สำหรับ "เตยหอม" นั้น ทุกคนน่าจะรู้จักกันดีใช่ไหมเอ่ย โดยเฉพาะ "ใบเตย" ที่มักถูกนำมาผสมในอาหาร เพื่อให้อาหารมีกลิ่นหอมน่ารับประทาน แถมยังช่วยแต่งสีเขียวให้กับขนมไทยด้วย ซึ่งคนทั่วไปอาจจะรู้ว่าประโยชน์ของ "เตยหอม" มีเพียงเท่านี้ แต่จริง ๆ แล้ว นอกจาก "เตยหอม" จะมีดีที่ความหอมแล้ว ยังมีสรรพคุณทางยาที่ดีต่อสุขภาพแฝงอยู่ด้วยนะผลการศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา พบว่า "เตยหอม" มีฤทธิ์ทางยาด้วย ดังนี้
ในใบเตยมีสารสีเขียวคลอโรฟิลล์(Chlorophyllป สารหอมในใบเตยซึ่งได้จากการกลั่นด้วยไอน้ำประกอบด้วยสารหลายชนิดเช่น ไลนาอิลอะซิเตท( Linayl acete) เบนซิลอะซิเตท(Benzyl acetate) ไลนาลูออล(Linalool) และ geraniol เป็นต้น ส่วนสารหอมที่ได้จากการสกัดด้วยแอลกอฮอล์ประกอบด้วยคูมาริน ( Coumarin ) และเอนทิลวานิลลิน( Ethyl vanillin),pandamarine,geraniol,pandamaril actone
สรรพคุณ
1. ใบเตยสดช่วยบำรุงหัวใจให้ชุ่มชื้น โดยนำมาตำให้ละเอียด
ผสมน้ำเล็กน้อย คั้นเอาแต่น้ำรับประทานครั้งละ 2- 4 ช้อน
2. ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ โดยนำรากประมาณครึ่งกำมือ
หรือ 1 ต้น ต้มกับน้ำรับประทาน
3. ช่วยรักษาโรคเบาหวาน โดยใช้รากประมาณ 90- 120 กรัม
ต้มกับน้ำรับประทานวันละ 2 ครั้ง เช้า และ เย็น
4. น้ำใบเตยช่วยทำให้ร่างกายสดชื่นกระปี้กระเปร่า
การปลูกใบเตย
การปลูกใบเตยนั้นค่อนข้างง่ายพอสมควร อาศัยการดูแลให้สม่ำเสมอ เตยหอม นั้นเราจะต้องมีพื้นที่จะเพาะปลูก ต้องใกล้น้ำค่อนข้างแฉะ มีน้ำหมุนเวียนตลอดปี มีร่มเงารำไรให้ต้นเตยไม่โดนแสงแดดโดยตรง หรือตามร่องสวน ตามชายบ่อน้ำ ส่วนการปลูกในพื้นนามีการเตรียมดินคล้ายกับการทำนาแต่ทำเพียงครั้งเดียวก่อน ปลูกเพื่อให้พื้นที่เรียบ ระบบน้ำดูแลง่าย ส่วนทางเดินเข้าเก็บเกี่ยวเตยหอมขึ้นอยู่ตามความสะดวกสบายที่ผู้ปลูกต้อง จัดการและวางแผนเองตามความเหมาะสมของพื้นที่ปลูกและขนาดพื้นที่ ก่อนปลูกต้องเปิดน้ำเข้าแปลงประมาณ 1 ฝ่ามือ หรือประมาณ 15 เซนติเมตร จากนั้นเตรียมต้นพันธุ์เตยหอมที่แข็งแรงที่มีรากปักลงในแปลง โดยทำเหมือนการดำนา จากนั้นดูแลระบบถ่ายเทน้ำดูแลไม่ให้ต้นที่ปักดำลอยขึ้นมา ทิ้งไว้ 3 เดือน จึงเพิ่มปริมาณน้ำขึ้น หลังจากปลูก 6 เดือน สามารถเก็บเกี่ยวได้ การเก็บเกี่ยวใช้มีดตัดยอด อย่าเสียดายยอด การตัดยอด 1 ยอด ทำให้เกิดยอดใหม่มากมาย โดยเฉลี่ยตัดไป 1 ยอด จะได้ยอดใหม่ 3-5 ยอด ทั้งนี้ การดูแลบำรุงรักษาต้นเตยหอมนั้นก็ไม่ได้ยุ่งยากอะไรมาก เพียงแต่เกษตรกรจำเป็นต้องเอาใจใส่อย่างสม่ำเสมอ มีการปรับพื้นที่ให้โล่ง ไม่มีวัชพืชขึ้นปกคลุมต้นเตยหอม เพราะจะทำให้ ใบเตย หอม หรือต้นเจริญเติบโตช้า และใบไม่สวย ควรจะใส่ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก บำรุงต้น และใบบ้าง เพื่อให้ต้นเตยหอม มีความอุดมสมบูรณ์สำหรับ ใบเตย หอม ที่ส่งขายไปยังท้องตลาด ก็สามารถจะนำไปประกอบอาหารคาว หวาน ได้ตามความต้องการ นอกจากนี้ก็ยังไปประกอบร่วมกับดอกไม้ในการไหว้พระ ซึ่งในตลาดมีความต้องการ ใบเตย หอมเป็นอย่างมาก
เนื่องจากใบเตยมีกลิ่นหอมหวานอย่างมาก จึงได้มีการนำใบเตยมาทำเป็นของหวานต่างๆมากมาย เช่น วุ้นกระทิใบเตย เป็นต้น