ค้นหาสินค้า

จากกุ้งแห้งในส้มตำ...นำมาสู่การค้นพบที่สำคัญเพื่อเกษตร

จากกุ้งแห้งในส้มตำ.....นำมาสู่การค้นพบที่สำคัญเพื่อเกษตรกรชาวไทย(Bacillus subtilis สายพันธุ์พลายแก้ว)    
ผมขออนุญาตินำท่านที่มีความสนใจด้านเกษตรพอเพียง และชอบทางด้านเกษตรชีวภาพ เพื่อ ลด ละ เลิก การใช้สารเคมีในด้านการเกษตร และหันมาใช้จุลินทรีย์ชีวภาพ เพื่อป้องกันโรคแมลงศัตรูพืช และขอเล่าประวัติคร่าวๆของ บีเอส พลายแก้ว ดังนี้ครับ    
เมื่อครั้งที่เรียน ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน (ปี 2542-2546)    
หลังเลิกเรียน 5โมงเย็นจะมาช่วยงานอาจารย์ดีพร้อม ไชยวงศ์เกียรติ ที่ภาควิชาจุลชีววิทยา ของคณะวิทยาศาสตร์เป็นประจำ    
มีอยู่ครั้งหนึ่ง ผมได้ทำแลปวิเคราะห์เกี่ยวกับด้านจุลชีวของผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ โดยได้โจทย์มาว่า ผลิตภัฑ์สัตว์น้ำที่มีจำหน่ายในท้องตลาดให้นิสิตไปค้นหามาและนำมาเพาะเชื้อดูว่ามีจุลินทรีย์ประเภทไหนบ้าง โดยผมได้นำกุ้งแห้งในส้มตำที่คนชอบกินกันมาศึกษา เพื่ออยากทราบว่ากุ้งแห้งมีจุลินทรีย์อะไรบ้าง    
จึงได้นำกุ้งแห้ง จากร้านส้มตำที่โรงอาหาร มหาวิทยาลัย มาเพาะเลี้ยงเชื้อในจานเพลท ในห้องแลป    
โดยในจานเพลทมีวุ้นที่เป็นอาหารเลี้ยงเชื้อ และได้นำกุ้งแห้งลงในจานเพลท และบ่มไว้ค้างคืน    
พอมาดูพบว่า!! ในจานเพลทที่มีกุ้งแห้งนั้น มีราดำขึ้นรอบๆตัว (Aspergillus)    
และที่น่าแปลกกว่านั้นคือ.....มีเชื้อชนิดหนึ่งอยู่ใกล้กันกับราดำในจานเพลท และราดำไม่สามารถที่จะขยายกินพื้นที่ได้    
ด้วยความสงสัยเชื้อชนิดนี้คงมีอะไรดี หลังจากหมดวิชานี้แล้ว จึงยังไม่ได้Claveและล้างจานเพลททิ้ง    
หลังเลิกเรียนในวันนั้น จึงได้ถือไปวิเคราะห์กับอาจารย์ดีพร้อม ไชยวงศ์เกียรติ ที่ตึกจุลฯ    
และได้ทำการแยกเชื้อบริสุทธิ์มาตรวจดู รูปร่าง สัณฐาน โคโลนี จึงพบว่าเป็น Species B. subtilis    
ในครั้งนั้นอ.ดีพร้อม ไชยวงศ์เกียรติ นายกสมาคมนักวิจัยและเพาะเห็ดแห่งประเทศไทยฯ    
ท่านได้พูดว่า ประเทศญี่ปุ่น เขาค้นพบมานานแล้วและเขาส่งเสริมด้านการเกษตรอย่างแพร่หลาย มีชื่อว่า บาซิลลัส ซับติลิส นัตโตะ (ประมาณว่าชื่อ จะออกแนวญี่ปุ่น นะครับ )    
อาจารย์จึง ได้ตั้งชื่อว่า บาซิลลัส ซับติลิส สายพันธุ์ พลายแก้ว (ชื่อออกไทยๆจะได้แข่งกับญี่ปุ่นได้)    
หลังจากนั้นก็ได้ทำปัญหาพิเศษ ในห้องแลปเพื่อมีแหล่งข้อมูลอ้างอิงและเชื่อถือได้จาก มหาวิทยาลัย ก่อนที่จะนำไปเผยแพร่ให้กับเกษตรกร    
อาจารย์จึงมอบให้ นายปรเมษฐ์ ขวัญอยู่ นิสิตคณะวิทยาศาสตร์ ได้นำเชื้อ Bacillus subtilis สายพันธุ์พลายแก้ว มาทดสอบความสามารถในการยับยั้งเชื้อราโรคพืชต่างๆ ที่พบเป็นเชื้อสามัญทั่วไปกับพืชในประเทศไทย โดยขอตัวอย่างเชื้อจากกรมวิชาการเกษตร ภาควิชาโรคพืช มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และแยกเชื้อเองจากพืชที่เป็นโรค    
พ.ศ. ๒๕๔๗ ปรเมษฐ์ ขวัญอยู่ นิสิตภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เสนอผลงานวิจัยย่อย “ปัญหาพิเศษระดับปริญญาตรี) เรื่อง “การยับยั้งการเจริญของเชื้อราก่อโรคโดยเชื้อแบคทีเรีย Bacillus subtilis สายพันธุ์พลายแก้ว” ว่าเชื้อนี้สามารถยับยั้งเชื้อ Colletotrichum capsici, C. gleosporioides, Rhizoctonia sp., Acremonium sp. ได้ดี ที่ยับยั้งได้รองลงมาคือ Tricoderma sp. และ Phytophthora parasitica แต่ในการทดลองนี้ไม่สามารถยับยั้ง sclerotium sp. แต่กลับเสริมการเจริญของเชื้อนี้    
ในงานวิจัยนี้ได้ทดลองขยายเชื้อแบบง่ายๆ ตามแบบของสุภศิษฎ์ เปรมัษเฐียร (๒๕๔๖) ที่ใช้กับบีที พบว่าได้ผลเช่นเดียวกันและพบว่าเชื้อนี้ตอบสนองต่อน้ำมะพร้าวดีเป็นพิเศษ โดยเฉพาะอย่างยิ่งน้ำมะพร้าวอ่อน เชื้อเพิ่มจำนวนได้ถึง 1X1012 ภายใน ๒๔-๔๘ ชั่วโมง    
โดยข้อมูลเหล่านี้ได้ตีพิมพ์ในหนังสือเห็ดไทยปี พศ.2547    
   

คำสำคัญ: