การเตรียมพันธุ์เพื่อใช้ปลูก
พันธุ์บัวที่ใช้ปลูกส่วนใหญ่ขยายพันธุ์โดยใช้ไหล ไหลที่ใช้ทำพันธุ์มีประมาณ 2-3 ข้อ เกษตรกรผู้ขุดไหลบัวจำหน่ายจะมัดไพลบัวให้มีตาที่จะเจริญเติบโตเป็นต้นบัวจำนวน 3 ตา เกษตรกรส่วนใหญ่จะเรียกว่า 3 ทาง ซึ่งใช้ปักดำได้ 1 จับ
การดำและระยะปลูก
หลังจากเอาน้ำเข้าแปลงที่เตรียมดินเรียบร้อยแล้ว 2-3 วัน ดินจะอ่อนตัว เกษตรกรจะใช้ไม้หรือต้นพงปักเป็นระยะ เพื่อเป็นที่สังเกตในการปลูกบัว โดยใช้ระยะปลูก 1x1 ม. พื้นที่ 1 ไร่ ใช้ 300-400 ไหล
การปักดำทำได้ 2 วิธี คือ
1. การปักดำโดยใช้ไม้คีบ ใช้ไม้ไผ่เหลา โตกว่าดอกนิดหน่อย ยาวประมาณ 30 เซ็นติเมตร พับครึ่งคีบไหลบัวปักดำตามระยะให้ไหลบัวติดอยู่กับผิวดิน การปักดำใช้ไม้คีบนี้ ใช้ในกรณีที่มีน้ำไหล ทั้งนี้เพื่อป้องกันไพลบัวหลุดลอย
2. การปักดำโดยใช้ดินหมก คุ้ยดินให้เป็นหลุมลึกประมาณ 2-3 นิ้ว วางไหลบัวลงในหลุม แล้วใช้ดินกลบไหลบัว โดยเว้นตรงตาเอาไว้
การให้น้ำและการดูแลรักษา
หลังจากปลูกบัวแล้ว ควรให้มีน้ำขังอยู่ในแปลงประมาณ 50 เซ็นติเมตรโดยตลอด ทั้งนี้เพื่อป้องกันหญ้าขึ้นในแปลงนาบัว ระดับน้ำไม่ควรให้ลึกเกิน 1 เมตร เพราะถ้ามีมากเกินไปจะทำให้ได้ผลผลิตต่ำ ในแปลงนาบัวควรเก็บ หญ้าหรือวัชพืช และใบที่เหี่ยวแห้งดำออกให้หมด ถ้ามีวัชพืชบัวจะไม่งาม
ศัตรูของบัวและการป้องกันและกำจัด
ศัตรูของบัวส่วนใหญ่ได้แก่หนอนกินใบซึ่งเกิดจากผีเสื้อกลางคืนทำให้ใบบัวฉีกขาดเป็นรู ศัตรูที่สำคัญอีกชนิดหนึ่งคือ เพลี้ยจั๊กจั่นจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบอ่อน ทำให้ใบหงิกงุ้มลง ซึ่งบางครั้งทำให้ดอกบัวไม่สามารถโผล่พ้นใบขึ้นมาได้ทำให้ดอกได้รับความเสียหาย ดังนั้นจึงควรฉีดยาเซฟวิน 35%หรือยามาลาไธออนทุก 15 วัน หรืออย่างน้อยเดือนละครั้ง ในแปลงที่เลี้ยงปลาด้วย ควรใช้แสงตะเกียงล่อในตอนกลางคืน
การเก็บเกี่ยว
เมื่อปลูกบัวแล้วประมาณ 2 เดือนครึ่ง ถึง 3 เดือน ก็จะเริ่มออกดอก ให้เก็บเกี่ยวได้ และเก็บต่อเนื่องได้ตลอด จนกว่าบัวจะเริ่มโทรม ซึ่งควรให้ปุ๋ยชีวภาพอย่างต่อเนื่อง เดือนละ 1 ครั้ง หลังจากบัวโทรมแล้วสามารถเก็บไหลนำมาขยายพันธุ์ต่อไ้ด้ หรือจะสูบน้ำออกและไถกลับหน้าดินเพื่อให้บัวได้เกิดใหม่และเจริญเติบโตอีกครั้ง เรียกว่าการทำสาวให้บัว เป็นต้น
สำหรับเกษตรกรผู้สนใจ
สามารถติดต่อ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมอย่างเป็นกันเอง หรือสั่งซื้อไหลพันธุ์บัวได้ที่ สวนชัยวัฒน์. เมล็ดพันธุ์บัว เกษตรกรผู้จำหน่ายไหลพันธุ์บัวคุณภาพ พร้อมจัดส่งทั่วประเทศ และให้คำแนะนำทั้งด้านการปลูก และการตลาดแก่เกษตรกร โทร : 086-8427872, 087-1330927 หรือ [email protected]