มะขามเทศพันธุ์สีชมพู
Kajeepunsmartfarmer ติดต่อสอบถาม โทร. 093-591-0369 จังหวัดนครสวรรค์
การปลูกมะขามเทศ
มะขามเทศ มะขามเทศเป็นไม้เนื้อแข็ง มีอายุนานหลายปี ลำต้นสูงได้มากกว่า 10 เมตรเป็นไม้โตเร็วที่เติบโตได้ดีในทุกสภาพดิน รวมถึงเติบโต และทนต่อสภาพแห้งหรือน้ำท่วมได้ดี
มะขามเทศ สามารถขยายพันธ์ได้หลายวิธี อาทิ การตอนกิ่ง การทาบกิ่ง และการเพาะเมล็ด แต่ทั่วไปชาวบ้านนิยมปลูกด้วยการเพาะเมล็ดเป็นหลัก
การเตรียมดิน และการเพาะกล้า
วัสดุที่ใช้เพาะมะขามเทศควรเป็นดินผสมระหว่างดินร่วนผสมกับวัสดุอินทรีย์ เช่น แกลบดำ ขุยมะพร้าว และปุ๋ยคอก อัตราส่วนผสมประมาณ 1:2
การเพาะ นิยมเพาะเมล็ดในถุงเพาะชำ เมื่อเมล็ดงอก และต้นกล้าโตประมาณ 20-30 ซม. ก็สามารถแยกปลูกในแปลงได้
การตอนกิ่ง
ให้เลือกกิ่งขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1.5-3 ซม. เลือกตำแหน่งควั่นกิ่งที่ให้กิ่งตอนยาวประมาณ 50-100 ซม. ไม่ควรยาวมากกว่านี้ จากนั้นควั่นกิ่งใต้ตา และเอาเปลือกออก ให้ควั่นยาวประมาณ 1 นิ้ว โดยต้องขุดเยื่อเปลือกออกให้หมด หลังจากนั้น ใช้ขุยมะพร้าวที่บดละเอียด และผสมน้ำพอหมาดๆ ปั้นประกอบให้รอบรอยควั่น หนาประมาณ 1 นิ้ว แล้วใช้ถุงพลาสติกหุ้ม และรัดด้วยเชือกทั้งด้านบน ด้านล่างให้แน่น ปล่อยทิ้งไว้ไม่ต้องรดน้ำ หลังจากนั้น ประมาณ 20-30 วัน จะจะมีรากงอกออกมา จนรากมีสีน้ำตาลจึงค่อยตัดกิ่งลงปลูกในแปลง
การปลูก
เนื่องจากมะขามเทศเป็นผลไม้ที่ยังไม่นิยมรับประทานมากนัก อีกทั้งเป็นผลไม้ที่สามารถหารับประทานได้ทั่วไปในทุกจังหวัด โดยไม่ต้องปลูกเอง เนื่องจากพบได้ทั่วไปตามที่สาธารณะต่างๆ ทำให้การปลูกมะขามเทศเพื่อการค้ายังไม่แพร่หลาย
เกษตรกรมักปลูกมะขาม เทศตามหัวไร่ปลายนา หรือ ที่ว่างในแปลงเกษตร และเก็บมาจำหน่ายเท่านั้น แต่ก็มีบางท้องที่ที่เกษตรกรมีการปลูกในแปลงเพื่อการค้าเป็นหลัก เช่น ในแถบจังหวัดราชบุรี สระบุรี สมุทรสงคราม สมุทรสาคร เป็นต้น
การเตรียมดิน : ควรขุดหลุมปลูกให้มีขนาดอย่างน้อย 50 x 50 x 50 เซนติเมตรตากดินไว้อย่างน้อย 2 สัปดาห์ ผสมดินปลูกด้วยปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก ประมาณหลุมละ 2-3 บุ้งกี๋
การปลูก :มะขามเทศสามารถปลูกได้ทั้งแบบยกร่อง-พื้นที่ราบแบบยกร่อง หากเป็นพื้นที่ราบแบบยกร่องจะใช้ระยะปลูก 8-10 x 8-10 เมตร ใน 1 ไร่ จะปลูกได้ประมาณ 16-25 ต้น ส่วนในพื้นที่ราบจะใช้ระยะปลูก10-12 x 10-12 เมตร ในพื้นที่ 1 ไร่ จะปลูกได้ประมาณ 10-16 ต้น
การดูแลรักษา :
การให้น้ำ ควรมีการให้น้ำอย่างสม่ำเสมอทั้งในมะขามเทศต้นเล็กและต้นโตสำหรับมะขามเทศต้นโต ควรงดการให้น้ำในช่วงก่อนออกดอกเช่นเดียวกับไม้ผลชนิดอื่น ๆเพื่อให้มะขามเทศได้พักตัวและสะสมอาหารเตรียมความพร้อมที่จะออกดอกและเมื่อมะขามเทศติดดอกออกฝักแล้ว จึงเริ่มให้น้ำตามปกติแต่ควรระวังในช่วงที่ฝักเริ่มแก่เพราะถ้าให้น้ำในช่วงนี้มากเกินไปจะทำให้คุณภาพฝักไม่ดีฝักแตกเร็วขึ้น ซึ่งจะทำให้ได้คุณภาพเนื้อไม่แน่นและรสชาติไม่ดี
การตัดแต่งกิ่งในมะขามเทศจะทำการตัดแต่งกิ่งเพื่อควบคุมทรงพุ่ม ให้มีลักษณะที่ง่ายต่อการจัดการ โดยจะควบคุมความสูงของต้นไว้ที่ความสูงไม่เกิน 3 เมตร นอกจากนี้การตัดแต่งกิ่งยังมีวัตถุประสงค์อื่นๆ อีก ดังนี้
1.เพื่อการปะทะจากแรงลม หากปล่อยให้ทรงพุ่มสูงเกินไป จะเกิดการโน้มตามแรงลมและอาจทำให้พุ่มฉีก-หักได้
2. เพื่อง่ายต่อการจัดการศัตรูพืช การตัดแต่งกิ่งควบคุมทรงทรงพุ่มทำให้ง่ายต่อการจัดการเรื่องโรคและแมลง เนื่องจากต้นที่สูงจะกลายเป็นที่อยู่อาศัยของแมลง เพราะจัดการได้ยาก
3. เพื่อการจัดการแสง ในการตัดแต่งกิ่ง ที่เป็นกิ่งกระโดงหรือกิ่งที่ไม่ให้ผลผลิต ตลอดจนกิ่งที่แห้งตาย ฉีก-หัก ออก ทำให้ทรงพุ่มโล่ง แสงกระจายได้ทั่วถึง ทำให้ลดการสะสมของโรคแมลง ตลอดจนเป็นการเพิ่มคุณภาพในการผลิตอาหารของพืช
4. เพื่อให้ง่ายต่อการเก็บเกี่ยวผลผลิต
ศัตรูพืชเนื่องจากมะขามเทศเป็นพืชที่มีโรค-แมลงรบกวนค่อนข้างน้อย แต่ถ้าพบแมลงเข้าทำลายให้ใช้น้ำหมักสมุนไพร สูตรดังนี้
การเก็บผล
มะขามเทศหากปลูกด้วยเมล็ดจะเริ่มให้ผลได้เมื่ออายุประมาณ 2-3 ปี ส่วนการปลูกด้วยการตอน การทาบกิ่งจะให้ผลผลิตไม่เกิน 1 ปี
มะขามเทศจะเริ่มเก็บผลผลิตได้เมื่อฝักเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีแดงหรือสีเขียวอมขาวนวล และเนื้อฝักอวบตึง
การเก็บฝักมะขามเทศ หากต้นสูงมากจะใช้อุปกรณ์เหมือนกับการเก็บผลไม้ทั่วไป ส่วนต้นที่มีความสูงไม่มากก็สามารถใช้มือเก็บได้
ราคาจำหน่ายมะขามเทศตามตลาดชุมชนทั่วไปจะอยู่ประมาณ 30-45 บาท/กิโลกรัม แต่หากขายในห้างสรรพสินค้าหรือย่านธุรกิจจะมีราคาสูงมากถึงกิโลกรัมละไม่ต่ำ กว่า 100 บาท