สวน นายกระจอก | เขาค้อ เพชรบูรณ์
#ขมิ้นชัน
ขมิ้นชัน (Turmeric) หรือขมิ้น เป็นพืชที่มีเหง้าอยู่ใต้ดิน เนื้อของเหง้ามีสีเหลืองเข้มไปจนถึงสีแสด เอกลักษณ์ที่เด่นชัด คือ รสชาติที่จัดจ้าน สีสันมีความสวยงาม อีกทั้งยังได้มีการนำเอาสมุนไพรมาประยุกต์ผสมผสานลงไปในอาหารไทย ทำให้ได้รสชาติที่ดูแตกต่างแต่ลงตัว เมื่อพูดถึงเรื่อง สมุนไพร ที่คนไทยนิยมนำมาทำอาหาร เราคงจะพลาดที่จะเอ่ยถึง ขมิ้นชัน ไม่ได้ เพราะว่าเป็นอีกหนึ่งวัตถุดิบที่ทำให้อาหารมีสีสันสะดุดตา ตลอดจนมีสรรพคุณทางยาที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายเพิ่มพูนเป็นลำดับถัดมาจากความอร่อย ตอนนี้เราจะมาทำความรู้จักกับสมุนไพรชนิดกันให้มากขึ้น เพราะเหตุใดจึงเป็นที่นิยม และประโยชน์ที่ได้จากสมุนไพรชนิดนี้มีอะไรบ้าง หากพร้อมแล้วมาเริ่มเรียนรู้ไปพร้อมๆ กัน
วิตามินและแร่ธาตุในขมิ้นชัน
นอกจากเราจะเราสามารถนำขมิ้นชันไปใช้ประโยชน์ในการประกอบอาหาร ใช้ย้อมสี หรือใช้เพิ่มกลิ่นให้กับอาหารแล้ว ในขมิ้นชันยังมีวิตามินและแร่ธาตุมากมาย เช่น วิตามินเอ วิตามินบีรวม วิตามินซี วิตามินอี แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก เกลือแร่ เส้นใยอาหาร คาร์โบไฮเดรต และโปรตีน
เริ่มเล่าเท้าความถึงขมิ้นชันนั้น เป็นไม่ล้มลุกอายุหลายปี ความสูงของลำต้นเพียง 30 – 90 เซนติเมตรเท่านั้น มีเหง้าใต้ดิน ส่วนตรงกลางมีขนาดใหญ่รูปไข่ มีแขนงแตกออกด้านข้าง 2 ด้าน ที่อยู่ตรงข้ามกันคล้ายนิ้วมือ เนื้อในเหง้ามีสีเหลืองเข้ม กลิ่นหอม คนไทยรู้จักกันในฐานะของพืชสมุนไพรและเครื่องเทศ นิยมนำมาใช้ประกอบอาหาร ปัจจุบันยังได้เพิ่มการแต่งสี แต่งกลิ่น เพิ่มรสชาติให้อาหารมีความน่ารับประทานมากยิ่งขึ้น อาหารที่นิยมใส่ขมิ้นชัน ได้แก่ แกงเหลือง ข้าวหมกไก่ แกงกะหรี่ ขนมเบื้องญวน ไก่ทอด แกงไตปลา มัสตาร์ด เนย มาการีน เป็นต้น
จุดเริ่มต้นของการที่คนเราหันมารับประทานขมิ้นชันนั้น เชื่อกันว่ามีต้นตอมาจากชาวอินเดีย หรือที่เรียกว่า ชาวภารตะ ที่นิยมกินขมิ้นชันกันมานานกว่า 4,000 ปีแล้ว ส่วนคนไทยก็มีความนิยมกินขมิ้นชันเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะทางภาคเหนือและภาคใต้นิยมใส่ขมิ้นชันลงไปในอาหารประเภทแกงเผ็ดเป็นส่วนใหญ่ เพื่อให้มีสีเหลืองและยังช่วยดับกลิ่นคาวปลาได้อีกด้วย รวมทั้งการใส่ลงไปในอาหารก็จะช่วยไม่ให้อาหารบูดเสียง่าย เพราะในขมิ้นชันมีคุณสมบัติที่ช่วยต่อต้านเชื้อจุลินทรีย์ นอกจากนั้น การใช้ขมิ้นชันในอาหารจะช่วยป้องกันการเกิดอนุมูลอิสระ ป้องกันการเหม็นหืนของน้ำมันและไขมันเมื่อต้องเก็บไว้เป็นเวลานานๆ นับว่าเป็นอีกหนึ่งวัตถุดิบในการช่วยถนอมอาหารและยังมีคุณค่าทางโภชนาการให้อาหารได้อีกด้วย
สรรพคุณทางยา
ขมิ้นชันนอกจากที่จะมีคุณค่าทางอาหารแล้ว ก็ยังถือเป็นพืชที่มีคุณค่าทางยาอีกด้วย ซึ่งชาวไทยนิยมนำส่วนต่างๆ มาใช้เป็นยาเพื่อบรรเทาอาการที่เกิดขึ้นรับร่างกาย โดยสามารถดูรายละเอียดได้ดังนี้
เหง้า :
เหง้ารสฝาดหวานเอียด ใช้สำหรับแก้อาการไข้เรื้อรัง ผอมเหลือง แก้โรคผิวหนัง แก้เสมหะและโลหิต แก้ท้องร่วง สมานแผล แก้ธาตุพิการ ขับผายลม แก้ผื่นคัน ขับกลิ่นและสิ่งสกปรกในร่างกาย คุมธาตุ หยอดตาแก้ตาบวม ตาแดง น้ำคั้นจากเหง้าสดทาแก้แผลถลอก แก้โรคผิวหนังผื่นคัน ลดอาการอักเสบ ทำให้ผิวพรรณผุดผ่อง นำมาอัดเม็ดทำเป็นยารักษาอาการท้องอืดท้องเฟ้อ ธาตุพิการ อาหารไม่ย่อย กระเพาะอาหารอ่อนแอ รักษาแผลในกระเพาะอาหาร แก้ท้องร่วง แก้บิด
ผงขมิ้น :
(น้ำเหง้าแห้งมาบดเป็นผง) นำมาเคี่ยวกับน้ำมันพืช ทำน้ำมันใส่แผลสด
ขมิ้นสด :
(ใช้เหง้าสดล้างให้สะอาด) ตำกับดินประสิวเล็กน้อย ผสมน้ำปูนใสพอกบาดแผลและแก้เคล็ดขัดยอก เผาไฟ ตำกับน้ำปูนใส รับประทานแก้ท้องร่วง แก้บิด
ตำรับยา
การใช้ขมิ้นเพื่อรักษาอาการแน่นจุกเสียด อาหารไม่ย่อย เป็นข้อบ่งใช้เดียวที่มีรายงานการวิจัยทางคลินิกที่เป็นที่ยอมรับขององค์การอนามัยโลก และคณะกรรมการแห่งชาติด้านยา
วิธีใช้
รับประทานผงขมิ้นชันในขนาด 1.5 - 4 กรัม/วัน แบ่งเป็นวันละ 3 - 4 ครั้ง ช่วงเวลาหลังอาหารและก่อนนอน
ใช้ขมิ้นชันผสมน้ำผึ้งปั้นเป็นยาลูกกลอน รับประทานช่วงเวลาหลังอาหารและก่อนนอน ครั้งละ 3 – 5 เม็ด วันละ 3 เวลา
การใช้ขมิ้นรักษาอาการท้องเสีย
วิธีใช้
ใช้ขมิ้นชันผสมน้ำผึ้งปั้นเป็นยาลูกกลอน รับประทานช่วงเวลาหลังอาหารและก่อนนอน ครั้งละ 3-5 เม็ด วันละ 3 เวลา
การใช้ขมิ้นรักษาแผลและแมลงกัดต่อย
วิธีใช้
ใช้ผงขมิ้นชัน 1 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำมันมะพร้าว หรือน้ำมันหมู 2 – 3 ช้อนโต๊ะ เคี่ยวด้วยไฟอ่อนๆ จนน้ำมันกลายเป็นสีเหลือง ใช้น้ำมันที่ได้ใส่แผล
นำขมิ้นชันมาล้างให้สะอาดแล้วตำจนละเอียด คั้นเอาน้ำที่ได้มาใส่แผล
เอาขมิ้นชันผสมกับน้ำปูนใสเล็กน้อย จากนั้นให้ผสมสารส้ม หรือดินประสิว พอกบริเวณที่เป็นแผลและแก้เคล็ดขัดยอก
การใช้ขมิ้นเพื่อรักษากลาก เกลื้อน
วิธีใช้
ผสมขมิ้นกับน้ำแล้วทาบริเวณที่เป็นกลาก เกลื้อน จำนวน 2 ครั้ง/วัน
การใช้ขมิ้นชันในการกำจัดและป้องกันศัตรูพืช
วิธีใช้
ตำขมิ้นชั้นแห้งครึ่งกิโลกรัมให้ละเอียด จากนั้นนำไปหมักในน้ำ 2 ลิตร ทิ้งไว้ค้างคืน เมื่อได้ที่แล้วจึงกรองเอาเฉพาะน้ำไปผสมน้ำเพิ่มอีก 2 ลิตร ใช้ฉีดพ่นแปลงผักจะช่วยป้องกันหนอนใยผัก หนอนกระทูผัก และหนอนผีเสื้อทั่วไป
ข้อควรระวังในการใช้ขมิ้นชัน
สำหรับในสตรีมีครรภ์ ขมิ้นชันอาจทำให้เกิดการแท้งได้ในระยะแรกๆ ของการตั้งครรภ์ แต่ไม่มีผลต่อการตกไข่ เพราะฉะนั้นจึงควรระวังในการใช้ขมิ้นชันกับหญิงมีครรภ์ โดยการใช้ขมิ้นชันในปริมาณมากๆ อาจเป็นอันตรายได้ นอกจากนี้ การใช้ขมิ้นชันเป็นเวลานานๆ สามารถทำให้เกิดผลข้างเคียงได้ เช่น อาเจียน ถ่ายเป็นเลือด งุ่นง่าน หรือตื่นกลัว เป็นต้น
สนใจติดต่อได้ที่ 08-9206-6080
Line ID: tahandaonz
e-mail : [email protected]
facebook: http://www.facebook.com/suannaikrajok
เลขบัญชี 008-260-988-8 ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาถนนเพชรบุรี (กรุงเทพฯ) ชื่อบัญชี ราเมศ ฤทธิ์เนติกุล
ราคากิโลกรัมละ 50.00 บาท ติดต่อ ราเมศ ฤทธิ์เนติกุล โทร. 0892066080 0892066080
ร้านนี้ยังไม่มีการแจ้งเลขทะเบียนพานิชย์ เปิดร้านมาแล้ว 14 ปี 6 เดือน
ไร่ทายาท | เขาค้อ เพชรบูรณ์
ประโยชน์/สรรพคุณ
แก้โรคผิวหนังผื่นคัน ลดการอักเสบ ทำให้ผิวพรรณผุดผ่อง นำมาอัดเป็นเม็ดทำเป็นยารักษาท้องอืดเฟ้อ ธาตุพิการ อาหารไม่ย่อย กระเพาะอาหารอ่อนแอ รักษาแผลในกระเพาะอาหาร แก้ท้องร่วง แก้บิด
หัวสดตำกับดินประสิวเล็กน้อย ผสมน้ำปูนใส พอกบาดแผล และแก้เคล็ดขัดยอก เผาไฟตำกับน้ำปูนใส รับประทานแก้ท้องร่วง แก้บิด
ผงขมิ้นขาวนำมาเคี่ยวกับน้ำมันพืชทำน้ำมันใส่แผลสด
ขมิ้นชันจัดได้ว่ามีประโยชน์มากมาย เช่น นำมาเป็นเครื่องปรุง หรือส่วนผสมในการทำอาหาร และยังเป็นยาสมุนไพรที่ช่วยในระบบทางเดินอาหาร เคลือบกระเพราะ ใครที่มองหาขมิ้นขันเพื่อที่จะทำพันธุ์ หรือขาย ที่นี้เรามีให้ท่าน
ราคาปลีกอยู่ที่ 25 บาทต่อกิโลกรัม ยังไม่รวมค่าขนส่ง
สมุนไพรอื่นๆ ที่มีปลูกในไร่ทายาทมีดังนี้
1. ว่านชักมดลูก กิโลกรัมละ 25 บาท
2. ว่านมหาเมฆ กิโลกรัมละ 25 บาท
3. นางคำ กิโลกรัมละ 25 บาท
4. ขมิ้นชัน กิโลกรัมละ 25 บาท
5. ขมิ้นอ้อย กิโลกรัมละ 25 บาท
6. ไพรเหลือง กิโลกรัมละ 25 บาท
7. กระชายดำ กิโลกรัมละ 180 บาท
8. เปราะหอม กิโลกรัมละ 35 บาท
***ถ้าท่านซื้อในปริมาณ 500-1000 กิโลขึ้นไปจะได้รับส่วนลดพิเศษดังนี้
สินค้าสมุนไพรราคาไม่แน่นอน โปรดติดต่อที่ไร่ทายาท เพื่อเช็คราคาก่อน
ราคา 25.00 บาท ติดต่อ โกศล สืบทายาท โทร. 0896951800 0896951800
ร้านนี้ยังไม่มีการแจ้งเลขทะเบียนพานิชย์ เปิดร้านมาแล้ว 10 ปี 11 เดือน