน ซึ่งเชื้อดังกล่าวสามารถควบคุมเชื้อราสาเหตุโรคพืชได้หลายชนิด
***ที่สำคัญปลอดภัยต่อผู้ใช้และผู้บริโภค เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
..... ...... .....