ไก่เนื้อในปัจจุบันที่เลี้ยงในระบบปิด ก็เพื่อง่ายต่อการควบคุมโรคระบาดที่สำคัญ เช่น โรคนิวคาสเซิล กรมปศุสัตว์ได้กำหนด เรื่องของมาตรฐานฟาร์มเพื่อให้ทางฟาร์มนำไปปฏิบัติ เช่น การสุขาภิบาลฟาร์ม ระบบการควบคุมความปลอดภัยทางชีวภาพ บุคคลจะเข้า-ออกฟาร์ม ต้องมีการผ่านเครื่องสเปย์ยาฆ่าเชื้อ และอาบน้ำก่อนเข้าฟา...ร์ม ส่วนยานพาหนะที่เข้าออก ก็ต้องฉีดพ่นยาฆ่าเชื้อทุกครั้ง สิ่งของที่จะนำเข้าฟาร์มต้องผ่านตู้ยูวี เช่น โทรศัพท์ กล้องถ่ายรูป อุปกรณ์ต่างๆ เรียกได้ว่า คน สัตว์ สิ่งของ ยานพาหนะ ต้องมีการควบคุมการเข้า-ออกทั้งหมด
ลูกไก่ที่ขนส่งมาจากโรงฟักเพื่อนำมาเลี้ยงที่ฟาร์ม ในขั้นตอนเกี่ยวกับการทำวัคซีนเพื่อให้ไก่เกิดการสร้างภูมิคุ้มกันที่ดี เพื่อป้องกันโรคระบาดที่สำคัญ ก็ดั่งเช่น ไก่ที่ออกมาจากตู้ วันแรก ทางโรคฟักจะจับฉีดทำวัคซีน ป้องกันโรค เช่น นิวคาสเซิล พอเดินทางไปถึงฟาร์ม ฟาร์มก็จะให้วิตามินบ้างเพื่อลดเครียด และไก่อายุได้ประมาณ 7 วัน ก็จะทำวัคซีน NDรอบแรก และไก่อายุประมาณ 14 วันก็จะทำวัคซีน IBD และสุดท้ายไก่อายุประมาณ 20 วันจะทำวัคซีน ND รอบสุดท้าย จะเห็นได้ว่า ฟาร์มเองก็ค่อนข้างให้ความสำคัญกับวัคซีน ถึงแม้ค่าวัคซีนอาจจะเพิ่มขึ้นตัวละ 70 สต.- 1 บาท ทั้งนี้ก็เพื่อป้องกันความเสียหายที่จะตามมา เพราะถ้าไก่ป่วยเป็นโรคนิวคาสเซิล ความเสียหายจะมหาศาล ไก่ตายเยอะ ห้ามเคลื่อนย้ายออกนอกฟาร์ม ต้องฝังทิ้งอย่างเดียว
เรื่องราวที่เล่ามาทั้งหมด ซึ่งผมก็ได้ผ่านประสบการณ์มา และผมก็ได้มานั่งทบทวนคิดดูว่าไก่เนื้อกับเห็ดถุงที่มาที่ไปก็คล้ายๆกัน โดยที่ว่าไก่เนื้อก็มีการคัดสายพันธุ์มาตั้งแต่รุ่น ปู่ ย่า(ไก่ป่า) เพื่อคัดเลือกให้ได้สายพันธุ์ที่ต้องการแล้วนำมาเลี้ยงในสถานที่จำลองให้ใกล้เคียงกับที่เขาชอบ ต้องมีปัจจัยที่เหมาะสม เช่น อุณหภูมิ ความชื้น อากาศ อาหาร สิ่งรองนอน เป็นต้น ไก่เนื้อเลี้ยงที่40 วัน ได้น้ำหนักประมาณ 2.5 กิโลกรัม ไก่อยู่ในเล้า มีหน้าที่กินและนอนและกิน ความเปราะบาง อ่อนแอ เครียดง่ายไม่ต้องพูดถึง เมื่อเที่ยบกับไก่บ้าน ดังนั้นเจ้าของฟาร์มจึงต้องให้ความสำคัญ ตั้งแต่ลูกไก่ ไปจนถึงจับไก่ขาย
ฟาร์มเห็ดก็เช่นเดียวกันครับ สายพันธุ์ที่นำมาเพาะทุกวันนี้ ก็คัดมาตั้งแต่เห็ดป่า เห็ดธรรมชาติ
นำมาเลี้ยงในสถานที่จำลองให้ใกล้เคียงกับสภาพอากาศที่เห็ดเคยอยู่ เช่น อาหารในก้อนเห็ด อุณหภูมิ ความชื้น อากาศ ที่เหมาะสม เพื่อให้เห็ดออกดอกตามความต้องการ สิ่งหนึ่งที่อยากให้ทางฟาร์มเห็ดให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่งก็คือ การสร้างภูมิคุ้มกันโรคให้กับเห็ดเหมือนกับฟาร์มไก่ อย่างที่หลายท่านทราบมาโรคเห็ดที่สำคัญก็คือ ราเขียว ดังนั้นถ้าป้องกันตั้งแต่เริ่มต้นก็จะเป็นเรื่องที่ดี สิ่งที่ผมอยากจะแนะนำก็คือว่า หลายท่านคงเคยได้ยินเชื้อ Bacillus subtilis สายพันธุ์พลายแก้ว หรือที่ชาวบ้านเรียกติดปากก็คือ เชื้อบีเอสพลายแก้ว สามารถป้องกันราเขียว และโรคพืชต่างๆได้ดี ดังนั้นเราก็ควรจัดทำโปรแกรม วัคซีนให้กับเห็ด เหมือนที่ฟาร์มไก่เนื้อ เขาทำกัน ดังนี้
ช่วงพักก้อนเห็ดให้เชื้อเห็ดเดิน ขยายเชื้อพลายแก้ว เปิดจุกสำลีออกแล้วฉีดพ่นที่หน้าก้อนเห็ด(ฉีดให้เป็นฝอยบางๆ)
ก้อนเห็ดเดินทางไปถึงฟาร์ม
วันแรก ขยายเชื้อพลายแก้ว ฉีดพ่นหน้าก้อนเห็ด(ฉีดให้เป็นฝอยบางๆ) รวมทั้งฉีดเชื้อบีเอสพลายแก้ว ตามพื้น ผนัง เสา ชั้นวางก้อน ต่างๆให้ทั่วโรงเรือน เพื่อเป็นการควบคุมเชื้อโรคไม่ให้เข้ามาระบาดพื้นที่
ครบ7 วัน ขยายเชื้อพลายแก้ว ฉีดพ่นทั่วโรงเรือน ตามเสา ผนังโรงเรือน ต่างๆเป็นการควบคุมเชื้อโรคไม่ให้เข้ามาระบาดในพื้นที่
ครบ 14 วัน ขยายเชื้อพลายแก้ว(ป้องกันกำจัดรา) เชื้อบีที(กำจัดหนอนต่างๆหนอนแมลงหวี่) ไมโตฝาจ(กำจัดไรไข่ปลา) แล้วผสมรวมกันฉีดพ่นเป็นฝอยๆหน้าก้อนเห็ด ตามเสา ผนัง พื้น ชั้นวางก้อน รอบๆโรงเรืองต่างเพื่อป้องกัน หนอนแมลงหวี่ ไรไข่มาชอบกินเส้นใยเห็ดทำให้เส้นใยเห็ดไม่เดิน
พอหลังจากนี้ทุกๆ 7 วัน ควรฉีดพ่น บีเอสพลายแก้ว เชื้อบีที และไมโตฝาจ เหตุผลก็เพื่อ พอเพาะเห็ดไปนานๆ จะเกิดสิ่งหมักหมมต่างๆ เศษเห็ดร่วงหล่น สิ่งที่นำเข้ามาในโรงเรือนเป็นพาหะของโรค และอาจจะนำมาสู่แหล่งสะสมของเชื้อโรคและแมลง ดังนั้น เรื่องของการสุขาภิบาลฟาร์มเห็ดยังต้องเป็นเรื่องที่ทุกคนควรให้ความสำคัญอย่างยิ่งและนำมาประยุกต์ใช้กับฟาร์มเห็ด ตรงจุดที่สำคัญ เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรคราเขียว.