ประเภทของพริกตามลักษณะลำต้น
พริกที่มีการปลูกกันในปัจจุบันนี้ถ้ากล่าวรวม ๆ แล้วมีทั้งชนิดที่มีรสชาติเผ็ดมาก เผ็ดน้อย ไปจนถึงไม่เผ็ดเลย และขนาดของผลมีทั้งผลขนาดเล็ก กลาง และใหญ่ เช่น พริกยักษ์ พริกใหญ่ แต่อย่างไรก็ตามการจัดหมวดหมู่พริกในปัจจุบันยังค่อนข้างสับสน แต่มีวิธีที่นิยมใช้กันคือ การแบ่งแยกประเภทของพริกตามลักษณะลำต้นได้เป็น 13 พวกใหญ่ ๆ คือ
๑. พวกต้นล้มลุก พริกที่อยู่ในพวกนี้มีชื่อเรียกทางวิทยาศาสตร์ว่า Cap?sicum annuum L. เป็นพริกที่มีอายุในการให้ผลผลิตสั้น(อายุสั้น) ดอกอาจมีสีขาวหรือสีม่วง มีหนึ่งดอกต่อข้อ ดังนั้นการเกิดผลจึงเกิดเป็นผลเดี่ยว มีทั้งชนิดที่ปลายผลชี้ขึ้นฟ้าและชี้ลงดิน (การติดผล) ซึ่งสามารถแบ่งออกได้อีกหลายชนิดโดยพิจารณาตามขนาด รูปร่าง สีของผล ตลอดจนการให้รสชาติว่ามีความเผ็ดมากน้อยเพียงใดหรือไม่เผ็ด ผลที่ยังอ่อนอยู่ สีของผลมักมีสีชีด, สีเขียว หรือสีม่วง เมื่อผลแก่จะมีสีแดงเข้ม, เหลืองอมส้ม, เหลืองนํ้าตาล, ม่วง หรือสีขาวนวล พริกที่จัดอยู่ในพวกนี้ เช่น พริกขี้หนู พริกยักษ์ พริกหยวก พริกจินดา พริกมัน หรือพริกชี้ฟ้า เป็นต้น
๒. พวกยืนต้น พริกที่อยู่ในพวกมีชื่อเรียกทางวิทยาศาสตร์ว่า Capsicum frutescens L.) เป็นพริกที่มีอายุในการให้ผลผลิตนานกว่าพวกแรก (ประมาณ ๒-๓ ปี) มีลักษณะต้นเป็นไม้กึ่งพุ่ม ดอกสีเขียวอมเหลืองมี ๑-๓ ดอกต่อข้อ ผลที่เกิดขึ้นจึงเป็นกลุ่มขนาดผลเล็ก ลักษณะของโคนผลใหญ่ ปลายเรียวเล็กยาวประมาณ ๒-๓ เซนติเมตร ปลายผลชี้ขึ้น ผลเมื่อสุกมีสีแดงหรือเหลือง ส่วนใหญ่มีรสเผ็ดจัด เช่น พริกขี้หนูสวน พริกตาบาสโก เป็นต้น
สำหรับพันธุ์พริกที่ปลูกทั่วไปในประเทศไทย ส่วนใหญ่จะแตกต่างกันออกไปตามท้องที่ปลูกและชื่อพันธุ์พริกก็มักเรียกต่างกันไปตามท้องถิ่นนั้น ๆ เช่น พริกพันธุ์ห้วยสีทน พริกเชียงใหม่ พริกบางช้าง และพริกที่นิยมปลูกมากที่สุดส่วนใหญ่เป็นพริกขี้หนู รองลงมาได้แก่ พริกชี้ฟ้า พริกมัน พริกสิงคโปร์ และพริกเหลือง เป็นต้น ลักษณะของพันธุ์พริกบางพันธุ์ที่มีการปลูกกัน ซึ่งสามารถปลูกขึ้นได้ดี ได้แก่
๑. พันธุ์ห้วยสีทน เป็นพริกขี้หนูเม็ดใหญ่ สำหรับประวัติของพริกพันธุ์นี้ ได้มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องคือ ในปี ๒๕๑๖ ฝ่ายสาขาพืชผัก กองพืชสวน กรมวิชาการเกษตร ได้รับเมล็ดพันธุ์พริกขี้หนูเม็ดใหญ่หรือที่เรียกว่าพริกจินดา จาก ดร.เถลิง ธำรงนาวาสวัสดิ์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในสมัยนั้น และได้นำมาทดลองปลูกศึกษาที่โครงการไร่นาตัวอย่างห้วยสีทน จังหวัดกาฬสินธุ์ เพื่อปรับปรุงพันธุ์ให้มีลักษณะดีทั้งในด้านการเจริญเติบโตและความสม่ำเสมอของสายพันธุ์ รวมทั้งรูปร่าง และขนาดของผลให้เป็นที่นิยมของตลาดต่อมาในปี ๒๕๒๒ ก็ได้ผลิตเมล็ดพันธุ์พริกดังกล่าว (พันธุ์ห้วยสีทน) แนะนำสู่เกษตรกร
ลักษณะประจำพันธุ์ของพริกพันธุ์ห้วยสีทน มีทรงต้นตั้งเป็นพุ่มรูปตัววี สูงประมาณ ๑ เมตร เมื่อเริ่มให้ผล (มีอายุหลังจากย้ายกล้าปลูกประมาณ ๑๐๐ วัน) และจะสูงขึ้นจนถึงประมาณ ๑๕๐-๑๖๐ เซนติเมตร เมื่อมีอายุตั้งแต่ ๕ เดือนขึ้นไป ทรงพุ่มกว้างประมาณ ๘๐ เซนติเมตร มีกิ่งที่แตกออกจากโคนต้นประมาณ ๓-๕ กิ่ง มองดูแล้วมีลักษณะคล้ายกับการแตกกอของข้าว ลักษณะการติดผลชี้ขึ้นบน ผลเมื่อยังอ่อนมีสีเขียว ผลแก่สีแดงเข้ม ยาวประมาณ ๔ เซนติเมตร (ผลที่ออกรุ่นแรกมักยาวกว่ารุ่นหลังๆ) โคนผลใหญ่และเรียวไปหาปลาย ขนาดของผลค่อนข้างอ้วนปานกลาง ทั้งผลสดและผลแห้งมีรสชาติเผ็ดจัด เมื่อเก็บผลที่สุกมาทำเป็นพริกแห้งก็จะมีสีแดงเข้ม ผลเหยียดตรงไม่บุบบู้บี้ ก้านผลโดยทั่ว ๆ ไปยาวเท่ากับความยาวของผล ผลเกิดขึ้นตามข้อของกิ่งเกือบทุกกิ่ง
ลักษณะเด่นเมื่อเปรียบเทียบกับพันธุ์พื้นเมือง
๑. ให้ผลผลิตสูงกว่า
๒. ให้น้ำหนักพริกแห้งสูงกว่า
๓. ผลสีแดงและเข้มกว่าทั้งสดและแห้ง
๔. เมื่อผลแห้งผิวจะมันมากกว่า
๕. ผลตากแห้งมีลักษณะที่เหยียดตรงมากกว่า
๖. ก้านผลยาวกว่า ชื่อเป็นที่นิยมของตลาดมาก
๗. แตกกิ่งกระโดงที่โคนต้นมากกว่า
๘. ทนทานต่อสภาพความแห้งแล้งได้ดีกว่า
พริกขี้หนูพันธุ์ห้วยสีทนสามารถปลูกได้ในสภาพดินฟ้าอากาศทั่วไป ทั่วทุกภาศของประเทศและทุกฤดูกาล เป็นพันธุ์ที่ทนต่อความแห้งแล้งได้ดี แต่ไม่ทนต่อดินปลูกที่ชื้นแฉะ จึงไม่เหมาะสมที่จะปลูกในดินที่มีการระบายน้ำไม่ดี ทั้งยังเป็นพันธุ์ที่เหมาะสมสำหรับพริกแห้ง เพราะสามารถเก็บไว้ได้นานวัน
๒. พันธุ์หัวเรือ เป็นพันธุ์พริกขี้หนูเม็ดใหญ่อีกเช่นกัน ปุลูกมากในจังหวัด อุบลราชธานี มีคุณสมบัติของพริกพันธุ์นี้คือ ปลูกง่าย ให้ผลผลิตสูง มีกลิ่นหอม รสชาติชวนกิน รสเผ็ด ลักษณะผลชี้ขึ้น ทั้งยังเหมาะสำหรับทำพริกแห้ง
๓. พันธุ์บางช้าง มีผลขนาดใหญ่ ยาวเรียว ชี้ลงดิน ผิวขรุขระ ผลดิบมีสีเขียวอ่อน เมื่อสุกมีสีแดงเข้ม เมื่อตากแห้งแล้วผิวจะย่นมาก ลักษณะต้นค่อนข้างเตี้ย ใบหน้าใหญ่ มีสีเขียวอ่อน
๔. พันธุ์เจแปน มีลำต้นสูงโปร่ง ทรงพุ่มกว้าง ผลค่อนข้างจะใหญ่ ชี้ลงดิน ผลดีบมีสีเขียวอ่อน ผลสุกสีแดง เมื่อนำไปตากแห้งมีสีส้ม
๕. พันธุ์เคเยนลองสลิม Cayenne Long Slim) เป็นพันธุ์พริกสีฟ้าพันธุ์ หนึ่ง ผลอ่อนมีสีเขียวแก่ เมื่อผลแก่เปลี่ยนเป็นสีแดงจัด
๖. พันธุ์ฮังกาเรียน เยลโล่ แว๊ก ฮอท (Hangarian Yellow Wax Hot) เป็นพันธุ์พริกหยวก ลำต้นตั้งตรง ใบมีสีเขียวอ่อน เมื่อผลยังอ่อนมีสีเหลืองและเปลี่ยนเป็นสีแดงจัดเมื่อผลสุก
๗. พันธุ์เบลบอย ไฮบริด (Bell Boy Hybrid) เป็นพันธุ์พริกยักษ์มี ลักษณะลำต้นเป็นพุ่มขนาดประมาณ ๕๐-๖๐ เซนติเมตร ผลมีสีเขียวเข้มถึงสีแดงเนื้อหนา
๘. พันธุ์บูลสตาร์โฮบริด (Blue Star Hybrid) เป็นพันธุ์ยักษ์อีกเช่นกัน มี ต้นตั้งสูง ผลมีสีเขียวเข้ม เป็นผลขนาดใหญ่ มี ๓-๔ ลอน เนื้อหนาปานกลาง
ข้อมูลบางประการของพริกบางตัวอย่างที่รวบรวมไว้ในประเทศไทย (อ้างตามหนังสือการปรับปรุงพืชเศรษฐกิจของประเทศไทย โดย ดร.เจริญศักดิ์โรจนฤทธิ์พิเชษฐ์ และดร.พีรศักดิ์ ศรีนิเวศน์ ๒๕๒๙)
จาก
http://www.thaikasetsart.com/ประเภทและพันธุ์พริก/