ค้นหาสินค้า

รายชื่อร้านขายเมล็ดพันธุ์ต้นถั่วพู ในอำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง

ขายเมล็ดพันธุ์ต้นถั่วพู 1 ร้าน/สวน
จำนวนเมล็ดพันธุ์ต้นถั่วพู 2 รายการ
เมล็ดพันธุ์ถั่วพู | สวนพอเพียง - บ้านค่าย ระยอง

2
รายการ

สวนพอเพียง | บ้านค่าย ระยอง
เมล็ดพันธุ์ถั่วพู
ราคา 10 บ/ซอง
1ซองบรรจุ 20 เมล็ด
ถั่วพู (Psophocarpus tetragonolobus มีชื่อสามัญว่า Princess bean, Winged bean, Goa bean)
เป็นพืชพื้นบ้านของไทยที่คนไทยรู้จักดีโดยการนำฝักอ่อนมารับประทาน ภายหลังที่ได้พบว่าถั่วพูมีความสามารถพิเศษ
ในการตรึงธาตุไนโตรเจนจากอากาศ และเปลี่ยนเป็นโปรตีนของส่วนต่าง ๆ ทำให้ส่วนเหล่านั้นมีคุณค่าทางอาหารเพิ่มขึ้น
ถั่วพูมีถิ่นกำเนิดอยู่ในแอฟริกาและได้ถูกนำมายังเอเชียอาคเนย์และปาปัว นิวกินีในคริสตศตวรรษที่ 17 และยังคงมีปลูก
เป็นพืชสวนครัวหลังบ้านอยู่ในแถบนี้จนถึงปัจจุบันโดยมิได้มี การปลูกเป็นการค้าเลยนอกจากในพม่าและปาปัวนิวกินี
ถั่วพูสามารถขึ้นได้ในความสูงถึง 2000 ม. ชอบอากาศร้อนที่ชุ่มชื้น เป็นพืชที่มีข้อดีต่าง ๆ คือ
(1) ใช้รับประทานได้แทบทุกส่วนของต้น ตั้งแต่ยอดอ่อน ใบอ่อน ดอก ฝักอ่อน เมล็ดอ่อน
เมล็ดแก่ และหัว และแต่ละส่วนก็มีโปรตีนอยู่ในปริมาณมากกว่าพืชอื่น ๆ
(2) ใช้เป็นอาหารสัตว์ได้ดี
(3) ช่วยบำรุงดิน
(4) ช่วยอนุรักษ์ดิน
(5) ปลูกง่ายและขึ้นได้ดีในทุกภาค
(6) ให้ผลประโยชน์ตลอดระยะเวลาปลูก
(7) ให้ผลผลิตต่อไร่สูง และมีลู่ทางที่จะปลูกเป็นการค้าได้
ปัญหา ที่จะเกิดขึ้นก็คือ ความไม่เคยชินของคนไทยในการนำส่วนต่าง ๆ ไปใช้ประโยชน์ในแบบต่าง ๆ
โดยเฉพาะในการใช้เป็นวัตถุดิบของโรงงานอุตสาหกรรมน้ำมันพืช อาหารคน และอาหารสัตว์
นอกจากนั้นก็มีปัญหาทางด้านเมล็ดพันธุ์และการปรับปรุงพันธุ์
ลักษณะของถั่วพู
ถั่วพูเป็นไม้เลื้อย จัดอยู่ในประเภท herbaceous perennial คือส่วนเหนือดินเป็นพืชล้มลุก มีอายุเพียงไม่กี่เดือนก็จะตาย
แต่ ส่วนใต้ดินจะมีชีวิตอยู่ตลอดไป (ถ้าดินชื้นพอ) ถ้าหากมีค้าง จะขึ้นสูงได้ถึง 3-4 เมตร ดอกมีสีฟ้า ขาว หรือม่วง (แล้วแต่พันธุ์) เป็นดอกสมบูรณ์เพศและผสมตัวเอง ฝักรูปร่างยาว มีสี่ด้าน ลักษณะเป็นปีกกางออกไปตามเส้นทแยงมุมของรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า
(มองจาก ภาคตัดขวาง) ขนาดของฝักยาวตั้งแต่ 6-36 ซ.ม. และมีเมล็ดตั้งแต่ 5-20 เมล็ด เมล็ดมีรูปร่างกลมหรือทรงกระบอก (oblong) (แต่ไม่ยาวนัก) ผิวเป็นมัน มีสีหลายสีตั้งแต่สีขาว ครีม เหลือง น้ำตาล ดำ และลวดลายด่างต่าง ๆ กัน มีน้ำหนัก 0.06-0.40 กรัม/เมล็ด
การเจริญเติบโต ของฝักแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ระยะแรก ซึ่งกินเวลาประมาณ 20 วัน ฝักจะโตถึงขนาดใหญ่ที่สุด
ระยะที่สองซึ่งใช้เวลาประมาณ 44 วัน เมล็ดจะแก่ ฝักจะแห้งเหี่ยวลง
ถั่วพูเป็นพืชที่มีระบบการสร้างปมรากที่กว้างขวางมาก ที่สุดในบรรดาพืชตระกูลถั่วทั้งหลาย ต้นหนึ่ง ๆ อาจมีปมมากถึง
440 ปม.และแต่ละปมก็จะมีขนาดใหญ่ผิดปกติ ปมใหญ่ ๆ ปมหนึ่งจะมีน้ำหนักสดถึง 0.6 กรัม เส้นผ่าศูนย์กลางถึง
1.2 ซ.ม. การเกิดปมเกิดโดยธรรมชาติโดยไม่จำเป็นต้องเพาะเชื้อไรโซเบียม ทั้งนี้เพราะดินทั่วไปมีเชื้อไรโซเบียม
ที่จัดอยู่ในกลุ่มถั่วกระด้างอยู่มาก ตามธรรมชาติอยู่แล้ว
นิเวศวิทยา
ถั่วพูสามารถขึ้นได้ในสถานที่ตั้งแต่ ระดับน้ำทะเลจนถึงที่สูง 2000 เมตร และระหว่างเส้นขนาน 20 ํ เหนือ และ 10 ํ ใต้
ซึ่งอยู่ในเขตเอเชียเขตร้อน เชื่อกันว่าถั่วพูต้องการสภาพวันสั้นในการกระตุ้นให้เกิดดอก ทั้งนี้เพราะเมื่อนำไปปลูกในเขตอบอุ่น
(เส้นขนานสูง ๆ) ถั่วพูมักจะไม่ออกดอก ทั้งนี้ไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องของอุณหภูมิแต่ประการใด ถั่วพูเป็นพืชที่ต้องการน้ำมาก
จึงขึ้นได้ดีในเขตร้อนที่ชุ่มชื้น แต่ถ้ามีน้ำก็ขึ้นได้ในเขตร้อนทุกแห่ง แม้ว่าจะมีระบบรากที่มากมายและมีหัวใต้ดิน
แต่ถ้าประสบกับภาวะแห้งแล้งเป็นเวลานาน ก็จะตายได้เหมือนกัน
ข้อดีของถั่วพู
1. เป็นพืชที่รับประทานได้แทบทุกส่วนของต้น
ใน บรรดาพืชที่มนุษย์ปลูกเพื่อใช้รับประทานผลผลิตนั้น มีอยู่น้อยชนิดเหลือเกินที่เราสามารถนำเอาส่วนต่าง ๆ
มาใช้รับประทานได้ทั้งหมด ถั่วพู เป็นพืชชนิดหนึ่งที่แทบทุกส่วนของต้นใช้รับประทานได้ ส่วนต่าง ๆ ของถั่วพู
ที่รับประทานได้มีดังต่อไปนี้
ก. ยอดอ่อน เมื่อต้นถั่วพูเจริญจากเมล็ดหรือหัวใต้ดินไต่ขึ้นร้านหรือเสาค้ำแล้ว ถ้าหากเด็ดยอดอ่อนออกบ้าง
ก็จะช่วยให้ต้นแตกกิ่งก้านสาขามากยิ่งขึ้น ยอดอ่อนเหล่านี้อุดมไปด้วยโปรตีนและแร่ธาตุ และมีรสชาติอร่อย
จึงใช้เป็นผักรับประทานได้โดยทำเป็นผักต้มจิ้มน้ำพริก ผัด ใส่ในแกงจือ (เช่นเดียวกับยอดตำลึง)
ข. ใบอ่อน เมื่อเด็ดยอดอ่อนออกแล้ว ถั่วพูจะแตกกิ่งก้านสาขามาก (และมียอดอ่อนให้เด็ดมากขึ้นอีก)
แต่ใบที่ติดอยู่กับยอดที่เหลือก็จะเจริญขึ้น ก่อนที่ใบเหล่านี้จะแก่ เราจะเด็ดมารับประทานได้โดยทำเป็นแกงจืด
ผักต้ม ผัด ฯลฯ
ค. ดอก เมื่อต้นมีอายุพอสมควรแล้ว ถั่วพูจะออกดอกเป็นช่อประมาณ 2-6 ดอก (ระยะเวลาแล้วแต่พันธุ์
ตั้งแต่ประมาณ 2-4 เดือน) ช่อดอกเหล่านี้หากปล่อยทิ้งไว้ก็จะติดฝัก ซึ่งถ้าปล่อยให้ติดฝักมากเกินไป
ต้นอาจโทรมเร็ว จึงควรเด็ดออกมารับประทานเสียบ้าง อาจนำไปทำเป็นผักสลัด ทอดกับน้ำมัน (รสชาติคล้ายเห็ด)
ชุบแป้งทอด (แบบดอกโสน) หรือชุบไข่ทอดก็ได้
ง. ฝักอ่อน เมื่อดอกบานและเกิดการผสมพันธุ์แล้ว ฝักก็จะเริ่มเจริญขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยทั่ว ๆ ไป จะใช้เวลา
ประมาณ 2 สัปดาห์ ฝักก็จะใหญ่ที่สุดที่เหมาะสำหรับนำไปบริโภค แต่อาจเก็บฝักขนาดเล็กกว่านี้ไปบริโภคได้
ฝัก เหล่านี้อาจใช้รับประทานแบบต่าง ๆ ดังได้กล่าวมาแล้วข้างต้น หรือจะดัดแปลงวิธีการอย่างใดก็ได้ เช่น ชุบไข่ทอด (แบบมะเขือยักษ์ ชะอม) ชุบแป้งทอด ฯลฯ
จ. เมล็ดอ่อน ฝักที่มีอายุเกิน 2 สัปดาห์นั้น จะเริ่มมีเสี้ยนมากจนไม่เหมาะที่จะรับประทาน แต่เมล็ดภายในฝักยังอ่อน
พอที่จะนำไปรับประทานได้ โดยการนำไปทำเป็นผักต้ม ผัด ฯลฯ แบบเดียวกับถั่ว pea ของต่างประเทศ
ฉ. เมล็ดแก่ เมื่อฝักแก่และแห้งเหี่ยวแล้ว เมล็ดที่อยู่ภายในจะยังไม่แตกออก หากมีมาก เมล็ดเหล่านี้สามารถนำไปใช้
ประโยชน์ได้ 2 ทาง คือ

(1) สกัดน้ำมัน - ได้น้ำมัน 17% เป็นน้ำมันที่มีคุณภาพดี เพราะมีกรดไขมันที่ไม่อิ่มตัว (unsaturated fatty acids)
จึงไม่เป็นสาเหตุของโรคไขมันอุดเส้นเลือด ดังเช่นน้ำมันบางประเภท น้ำมันเมล็ดถั่วพู จึงเหมาะสำหรับใช้เป็นน้ำมันหุงต้ม
(2) น้ำมันสกัด-ได้ โปรตีน - มีอยู่ถึง 34% เป็นโปรตีนที่มีคุณค่าทางอาหารไล่เลี่ยกับเมล็ดถั่วเหลือง ซึ่งจัดว่าเป็นโปรตีน
จากพืชที่ดีเยี่ยม ใช้ทำผลิตภัณฑ์อาหารได้ดีเช่นเดียวกับเมล็ดถั่วเหลือง และดีกว่าตรงที่ไม่มีกลิ่นเต้าหู้
เมล็ดถั่วพูมีเปลือกแข็งจึงต้องใช้เวลานานในการหุงต้มหรือคั่ว โดยปรกติจะใช้เวลาต้มถึง 2-3 ชั่วโมง
นอกจากน้ำมันและโปรตีนแล้ว เมล็ดแก่ของถั่วพูยังมีสาร tocopherol ในปริมาณสูง สารนี้เป็น antioxidant
ซึ่งเป็นตัวการสำคัญในการไปต่อต้านตัวทำลายไวตามินเอ ดังนั้นจึงทำให้การใช้ประโยชน์ของไวตามินเอ ในร่างกาย
จากอาหารได้ผลดียิ่งขึ้น
ช. หัว หัวถั่วพูมีโปรตีนอยู่สูงในบรรดาพืชหัวทั้งหลาย กล่าวคือในสภาพสด มี 12-15% แต่ในสภาพแห้งมีมากกว่า 20%
เปรียบเทียบกับมันสำปะหลัง 1% มันฝรั่งและมันเทศ 2% ใช้รับประทานแบบหัวมันฝรั่งและมันเทศ เช่น นึ่ง ต้ม เผา เชื่อม
นอกจากมีคุณค่าทางอาหารแล้ว หัวถั่วพูยังมีรสชาติอร่อยอีกด้วย

ราคาซองละ 10.00 บาท ติดต่อ ปิ่นมณี เวทวงศ์ โทร. 0863672300 0863672300

ร้านนี้ยังไม่มีการแจ้งเลขทะเบียนพานิชย์ เปิดร้านมาแล้ว 15 ปี 0 เดือน

โทรศัพท์