ค้นหาสินค้า

รายชื่อร้านขายกระทุ่มนา ในอำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี

ขายกระทุ่มนา 1 ร้าน/สวน
จำนวนกระทุ่มนา 1 รายการ
ต้นกระทุ่มทอง | ลพบุรีไม้ล้อม/บ่อแก้วพันธุ์ไม้ - เมืองลพบุรี ลพบุรี

1
รายการ

ลพบุรีไม้ล้อม/บ่อแก้วพันธุ์ไม้ | เมืองลพบุรี ลพบุรี
กระทุ่ม : พืชท้องถิ่นที่ราบลุ่มของไทย
ในประเทศไทยมีต้นไม้ที่ชื่อกระทุ่มอยู่หลายชนิด แต่ชนิด ที่รู้จักกันแพร่หลาย และปรากฏในเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน เป็น กระทุ่มที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Mitragyna javanica Koord + Val. อยู่ในวงศ์ Rubiaceae เช่นเดียวกับต้นกระท่อม ที่คนไทยรู้จักกันมากกว่า โดยเฉพาะคนไทย ในภาคใต้ เพราะนิยมนำใบกระท่อมสด มาเคี้ยวเพื่อให้เกิดความกระปรี้กระเปร่า ทำงานได้ทน ไม่เหนื่อย กระท่อมมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Mitragyna speciosa Korth จะเห็นว่าทั้งกระทุ่มและกระท่อมมีชื่อสกุล (Aenus) เดียวกัน จึงมีลักษณะต่างๆ ใกล้เคียงกันมาก
กระทุ่มเป็นพืชยืนต้นขนาดกลางสูง ๑๐-๑๕ เมตร ในประเทศไทยพบขึ้นทั่วไปในที่ราบลุ่ม โดยเฉพาะในพื้นนาภาคกลางที่น้ำท่วมถึง ใบออก เป็นคู่ตรงข้ามกัน ในระหว่างใบมีหู ใบเป็นรูปปากเป็ด ลำต้นค่อนข้างตรง ผิวเปลือกลำต้นสีเทาคล้ำ แตกล่อนเป็นสะเก็ด กิ่งก้านแผ่สาขาเป็นร่มเงาค่อนข้างทึบ เป็นเรือนยอดค่อนข้างทรง กลมงาม ดอกออกเป็นกระจุกช่อตามปลายกิ่ง แต่ละดอกเป็นรูปทรงกลมมีเกสร หุ้มอยู่รอบดอก คล้ายดอกกระถิน มีสีเหลืองอ่อนและกลิ่นหอม
ถิ่นกำเนิดของกระทุ่มสันนิษฐานว่า อยู่ในเขตที่ลุ่มตอนใต้ของอินเดีย พม่า ไทย ลาว เขมร มาเลเซีย อินโดนีเซีย เป็นต้น ผู้ตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ให้กระทุ่มคงพบกระทุ่มเป็นครั้งแรก บนเกาะชวาของประเทศอินโดนีเซีย จึงตั้งชื่อชนิดว่า javanica
คนไทยรู้จักกระทุ่มกันดีมาตั้งแต่โบราณกาล เพราะเป็นไม้ท้องถิ่นดั้งเดิมของไทยชนิดหนึ่ง พบอยู่ทุกภาคของไทย ปรากฏชื่ออยู่ในวรรณคดี
ไทยหลายเรื่อง ในหนังสืออักขราภิธานศรับท์ ของหมอปรัดเล พ.ศ.๒๔๑๖ กล่าวถึงกระทุ่มไว้ว่า "กระทุ่ม : ต้นไม้อีกอย่างหนึ่ง ใบเล็ก ดอกคล้ายดอกตะกู กลิ่นหอม ขึ้นอยู่ชายป่า นอก จากนั้นยังกล่าวถึงต้นไม้อีกอย่างหนึ่ง ซึ่งปัจจุบัน ไม่เรียกชื่อนี้แล้วคือ กระทั่ม : ต้นไม้อย่างหนึ่ง ดอกใบคล้ายกับกระทุ่มขึ้นอยู่กลางทุ่ง"
สันนิษฐานว่า กระทุ่มในหนังสืออักขรา-ภิธานศรับท์คงหมายถึงต้นกระทุ่มที่คนกรุงเทพฯ เรียกว่า กระทุ่มบก ชนิด Anthocephalus chinensis Rich. ex Walp ซึ่งอยู่
ในวงศ์เดียวกัน ส่วนกระทั่ม คงเป็นต้นกระทุ่มที่คนกรุงเทพฯ เรียกว่ากระทุ่มน้ำ หรือกระทุ่มนา ในบทเสภาขุนช้างขุนแผน นั่นเอง
กรณีของกระทุ่มก็คล้ายกับเรียกชื่อทองหลาง ซึ่งตามหลักวิชาและคำเรียกชื่อของคนกรุงเทพฯ สมัยก่อนแล้ว ทองหลางหมาย ถึงทองหลางบก เช่น ทองหลางใบมน ส่วนทองหลางใบเล็กรีที่นิยมนำมาห่อเมี่ยงคำนั้น แต่ก่อนเรียกว่าทองโหลง หรือทองหลางน้ำ ซึ่งปัจจุบันไม่มีคนรู้จักชื่อทองโหลง เช่นเดียวกับไม่รู้จักชื่อกระทั่มเหมือนกัน
ชื่อของกระทุ่มน้ำ นอกจากกระทั่มแล้วยังมีกระทุ่มนา (ภาคกลาง) กระทุ่มแดง (กาญจนบุรี) ตุ้มน้ำ ตุ้มน้อย (ภาคเหนือ) กระทุ่มโคก (โคราช) ท่อมนา (สุราษฎร์ธานี)
ประโยชน์ของกระทุ่ม
น่าแปลกที่กระทุ่มซึ่งเป็นต้นไม้ท้องถิ่นดั้งเดิม กลับไม่พบว่าถูกนำมาใช้เป็นสมุนไพรรักษาโรคโดยหมอพื้นบ้านเลย ประโยชน์ส่วนใหญ่จึงเป็นด้านการใช้สอยเนื้อไม้ ซึ่งนอกจากใช้เป็นเชื้อเพลิง (ฟืนถ่าน) แล้ว ยังใช้ทำเสา กระดาน ฝาบ้าน เป็นต้น และทำเยื่อกระดาษได้ด้วย
เนื่องจากกระทุ่มขึ้นอยู่ตามธรรมชาติในทุ่งนาจึงเป็นที่พักผ่อนหลบแดดลมในฤดูแล้ง หรือฤดูทำนา เป็นที่อาศัยของนก แมลง ผึ้ง เป็นต้น ในท้องนา กระทุ่มทนทานน้ำท่วมขังได้ดี จึงเป็นระบบนิเวศในนาลุ่มที่มีมาเนิ่นนาน เป็นสภาพภูมิประเทศเฉพาะของท้องนาบางแห่ง มองดูงดงามและมีเอกลักษณ์ไม่เหมือนนาแห่งอื่นๆ
รูปทรงต้นและเรือนยอดของกระทุ่มมีลักษณะพิเศษ เหมาะนำมาปลูกเป็นต้นไม้ประดับอาคารสถานที่ให้ร่มเงา และให้ดอกมีกลิ่นหอม ในอนาคตคงมีผู้นำมาใช้ประดับอาคารสถานที่อยู่อาศัยมากขึ้น ต้นกระทุ่มที่อายุมากๆ ลำต้นจะไม่สูงใหญ่มากขึ้นไปอีก แต่จะมีกิ่งก้านคดงอแสดงความมีอายุ คล้ายบอนไซที่นิยมกัน นับเป็นลักษณะที่หาได้ยากในต้นไม้ชนิดอื่น
กระทุ่มเป็นต้นไม้ที่มีความผูกพันกับมนุษย์ด้านความเชื่อ หรือศาสนามานานนับพันปี ในอินเดียสมัยโบราณเชื่อว่ากระทุ่มเป็นต้นไม้อมตะ คือไม่มีวันตาย เพราะเล่ากันว่าเมื่อพญาครุฑ ได้ดื่มน้ำอมฤตแล้วบินมาเกาะที่ต้นกระทุ่ม น้ำอมฤตที่ติดตรง จะงอยปากของครุฑหยดลงมาถูกต้นกระทุ่ม จึงทำให้ต้นกระทุ่มกลายเป็นต้นไม้ที่ไม่ตายไปด้วย
นอกจากนั้นยังเชื่อว่า พระกฤษณะเคยพาฝูงวัวและชายามาพักอยู่ใต้ร่มเงาของต้นกระทุ่ม (เช่นเดียวกับพลายแก้วและนางพิม) ต้นกระทุ่มจึงกลายเป็นต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ประจำองค์พระกฤษณะ บรรดาผู้นับถือพระกฤษณะจึงนับถือต้นกระทุ่ม และนำดอก กระทุ่มไปบูชาพระกฤษณะด้วย น่าคิดว่าการที่สตรีชาวไทยสมัยก่อนนิยมตัดผมทรงดอกกระทุ่มนั้น นอกจากความสะดวก งดงามแล้ว ยังอาจเกิดจากความเชื่อว่าต้นกระทุ่มและดอกกระทุ่มเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์เป็นมงคล เช่นเดียวกับคนอินเดียนั่นเอง
ปัจจุบันหากผู้อ่านต้องการเห็นต้นกระทุ่มที่ยืนต้นงดงามอยู่ในท้องทุ่งนา ก็อาจไปดูได้ตามท้องนาที่น้ำเคยท่วมถึง เช่น จังหวัดสุพรรณบุรี อ่างทอง สิงห์บุรี พระนครศรีอยุธยา กาญจนบุรี เป็นต้น หรือแม้แต่หลายจังหวัดในเขตทุ่งกุลาร้องไห้ในภาคอีสาน ขอบอกว่าเมื่อท่านได้เห็นต้นกระทุ่มขึ้นอยู่ในท้องนาตามธรรมชาติ แล้ว ท่านจะรู้สึกคุ้มค่ากับความพยายาม และอาจนึกออกถึงความ งดงามของสตรีไทยสมัยก่อนที่ไว้ทรงผมดอกกระทุ่มนั้นด้วย

ติดต่อ ปฐมสิต วงศ์ชวลิต (แชมป์) โทร. 0646969363 0646969363

ร้านนี้ยังไม่มีการแจ้งเลขทะเบียนพานิชย์ เปิดร้านมาแล้ว 12 ปี 11 เดือน

โทรศัพท์