เฟรนด์ฟอเรส | บ้านแฮด ขอนแก่น
ชุดละ 50 เมล็ด ราคา 50 บาท
สรรพคุณของฝ้ายขาว
รากมีรสชุ่ม เป็นยาร้อนเล็กน้อย ออกฤทธิ์ต่อปอดและตับ ใช้เป็นยาบำรุงกำลัง (ราก)
รากใช้เป็นยาแก้กระษัยลม (ราก)
น้ำมันจากเมล็ดมีสรรพคุณช่วยลดระดับไขมันเลือด (น้ำมันจากเมล็ด)
รากมีสรรพคุณแก้ไอ ช่วยขับเสมหะ (ราก)
รากใช้เป็นยาแก้หอบ (ราก)
รากนำมาต้มกับน้ำรับประทานเป็นยาแก้หลอดลมอักเสบ เมื่อนำน้ำที่ต้มได้จากรากมาให้ผู้ป่วยที่มีอาการหลอดลมอักเสบรับประทาน พบว่าสามารถรักษาผู้ป่วยให้หายเป็นปกติได้ คิดเป็น 70-80% (ราก)
เมล็ดใช้เป็นยารักษาอาการอั้นปัสสาวะไม่อยู่ (เมล็ด)
เมล็ดใช้เป็นยาแก้ริดสีดวง ถ่ายเป็นเลือด (เมล็ด)
รากและเปลือกรากมีรสขื่นเอียน ใช้ปรุงเป็นยาขับประจำเดือนของสตรี แก้ประจำเดือนมาไม่เป็นปกติ ช่วยขับหรือแก้มุตกิดตกขาว ทำให้มดลูกบีบตัวอย่างแรง อาจทำให้แท้งบุตรได้ง่าย สตรีมีครรภ์ไม่ควรใช้ (ราก, เปลือกราก, เปลือกลำต้น)
เมล็ดใช้เป็นยาแก้สตรีตกเลือด รวมถึงตกขาว (เมล็ด)
เมล็ดมีสรรพคุณเป็นยาแก้สมรรถภาพทางเพศเสื่อม (เมล็ด)
ช่วยแก้อาการตัวบวม (ราก)
เมล็ดมีรสเผ็ดร้อน เป็นยาร้อน มีพิษเล็กน้อย ใช้เป็นยาบำรุงไต ทำให้ไตอบอุ่น (เมล็ด)
ใช้เป็นยาแก้ตับอักเสบเรื้อรัง เมื่อใช้รากเข้ากับตำรายารักษาแก้ตับอักเสบ โดยใช้รากเป็นยาหลัก ใช้วันละ 15 กรัม รับประทานวันละ 2-3 ครั้ง ติดต่อกันเป็นเวลา 15 วัน พบว่าร่างกายของผู้ป่วยมีการผลิตเม็ดเลือดขาวเพิ่มขึ้น ทำให้อาการอักเสบน้อยลงและผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น (ราก)
รากใช้เป็นยาห้ามเลือด (ราก)
น้ำมันจากเมล็ดมีรสเผ็ดร้อน เป็นยาร้อน มีพิษเล็กน้อย ใช้เป็นยาแก้กลากเกลื้อน แก้ฝีหนองภายนอก (น้ำมันจากเมล็ด)
น้ำมันจากเมล็ดใช้เป็นยาแก้แผลมีหนองเรื้อรัง แก้โรคผิวหนัง รักษาผิวหนังให้ชุ่มชื้น รวมถึงช่วยบีบมดลูกเพื่อช่วยลมเบ่ง (น้ำมันจากเมล็ด)
ข้อห้ามใช้ : สตรีมีครรภ์ห้ามรับประทานสมุนไพรชนิดนี้ เพราะอาจทำให้เกิดการแท้งบุตรได้ง่าย
ขนาดและวิธีใช้ : การใช้ตามรากแห้งให้ใช้ครั้งละ 15-35 กรัม ส่วนเมล็ดให้ใช้ครั้งละ 6-15 กรัม นำมาต้มกับน้ำรับประทาน การใช้ภายนอกให้ใช้น้ำต้มชะล้างบาดแผลหรือใช้น้ำที่ต้มมาอาบร่างกาย ส่วนการใช้น้ำมันจากเมล็ดตาม ให้นำน้ำมันเมล็ดฝ้ายผสมปรุงในอาหาร เช้าและเย็น หรือใช้บรรจุแคปซูลกิน 1-2 แคปซูล เช้าและเย็น
หมายเหตุ : ในวงศ์เดียวกัน ยังมีฝ้ายอีกหลายชนิด เช่น Gossypium hirstum L., Gossypium barbadense L. ซึ่งแต่ละชนิดจะมีสรรพคุณที่ใกล้เคียงกัน และสามารถนำมาใช้แทนกันได้
ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของฝ้ายขาว
สารสำคัญที่พบ ได้แก่ alamine, apocynin, aspartic acid, glutamic acid, glycine, gossypetin, gossyptrin, gossypol, kaempferol, palmitic acid, phytin, satirane, serine, thrconin, tocopherol, triacontane
ในเมล็ดและเปลือกราก พบสาร Acetovanilone, Asparagin, Berbacitrin, Cossypitrin, Gossypetin, Kaempferol, Quercimeritri นอกจากนั้นในเมล็ดยังพบน้ำมันอีกด้วย
ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่พบ ได้แก่ ฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือด เพิ่มการหลั่งของอินซูลิน ลดระดับไขมันในเลือด ทำให้น้ำหนักตัวลดลง ลดระดับฮอร์โมนเพศชาย (testosterone) ยับยั้งการสร้างอสุจิ คุมกำเนิด ขับปัสสาวะ เป็นต้น
เมื่อนำสาร Gossypol ที่สกัดได้จากรากฝ้ายขาว ให้หนูทดลองที่มีอาการไอกินหรือฉีดเข้าตัวของหนู พบว่าสามารถยับยั้งอาการไอและขับเสมหะได้
สารที่สกัดได้จากใบ กิ่ง และรากฝ้ายขาว มีฤทธิ์กระตุ้นการบีบตัวของมดลูกในหนูทดลอง และทำให้มดลูกของหนูทดลองมีกำลังการบีบแรงขึ้น
สารสกัดจากกิ่งและรากฝ้ายขาว มีฤทธิ์ในการต่อต้านเชื้อ Coccus, Staphelo coccus, และเชื้อไวรัสที่ทำให้เป็นไข้หวัดได้
จากการทดสอบความเป็นพิษ พบว่าน้ำมันฝ้ายดิบในอาหาร 40% เมื่อนำมาให้หนูขาวทั้งสองเพศ กินติดต่อกัน 14 เดือน ไม่เกิดอาการเป็นพิษ
เมื่อปี ค.ศ.1960 ประเทศบราซิล ได้ทำการศึกษาทดลองผลของฝ้ายในการลดไขมันในเลือดสูง โดยทำการทดลองในคนไข้ที่เป็นโรคเส้นเลือดแข็งจำนวน 80 ราย เป็นเวลา 15-30 วัน แบ่งกลุ่มการทดลองออกเป็น 4 กลุ่ม กลุ่มละ 20 คน กลุ่มที่ 1 ให้น้ำมันทานตะวัน, กลุ่มที่ 2 ให้น้ำมันเมล็ดฝ้าย, กลุ่มที่ 3 ให้น้ำมันข้าวโพด, กลุ่มที่ 4 ให้น้ำมันมะกอก ผลการทดลองพบว่า กลุ่มที่ 1, 2, 3 มี -Lipoprotein และ albumin ระดับลดลง ยกเว้นกลุ่มที่ 3 ที่มีระดับสูงขึ้น และพบว่าระดับของคอเลสเตอรอลรวมมีระดับต่ำลงทุกกลุ่ม
เมื่อปี ค.ศ.1961 ประเทศอาหรับ ได้ทำการศึกษาทดลองผลของฝ้ายในการลดไขมันในเลือด โดยทำการศึกษาทดลองในหนูขาว (albio rat) โดยการให้น้ำมันฝ้าย เปรียบเทียบกับหนูที่ให้น้ำมันมะกอก ในหนูขาวที่ถูกกระตุ้นให้มีไขมันในเลือดสูง และให้ Nicoticin acid 10 mg./rat.day ระยะเวลาทำการทดลองนาน 60 วัน ผลการทดลองพบว่า น้ำมันฝ้ายมีผลทำให้คอเลสเตอรอลลดลงเล็กน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับน้ำมันมะกอก และพบสารต่าง ๆ คือ dehyolrocholic acid, p-aminobenzoic acid phenylpropionic a
เมื่อปี ค.ศ.1998 ประเทศปากีสถาน ได้ทดลองหาผลของฝ้ายในการลดไขมันในเลือด ซึ่งทำการทดลองจาก Hemicellulose fraction ในขบวนชีววิทยา ซึ่งพบสารที่ทำการลดไขมันในเลือด (Hypocholesteremic agent) ได้จากการสกัดจาก lignocelluloses ของพืชที่ไม่มีแก่นไม้ เช่น ฝ้าย เป็นต้น
เมื่อปี ค.ศ.2001 ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ทำการทดลองเกี่ยวกับผลของฝ้ายในการลดไขมันในเลือดสูง โดยทำการทดลองกับหนูเพศผู้ที่ถูกกระตุ้นให้มีไขมันในเลือดสูง โดยทดลองเป็นระยะเวลา 5 สัปดาห์ แบ่งหนูทดลองออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ให้น้ำมันข้าวโพดผสมน้ำมันเมล็ดฝ้ายในอัตราส่วน 1:1 ส่วนกลุ่มที่ 2 ทดลองเปรียบเทียบให้น้ำมันเมล็ดฝ้ายอย่างเดียว และกลุ่มที่ 3 ให้น้ำมันข้าวโพดอย่างเดียว ผลการทดลองพบว่า หนูกลุ่มที่ 1 และ 3 ไม่พบความแตกต่างของระดับไตรกลีเซอไรด์ แต่กลุ่มที่ 2 ที่ให้น้ำมันเมล็ดฝ้าย พบว่ามีผลทำให้คอเลสเตอรอลรวมต่ำลง เนื่องจากน้ำมันเมล็ดฝ้ายมีสารจำพวก saturated fatty acid ระดับต่ำกว่าน้ำมันข้าวโพด
ประโยชน์ของฝ้ายขาว
เมล็ดฝ้ายใช้สกัดเอาน้ำมันเพื่อเป็นอาหาร ใช้เป็นน้ำมันหุงต้ม และใช้ในอุตสาหกรรม
ใยฝ้ายสีขาวหรือปุยฝ้าย สามารถนำมาใช้กรอทำเป็นเส้นสำหรับใช้ทอเป็นผืนผ้า เรียกว่า "ผ้าฝ้าย"
โดยทั่วไปแล้วปุยฝ้ายมากกว่าครึ่งหนึ่งของที่ผลิตได้จะนำมาใช้ทำเป็นเครื่องนุ่งห่มและเครื่องใช้อื่น ๆ ส่วนที่เหลือจะนำมาใช้ในอุตสาหกรรมอื่น ๆ เช่น ทำเชือก ทำถุง ทำสายพานต่าง ๆ และยางรถ ส่วนเส้นใยที่สั้นจะนำมาใช้ทำพรมและเครื่องใช้อื่น ๆ ส่วนเส้นใยที่ติดแน่นอยู่กับเมล็ดจะนำมาใช้ทำเส้นใยเทียม เช่น เรยอน และผลผลิตอื่น ๆ ที่ทำจากเซลลูโลส ปุยฝ้ายใช้ทำสำลีและอุปกรณ์ทางการแพทย์ และใช้เตรียมเป็นยาแผนปัจจุบันหลายชนิด
ราคา 50.00 บาท ติดต่อ Warabhorn Rueangsak โทร. 0639093353 0639093353
ร้านนี้ยังไม่มีการแจ้งเลขทะเบียนพานิชย์ เปิดร้านมาแล้ว 5 ปี 7 เดือน