ค้นหาสินค้า

วิธีขยายจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง

วิธีการเพาะขยายเชื้อจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง    
ไว้ใช้ในครัวเรือนอย่างไม่รู้จบ    
   
บริษัท สวนพัชรา จำกัด สำนักงานใหญ่เลขที่ 103 หมู่ที่ 3 ตำบลนากลาง อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา 30380 ประกอบกิจการสวนเกษตรอินทรีย์ 100 % ไม่ใช้สารเคมีใด ๆ ที่เป็นอันตรายต่อคนและสิ่งแวดล้อม ใช้ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมักจากเศษหญ้า ฟาง วัชพืช น้ำหมักชีวภาพ จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง EM ตะวันทิพย์ น้ำหมักหน่อกล้วย ฮอร์โมนปลีกล้วย จุลินทรีย์จาวปลวก จุลินทรีย์ขุยไผ่ จุลินทรีย์ไตรโคเดอร์ม่า เท่านั้น    
   
การกำจัดศัตรูพืช ใช้วิธีการทางธรรมชาติ คือ ยาเส้นต้มเดือด รอจนเย็นแล้วกรองเอาไปฉีดพ่นไล่แมลง ปั่นข่า พริกขี้หนู หมักจุลินทรีย์ EM ตะวันทิพย์ แล้วกรองเอาน้ำไปฉีดไล่แมลง ใช้จุลินทรีย์ไตรโคเดอร์ม่า ฉีดรดโคนต้น ใบพืช สัปดาห์ละ 1 ครั้ง ฯลฯ    
   
สินค้าของบริษัท สวนพัชรา จำกัด ที่วางตลาดในปัจจุบันแล้ว ได้แก่ จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง แป้งกล้วยน้ำว้า กล้วยตาก 100 % ฮอร์โมนปลีกล้วย    
   
#ประโยชน์ของจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง    
   
#ประโยชน์ต่อดิน    
?    ตรึงไนโตรเจนในดินอันเป็นแร่ธาตุหลักให้พืชนำไปใช้ทำให้พืชมีใบสีเขียวขึ้น    
?    ย่อยสลายแร่ธาตุในดินได้หลากหลายขึ้น พืชจึงสมบูรณ์ แข็งแรง ทนทาน    
?    ย่อยสลายเศษพืชในนาข้าวให้เป็นปุ๋ย และปรับสภาพให้เหมาะแก่การทำนา    
?    เพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดินทำให้ดินร่วนซุย เหมาะสำหรับปลูกพืช และเป็นที่อยู่อาศัยของใส้เดือน    
?    ใช้หมักกับปุ๋ยคอกเป็น “ปุ๋ยคอกสังเคราะห์แสง” ใช้ราดโคนต้นหรือฉีดพ่น ทำให้การใช้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น    
   
#ประโยชน์ต่อพืช    
?    ได้รับแร่ธาตุที่ย่อยสลายในดินได้หลากหลายขึ้น    
?    กระตุ้นการออกรากของพืช ทำให้หาอาหารเก่ง เติบโตเร็ว แข็งแรง ทนทาน    
?    ฉีดพ่นเป็นอาหารทางใบให้แก่พืช ทำให้เจริญเติบโตเร็ว แข็งแรง ทนทาน    
?    ผลผลิตของพืชผักผลไม้มีคุณภาพดี กรอบ อร่อย    
   
#ประโยชน์ต่อสัตว์เลี้ยง    
?    ผสมน้ำให้สัตว์ดื่ม เพิ่มจุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหารให้ทำงานย่อยอาหารให้สัตว์เลี้ยงดูดซึมไปใช้ประโยชน์ดีขึ้น (โค กระบือ สุกร เป็ด ไก่ฯ )    
?    ผสมหรือหมักในอาหารสัตว์ทำให้ระบบทางเดินอาหารดีขึ้น    
?    ผสมในน้ำเป็นเกราะป้องกันการติดเชื้อ จากบาดแผลที่เกิดจาการเสียดสีระหว่างขนส่งปลา หรือสัตว์น้ำ    
   
#ประโยชน์ต่อระบบเศรษฐกิจ    
?    เพิ่มผลผลิต เพิ่มรายได้    
?    ลดต้นทุนการผลิต ลดค่าใช้จ่ายค่าปุ๋ยเคมี    
?    เกษตรกรมีเงินออมและมั่นคงยิ่งขึ้น    
?    ทำให้ครัวเรือน ชุมชน ท้องถิ่น มีความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ    
   
#ประโยชน์ต่อสังคม    
?    สร้างสังคมแห่งความสุขรอบ    
?    พื้นที่เพาะปลูกปลอดจากสารพิษ และมลพิษตกค้างในพืชผักสวนครัว สัตว์เลี้ยง อันเป็นอัตรายต่อเกษตรกร    
?    เป็นการอนุรักษ์ภูมิปัญญาและวิถีธรรมชาติของชุมชน ท้องถิ่นในการเพาะปลูก    
?    คืนสุขภาพที่ดีให้เกษตรกรและเพื่อนบ้าน ที่ไม่ได้รับสารพิษทำลายสุขภาพ    
   
#ประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อม    
?    บำบัดน้ำเสียและกลิ่นในครัวเรือน เช่น ห้องน้ำ ท่อระบายน้ำ สระน้ำ    
?    บำบัดน้ำเสียและกลิ่นในบ่อบำบัดน้ำเสียของโรงงานอุตสาหกรรม โรงพยาบาล โรงเรียน ตลาดสด ฯลฯ    
?    บำบัดน้ำเสียในบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำของเกษตรกร เช่น บ่อปลา บ่อกุ้ง    
?    บำบัดน้ำเสียในแหล่งน้ำเน่าเหม็นทั่วไป    
?    บำบัดกลิ่นในคอกปศุสัตว์ เช่น คอกโค กระบือ เล้าเป็ด ไก่ ฯลฯ    
?    รักษาและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม    
?    ลดโลกร้อน ที่ไม่ใช้สสารเคมี    
   
#วิธีใช้จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง    
   
#นาข้าวนาบัวพืชผักผลไม้        
?    จุลินทรีย์ 1 ลิตร ต่อนา 1 ไร่ ผสมน้ำสาดให้ทั่วในนา หากใช้ครั้งแรกให้เพิ่มปริมาตรขึ้นอีก 1 - 2 เท่า ตามสภาพพื้นนา    
?    จุลินทรีย์ 30-50 ซีซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทางใบทุกสัปดาห์ หรือ 2 - 3 วัน/ครั้ง    
?    จุลินทรีย์ 1 ลิตร ต่อน้ำ 100 ลิตร รดโคนต้นให้ชุ่ม เพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน    
?    จุลินทรีย์ 1 ลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร คลุกเคล้าดินก้นหลุมก่อนปลูกพืช คลุกปรุงดินปลูกพืช หมักปุ๋ยคอก/ปุ๋ยหมัก    
?    จุลินทรีย์ 50 ซีซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร แช่หน่อ ต้น กิ่งพันธุ์ เมล็ดพันธุ์ ก่อนปลูก    
   
   
   
#สัตว์น้ำตู้ปลา    
?    จุลินทรีย์ 5 ลิตร ต่อบ่อ 1 ไร่ สาดให้ทั่วบ่อ เพื่อปรับสภาพน้ำ ทุกสัปดาห์    
?    จุลินทรีย์ 1 ซีซี. ต่อน้ำ 20 - 50 ลิตร เติมในตู้ปลาให้ทั่วทุกสัปดาห์ และระหว่างขนส่งปลา (ตู้ปลาเก่าน้ำ 20 ลิตร ใหม่ 50 ลิตร)    
   
#บ่อสิ่งปฏิกูลบ่อบำบัดน้ำเสียคอกปศุสัตว์แหล่งน้ำ    
?    จุลินทรีย์1 ลิตร ต่อบ่อปริมาตร 1,000 ลิตร บ่อเกรอะบ่อซึม-บ้านพักอาศัย (หรือห้องน้ำ 1 ห้อง ราด 0.5 - 1 ลิตร) ทุกเดือน กลิ่นหาย    
?    จุลินทรีย์ 1 ลิตร ต่อบ่อปริมาตร 1,000 ลิตร บ่อบำบัดน้ำเสียโรงเรียน โรงพยาบาล ตลาด โรงงานอุตสาหกรรม ทุกเดือน    
?    จุลินทรีย์ 100 ซีซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นพื้นคอกปศุสัตว์ หรือบริเวณท่อ รางน้ำ บริเวณน้ำขังที่เน่าเหม็น ทุกสัปดาห์    
?    จุลินทรีย์ 1 ลิตร เนื้อที่ 1 ไร่ ต่อบ่อปลา บ่อกุ้ง แหล่งน้ำทั่วไป ตามสภาพทุก 1 - 2 สัปดาห์ (จากการเฝ้าสังเกตุเป็นระยะ ๆ)    
   
#คำแนะนำ    
?    ควรขยายจุลินทรีย์ไว้ใช้ตลอดไป    
?    อายุของจุลินทรีย์ที่ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ คือระหว่าง 1 – 3 เดือน ที่มีสีแดงเข้ม    
   
#วิธีการขยายเชื้อจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง #1    
?    เครื่องมือที่ใช้    
?    วัสดุที่ใช้    
?    ขั้นตอนการดำเนินการ    
   
   
   
#เครื่องมือที่ใช้    
?    ขวดน้ำเปล่าขนาด 600 มล. หรือ 1.5 ลิตร หรือ 6 ลิตร (ซื้อจากร้านค้าของเก่า เช่น วงษ์พาณิชย์ ขวดขนาด 6 ลิตร สภาพดี ขายขวดละ 5 บาท หรือ กก.ละ 20-30 บาท) ให้เอาฉลากออกให้เรียบร้อยเพื่อให้จุลินทรีย์ในขวดสามารถรับแสงแดดได้มากขึ้น ซึ่งจะทำให้เชื้อเดินเร็วขึ้นด้วย    
?    ถังน้ำ ขนาด 18 ลิตร (ถังสี)    
?    กรวย (ซื้อจากร้าน 20 บาท มีกรวยใหญ่ กรวยเล็ก)    
?    ที่ตีไข่ (ซื้อจากร้าน 20 บาท)    
?    ช้อนโต๊ะ    
?    กะละมัง หรือถ้วยตวง หรือถ้วยธรรมดา    
   
#วัสดุที่ใช้    
?    หัวเชื้อจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง    
?    น้ำเปล่า    
?    ไข่ไก่ หรืออาจใช้สารให้โปรตีนอื่น ๆ เช่น คนอร์ น้ำปลา กะปิ นมสด ปลา กุ้ง ปู ถั่วเหลือง ฯลฯ    
?    ผงชูรส    
   
#หัวเชื้อจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง    
สนใจสั่งซื้อจุลินทรีย์คุณภาพของ "สวนพัชรา" เพื่อนำมาใช้หรือขยายต่อ เชิญสั่งซื้อได้ครับตามข้อมูลข้างล่างนี้    
   
#โทร/ไลน์    
0868908666    
   
#Facebook : สวนพัชรา    
   
E - Mail : [email protected]    
#การจัดส่ง    
จัดส่งทั่วไทยทาง Kerry Express หรือไปรษณีย์ไทย หรือขนส่งอื่น    
   
#การชำระเงิน    
?    ธนาคารกสิกรไทย 8582120677    
?    ธนาคารกรุงเทพ 0680128014    
?    ธนาคารกรุงไทย 3066019535    
?    ธนาคารทหารไทย 3032906905    
?    มีบริการเก็บเงินปลายทาง สำหรับการสั่งซื้อตั้งแต่ 300 บาท ขึ้นไป    
   
#ราคาโปรโมชั่น    
?    รวมค่าขนส่ง ถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2561    
   
#ขนาดขวด 600 มล.    
?    จำนวน 4 ขวด ราคา 300 บาท    
?    จำนวน 6 ขวด ราคา 360 บาท *** สินค้าขายดี***    
?    จำนวน 12 ขวด ราคา 580 บาท (ชุดสุดคุ้ม 2)    
   
#ขนาดขวด 1.5 ลิตร    
?    จำนวน 2 ขวด ราคา 300 บาท    
?    จำนวน 3 ขวด ราคา 400 บาท    
?    จำนวน 6 ขวด ราคา 700 บาท (ชุดสุดคุ้ม 1)    
   
   
   
   
#วัสดุที่ใช้    
?    น้ำเปล่า หาใช้ได้จากหลายแหล่ง    
o    น้ำประปา มีสารละลายคลอรีนอยู่ การใช้ต้องรองน้ำใส่ถังพักไว้จนกว่าสารละลายคลอรีนจะระเหยหมดก่อน ถ้าไม่พักไว้และนำไปใช้เลยจะทำให้จุลินทรีย์ตายได้    
o    น้ำบาดาล ส่วนใหญ่มีคุณสมบัติเป็นด่าง กระด้าง และมีหินปูนเยอะ การนำมาใช้ให้รองใส่ถังพักไว้เช่นกันเพื่อสังเกตุฝ้าที่เกิดจากหินปูน หากมีทางเลือกอื่นไม่ควรใช้ เพราะการนำไปใช้กับพืชและสัตว์ จะทำให้มีปัญหาในการเจริญเติบโตในระดับหนึ่งแต่ไม่มากนัก พืชผักที่รดด้วยน้ำบาดาลบ่อย ๆ ใบจะมีสีขาวจากหินปูนของน้ำบาดาล    
o    แหล่งน้ำผิวดินอื่น ๆ เช่นสระ ห้วย หนอง คลอง บึง ทะเล หรือบ่อน้ำร้อน สามารถนำมาใช้ได้ ซึ่งในน้ำธรรมชาติจะมีจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงอยู่เป็นปกติอยู่แล้ว บางแหล่งนำมาใช้แล้วจะประสบผลสำเร็จเร็ว เนื่องจากปริมาณจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงในแหล่งน้ำธรรมชาติมีมาก แต่การใช้ควรเลือกน้ำใส ที่ไม่มีสีเขียว หรือสาหร่าย    
?    ไข่ไก่ หรือสารให้โปรตีนอื่น ๆ เช่น คนอร์ น้ำปลา กะปิ นมสด ปลา กุ้ง ปู ถั่วเหลือง ฯลฯ    
?    ผงชูรส ยี่ห้อใดก็ได้ 500 กรัม ราคาประมาณ 48 บาท 1000 กรัม ราคาประมาณ 88 บาท (Lotus)    
   
#ขั้นตอนการดำเนินการ    
?    คำนวณปริมาตรจุลินทรีย์ที่จะทำการขยาย โดยดูจากขวดเปล่าที่นำมาใช้ว่ามีปริมาตรรวมกันเท่าใด แล้วจึงกะประมาณอาหารที่จะต้องเตรียมนำมาใช้ให้เพียงพอและเหมาะสม    
?    เตรียมอาหารสำหรับจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงได้แก่ ไข่ไก่ และผงชูรส โดยใช้ไข่ไก่ 3 ฟอง ตีใส่กะละมัง หรือถ้วย แล้วใช้ที่ตีไข่ตีให้ไข่แดงแตกจนเข้าเป็นเนื้อเดียวกันกับไข่ขาว แล้วใส่ผงชูรส 1 ช้อนโต๊ะลงไปตีให้ผงชูรสละลายจนหมดไม่มีเหลือตกค้างอยู่ก้นถ้วย หากใช้ไม่หมดให้ใส่ขวดพลาสติก หรือขวดน้ำดื่มขนาด 600 มล. แช่ตู้เย็นไว้ใช้ในคราวต่อไปได้ แต่ควรเขียนป้ายกำกับไว้ด้วย จะได้อาหารสำหรับขยายจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงขยายได้ปริมาตรรวมประมาณ 50 ลิตร    
?    เตรียมน้ำเปล่า นำน้ำที่รองพักไว้แล้วมากรอกบรรจุขวดขนาด 600 มล. หรือ 6 ลิตร หรือ    
?    ถังสี 18 ลิตร โดยแบ่งออกเป็น 5 ส่วน คือ 4 ส่วนเป็นน้ำเปล่า อีก 1 ส่วน เป็นหัวเชื้อจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง    
?    เติมอาหารจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงที่เตรียมไว้ใส่ในภาชนะที่ขยายและเติมน้ำไว้ 4 ส่วนแล้ว ดังนี้    
o    ขวดขนาด 600 มล. เติมอาหารครึ่งช้อนโต๊ะ    
o    ขวดขนาด 1.5 ลิตร เติมอาหาร 1 ช้อนโต๊ะ    
o    หรือขวดขนาด 6 ลิตร เติมอาหาร 3 ช้อนโต๊ะ    
o    หรือถังสีขนาด 18 ลิตร เติมอาหาร 9 ช้อนโต๊ะ    
o    การเลือกใช้ขวดเปล่าเพาะขยาย หากใช้ขวดขนาดใหญ่จะช่วยลดเวลาในการเขย่าและเปิดปิดฝาขวดในแต่ละวันได้    
o    การให้อาหารควรให้เริ่มจากน้อยไปหามาก หากให้มากอาจทำให้จุลินทรีย์ตายได้ (ให้น้อยไว้ก่อน และเติมเพิ่มได้)    
o    เมื่อเติมอาหารแล้ว ให้เติมหัวเชื้อจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงลงไปอีก 1 ส่วน ให้เหลืออากาศด้านบนสุดไว้สูงประมาณ 1–1.5 นิ้ว เอาไว้สำหรับเขย่าขวดให้น้ำด้านในหมุนเวียนไปมาได้ดี ปิดฝาขวด แล้วเขย่า ๆ ๆ ให้เข้ากัน และนำไปตากแดด 5-30 วัน สีของน้ำจุลินทรีย์จะแดงเข้มขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อครบ 1 เดือนแล้วสามารถนำไปใช้ต่อได้ แต่หากได้สีเขียว แสดงว่าน้ำที่นำมาทำมีตะไคร่ หรือสาหร่ายอยู่ด้วย หรือเป็นจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงสีเขียวก็ใช้ได้เหมือนกัน    
?    เทคนิคการเพาะขยายเชื้อจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงให้ได้คุณภาพเท่าเทียมกันในแต่ละครั้งทำได้ ดังนี้    
?    ใช้ขวด 6 ลิตร เป็นภาชนะสำหรับตวง    
?    กรอกน้ำ 5 ลิตร และกรอกหัวเชื้อจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงลงไปผสมอีก 1 ลิตร    
?    เติมอาหารจุลินทรีย์ฯ ที่เตรียมไว้ (ไข่ไก่ 3 ฟ้อง + ผงชูรส 1 ช้อนโต๊ะ) จำนวน 3 ช้อนโต๊ะ    
?    เขย่าให้เข้ากัน แล้วเทลงถังสี 18 ลิตร    
?    ทำแบบนี้ซ้ำอีก 2 ครั้ง จะได้ จุลินทรีย์ฯ 18 ลิตร คนให้เข้ากัน แล้วจึงกรอกลงในขวดขนาดต่าง ๆ ต่อไป    
?    นำไปตากแดด ตามปกติถ้าแดดดีจะใช้เวลาประมาณ 5 – 30 วัน จะมีสีแดงเข้มและนำไปใช้ได้    
?    คุณภาพที่ได้จะสม่ำเสมอมาตรฐานเดียวกัน    
?    การดูแลจุลินทรีย์ระหว่างเพาะเลี้ยง    
o    เปิดฝาไล่ก๊าซในขวดออก แล้วเขย่าเพื่อเร่งกระตุ้นเชื้อจุลินทรีย์ให้กินอาหาร เจริญเติบโต และสืบพันธุ์    
o    ภาชนะ อาหาร แสดงแดด อุณหภูมิ ความสะอาด จำนวนหัวเชื้อตั้งต้น เป็นปัจจัยการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์    
o    ผู้ดูแลควรสังเกตการณ์การเปลี่ยนแปลงในแต่ละวันว่ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร แล้วดำเนินการที่เหมาะสม เช่น มีสีเข้มมากขึ้นหรือไม่ มีสีเขียวหรือไม่ มีตะกอนทั้งที่ตกลงด้านล่างหรือตะกอนแขวนลอยในน้ำหรือไม่ มีฝ้าและเมือกลอยขึ้นบนผิวน้ำหรือไม่ แล้วพิจารณาแก้ไข เช่น    
?    ถ้าเป็นถังใหญ่ให้ใช้ตะแกรง/กระชอน (ซื้อจากร้าน 20 บาท) กรองฝ้า เมือก และตะกอนต่าง ๆ ออก แล้วคนกระตุ้นจุลินทรีย์ แต่หากใช้ขวดเพาะให้เทออกมาในภาชนะอื่นแล้วแยกฝ้า เมือก ตะกอนต่าง ๆ ออก แล้วบรรจุคืนลงขวด แล้วเขย่า นำไปตากแดด    
?    คัดขวดที่มีสีเขียวออกไปรดต้นไม้ ไม่ให้ขยายพันธุ์ต่อ เพราะไม่แน่ใจว่าเป็นตะไคร่น้ำหรือจุลินทรีย์ เหลือไว้แต่ขวดสีแดง ชมพู น้ำตาล    
?    กระบวนการในช่วงนี้จะเป็นการสังเกตุ คัด กรอง แยก เป็นหลัก ก็จะทำให้การเพาะได้ผลดียิ่งขึ้น    
   
#การเก็บรักษา    
?    จุลินทรีย์สังเคราะห์แสงเมื่อเพาะและนำไปตากแดดจนมีสีแดงเข้มแล้วแสดงว่า เจริญเติบโตเต็มที่แล้วและนำไปใช้ได้    
?    ลักษณะจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง    
o    เป็นสัตว์เซลเดียว และเป็นแบ็คทีเรียชนิดหนึ่ง เกิดขึ้นทั่วไปในธรรมชาติตามแหล่งน้ำต่าง ๆ    
o    มีชีวิต มีการเจริญเติบโต และสืบพันธุ์โดยการแบ่งตัวจาก 1 > 2, 2 > 4, 4 > 8 ……    
o    อาหารของจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงคือโปรตีน และก๊าซไข่เน่า เป็นหลัก    
o    เจริญเติบโตได้ดีในสิ่งแวดล้อมที่เป็นแสงแดด ความร้อน และอาหารเพียงพอ (โปรตีน และก๊าซไข่เน่า)    
?    การเก็บรักษาจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงให้เก็บไว้ในที่ร่มอุณหภูมิปกติ 20 - 30 องศาเซลเซียส เพื่อลดการเจริญเติบโตและขยายพันธุ์ จะสามารถเก็บรักษาไว้ได้นานประมาณ 3 – 6 เดือน และต่อไปจะเริ่มมีสีจางลงเรื่อย ๆ เนื่องจากอาหารหมดและกินกันเอง แนวทางแก้ไขจึงต้องเติมอาหารโปรตีน (ไข่ไก่ + ผงชูรส) ให้เพิ่มเติม และนำไปตากแดด    
   
#สมเจตน์ ประสงค์ดี    
#กรรมการผู้จัดการ    
#บริษัท สวนพัชรา จำกัด    
#Update 6107 01    

คำสำคัญ: จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง