ค้นหาสินค้า

ทำความเข้าใจกับอย.และผลิตภัณฑ์ของร้านสมุนไพรออนไลน์

ทำความเข้าใจกับอย.และผลิตภัณฑ์ของร้านสมุนไพรออนไลน์    
คำถามที่ทางร้านได้พบบ่อยคือว่าสินค้าของเรามีอย.หรือไม่    
-----------------------------------------------------------------------------    
ร้านของเรามีสินค้าสองประเภทคือ    
1.แบบมีอย.ได้แก่น้ำมันมะพร้าวและน้ำมันรำข้าวและจมูกข้าวชนิดแคปซูล    
2.แบบไม่มีอย. เนื่องจากผลิตภัณฑ์ไม่เข้าหลักเกณฑ์ที่ต้องขออย.    
-----------------------------------------------------------------------------    
ผลิตภัณฑ์สุขภาพสำหรับเศรษฐกิจชุมชน ได้แก่    
   
        ผลิตภัณฑ์ยา        
           ยาแผนโบราณเป็นผลิตภัณฑ์ที่ต้องขออนุญาตผลิตหรือจำหน่ายยกเว้นยาสมุนไพรที่ได้จากพืช สัตว์ หรือแร่ธาตุ ซึ่งไม่ได้ผสม ปรุงหรือแปรสภาพจนไม่เห็นลักษณะเดิม ดังนั้น สมุนไพรที่ผสมกันตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป หรือมีการแปรสภาพจนไม่เห็นลักษณะเดิม จะต้องขออนุญาตผลิตหรือจำหน่าย และต้องขอขึ้นทะเบียนตำรับยานั้นๆ ต่อ อย. ด้วย    
   
***(ในกรณีนี้ร้านสมุนไพรออนไลน์มีผู้ผ่านการอบรมเภสัชกรรมแผนไทยและเภสัชกรแผนไทยดูแล)    
   
   
       ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง        
           เครื่องสำอางที่ผลิตในระดับชุมชนส่วนใหญ่ ได้แก่ แชมพูและครีมนวดผม จัดอยู่ในกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่ำ จึงมีข้อกำหนดเพียงให้จัดทำฉลากให้ถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนดเท่านั้น ไม่ต้องมาขออนุญาตผลิต การแสดงฉลาก ฯลฯ กรณีหน่วยผลิตอ้างถึงสูตรสมุนไพร ควรมีการศึกษาค้นคว้า ทดสอบ หรือมีข้อมูลทางวิชาการที่เชื่อถือได้ เพื่อพิสูจน์ส่วนประกอบสรรรพคุณที่อ้างด้วย รวมทั้งไม่ควรโฆษณาสรรพคุณเป็นเท็จหรือเกินจริง    
   
   
   ผลิตภัณฑ์อาหารแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้    
   
กลุ่มที่ผลิตได้โดยไม่ต้องขออนุญาตจาก อย. แบ่งเป็น 4 กลุ่มย่อย คือ    
อาหารสดหรือแห้งที่ผู้ผลิตผลิตขึ้นเองแล้วจำหน่ายกับผู้บริโภคโดยตรง ณ สถานที่ผลิต เช่น ผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์ ธัญพืชต่างๆ    
อาหารสำเร็จรูปที่ผลิตแล้วยังไม่ได้บรรจุใส่ภาชนะ เมื่อจะจำหน่ายให้กับผู้บริโภคจะต้องตักแบ่งใส่ถุง ใบตอง จาน เช่น ข้าวแกงต่างๆ ขนมไทย    
กลุ่มอาหารที่ทำจากเนื้อสัตว์ที่ต้องนำไปปรุงให้สุกก่อน เช่น แหนม กุนเชียง หมูยอ ลูกชิ้น ไส้กรอก ไข่เค็มดิบ ปลาแห้ง กุ้งแห้ง ปลาทู ปลาทอด ปลาดิบ    
กลุ่มอาหารที่มีจุดมุ่งหมายเป็นเครื่องปรุง เครื่องชูรส เช่น กะปิ ปลาร้า เกลือป่น ที่ไม่ใส่ภาชนะบรรจุปิดสนิท น้ำพริกแกง พริกป่น    
ผลิตภัณฑ์ข้างต้นนี้หากบรรจุในภาชนะเพื่อส่งต่อไปจำหน่ายที่อื่นต้องมีการแสดงฉลากด้วย กรณีผลิตภัณฑ์ที่ขายหน้าร้าน ผู้ผลิตตักแบ่งขายเอง ไม่จำเป็นต้องมีฉลากก็ได้    
   
กลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ต้องขออนุญาตจาก อย. แบ่งเป็น 2 กลุ่มย่อย คือ    
กลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ไม่ต้องส่งตัวอย่างตรวจวิเคราะห์ เป็นกลุ่มอาหารพร้อมบริโภคซึ่งจะต้องขออนุญาตใช้ฉลากจาก อย. แต่ไม่ต้องส่งตัวอย่างเพื่อตรวจวิเคราะห์ ได้แก่    
กลุ่มอาหารที่ผลิตจากพืช เช่น ซอสถั่วเหลือง ซีอิ้ว เต้าเจี้ยว น้ำจิ้มในภาชนะปิดสนิท น้ำสลัด น้ำพริกปรุงรส ผลไม้ตากแห้ง/ดอง/แช่อิ่มบรรจุภาชนะ ขนมไทยต่างๆ เบเกอรี่ ขนมปัง คุกกี้ ขนมอบกรอบ ขนมขบเคี้ยว ขนมกวน/แช่อิ่ม/เชื่อม/ดอง    
กลุ่มอาหารที่ผลิตจากสัตว์ เช่น หมูแผ่น หมูหยอง หมูทุบ ปลากรอบปรุงรส ปลาหมึกปรุงรส ไข่เค็มสุก ปลาร้าปรุงรสพร้อมบริโภค    
กลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ต้องส่งตัวอย่างตรวจวิเคราะห์ ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข และต้องขออนุญาตใช้ฉลากอาหาร แบ่งเป็นกลุ่มๆ ดังนี้    
กลุ่มผลิตภัณฑ์จากพืช เช่น เครื่องดื่มทั้งชนิดน้ำและผงจากผัก/ผลไม้/สมุนไพร น้ำตาลสด ซอสมะเขือเทศ น้ำมันพืช น้ำส้มสายชู กาแฟคั่วสด/ผงสำเร็จ/ปรุงสำเร็จ    
กลุ่มผลิตภัณฑ์จากสัตว์ เช่น น้ำปลา น้ำบูดู เครื่องดื่มรังนก ไข่เยื่ยวม้า นม และผลิตภัณฑ์นม    
กลุ่มอื่นๆ เช่น น้ำดื่ม น้ำแร่ น้ำแข็ง    
การผลิตอาหารดังกล่าวข้างต้นทั้งหมด หากใช้คนงานในการผลิตตั้งแต่ 7 คน หรือใช้เครื่องจักรและเตาไฟรวมกันแล้วตั้งแต่ 5 แรงม้าขึ้นไป ต้องขอใบอนุญาตผลิตอาหารจาก อย.    
หรือ สำนักงานสาธารณสุขนั้นๆ    
   
     ที่มา: http://www.organicthailand.com/

คำสำคัญ: ชาสมุนไพร สมุนไพรหนานเฉาเหว่ย