ค้นหาสินค้า

ข้อดีของปุ๋ยขี้ค้างคาว

ในอดีตนั้นขี้ค้างคาวเป็นวัตถุดิบในการทำดินประสิว จึงเป็นยุทธปัจจัย ที่ในสมัยอยุธยาเป็นสินค้าควบคุม และเป็นของต้องห้ามสำหรับราษฎรสามัญชน แต่เป็นที่น่าเสียดายว่า ศาสตร์แห่งการทำดินปืนจากขี้ค้างคาวได้สูญสลายไปเสียแล้ว เมื่อเกิดการกลืนกินของวิทยาศาสตร์จากตะวันตก มูลของขี้ค้างคาวนั้นประกอบไปด้วย ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียมในปริมาณที่สูงกว่ามูลของสัตว์ชนิดอื่น จึงเป็นที่นิยมนำมาเป็นส่วนผสมในดินและผลิตเป็นปุ๋ย ที่ใช้ในเกษตรกรรมขี้ค้างคาว    
   
การหมักหมมของสิ่งปฏิกูลที่ค้างคาวถ่ายออกมา ทั้งอุจาระและปัสสาวะนั้น จะส่งผลต่อสภาวะอากาศภายในถ้ำ โดยเฉพาะถ้ำที่มีทางเข้าออกทางเดียว ที่ไม่มีการหมุนเวียนของอากาศ จะทำให้เกิดก๊าซแอมโมเนีย ที่สูงมาก มีรายงานว่าที่ถ้ำ Brackenในมลรัฐ Texas ปริมาณก๊าซอยู่ในระดับที่เป็นอันตรายต่อชีวิตมนุษย์ที่เดียว นอกจากนี้การสะสมของขี้ค้างคาวในถ้ำถ้ามีปริมาณมากเกินไปจะเป็นการลดปริมาตรของถ้ำ อีกด้วย    
ดังนั้นเพื่อป้องกันและหลีกเลี่ยงการเกิดก๊าซพิษมากเกินไป และเพื่อเป็นการควบคุมปริมาตรของถ้ำ จึงควรมีการจัดเก็บขี้ค้างคาวออกบ้างบางส่วน ซึ่งนอกจากจะเป็นการจัดการถ้ำให้เหมาะที่จะเป็นที่อยู่อาศัยของค้างคาวและสิ่งมีชีวิตชนิดต่าง ๆในถ้ำแล้ว ยังเป็นการนำประโยชน์ที่เกิดจากสัตว์ป่ามาใช้โดยตรง ในรูปของขี้ค้างคาว ที่สามารถนำมาทำเป็นปุ๋ย ทดแทนการใช้ปุ๋ยเคมี ที่แต่ละปีมีมูลค่าการนำเข้าหลายร้อยล้านบาท แต่การนำมูลค้างออกจากถ้ำจำเป็นต้องดำเนินการจัดการ ให้เหมาะสมตามหลักวิชาการ ทั้งนี้เพื่อป้องกันการรบกวนค้างคาว และสังคมของสิ่งมีชีวิตในถ้ำ และควรกำหนดหลักเกณฑ์และบุคคลที่ควรได้รับสัมปทาน เพื่อกระตุ้นให้เกิดความรักและหวงแหนในทรัพยากรที่มีอยู่    
   
คุณสมบัติของปุ๋ยขี้ค้างคาว  ขี้ค้างคาว ที่ได้จากค้างคาวพันธุ์กินแมลงจะมีสารอาหารมากกว่าค้างคาวกินพืชที่พบโดยทั่วไป เป็นมูลสัตว์ที่มีคุณค่าค่อนข้างหายาก โดยธรรมชาติแล้วจะมีธาตุฟอสฟอรัสสูงกว่ามูลสัตว์ชนิดอื่น สามารถนำไปใช้แทนฟอสฟอรัสสังเคราะห์หรือสารเคมีได้ทันที ค่าวิเคราะห์ธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์กับต้นไม้ เมื่อนำมาผลิตเป็น ปุ๋ยอินทรีย์ มักมีความแปรปรวนสูงทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับท้องถิ่น,ฤดูกาล และ สภาพอากาศ    
   
อย่างไรก็ตาม ค่าวิเคราะห์หาธาตุอาหารในขี้ค้างคาวที่มีความชื้น 9 เปอร์เซ็นต์ พบว่า มีธาตุไนโตรเจน 3.1% ฟอสฟอรัส 12.2%และโพแทสเซียม 0.6% เมื่อเปรียบเทียบค่าวิเคราะห์ธาตุอาหารของมูลสัตว์หลายชนิดพบว่า ขี้ค้างคาวให้ธาตุฟอสฟอรัสในปริมาณสูงจึงมีบทบาทในการเร่งพัฒนารากพืชและเร่งให้ติดดอกผลเร็วขึ้น ส่วนธาตุไนโตรเจนที่จะช่วยบำรุงต้นและใบนั้นอยู่ในระดับต่ำและโพแทสเซียมมีปริมาณน้อยมาก ไม่สามารถช่วยการเพิ่มความหวานและสีของผลไม้ได้    
   
หากย้อนหลังไปเมื่อ 30-40 ปีก่อน ป่าไม้ยังมีมาก ดินมีความอุดมสมบูรณ์สูง การใส่ปุ๋ยขี้ค้างคาวให้กับต้นไม้ โดยเฉพาะไม้ผลเพียงอย่างเดียวก็เพียงพอ ในทางกลับกัน ปัจจุบันดินของบ้านเราซึ่งอยู่ในเขตร้อนชื้น ฝนตกชุกป่าไม้ถูกทำลายไปมาก หน้าดินถูกชะล้างอย่างรุนแรง ทำให้ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ หากต้องการเพิ่มผลผลิตพืชในระยะสั้น ปุ๋ยเคมียังมีความจำเป็นต้องใช้ควบคู่กับปุ๋ยอินทรีย์ ไม่ว่าจะเป็นปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกก็ตาม จึงจะได้ผลดี    
   
ถ้าถามว่าจะใช้ปุ๋ยขี้ค้างคาวอัตรากี่กิโลกรัมต่อต้น ในอดีตเกษตรกรนิยมใช้ อัตรา 1 ใน 4 ของปี๊บ ต่อไม้ผลที่ให้ผลผลิตแล้ว 1 ต้นปัจจุบันหากต้องการให้ได้ผลดี ต้องนำขี้ค้างคาวและดินที่ปลูกต้นไม้มาวิเคราะห์หาธาตุอาหารก่อน หลังจากได้ค่าวิเคราะห์แล้ว นักวิชาการ กลุ่มปฐพีวิทยา กรมวิชาการเกษตร หรือกรมพัฒนาที่ดินจะสามารถให้คำตอบได้อย่างชัดเจนและถูกต้องแม่นยำ    
   
วิทยาศาสตร์การเกษตรแนวใหม่    
จากการศึกษาค้นคว้าและทดลองเรื่องพืชพันธุ์ต่างๆ ตามแนววิทยาศาสตร์การเกษตรแนวใหม่ นอกจากพืชจะต้องการแร่ธาตุอาหารหลักคือ ไนโตรเจน, ฟอสฟอรัส, โปรตัสเซียม แล้วพืชยังต้องการวิตามิน, กรดอะมิโน และเกลือแร่ต่างๆ อีกมากมายในปริมาณและสัดส่วนที่ต่างกันออกไปตามพืชแต่ละชนิด    
   
ผลวิจัยได้พบว่าพืชเกือบทุกชนิดต้องการไนโตรเจน เฉลี่ยเพียง 1.5% ฟอสฟอรัส 0.5% โพแทสเซียม 1% เท่านั้น ฉะนั้นการที่เราให้ธาตุอาหารตามสูตรที่มีอยู่เดิมคือ 15-15-15, 16-16-16, 46-0-0 ฯลฯ จึงถือเป็นการให้ปุ๋ยเกินความจำเป็นทำให้มีธาตุอาหารตกค้างในดินเป็นจำนวนมาก ก่อให้เกิดการตรึงธาตุอาหารในดิน และมีผลต่อลักษณะทางกายภาพของดิน เช่น ดินแข็งเป็นก้อน,ดินเสีย,    
   
ดินเปรี้ยว ซึ่งมีผลเสียต่อดินในระยะยาว ดังนี้    
- การมีฟอสฟอรัสในดินสูงทำให้พืชขาด Zn, Fe, Cu    
- การมีโพแทสเซียมในดินสูงทำให้พืชขาด Mg, Ca, B    
- การมีกำมะถันในดินสูงทำให้พืชขาด Mn, Mo, S    
- การมีเหล็กในดินสูงทำให้พืชขาด Ca, Mo, Fe    
- การใช้ปูนขาวหรือโดโลไมท์(ฟิลเลอร์)มากเกินไปทำให้พืชขาดธาตุ Zn, Mn, Fe, B, Mo    
   
ด้วยเหตุนี้ ทำให้เรามุ่งมั่นคิดค้นกรรมวิธีการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ที่ใช้แทนปุ๋ยเคมีได้ทันที ลดปัญหาการใช้ปุ๋ยเคมีข้างต้น ทำอย่างไรให้เคมีธรรมชาติในปุ๋ย "ทำงานร่วมกัน" กับปุ๋ยเคมีที่เราผสมเข้าไป เพื่อให้ได้มาซึ่งผลลัพธ์เทียบเท่าปุ๋ยเคมี โดยสกัดจากปุ๋ยขี้ค้างคาว นั่นคือ สูตรลับเฉพาะกรรมวิธีการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ของโรงงานห้ามงคลชัย ในการตอบโจทย์เกษตรกรในภาค "เกษตรอินทรีย์" ตามพระราชดำรัส    
   
   
หลักการง่าย ๆ คือ ต้องทำให้สภาพดินที่เสื่อมโทรมกลับไปสู่ยุคของคำว่า "ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว" เมื่อครั้งเก่าก่อนเรายังไม่รู้จัก ปุ๋ยเคมี แต่ทำไมเราถึงมีพืชพันธุ์ให้บริโภคมากว่าหลายร้อยปีล่ะ? แสดงให้เห็นว่าพวกเรารู้จักใช้ "เคมีธรรมชาติ" ซึ่งอยู่ในรูปแบบของ ปุ๋ยอินทรีย์ เป็นสิ่งที่จับต้องได้ หาก "เคมีธรรมชาติ" ได้ทำงานร่วมกับ "ปุ๋ยเคมี" ทำให้ผลลัพธ์มีความชัดเจนและรวดเร็วยิ่งขึ้น    
   
ถึงจุดนี้หลาย ๆ ท่านอาจเกิดข้อสงสัยคำว่า "เคมีธรรมชาติ" เช่น ของแบบนั้นมันมีจริง ๆ เหรอ? ใช้แล้วจะได้ผลเหรอ? ผมกล้าตอบได้เลยครับว่า "มีอยู่จริง และ จับต้องได้" ทั้งนี้ทั้งนั้นย่อมเกิดจากการลองผิดลองถูกของผู้ใหญ่ 2 ท่าน(ซึ่ง 1 ในนั้นเสียชีวิตไปแล้ว) ในการคิดค้นหาวัตถุดิบอินทรีย์สารต่าง ๆ ที่ใช้แทน NPK ได้ลงตัว มากว่า 10 ปี ด้วยวัตถุดิบที่เกิดจากธรรมชาติกว่า 90% ดังนั้นการ ตรวจวิเคราะห์ใด ๆ ใน Lab ก็ตาม จะพบเพียง 46-0-0,21-0-0,18-46-0,0-0-60 ในปุ๋ยเคมีที่ผสมลงไปเท่านั้น ส่วนที่มองไม่เห็น จะเป็น "เคมีแฝง"(เคมีธรรมชาติ) ซึ่งจะซ่อนอยู่ในวัตถุดิบต่าง ๆ ที่สกัดรวมกัน เป็นปุ๋ยชนิดใหม่ทันที และตอนนี้ยังไม่มีใครเลียนแบบเราได้    
   
สังเกตได้ว่ามีแบรนด์ปุ๋ยเคมีชื่อดังหลาย ๆ แบรนด์พยายามเพิ่มธุรกิจปุ๋ยอินทรีย์เพื่อความครบวงจร แต่ท้ายสุดแล้วก็ไม่ประสบความสำเร็จเท่าไหร่ เห็นได้ชัดว่า การผลิตปุ๋ยอินทรีย์ไม่ใช่เรื่องง่าย ยิ่งการผลิตให้ได้ผลเท่าปุ๋ยเคมีนั้นยากยิ่งกว่าการ "เข็นครกขึ้นดวงจันทร์" ซะอีกหรืออีกนัยนึงปุ๋ยอินทรีย์จะผลิตง่ายขึ้นทันทีครับ ถ้าใช้ ดินหรือฟิลเลอร์ ปั่นผสมเข้าไปด้วยครับ ถ้าทำแบบนั้นก็อยู่ได้ไม่นานหรอกครับ เพราะคุณภาพมันไม่ได้เรื่อง เกษตรกรลองใส่ดูก็รู้ครับ อย่างไรก็ตาม..    
   
ประโยชน์ของขี้ค้างคาว ถ้าใส่ในผลไม้ช่วยให้ผลไม้มีผิวสวย มีรสชาติหวาน ได้น้ำหนัก พืชมีความแข็งแรงต้านทานโรคได้ดี นอกจากนี้ยังมี "Fullvicacid" ช่วยให้พืชดูดธาตุอาหารได้ดีขึ้น ปกติมักจะพบในฟางข้าวที่เน่าเปื่อยผุพัง แต่กลับมีในขี้ค้างคาวมากถึง 10%    
   
กล่าวโดยสรุป ปุ๋ยขี้ค้างคาวมีข้อดีหลายประการที่พอจะกล่าวเป็นข้อๆได้ดังนี้    
   
1.ปุ๋ยขี้ค้างคาว มีธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรอง ธาตุอาหารเสริม ที่เพียงพอ,เข้มข้นและครบถ้วน มากกว่าปุ๋ยมูลสัตว์ชนิดอื่น    
2.ช่วยปรับสภาพดินให้ร่วนซุย ปรับการระบายน้ำและอากาศในดินและปรับสภาพความเป็นกรด – ด่าง ให้เหมาะสมแก่การ    
เจริญเติบโตของพืช นอกจากนี้ยังมีกรดฮิวมิค และแร่เพอไลต์ ที่ช่วยในการจับปุ๋ยและ ปลดปล่อยธาตุอาหารอย่างสมบูรณ์    
ช่วยให้การขยายรากได้ เร็ว และลำต้นแข็งแรงไม่โค้นล้มง่าย    
3.เสริมสร้างประสิทธิภาพการทำงานระบบภายในของพืช และระบบการทำงานของราก การลำเลียงอาหาร การสังเคราะห์แสง    
และกระบวนการต่างๆ ทางเคมีของพืช    
4.ช่วยโอบอุ้มและพยุงธาตุสารอาหารต่างๆ เอาไว้ เพื่อให้พืชสามารถดูดซึมไปใช้ได้อย่างช้าๆ และต่อเนื่องยาวนานก่อนถูก    
น้ำชะล้างละลายลึกลงดิน    
5.การใช้มูลค้างอย่างสม่ำเสมอ จะทำให้เชื้อแบคทีเรียทำงานได้ดีขึ้น เป็นประโยชน์แก่พืชทางอ้อมเพราะทำให้เกิดการ-    
สลายตัวของอินทรีย์สาร เปลี่ยนไปเป็นธาตุอาหารของพืชได้ง่ายขึ้น    
6.ในขี้ค้างคาวอุดมไปด้วยธาตุอาหารเสริม เช่น แมกนีเซียม กำมะถัน แมงกานีส สังกะสี ทองแดง โบรอน และโมลินเดนมี    
   
ซึ่งเพียงพอต่อความต้องการของพืชโดยทั่วไป    
7.การใช้ปุ๋ยมูลค้างอย่างสม่ำเสมอติดต่อกัน จะทำให้ผลตกค้างของปุ๋ยเคมีที่เหลือสะสมอยู่ในดิน และจะค่อย ๆ สลายตัวเป็นอาหาร    
พืชภายหลังต่อไปทีละน้อยอีกด้วย    
8.ขี้ค้างคาวให้ธาตุอาหารฟอสฟอรัสมากเป็นพิเศษ ทั้งนี้เป็นเพราะเกิดจากค้างคาวสายพันธุ์กินแมลง    
   
9.เสริมสร้างผนังเซลล์ของพืช ทำให้พืชแข็งแรง ช่วยให้ขั้วเหนียวบำรุงต้นให้เจริญเติบโต (ออกดอก, ออกผล มาก)และช่วยป้องกัน    
โรครากเน่า โคนเน่า ที่เกิดจากเชื้อราและแบคทีเรีย    
10.ช่วยปรับปรุงและส่งเสริมผลผลิตทั้งปริมาณ ขนาด คุณภาพ น้ำหนัก รสชาติและสีสันของผลผลิตได้เป็นอย่างดี    
   
ส่วนประกอบของปุ๋ยขี้ค้างคาวธาตุอาหารหลัก ไนโตรเจน, ฟอสฟอรัส, โพแทสเซียม    
   
ธาตุอาหารรอง แคลเซียม, แมกนีเซียม, กำมะถัน, โบรอน    
ธาตุอาหารเสริม ทองแดง, เหล็ก, แมงกานีส, โมลิบดินั่ม, สังกะสี    
องค์ประกอบ ฮิวมิดฟอร์ม, อินทรียวัตถุ, ตัวย่อยสลาย

คำสำคัญ: