ค้นหาสินค้า

ประโยชน์ของการใช้หลอดไฟที่ประหยัดพลังงาน LED

หลอดไฟแอลอีดี เป็นหลอดไฟที่ประหยัดพลังงานมากกว่าหลอดไฟประเภทอื่นๆที่มีอยู่ในตลาดทั้งหมด และการประหยัดเงินค่าไฟฟ้าจากการใช้หลอดไฟ LED ตั้งแต่ 15-75% แล้วแต่ชนิดของหลอดเดิม ก็เป็นจุดประสงค์หลักขององค์กร ร้านค้า บริษัท โรงงานผู้ผลิต ผู้ประกอบการใดอยู่แล้วที่้ต้องการลดต้นทุนภายใน    
   
อย่างไรก็ดี การใช้หลอดไฟ LED ยังมีประโยชน์ในมุมอื่นๆอีกมากที่คุณอาจจะไม่เคยรู้มาก่อน จึงขอแสดงประโยชน์ของการใช้หลอดไฟ LED เป็นข้อๆต่อไปนี้    
   
1. ไม่มีแสง UV    
2. ปล่อยความร้อนน้อยลงกว่าหลอดไฟแบบเดิม    
3. LED ทนต่อการสั่นสะเทือนมากกว่า    
4. แสงจากหลอดไฟ LED ไม่กระพริบ    
5. ประสิทธิภาพของแสงที่เหมาะสมกับรูปแบบโคม    
1.ไม่มีแสง UV    
   
หลอดไฟประเภท LED ที่เป็นที่นิยมใช้ในยุโรปและประเทศที่พัฒนาแล้วทั้งหมด จะไม่มีแสง UV ปลดปล่อยออกจากแสงใดๆเลยแม้แต่น้อย เมื่อเทียบกับหลอดไฟนีออน (หลอดประเภทฟูออเรสเซ้นท์แบบธรรมดาที่มีใช้กันอย่างแพร่หลาย)แล้วจะพบว่า หลอดไฟนีออนนั้นจะให้แสงสว่างได้ก็ต้องเมื่อมีการกระตุ้นสารไอปรอทที่อยู่ใน หลอดนีออน แล้วมีการถ่ายเทพลังงานซึ่งระหว่างการกระทำนี้ จะเกิดแสง UV ที่ไม่อาจจะหลีกเลี่ยงได้ปล่อยออกมาพร้อมกับแสงสว่างที่เกิดขึ้น เนื่องด้วย UV จะมีผลกระทบต่อสินค้าที่โดนแสงอย่างต่อเนื่องยาวนาน ตัวอย่างเช่น ศูนย์แสดงรถยนต์ที่จะต้องฉายแสงไฟต่อเนื่องไปยังผิวรถเพื่อให้เกิดความเงา งามสะท้อนแสงไฟ แต่นั่นก็อาจจะทำให้เกิดปัญหาต่อสีรถได้ เป็นต้น    
2. หลอดไฟ LED ปล่อยความร้อนน้อยลงกว่าหลอดไฟแบบเดิม    
   
หลอดนีออน หรือหลอดฟูออนเรสเซ้นท์ปกติที่ตามบ้านเรือนหรือแม้กระทั่งโรงงานใช้กันอยู่ นั้น จะมีการปล่อยความร้อนออกมาอยู่ในระดับ 70-90 องศาเซลเซียสขณะทำงานต่อเนื่องตลอดอายุการใช้งาน หรือ ที่แย่ไปกว่านั้น หลอดฮาโลเจน (halogen) จะปล่อยความร้อนออกมาได้สูงกว่าหลอดนีออนขึ้นไปอีก คือระดับอุณหภูมิช่วง 150-200 องศาเซลเซียส พลังงานความร้อนที่เกิดขึ้นนั้น เป็นสิ่งที่ไม่ต้องการเพราะ เนื่องด้วยการเปิดไฟฟ้าเพื่อแสงสว่างนั้น คุณต้องการแค่ “แสงสว่าง” เป็นสำคัญ ไม่ได้ต้องการความร้อนแต่อย่างใด ความร้อนเหล่านี้ เกิดขึ้นอย่าหลีกเลี่ยงไม่ได้ด้วยเทคโนโลยีแบบเดิมๆของหลอดไฟ ที่อาจจะปล่อยความร้อนออกมากับคลื่นแสง (UV) หรือแม้กระทั่ง Infrared (IR) ทั้งหมดแล้วล้วนเป็นพลังงานที่คุณจ่ายเงินเพื่อแปลงพลังงานไฟฟ้าไปเป็น พลังงานรูปแบบอื่นๆที่ คุณไม่ได้ต้องการเลยแม้แต่น้อย    
   
นอกจากนี้พลังงานความร้อนเหล่านี้ จะยังคงไปเพิ่มโหลดสำหรับการปรับอากาศในโรงงานที่ต้องควบคุมความชื้น ความร้อนหรืออุณหภูมิภายในห้องปฏิบัติการ หรือสำนักงาน นั่นก็แปลว่า คุณได้จ่ายเงินค่าไฟฟ้าทั้งสองส่วนคือ ส่วนแรก ส่วนที่เป็นพลังงานความร้อนที่ออกมากับหลอดไฟ และ ส่วนที่สอง คือ พลังงานส่วนที่คุณต้องเสียไปค่าปรับอากาศในระบบโรงงานหรือสำนักงาน    
   
ดังนั้นการเปลี่ยนหลอดไฟให้แสงสว่างนีออนหรือฮาโลเจนแบบเดิมๆให้เป็นหลอด ไฟ LED แทน ก็จะทำให้ลดความร้อนในระบบทั้งหมดจากเดิมลงไปได้ จะเป็นการประหยัดเงินค่าพลังงานไฟฟ้าที่คุณอาจจะไม่เคยทราบมาก่อนถือได้ว่า เป็นการลดค่าไฟฟ้าทางอ้อมได้อีกทางหนึ่ง    
   
โรงงานส่วนใหญ่แล้วจะต้องมีการควบคุมระบบปรับอากาศเพื่อให้มีสภาพการทำ งานที่เหมาะสมเนื่องด้วยอาจจะมีผลต่อการประกอบ การผลิต หรือ แม้กระทั่งการเก็บ เช่น โรงงานประกอบชิ้นส่วนอิเล็คทรอนิคส์ ห้องแช่เย็น โรงงานแปรรูปอาหารสำเร็จรูป เป็นต้น    
3. หลอดไฟ LED ทนต่อการสั่นสะเทือน    
   
หลอดไฟประเภท LED จะมีความสามารถในการทนต่อการสั่นสะเทือนได้มากกว่า สินค้าหลายตัวได้เลือกใช้ LED เพื่อใช้งานมาเป็นระยะเวลานาน เนื่องจากกินไฟฟ้าประหยัดกว่า และยังทนต่อการสั่นสะเทือนได้อีกด้วย เช่น ลิฟท์ที่ติดตั้งในอาคาร จะติดไฟประเภท LED เพราะลิฟท์นั้นจะมีอาการสั่นและเคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลา ทำให้ลดโอกาสการเสียของหลอดไฟได้มากขึ้น ทำให้ไม่ต้องมีพนักงานเข้าไปเปลี่ยนหลอดไฟถี่เท่าเดิม    
4. แสงจากหลอดไฟ LED ไม่กระพริบ    
   
หลอดไฟฟูออเรสเซ้นท์แบบเดิมนั้นจะมีการกระพริบของแสงที่ความถี่ของการกระ พริบ 50 Hz. เนื่องจากกระแสไฟฟ้าที่ใช้สำหรับหลอดไฟประเภทนี้จะเป็นกระแสสลับ (AC) คนงานและพนักงานประมาณ 10-30% มีปฏิกิริยากับการกระพริบของแสงเหล่านี้ โดยอาการที่เกิดเช่น อาการปวดหัว ปวดตา เมื่อมองชิ้นงานภายใต้แสงนีออนต่อเนื่องหลายชั่วโมง และ หากพนักงานเหล่านั้นอยู่ในสายการผลิตก็อาจจะก่อให้เกิดผลกระทบต่อ อัตราประสิทธิภาพในการทำงานได้ด้วยเช่นเดียวกัน อย่างไรก็ดีหลอดไฟนีออนที่มีการกระพริบระดับ 100 Hz ก็ยังมีขายอยู่แต่นั้นไม่ได้เป็นการแก้ปัญหาผลกระทบต่อตัวพนักงานไปเสียทั้ง หมดอยู่ดี    
   
แต่สำหรับหลอดไฟ LED เพื่อติดตั้งทดแทนหลอดไฟนิออน/ฟูออเรสเซ้นท์แบบเดิมๆที่โรงงานหรือสำนักงาน คุณใช้อยู่ ปรากฏว่า “หลอดไฟ LED ไม่มีการกระพริบของแสง” แท้ที่จริงแล้วการกระพริบของตัวเม็ดแสงสว่าง LED เองนั้นจะไม่กระพริบ แต่อย่างไรก็ดีไฟฟ้าที่เข้าสู่แหล่งกำเนิดแสงในหลอดก็ยังคงเป็นไฟฟ้าที่ผ่าน Driver (หรือคนทั่วไปอาจจะรู้จักกว่าเป็นอแดปเตอร์) ที่ทำหน้าที่แปลงไฟฟ้าจากกระแสสลับเป็นกระแสตรง แต่จากการวัดหลอดไฟ LED ที่ใช้ Driver คุณภาพสูงจะสามารถแสดงผลการกระพริบได้ถี่โดยประมาณ มากกว่า 400 Hz ซึ่งก็เป็นความถี่เกินกว่าที่สายตาจะรับรู้ได้ และจะทำให้พนักงานที่อยู่ภายใต้แสงประเภทนี้ ในสายการผลิตก็รับรู้ได้ว่าแสงที่กระทบเข้าตาของพนักงานเหล่านั้นเป็นแสงที่ มีคุณภาพที่ดีขึ้น และเหมาะสมมากขึ้นในการทำงานที่ต่อเนื่อง และยังผลให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานในท้ายที่สุดนั่นเอง    
5. ออกแบบทิศทางของแสงจากหลอดไฟ LED ที่เหมาะสมกับรูปแบบโคมได้    
   
เนื่องจาก LED จะมีทิศทางการส่องสว่างแบบเป็นท่อ ไม่ได้กระจายออกทุกทิศทาง ทำให้สามารถออกแบบตัวหลอดให้เหมาะสมกับโคม โดยไม่ปล่อยแสงไปในทิศทางที่ไม่ต้องการได้ ทำให้เกิดการประหยัดไฟฟ้าได้ ตัวอย่างเหมือนกับภาพด้านล่างนี้

คำสำคัญ: ไฟส่อง