ค้นหาสินค้า

รายชื่อร้านขายสมุนไพรอบแห้ง ในอำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์

ขายสมุนไพรอบแห้ง 2 ร้าน/สวน
จำนวนสมุนไพรอบแห้ง 4 รายการ
กระชายดำอบแห้ง กระชายดำสด | สวน นายกระจอก - เขาค้อ เพชรบูรณ์

2
รายการ

สวน นายกระจอก | เขาค้อ เพชรบูรณ์
กระชายดำอบแห้ง ส่งออกญี่ปุ่น เกาหลี อินเดีย
08-9206-6080
กระชายดำอบแห้ง กระชายดำสด พันธุ์กระชายดำ จากชาวเขาเผ่าม้งในเขตอำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ (ต๊ะ-สวนนายกระจอก)

กระชายดํา
กระชายดำ: (โสมไทย, โสมกระชายดำ) ชื่อสามัญ Black Galingale
กระชายดํา: มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Kaempferia parviflora Wallich. ex Baker. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ K. rubromarginata (S.Q. Tong) R.J. Searle และ Stahlianthus rubromarginatus S.Q. Tongl.) จัดอยู่ในวงศ์ขิง (ZINGIBERACEAE)
สมุนไพรกระชายดำ มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ขิงทราย (มหาสารคาม), กะแอน ระแอน ว่านกั้นบัง ว่านกำบัง ว่านกำบังภัย ว่านจังงัง ว่านพญานกยูง (ภาคเหนือ) เป็นต้น
ลักษณะของกระชายดำ
ต้นกระชายดำ มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบได้หนาแน่นในแถบมาเลเซีย สุมาตรา เกาะบอร์เนียว อินโดจีน และในประเทศไทย และมีเขตการกระจายพันธุ์ทั่วไปในเอเชียเขตร้อน ในประเทศจีนตอนใต้ อินเดีย และพม่า สำหรับประเทศไทยนั้นมีการปลูกกระชายดำมากในจังหวัดเลย ตากกาญจนบุรี และจังหวัดอื่น ๆ ทางภาคเหนือ โดยจัดเป็นไม้ล้มลุกมีอายุหลายปี มีเหง้าอยู่ใต้ดิน เหง้ากระชายดำ นั้นมีลักษณะเป็นรูปทรงกลม เป็นปุ่มปมเรียงต่อกัน และมักมีขนาดเท่า ๆ กัน มีหลายเหง้าและอวบน้ำ ผิวเหง้ามีสีน้ำตาลอ่อนถึงสีน้ำตาลเข้ม และอาจพบรอยที่ผิวเหง้าเป็นบริเวณที่จะงอกของต้นใหม่ ส่วนเนื้อภายในของเหง้ามีสีม่วงอ่อน สีม่วงเข้ม ไปจนถึงสีม่วงดำ เหง้ามีกลิ่นหอมเฉพาะตัว และมีรสชาติขมเล็กน้อย โดยกระชายดําที่ดีนั้นจะต้องมีสีม่วงเข้มถึงสีดำ กระชายดำเป็นพืชที่ชอบที่ร่ม ดินร่วนซุยหรือเป็นดินปนทรายที่มีการระบายน้ำได้ดี ชอบอากาศหนาวเย็น และขยายพันธุ์ด้วยวิธีการแบ่งเหง้า สามารถขยายพันธุ์ได้ตลอดทั้งปี แต่ถ้าต้องการให้หัวหรือเหง้ามีคุณภาพต้องปลูกและเก็บเกี่ยวตามฤดูกาล คือปลูกในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคม และเก็บเกี่ยวในช่วงเดือนธันวาคมถึงเดือนมกราคม

ใบกระชายดำ
มีใบเป็นใบเดี่ยว ลักษณะเป็นรูปรีหรือรูปไข่ มีความกว้างประมาณ 5-10 เซนติเมตร และยาวประมาณ 10-15 เซนติเมตร ปลายใบแหลม ขอบใบหยักตามเส้นใบ ผิว ใบเป็นร่องคลื่นตลอดใบตามแนวของเส้นใบ ใบมีสีเขียวสด ส่วนโคนก้านใบมีลักษณะเป็นกาบหุ้มลำต้นไว้ ขอบก้านใบมีสีแดงตลอดความยาวของก้าน ส่วนกลางก้านเป็นร่องลึก
ดอกกระชายดำ
ดอกออกเป็นช่อแทรกขึ้นมาจากโคนกาบใบ ก้านช่อดอกมีความยาวประมาณ 5-6 เซนติเมตร กลีบดอกที่ส่วนโคนเชื่อมเป็นหลอด ยาวประมาณ 3-3.2 เซนติเมตร ที่ปลายแยกเป็นแฉก เกสรตัวผู้เป็นหมัน มีสีขาว ลักษณะเป็นรูปขอบขนาน มีความกว้างประมาณ 3 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 10-13 มิลลิเมตร ส่วนกลีบปากมีสีม่วง

สรรพคุณของกระชายดำ
1.จากการค้นคว้าเอกสารงานวิจัยพบว่า สมุนไพรไทยกระชายดำนั้นมีสรรพคุณมากมาย และสามารถช่วยรักษาโรคต่าง ๆ ได้เกือบ 100 ชนิด
2.ใช้เป็นยาอายุวัฒนะ ช่วยชะลอความแก่ มีคุณค่าทางคงกระพันชาตรี ด้วยการใช้เหง้านำมาหั่นเป็นแว่น แล้วนำไป
ตากแดดจนแห้ง นำมาบดให้เป็นผงละเอียดผสมกับน้ำผึ้งปั้นเป็นยาลูกกลอน ใช้กินเช้าเย็น
3.ใช้เป็นยาบำรุงกำลัง ด้วยการใช้เหง้าผสมกับสมุนไพรชนิดอื่นเป็นยาดองเหล้า (เหง้า)
4.ว่านกระชายดำ สรรพคุณช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย (เหง้า)
5.ช่วยบำรุงผิวพรรณของสตรีให้สวยสดใส ดูผุดผ่อง (เหง้า)
6.ช่วยบำรุงฮอร์โมนเพศชาย หากสุภาพสตรีทานแล้วจะช่วยปรับสมดุลของฮอร์โมนทางเพศ (เหง้า)
7.ช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ บำรุงสมรรถภาพทางเพศชาย แก้กามตายด้าน ด้วยการใช้เหง้าสดนำมาดองกับเหล้าขาวและน้ำผึ้งแท้ (ในอัตราส่วน 1 กิโลกรัม : เหล้าขาว 3 ขวด : น้ำผึ้ง 1 ขวด) ดองทิ้งไว้ประมาณ 9-15 วัน แล้วนำมาใช้ดื่มวันละ 1-2 เป๊ก (เหง้า) (กระชายดําไม่ได้เป็นยาปลุกอารมณ์ทางเพศ แต่ช่วยทำให้อวัยวะเพศชายแข็งตัวได้ง่ายและบ่อยขึ้น มีระยะเวลาในการแข็งตัวที่นานขึ้น และสำหรับผู้ที่ไม่ได้มีปัญหาดังกล่าวก็สามารถรับประทานเพื่อช่วยเพิ่มความแข็งแรงขึ้นได้)
8.ช่วยกระตุ้นระบบประสาท บำรุงประสาท ทำให้ร่างกายกระชุ่มกระชวย (เหง้า)
9.ช่วยในการนอนหลับ แก้อาการนอนไม่ค่อยหลับในตอนกลางคืน ช่วยทำให้นอนหลับดีขึ้น (เหง้า)
10.ช่วยบำรุงหัวใจ ช่วยขยายหลอดเลือดหัวใจ แก้โรคหัวใจ (เหง้า)
11.ช่วยบำรุงโลหิตของสตรี (เหง้า)
12.ช่วยในระบบหมุนโลหิตของร่างกาย ทำให้โลหิตไหลเวียนได้ดีขึ้น (เหง้า)
13.ช่วยทำให้เจริญอาหาร (เหง้า)
14.ช่วยรักษาโรคความดันโลหิต รักษาสมดุลของความดันโลหิต (เหง้า)
15.ช่วยรักษาโรคเบาหวาน ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด (เหง้า)
16.ช่วยรักษาโรคภูมิแพ้ (เหง้า)
17.ช่วยแก้หอบหืด (เหง้า)
18.ช่วยแก้อาการใจสั่นหวิว แก้ลมวิงเวียน (เหง้า)
19.เหง้าใช้ต้มดื่มแก้โรคตา ช่วยรักษาสายตา (เหง้า)
20.ช่วยรักษาแผลในช่องปาก ปากเป็นแผล ปากเปื่อย ปากแห้ง (เหง้า)
21.ช่วยแก้โรคตานซางในเด็ก แก้ซางตานขโมยในเด็ก (เหง้า)
22.ช่วยแก้อาการแน่นหน้าอก (เหง้า)
23.ช่วยรักษาโรคในช่องท้อง มีฤทธิ์ต่อต้านเชื้อแบคทีเรียในลำไส้ (เหง้า)
24.ช่วยขับลม แก้อาการจุกเสียด (เหง้า)
25.ช่วยแก้อาการปวดท้อง ปวดมวนในท้อง อาการท้องเดิน (เหง้า) หากมีอาการท้องเดินให้ใช้เหง้านำมาปิ้งไฟให้สุกแล้วนำมาตำให้ละเอียดใช้ผสมกับน้ำปูนใสแล้วคั้นเอาแต่น้ำมาดื่มครั้งละ 3-5 ช้อนแกงหลังจากการถ่ายเนื่องมีอาการท้องเดิน (เหง้า)
26.ช่วยรักษาโรคท้องร่วง (เหง้า)
27.ช่วยในการย่อยอาการ รักษาระบบการย่อยอาหารให้เกิดความสมดุล (เหง้า)
28.กระชายดำ สรรพคุณแก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ (เหง้า)
29.ช่วยรักษาโรคบิด แก้อาการบิดเป็นมูกเลือด (เหง้า)
30.สรรพคุณกระชายดำ ช่วยรักษาโรคกระเพาะอาหาร อันเนื่องมาจากการรับประทานอาหารไม่เป็นเวลา (เหง้า)
31.ช่วยขับปัสสาวะ แก้อาการขัดเบา แก้ปัสสาวะพิการ (เหง้า)
32.ช่วยแก้อาการตกขาวของสตรี (เหง้า)
33.ช่วยขับประจำเดือน แก้อาการประจำเดือนมาไม่เป็นปกติของสตรี (เหง้า)
34.เหง้าใช้โขลกผสมกับเหล้าขาวคั้นเป็นน้ำดื่ม ช่วยแก้โรคมดลูกพิการ มดลูกหย่อนได้ (เหง้า)
35.ช่วยแก้ฝีอักเสบ (เหง้า)
36.ช่วยรักษากลากเกลื้อน (เหง้า)
37.ช่วยแก้อาการปวดหลัง ปวดเมื่อยตามร่างกาย ปวดกล้ามเนื้อ และมีอาการเหนื่อยล้า (เหง้า)
38.ช่วยรักษาโรคปวดข้อ (เหง้า)
39.ช่วยรักษาโรคเก๊าท์ (เหง้า)
40.ช่วยแก้อาการเหน็บชา (เหง้า)
41.กระชายดำ สรรพคุณทางยาช่วยขับพิษต่าง ๆ ในร่างกาย (เหง้า)
42.ช่วยรักษาอาการมือเท้าเย็น (เหง้า)
43.กระชายดำมีฤทธิ์ในการช่วยรักษาเชื้อราที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคผิวหนัง (เหง้า)
44.เหง้าใช้ต้มกับน้ำให้ตรีหลังคลอดบุตรดื่ม จะช่วยขับน้ำนม รักษาอาการตกเลือด และช่วยทำให้มดลูกเข้าอู่เร็วขึ้น (เหง้า)
วิธีใช้กระชายดํา
สำหรับวิธีการใช้กระชายดำ เพื่อเป็นยาอายุวัฒนะ ใช้เป็นยาแก้ปวดท้อง แก้โรคบิด และลมป่วงทุกชนิดถ้าเป็นเหง้าสด ให้ใช้ประมาณ 4-5 นำมาดองกับเหล้าขาว 1 ขวดก่อนนำมารับประทานเป็นอาหารเย็น ในปริมาณ 30 cc. หรือจะฝานเป็นแว่นบาง ๆ แช่กับน้ำดื่ม หรือนำมาดองกับน้ำผึ้งในอัตราส่วน 1:1 หากเป็นเหง้าแห้งก็ให้ใช้ดองกับน้ำผึ้งในอัตราส่วน 1 ต่อ 1 นาน 7 วัน แล้วนำมาใช้ดื่มก่อนนอนหากเป็นแบบชงหรือแบบผง ให้ใช้ผงแห้ง 1 ซอง ชงกับน้ำร้อน 1 แก้ว (ขนาด 120 cc.) และแต่งรสด้วยน้ำผึ้งหรือน้ำตาลตามความต้องการ แล้วนำมาดื่ม
ข้อควรระวังในการใช้กระชายดำ
ห้ามใช้กระชายดำในเด็ก และในผู้ป่วยที่เป็นโรคตับ
ผลข้างเคียงของกระชายดำ การรับประทานในขนาดสูง อาจทำให้เกิดอาการใจสั่นได้
การรับประทานเหง้ากระชายดำติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจทำให้เหงือกร่น
กระชายดำสามารถรับประทานได้ทั้งหญิงและชายโดยไม่เกิดผลข้างเคียงใด ๆ ยิ่งสำหรับผู้สูงอายุก็พบว่านิยมใช้กันมานานมากแล้ว แม้จะมีงานวิจัยในสัตว์ทดลองที่ระบุว่ากระชายดำไม่พบว่ามีความเป็นพิษ แต่ยังไม่มีรายงานการศึกษาวิจัยเพื่อประเมินประสิทธิผลของการใช้กระชายดำในคน จึงควรรับประทานในปริมาณที่พอเหมาะ เพื่อความปลอดภัย
ขอขอบคุณข้อมูลจาก...
http://frynn.com/
รายละเอียดการส่งสินค้า:
จัดส่งทางไปรษณีย์ 3-5 กิโลกรัม (จัดส่งให้ในกรณีสั่งของ 1000 กิโลกรัมขึ้นไป ไม่รวมค่าน้ำมัน)

ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม
http://www.khaokhothailand.com/krachaidam.html

Line ID : tahandaonz
e-mail : [email protected]
https://www.facebook.com/kaempferia
โทร: 08-9206-6080 (นายกระจอก)

ราคากิโลกรัมละ 150.00 บาท ติดต่อ ราเมศ ฤทธิ์เนติกุล โทร. 0892066080 0892066080

ร้านนี้ยังไม่มีการแจ้งเลขทะเบียนพานิชย์ เปิดร้านมาแล้ว 14 ปี 5 เดือน

โทรศัพท์

กระชายดำอบแห้งคุณภาพดีเกรดส่งออกมาเล จีน เกาหลี ญี่ปุ่น | ไร่ทายาท - เขาค้อ เพชรบูรณ์

2
รายการ

ไร่ทายาท | เขาค้อ เพชรบูรณ์
กระชายดำสุดยอดยาสมุนไพรบำรุงกำลัง เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ
กระชายดำไวอาก้าประเทศไทย สรรพคุณเยอะกว่าโสมจีน
#ปลูกเอง #ขายเอง #ส่งออกทั้งหมด
สนใจโทร 089-6951800 ไร่ทายาท
กระชายดำดำสดราคา 120 บาทต่อกิโลกรัม
กระชายดำอบแห้ง 450 บาทต่อกิโลกรัม
เราส่งออกกระชายดำอบแห้งไป เกาหลี ญี่ปุ่น มานาน 10 ปี
กระชายดำ
การชายดำ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Kaempferia parviflora เป็นพืชในวงศ์ เดียวกับกระชาย ต่างกันตรงที่เหง้าของกระชายดำจะมีสีม่วงเข้มอมดำ บางที่เรียกว่า Black Ginger กระชายดำ เป็นสมุนไพรของไทยที่ใช้กันมานาน โดยมีสรรพคุณในด้านเสริมสมรรถภาพทางเพศ และเป็นยาอายุวัฒนะ ในสมัยโบราณจะใช้กระชายดำเป็นยาขับลม สารสำคัญในกระชายดำ มีสารฟลาโวนส์ 12 ชนิด ซึ่งมีสรรพคุณต้านอนุมูลอิสระ ลดคอเลสเตอรอล ป้องกันการสลายตัวของเนื้อกระดูก ลดการเกิดโรคหัวใจ ต้านเบาหวาน ยับยั้งเอนไซม์ไลเปส จึงมีส่วนช่วยในการลดความอ้วน และยับยั้งมะเร็งรังไข่ โดยป้องกันการเกิดหลอดเลือดมาเลี้ยงเซลล์มะเร็ง งานวิจัยปัจจุบันพบว่า สารฟลาโวนส์ จากกระชายดำยับยั้งเอนไซม์ฟอสโฟไดเอสเตอเรส 5 ในกล้ามเนื้อเรียบขอบอวัยวะเพศชาย จึงช่วยในการแข็งตัวของอวัยวะเพศ ซึ่งเป็นกลไกเดียวกันกับยาไวอะกร้า การทดลองในหนู โดยการให้หนูรับประทานสารสกัดจากกระชายดำ พบว่าเพิ่มการไหลของโลหิตไปเลี้ยงที่อัณฑะ โดยไม่มีผลต่ออัตราการเต้นของหัวใจ จึงยืนยันสรรพคุณของกระชายดำ ที่ใช้กันมาแต่โบราณ การวิจัยจากคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น พบว่าสารสกัดจากกระชายดำมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ทำลายเซลล์มะเร็งหลายชนิด และกระตุ้นกำหนัด (กระตุ้นความต้องการทางเพศ) ได้ทำการทดสอบความเป็นพิษ และรับรองแล้วว่ามีความปลอดภัย กระชายดำ จึงเป็นสมุนไพรที่ต้านความเสื่อมต่างๆ เช่น ความเสื่อมจากอนุมูลอิสระ ความเสื่อมของสมอง ความเสื่อมในระบบหมุนเวียนโลหิต ซึ่งส่งผลต่อหัวใจ และสมรรถภาพทางเพศ จึงต้านความชรา
ตามตำรายาไทยกระชายดำมีสรรพคุณ
1. กระชายดำใช้บำรุงกำลัง
2. แก้ปวดเมื่อย และแก้อาการเหนื่อยล้า
3. กระชายดำช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ
4. ช่วยขับลม
5. เป็นยาอายุวัฒนะ (เชื่อว่าช่วยบำรุงสมรรถภาพทางเพศชาย)
6. แก้จุกเสียด แก้ปวดท้อง
7. กระชายดำขับปัสสาวะ
8. หรือโขลกกับเหล้าขาวคั้นน้ำดื่ม แก้โรคมดลูกพิการ มดลูกหย่อน
9. ใช้กวาดคอเด็ก แก้โรคตานซางในเด็ก
10. ต้มดื่มแก้โรคตา
11. กระตุ้นระบบประสาท
12. รักษาสมดุลความดันโลหิต
13. กระชายดำช่วยขยายหลอดเลือดหัวใจ
14. โรคเก๊าท์
15. ช่วยรักษาโรคกระเพาะอาหาร
16. รักษาระบบการย่อยอาหารให้เกิดสมดุลย์
17. แก้โรคบิด
18. รักษาผู้ป่วยเบาหวาน ลดระดับน้ำตาลในเลือด
ลักษณะทางกายภาพและเคมีที่ดี
ปริมาณน้ำไม่เกิน 10% w/w ปริมาณสิ่งแปลกปลอมไม่เกิน 2% w/w ปริมาณเถ้ารวมไม่เกิน 6% w/w ปริมาณเถ้าที่ไม่ละลายในกรดไม่เกิน 2% w/w ปริมาณสารสกัดด้วยเอทานอล ไม่น้อยกว่า 8% w/w ปริมาณสารสกัดด้วยน้ำ ไม่น้อยกว่า 17% w/w (THP III)
ตัวอย่างการใช้กระชายดำ
การใช้กระชายดำเป็นยาแก้ปวดท้อง และยาอายุวัฒนะ ตามภูมิปัญญาไทย
ใช้เหง้า (หัวสด) ประมาณ 4-5 ขีด ต่อสุราขาว 1 ขวด ดองสุราขาวดื่มก่อนรับประทานอาหารเย็น ปริมาณ 30 ซีซี หรือฝานเป็นแว่นบางๆ แช่น้ำดื่ม หรือดองน้ำผึ้งในอัตราส่วน 1:1
ใช้เหง้าแห้งดองกับน้ำผึ้งในอัตราส่วน 1:1 นาน 7 วัน และนำมาดื่มก่อนนอน
ข้อควรระวัง
การรับประทานติดต่อกันนาน อาจทำให้เหงือกร่น และห้ามใช้ในผู้ป่วยโรคตับ และในเด็ก การรับประทานในขนาดสูง ทำให้เกิดอาการใจสั่นได้
ฤทธิ์ต่อระบบสืบพันธุ์:
สารสกัดกระชายดำด้วยเอทานอล โดยการกรอกสารเข้าสายในกระเพาะอาหาร พบว่าสามารถเพิ่มการไหลเวียนของเลือดไปยังอวัยวะเพศผู้ของหนูขาวและสุนัขได้ นอกจากนี้การป้อนสารสกัดกระชายดำ ยังมีผลเพิ่มความหนาแน่นของอสุจิ และระดับ testosterone แต่ไม่ทำให้พฤติกรรมทางเพศเปลี่ยนแปลง สำหรับหนูขาวซึ่งได้รับสารสกัดแอลกอฮอล์ความเข้มข้นสูงขนาด 1,000 มก./กก. น้ำหนักตัว/วัน เป็นเวลา 4 สัปดาห์ สามารถป้องกันภาวะการผสมไข่ไม่ติด แต่สารสกัดขนาดดังกล่าวมีผลทำให้ตับโตขึ้น
การออกฤทธิ์เฉพาะ
1. ฤทธิ์ต้านเชื้อจุลินทรีย์
พบคุณสมบัติของสาร 5,7,4- trimethoxyflavone และสาร 5,7,3,4- tetramethoxyflavone ออกฤทธิ์ต้านเชื้อ Plasmodium Falciparum (โรคมาเลเรีย), เชื้อ Canadida albicans และเชื้อ Mycobacterium และจากการศึกษาฤทธิ์ต้านจุลชีพของน้ำมันหอมระเหยจากกระชายดำ พบว่า สามารถต้านการเติบโตของเชื้อโรค S. aureus ได้ดี
2. พิษต่อเซลล์มะเร็ง
การใช้สารในกลุ่มฟลาโวนอยด์จากกระชายดำที่มีต่อเซลล์มะเร็งไม่พบสารใดที่ทำให้เกิดพิษต่อเซลล์มะเร็งได้
3. ฤทธิ์ขยายหลอดเลือดแดง
การให้สารสกัดจากกระชายดำแก่หนูทดลอง พบว่า หลอดเลือดแดงใหญ่ (Aorta) ของหนูทดลองมีการขยายตัว รวมถึงช่วยลดการหดเกร็งของลำไส้ส่วนปลาย (ileaum) และช่วยยังยับยั้งการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือดได้
4. ฤทธิ์ต้านอักเสบ
สาร 5,7 –ไดเมธอกซีฟลาโวน (5,7-DMF) ออกฤทธิ์ต้านการอักเสบไกล้เคียงกับยามาตรฐานหลายชนิด เช่น ไฮโดรคอร์ติโซน, อินโดเมธาซิน, แอสไพริน และเพรดนิโซโลน และออกฤทธิ์ต้านการอักเสบชนิดเฉียบพลันได้อย่างมีประสิทธิภาพดีกว่าแบบเรื้อรัง นอกจากนั้น ยังพบว่าสามารถยับยั้งอาการอุ้งเท้าบวมของหนูทดลองที่ได้รับสารสารคาราจีแนน และเคโอลินได้ดี
ฤทธิ์สารสกัดกระชายดำช่วยลดการอักเสบของโรคข้อเข่าเสื่อม จากการทดลอง พบว่า สารสกัดจากเอทานอล และเฮกเซนสามารถยับยั้งการเกิดไนตริกออกไซด์ (NO) ในเซลล์เพาะเลี้ยงแมคโครฟาจได้ ซึ่งสามารถชี้บ่งถึงประสิทธิภาพสารสกัดกระชายดำในการยับยั้งสารที่ทำให้เกิดการทำลายของเซลล์ และเนื้อเยื่อได้
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
1. ลำต้น และราก
กระชายดำมีลำต้น 2 ชนิด คือ ลำต้นเหนือดิน (Aerial stem) และลำต้นใต้ดิน (Underground stem) ลำต้นเหนือดิน กลางลำต้นเป็นแกนแข็ง มีกาบใบล้อมรอบแน่น กาบใบหรือโคนใบมีสีแดง มีลักษณะอ่อนอวบ นุ่ม หุ้มแกนลำต้นไว้ ลักษณะคล้ายขมิ้นชันใบเดี่ยว แต่มีลำต้นเล็กกว่า และเตี้ยกว่าขมิ้นมาก
ลำต้นใต้ดินหรือเรียก เหง้าหรือหัว มีลักษณะเป็นรูปวงกลมหรือวงรี เหง้ามีการเจริญเติบโตในแนวระนาบแผ่ขนานตามพื้นดิน เหง้าแก่มีแง่ง แตกออกด้านข้างจำนวนมาก แง่งมีลักษณะแตกเป็นแขนงย่อย มีรูปร่างไม่แน่นอน ลักษณะทั่วไปเป็นรูปกระบองหรือรูปหลอด ยาว 1.5-10 เซนติเมตร หนา 1-2 เซนติเมตร เปลือกด้านนอกมีสีออกสีน้ำตาลแกมสีส้มหรือสีแดง เหง้าที่แก่จะเปลี่ยนเป็นสีเทา เนื้อภายในมีสีน้ำตาลอ่อน สีน้ำเงินหรือสีดำ กลางเหง้ามีตาเจริญเป็นลำต้นเหนือดินหรือช่อดอก
พันธุ์กระชายดำ
พันธุ์กระชายดำ จำแนกตามสีที่พบบริเวณท้องใบ ก้านใบ ขอบใบ และสีเนื้อหัว ดังนี้
1. พันธุ์ใบแดง
เป็นกระชายดำที่นิยมมากที่สุด มีลักษณะเหมือนกับกระชายดำทั่วไป แต่มีสีของใบที่เด่นสวยงาม คือ ด้านหลังใบมีสีแดงอมม่วง ด้านหน้าใบมีสีเขียว ขอบใบมีเส้นสีน้ำตาลอมแดง ลำต้น และก้านใบมีสีแดงอมม่วงเข้ม หัวมีลักษณะกลม สีเนื้อหัวเป็นสีม่วงเข้มจนถึงดำเหมือนสีลูกหว้า ทั้งนี้ ความเข้มของสีใบและสีเนื้อหัวจะขึ้นกับความอุดมสมบูรณ์ของดิน น้ำ และการดูแลรักษา เป็นพันธุ์ที่มีราคาแพงกว่าพันธุ์อื่นๆ ชาวบ้านมักเรียกว่า “สายพันธุ์ตัวผู้”
2. พันธุ์ใบเขียว
เป็นกระชายดำที่ได้รับความนิยมเหมือนกับพันธุ์ใบแดง พันธุ์นี้มีความแตกต่างกับพันธุ์ใบแดงที่สีใบจะเป็นสีเขียวนวลทั้งด้านหน้า และด้านหลัง ลำต้น และกาบใบมีสีเขียวอย่างเดียว ก้านดอกมีสีเขียว กลีบดอกมีสีม่วงสวยงาม มีเส้นรอบกลีบดอกเป็นสีขาว เนื้อมีสีน้ำตาลจนถึงน้ำตาลเข้ม ลักษณะหัวกลมรีน้อยกว่าพันธุ์ใบแดง และราคาจะถูกกว่า ชาวบ้านมักเรียก “พันธุ์ตัวเมีย”
3. พันธุ์กระชายขาวหรือว่านเพชรกลับ
เป็นพันธุ์ที่พบมากตามป่า ลักษณะต่างจากกระชายดำ คือ มีลักษณะลำต้นทอดสูงเหมือนต้นขิง ความสูงประมาณ 80-90 เซนติเมตร กาบใบ และใบขึ้นสลับด้านข้างลำต้น ก้าบใบ และใบมีสีเขียว ด้านหลังใบมีสีม่วงเข้ม ดอกออกเป็นดอกเดี่ยว กลีบดอกด้านนอกมีสีขาวด้านในมีสีแดงแกมม่วง
หัวมีลักษณะเหมือนกระชายดำทั่วไป แต่จำนวนแง่งต่อเหง้าน้อยกว่า สีเนื้อหัวมีสีขาว เป็นที่มาของชื่อ “กระชายขาว” หัวมีกลิ่น และรสชาติยังเหมือนกระชายดำ และมีสรรพคุณเหมือนกระชายดำทุกประการ
ตามความเชื่อของคนชนบท หากนำหัวว่านกระชายขาวติดตัวเวลาเดินป่า ว่านจะช่วยไม่ให้หลงป่า และนำทางกลับ จึงเป็นที่มาของชื่อ “ว่านเพชรกลับ” หรือ “ว่านชักกลับ” จากการสำรวจพบมากที่ อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก
4. พันธุ์กระชายหอม/ว่านหอม/กระชายเหลือง
เป็นพันธุ์ที่หายากในปัจจุบัน ไม่พบการปลูก และขายพันธุ์ให้เห็น ต้องเสาะแสวหาตามป่าลึก จึงทำให้มีราคาสูงกว่ากระชายดำพันธุ์ใบแดง และพันธุ์อื่นๆ ประมาณ 3-5 เท่าตัว เนื่องจากหายาก และเชื่อว่าสรรพคุณเหนือกว่ากระชายดำพันธุ์อื่นๆ
กระชายหอมมีลักษณะต้น ใบ และราก เหมือนกับกระชายดำพันธุ์ใบเขียวทุกประการ แต่สีเนื้อหัวจะมีสีขาวอมเหลืองอ่อน ๆ และมีเอกลักษณ์ที่มีกลิ่นหอม ชวนรับประทานมากกว่ากระชายดำ
กระชายดำ (เนื้อดำแท้) กับ กระชายม่วง (เนื้อสีดำแกมม่วง)
กระชายดำ (ดำแท้) จะมีใบเขียวเกือบเข้ม และทรงใบเรียวยาวมากกว่ากระชายม่วง ใต้ใบ และขอบใบมีสีม่วงแกมอย่างเห็นได้ชัด ส่วนใบกระชายม่วงมีสีเขียวอ่อน ปลายค่อนข้างมน ขอบใบ และใต้ใบมีสีม่วงแกมเล็กน้อยหรือไม่มีเลย
การปลูกกระชายดำ
ฤดูปลูก
ปลูกได้ทั้งปี แต่ฤดูปลูกที่เหมาะสมอยู่ในระหว่างเดือนมีนาคม - พฤษภาคม
การเตรียมหัวกระชายดำสำหรับปลูก
หัวกระชายดำหัวหนึ่งจะมีหลายแง่ง ให้บิ(หัก)ออกมาเป็นแง่ง ๆ ถ้าแง่งเล็กก็ 2-3

ราคา 450.00 บาท ติดต่อ โกศล สืบทายาท โทร. 0896951800 0896951800

ร้านนี้ยังไม่มีการแจ้งเลขทะเบียนพานิชย์ เปิดร้านมาแล้ว 10 ปี 10 เดือน

โทรศัพท์