ขอขอบคุณที่มา http://amphoehuataphan.siam2web.com//?cid=1053891
ขอขอบคุณภาพจาก http://orawan-raethong.blogspot.com/p/blog-page_746.html
ข้อมูลโดยทั่วไปของอำเภอหัวตะพาน
สภาพทั่วไป
การตั้งอำเภอหัวตะพาน
อำเภอหัวตะพานเดิมมีฐานะเป็นตำบลอยู่ในเขตการปกครองของอำเภออำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ ห่างจากอำเภออำนาจเจริญไปทางทิศใต้ประมาณ 40 กิโลเมตร ประกาศตั้งเป็นกิ่งอำเภอเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2510 ตามประกาศกระทวงมหาดไทย ลงวันที่ 10 สิงหาคม 2510 โดยมีเขตการปกครอง 4 ตำบล คือ ตำบลหัวตะพาน ตำบลคำพระ ตำบลเค็งใหญ่ และตำบลหนองแก้ว
ต่อมาในพุทธศักราช 2511 ทางราชการเห็นว่ามีตำบลในเขตอำเภอม่วงสามสิบมีอาณาเขตใกล้กับที่ตั้งที่ว่าการกิ่งอำเภอหัวตะพาน หากผนวกให้อยู่ในเขตการปกครองของกิ่งอำเภอหัวตะพาน ราษฎรจะมีความสะดวกในการติดต่อสื่อสาร และทำให้กิ่งอำเภอหัวตะพานเป็นปึกแผ่นและมีอาณาเขตกว้างขวาง
มากยิ่งขึ้น จึงได้รวมเอาตำบลโพนเมืองน้อย ตำบลสร้างถ่อน้อย และตำบลจิกดู่ ซึ่งอยู่ในเขตการปกครองของอำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี มาอยู่ในเขตการปกครองของกิ่งอำเภอหัวตะพาน ตั้งวันที่ 26 มิถุนายน 2511 ตามพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตอำเภอม่วงสามสิบและกิ่งอำเภอหัวตะพาน
อำเภออำนาจเจริญ จังหวัดอุบลราชธานี พ.ศ. 2511 ลงวันที่ 7 มิถุนายน 2511 จึงทำให้กิ่งอำเภอ
หัวตะพานมี 7 ตำบล ต่อมาได้แยกตำบลเพิ่มอีก 1 ตำบล คือตำบลรัตนวารี และยกฐานะเป็นอำเภอเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2514 ตามพระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอหัวตะพานลงวันที่ 1 พฤศิกายน 2514
ข้อมูลการตั้งอำเภอหัวตะพานและความเป็นมาของบรรพชน
...มูลเหตุการณ์ตั้งอำเภอหัวตะพาน...
จากการสำรวจศึกษาพื้นที่หมู่บ้านตำบลต่าง ๆ การสำรวจข้อมูลหมู่บ้านเพื่อสืบสานวัฒนธรรมการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง เช่น ประวัติวัดและหมู่บ้านต่าง ๆ ที่มีผู้เขียนไว้ก่อนแล้วและ
หนังสือประวัติศาสตร์อีสานของเติมวิภาคย์พจนกิจ และหลักฐานด้านโบราณสถาน โบราณวัตถุ
จากหมู่บ้าน สถานที่ต่าง ๆ
ด้านภูมิประเทศ
สภาพทางด้านภูมิศาสตร์บริเวณอำเภอหัวตะพานนี้เป็นพื้นที่ลาดเอียงจากทิศเหนือบริเวณที่ตั้งอำเภอเมืองอำนาจเจริญ ลาดต่ำลงทางด้านทิศตะวันออกและทิศตะวันตกของอำเภอแต่ทางทิศตะวันตกและทิศใต้จะมีพื้นที่ลาดต่ำกว่า โดยมีสายน้ำขนาบทั้งสองด้าน คือ ด้านตะวันออก มีลำน้ำเซบก ซึ่งคำว่าบก
ภาษาอิสาน หมายความว่า น้ำลด น้ำลงงวด หรือน้ำซึมลงใต้ดิน ในฤดูแล้งจนแห้งสายน้ำสายนี้จึงขาดและมีน้ำขังเป็นช่วง ด้านทิศตะวันตก มีลำน้ำเซบายหมายถึง ลำน้ำที่มีน้ำไหลระบายถ่ายเทตลอดปีจากการ
ที่บริเวณอำเภอหัวตะพานมีสายน้ำขนาบทั้งสองข้าง ทำให้บริเวณนี้อดีตเป็นป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ชุ่มชื่น สลับกับพื้นที่ลุ่มเหมาะสำหรับทำการเกษตรจึงทำให้บรรพชนเลือกพื้นที่นี้สำหรับการตั้งหลักปักฐาน
อำเภอหัวตะพาน มีประชากร 50,740 คน มี 11,286 ครัวเรือน แยกเป็นชาย 25,465 คน หญิง 25,475 คน ประชากรส่วนใหญ่เป็นชนบทเชื้อสายไทยลาว (ไทยอิสาน) เช่นเดียวกับชาวอิสามทั่วไป และประชากรโดยทั่วไปนับถือศาสนาพุทธ และถือพระรัตนตรัย เป็นสรณะ ยึดถืออุดมการณ์แผ่นดินธรรมแผ่นดินทอง เป็นอุดมการณ์ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตการศึกษา และศาสนา
อำเภอหัวตะพานมีความโดดเด่นในการใฝ่ใจในการศึกษา มาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการศึกษาหลักธรรมในพุทธศาสนามีผู้อุปสมบทเป็นพระ และศึกษาพระธรรมพระวินัยจนได้ชื่อว่าเป็นเมืองพระ ซึ่งจะปรากฏหลักฐานว่ามีพระผู้ปฏิบัติธรรมและแสวงบุญมากมาย อาทิ
1.พระครูสิงหราจารย์ (อิน) อดีตเจ้าอาวาสวัดโบสถ์องค์ที่ 1 และเจ้าคณะจังหวัดสิงห์บุรี กำเนิดที่บ้านหนองขอน ตำบลหัวตะพาน ป.ธ. 4 (ธรรมยุทธ) มรณภาพ พ.ศ. 2447
2.พระญาณวิเศษฐ์สมิทธิวีราจารย์ (พระอาจารย์สิงห์ ขนตยาคโม) วัดป่าสาลวัน
อำเภอเมืองนครราชสีมา กำเนิดที่บ้านหนองขอน ตำบลหัวตะพาน มรณภาพ 8 กันยายน พ.ศ. 2504
3.พระอาจารย์มหาปิ่น ปัญญานโล เจ้าอาวาสวัดป่าแสนสำราญ น้องชายพระญาณวิเศษฐ์-สมิทธิวีราจารย์ มรณภาพ พ.ศ. 2488
4. พระครูพิศาลอรัญญเขต (จันทร) อดีตเจ้าอาวาสวัศรีจันทร เจ้าคณะจังหวัดขอนแก่น กำเนิดที่บ้านหนองขอน ตำบลหัวตะพาน
5.เจ้าคุณพระศรีจันทรวิมล (จัน) เจ้าอาวาสวัดศรีเมือง รองเจ้าคณะจังหวัดหนองคาย กำเนิดที่บ้านหนองขอน ตำบลหัวตะพาน
6.หลวงปู่ขาวอนาลโย บ้านบ่อชะเนง ตำบลหนองแก้ว อำเภอหัวตะพาน
7.สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ กรุงเทพฯ (มานิต ถาวโร ป.ธ.9) ซึ่งเดิมมีถิ่นกำเนิดที่บ้านบ่อชะเนง
อำเภอหัวตะพาน ได้ทำคุณประโยชน์แก่กิจการคณะสงฆ์ และทางบ้านเมืองนานัปการ
วัดที่มีชื่อเสียงและแหล่งโบราณวัตถุที่สำคัญ
1. วัดพระศรีเจริญ ตั้งอยู่ที่บ้านหัวตะพาน หมู่ที่ 8 ตำบลหัวตะพาน เป็นที่ประดิษฐาน
พระเจ้าใหญ่ศรีเจริญ พระคู่บ้านคู่เมืองของชาวอำเภอหัวตะพาน
2. วัดไชยคำ บ้านคำพระ หมู่ที่ 2 ตำบลคำพระ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปโบราณ
3. วัดสิทธิยาราม บ้านหนองขอน หมู่ที่ 2 ตำบลหัวตะพาน เป็นแหล่งศึกษาของพระสงฆ์ธรรมยุติ และวิปัสานาธุระในอดีตมากมาย
4.วัดบ่อชะเนง บ้านบ่อชะเนง หมู่ที่ 10 ตำบลหนองแก้ว เป็นศูนย์ศึกษาปริญัติธรรมทั้งในอดีตและปัจจุบันและมีวิหารหลวงปู่ขาวอนาลโย
5.วัดบ้านโพนขวาว บ้านโพนขวาว หมู่ที่ 4 ตำบลจิกดู่ มีวัตถุโบราณมากมาย เช่น ตู้พระไตรปิฎกฉบับอักษรขอม และเป็นศูนย์กลางการศึกษาปริญัติธรรมและสามัญในอดีต
6.วัดบ้านโนนค้อ มีใบเสมาเก่าแก่ที่จารึกสร้างวัด พ.ศ. 2174
7.วัดปัญจสมณาราม บ้านรัตนวารี หมู่ที่ 1 ตำบลรัตนวารี เชื่อว่าเป็นเมืองเก่าแก่ครั้งโบราณ
มีการขุดพบพระเครื่องสมัยโบราณ คาดว่ามีอายุประมาณ 1,000 ปี
ขนบธรรมเนียนประเพณีและวัฒนธรรม
ชาวอำเภอหัวตะพานมีวิถีชีวิตอยู่บนพื้นฐานของความเชื่อพุทธศาสนาเป็นแกนและผสมกับพราหมณ์ (ฮินดู) ผีสางธรรมชาติอย่างผสมกลมกลืนโดยใช้ความเชื่อทางพุทธศาสนาสอดแทรกเชื่อมโยงกับความเชื่อเดิมของประชาชน ทำให้ประชาชนมีประเพณีวัฒนธรรมทั้งด้านจิตใจและวัตถุพิธีกรรมเป็นไปตามประเพณี วัฒนธรรมดั่งเดิมของชาวอิสานทั่วไป โดยมีฮีตสิบสองครองสิบสี่ยึดถือมาจนปัจจุบัน
ประเพณีที่สำคัญ เป็นที่รู้จักโดยทั่วไปคืออำเภอหัวตะพาน ได้จัดงานประเพณีลอยกระทง
ที่อำเภอหัวตะพานเป็นประจำทุกปี
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญน่าจะเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ เช่น
1.แหล่งโบราณคดีโพนเมือง หรือโนนเมือง บ้านกุดซวย ตำบลคำพระ มีสภาพเป็นเมืองเก่าที่มี
คันคูรอบและมีการขุดพบวัตถุโบราณ เศษไห กระเบื้อง และอื่นๆ อีกมากมาย
2.โนนงิ้วหรือป่าโนนงิ้ว บ้านชาด ตำบลเค็งใหญ่ มีสภาพเป็นเมืองเก่าแก่ยุดก่อนประวัติศาสตร์
ขุดพบขวานหินโบราณ อาวุธโบราณ และใบเสมาใหญ่ที่สุดในอำเภอหัวตะพานและวัตถุโบราณมากมาย
3.วัดบ้านโพนขวาว ตำบลจิกดู่ มีตู้พระไตรปิฎกเก่าแก่สมัยขอม
4.ภูดินที่ตั้งบ้านโพนเมืองฟ้ามืด บ้านโพนเมืองน้อย ตำบลโพนเมืองน้อย
แหล่งอาชีพ
อำเภอหัวตะพาน มีการพัฒนาตามอุดมการณ์แผ่นดินธรรมแผ่นดินทอง ในส่วนแผ่นดินธรรมนั้นอ้างอิงตามที่ได้กล่าวแล้ว ในส่วนของแผ่นดินทองหรือการทำมาหากิน อำเภอหัวตะพานเป็นที่เกิดของอาชีพต่างๆ ดังนี้
1. บ้านคำพระ ผ้าลายขิดบ้านคำพระ เป็นผ้าที่ทอด้วยมือ ที่วิจิตรงดงามมีลักษณะพิเศษ
มีมากมายหลายประเภทตามประโยชน์ใช้สอย เช่น ผ้าคลุมไหล่ ผ้าคลุมโต๊ะ สไบใหญ่เล็ก ชุดรับแขก
ผ้าตัดเสื้อและผลิตภัณฑ์จากผ้าขิด เช่น หมอนขิด กระเป๋าจากผ้าขิด พวงกุญแจ ย่าม รับสั่งทำและออกแบบตามความต้องการฝีมือทอผ้าขิดของชาวคำพระ ได้รับรางวัลประเภทความสวยความงาม
รางวัลชนะเลิศอันดับที่ 1-3 ของสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ
ในการประกวดที่ศูนย์ศิลปาชีพบางไทร ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2537 สามารถคว้ารางวัลชนะเลิศมาได้ ซึ่งลักษณะเด่นของผ้าลายขิดคำพระ คือเป็นผ้าฝ้ายย้อมด้วยสีธรรมชาติ คือ เปลือกไม้โดยวิธีผสมผสานระหว่างธรรมชาติกับธรรมชาติ และธรรมชาติกับเทคโนโลยี ปัจจุบัน ชาวบ้านคำพระ มีกลุ่มการผลิตมากมาย เช่นกลุ่มสตรีทอผ้า กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรหัตถกรรมในครอบครัวและทางราชการได้จัดตั้งศูนย์รวมจำหน่ายผลิตภัณฑ์พื้นเมือง รวมเอาผลิตภัณฑ์พื้นเมืองจากหมู่บ้าน
ตำบลต่างๆ ในอำเภอหัวตะพานแสดงและจำหน่าย อีกด้วย
2.บ้านนาคู มีอาชีพที่สำคัญและสร้างรายได้ให้กับผู้คนในหมู่บ้านเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มหนุ่มสาวจะใช้เวลาว่างในการเจียระไนพลอย เพื่อสร้างรายได้ให้แก่ครอบครัว ซึ่งแต่ละเดือนจะมีรายได้ประมาณ 4,000 – 6,000 บาท สามารถแก้ไขปัญหาการเคลื่อนย้ายแรงงานไปต่างถิ่น ส่งผลให้เศรษฐกิจของประชาชนในหมู่บ้านโดยส่วนรวมดีขึ้นศูนย์เจียระไนพลอยบ้านนาคู นายเสถียร กองแก้ว
เป็นประธานกรรมการ ศูนย์นี้ได้จัดให้มีการจดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย โดยมีการรับเจียระไน
ส่วนบุคคล โดยรับพลอยมาจากจังหวัดจันทบุรี และกรุงเทพมหานคร
3. บ้านโพนเมืองน้อย บ้านน้อยนาเวิน เป็นแหล่งปลูกหอมแดงพันธ์พื้นเมืองและทอเสื่อกก
ใต้ถุนบ้านเรือนจะเต็มไปด้วยราวตากหอมแดงซึ่งเป็นคนละพันธ์กับหอมแดง อำเภอยางชุมน้อย
จังหวัดศรีษะเกษ
4. บ้านโนนค้อทุ่ง เป็นศูนย์รวมช่างตีเหล็ก ทำมีด ทำพร้า จอบเสียม เคียว รับชุบเครื่องเหล็ก ดังกล่าว และนำไปจำหน่ายตามหมู่บ้านและอำเภอต่างๆ จนขนามนามว่าบ้านโนนค้อพร้า
5. บ้านขุมเหล็ก มีอาชีพทอเสื่อกก ที่มีลวดลายและลักษณะเด่นเป็นพิเศษ
6. บ้านหนองแก้ว มีหัตกรรมพื้นบ้าน คือสานหวด สานมวยสำหรับนึ่งข้าวเหนียว จำหน่าย
7. บ้านโคกเลาะ เป็นอีกหมู่บ้านหนึ่ง ที่สร้างชื่อเสียงให้กับอำเภอหัวตะพาน คือ อาชีพทำขนมจีบ จำหน่ายให้กับอำเภอใกล้เคียง กล่าวกันว่าขนมจีน(ข้าวปุ้น) คุณภาพดี กรรมวิธีสะอาด คือที่บ้านโคกเลาะ
8. บ้านโนนค้อ มีอาชีพไม่เหมือนใครและทำกันอย่างเป็นล่ำเป็นสัน คือ การสานแหซึ่งมีคุณภาพดีและทำสืบต่อกันมามีทุกขนาดและความยาวกี่ศอกเลือกสั่งได้
9. บ้านโพนแพง ผลิตและจำหน่ายอุปกรณ์ถักทอพื้นเมือง เช่น กระสวย กี่ เหล่น หลา เป็นต้น
10. บ้านเค็งใหญ่ มีการตัดชุดกีฬา ชุดวอร์ม และเสื้อผ้าทั่วไป นอกจากนั้นยังรับสั่งตัดชุดกีฬา
ทุกประเภท และมีผ้าโสร่ง ผ้าขาวม้า ที่ทอจากโรงงานจำหน่าย ทั้งปลีกและส่ง หนุ่มสาวจะมีรายได้จากการรับจ้างเย็บผ้าวอร์ม โดยจะรับผ้าจากร้านผ้าวอร์มต่างๆไปเย็บ เช่น เจนจิราณ์วอร์ม อาทิตย์วอร์ม
และยังมีหมู่บ้านต่างๆ หรือ รับไปเย็บละรับไปจำหน่ายทั่วประเทศ สร้างรายได้มากมายให้แก่
ชาวบ้านเค็งใหญ่และอำเภอหัวตะพาน เป็นการสร้างงานให้เกิดขึ้นกับท้องถิ่นอย่างแท้จริง
11.บ้านโพนขวาว มีอาชีพที่มีลักษณะพิเศษและทำติดต่อกันมาหลายชั่วอายุคน คือ
การทำน้ำตาลจากต้นตาล (ตาลโตนด) สร้างรายได้ให้กับชาวบ้านบ้านโพนขวาวในช่วงฤดูหนาว
เป็นอย่างมาก นอกจากนั้นยังมีอาชีพเสริมผลิตภัณฑ์ส่งออกคือ การนำเศษผ้ามาเย็บติดต่อกันเพื่อ
ทำเป็นผ้าห่มกันหนาว ซึ่งได้รับความนิยมมาก เพราะคุณภาพดีและราคาถูกมาก เมื่อเปรียบเทียบกับการซื้อตามท้องตลาดทั่วไปนอกจากนี้ยังมีการทำหมอนฟักทอง หมอนปักจำหน่าย เป็นต้น
12.บ้านจิกดู่ บ้านดู่ บ้านหนองยอ มีอาชีพที่สำคัญคือ ค้าขายตู้เสื้อผ้า และเฟอร์นิเจอร์ทั้งปลีกและส่ง สร้างรายได้ให้กับบ้านจิกดู่ได้อย่างมาก และอาชีพหนึ่งที่กำลังได้รับความนิยม คือ
การทำปลอกหมอน ผ้าปูที่นอน หมอนชุด หมอนปิกนิก จำหน่ายส่งออกทั่วประเทศและต่างประเทศ โดยเฉพาะทางภาคเหนือและชายแดนประเทศลาว
จึงอาจกล่าวเป็นคำกลอนโดยสรุปว่า
ผ้าขิดคำพระชนะการประกวด ทั้งมวยทั้งหวดหนองแก้วมีหลาย
โพนแพงกี่อักสลักลวดลาย แหเล็กแหใหญ่โนนค้อพอมี
อยากชิมรสหวานน้ำตาลโตนด โพนขวาวมีหมดทั้งผ้าห่มเนื้อดี
อีกโอ่งมังกรทั้งปลอกหมอนมากมี ขอเชิญไปทีบ้านจิกดู่หนองยอ
เค็งใหญ่ชุดวอร์มชุดนักกีฬา ต้องการมีดพร้าที่ค้อทุ่งนั้นหนอ
หอมแดงผักสดมีหมดมากพอ โพนเมืองนะพ่อขอเชิญไปชม
เสื่อกกสาดหลายเชิญไปขุมเหล็ก พลอยใหญ่พลอยเล็กนาคูมีถม
ข้าวปุ้นโคกเลาะอร่อยเหาะคนนิยม ขอเชิญเยี่ยมชมของดีหัวตะพาน
แหล่งท่องเที่ยว
อำเภอหัวตะพานจัดได้ว่า เป็นอำเภอหนึ่งที่มีผู้คนมาเยือนอยู่ไม่ขาดสาย จากการมาศึกษาดูงานหมู่บ้านหรือโครงการที่ประสบผลสำเร็จ ซึ่งเป็นที่น่าเสียดายมากหากไม่ได้เยี่ยมชมสถานที่
ที่จะนำเสนอต่อไปนี้เพราะแฝงด้วยความงดงาม และความเป็นเอกลักษณ์ในตัวเองซึ่งจะขอแนะนำ ดังนี้
1. ศูนย์แสดงสินค้าและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ตำบล ตั้งอยู่ข้างสำนักงานเทศบาล
ตำบลหัวตะพานเป็นศูนย์รวมสินค้าพื้นเมือง เช่น เครื่องจักสานต่าง ผ้าขิด พรมเช็ดเท้า ดอกไม้ประดิษฐ์ ฯลฯ
2. ศูนย์รวมและจำหน่ายผลิตภัณฑ์พื้นเมือง อำเภอหัวตะพาน ถือได้ว่าเป็นร้านแสดงสินค้าแห่งแรกของอำเภอหัวตะพาน ตั้งอยู่บริเวณ อบต.ตำบลคำพระ ริมถนนน้ำปลีก หัวตะพาน ภายในศูนย์จะมีผลิตภัณฑ์พื้นเมืองจากหมู่บ้านและตำบลต่าง ๆ ของอำเภอหัวตะพาน เพื่อจัดจำหน่ายโดยเฉพาะผ้าขิดมีมากมายหลายแบบไว้คอยต้อนรับผู้ไปเยี่ยมชม
3. พระเจ้าใหญ่ศรีเจริญ เป็นพระพุทธรูปขัดสมาธิราบปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 1.30 เมตร
(51 นิ้ว) สูงจากยอดพระสงฆ์เบื้องล่างถึงพระเกศ สูง 2.00 เมตร (80 นิ้ว) ประดิษฐานอยู่ในพระอุโบสถวัดพระศรีเจริญ เล่ากันว่าสร้างมาแล้ว 750 ปี เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองที่ศักดิ์สิทธิ์ ในเดือน 4
ขึ้น 8- 15 ค่ำ จะเป็นเทศกาลนมัสการองค์พระศรีเจริญ จะมีชาวอำเภอหัวตะพาน อำเภอใกล้เคียง
แม้กระทั่งประชาชนในประเทศลาวก็มาร่วมนมัสการและปิดทองขอพรพระเจ้าใหญ่ด้วย
4. ป่าสงวนแห่งชาติดงใหญ่ เป็นป่าสงวนแห่งชาติป่าดงใหญ่ที่มีพื้นที่ครอบคลุม
ตำบลสร้างถ่อน้อยทั้งตำบลและตำบลจิกดู่บางส่วน ถือได้ว่าเป็นมรดกของชาติ และป่าชุมชนผืนเดียว
ที่ยังคงรักษาสภาพความเป็นป่าได้อย่างสมบูรณ์ ด้วยความรักป่านี้เองทำให้ป่าดงใหญ่ยังคงจะมีอยู่คู่
อำเภอหัวตะพาน
5. หนองหาน เป็นแหล่งน้ำที่ใสสะอาด อยู่ทิศใต้ของบ้านสร้างถ่อนอกมีดอนแม่ม่าย
เป็นเกาะกลางน้ำ ริมหนองหานมีทิวทัศน์ที่สงบร่มรื่น น่าพักผ่อนหย่อนใจ เดิมหนองน้ำแห่งนี้ เคยเป็น
ที่จัดงานสงกรานต์และจุดบั้งไฟ ประจำปี
6. สร้างถ่อ เชื่อกันว่าเป็นท่อนไม้แก่นที่ยังฝังอยู่กลางน้ำซับ เชื่อว่าเป็นบั้งไฟ
ของผาแดงเชียงเพียน มาตกบริเวณนี้ อยู่ทางทิศใต้ของบ้านสร้างถ่อนอก ห่างจากวัดบ้านสร้างถ่อนอก
ประมาณ 500 เมตร
7. ศูนย์ศิลปาชีพป่าดงใหญ่ ตั้งอยู่โรงเรียนบ้านสร้างถ่อนอก ตำบลสร้างถ่อน้อย
ได้รับการคัดเลือกรางวัลชนะเลิศเมื่อปี พ.ศ. 2548 ในการประกวดผ้าไหมและออกแบบชุดราตรี
ที่ อ.ภูพาน จ.สกลนคร จากสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ
8.บ้านนาคู เป็นหมู่บ้านที่มีการพัฒนาอุดมการณ์แผ่นดินธรรมแผ่นดินทองและชนะเลิศการประกวดอีกหลายโครงการระดับภาค ระดับประเทศ แวะเยี่ยมบ้านนาคูแล้วเยี่ยมชมศูนย์เจียระไนพลอย และเครื่องประดับอัญมณีทุกชนิด รอการเยี่ยมชมห่างจากบ้านนาคูไปทางทิศตะวันออกประมาณ
1 กิโลเมตร จะมีตาล 11 ยอด ซึ่งเป็นที่น่าแปลกมาก ได้ถ่ายทำเป็นบทโทรทัศน์ออกเผยแพร่ครั้งหนึ่ง
บ้านนาคูจะมีเส้นทาง แยกจากบริเวณบ้านบ่อชะเนง ทางทิศใต้ก่อนจะถึงอำเภอหัวตะพาน หากเดินทางจากปากทางขมิ้นสู่อำเภอหัวตะพาน จะมีป้ายบอกชัดเจนแยกไปประมาณ 5 กิโลเมตร และหนองสีโว
เป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ
9.บ้านโคกเลาะ ศูนย์ผ้าวอร์มเค็งใหญ่ และโนนงิ้ว ตั้งอยู่ถนนหัวตะพาน ขมิ้น และเส้นทางแยกจากบ้านโคกเลาะ สู่บ้านชาดสามัคคี เป็นทั้งสถานที่ดูงานและแหล่งท่องเที่ยว แหล่งศึกษาโดยบ้านโคกเลาะตั้งอยู่ริมถนนหัวตะพาน ขมิ้น จากบ้านโคกเลาะไปทางทิศเหนือจะไปบ้านเค็งใหญ่ บ้านชาดและถึง
ถนนชยางกูร (ปากทางบ้านชาดสามัคคี) ที่บ้านโคกเลาะจะได้ชมการทำขนมจีน ที่บ้านเค็งใหญ่เยี่ยมชมศูนย์ผ้าวอร์ม บ้านเค็งใหญ่มีผ้าวอร์ม และชุดกีฬา ขายในราคาต้นทุน แล้วเดินทางต่อไปบ้านชาดชมโนนงิ้วที่เป็นโบราณวัตถุที่สำคัญ เช่น ขวานหินโบราณ อาวุธโบราณ ใบเสมาใหญ่ เป็นต้น
สถานที่ไหว้พระ และท่องเที่ยวครับ