สวนแดงจินดา | เชียงใหม่
กระบือเจ็ดตัว ชื่อวิทยาศาสตร์ Excoecaria cochinchinensis Lour. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Excoecaria bicolor (Hassk.) Zoll. ex Hassk., Excoecaria cochinchinensis var. cochinchinensis) จัดอยู่ในวงศ์ยางพารา (EUPHORBIACEAE)[1],[4]
สมุนไพรกระบือเจ็ดตัว มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า กะเบือ (ราชบุรี), ใบท้องแดง (จันทบุรี), บัว บัวลา กระทู้ กระทู้เจ็ดแบก (ภาคเหนือ), กระบือเจ็ดตัว กำลังกระบือ ลิ้นกระบือ (ภาคกลาง), ต้นลิ้นควาย, ตาตุ่มไก่, ตาตุ่มนก, ลิ้นกระบือขาว เป็นต้น
สรรพคุณของกระบือเจ็ดตัว
ใบตากแห้งใช้ชงดื่ม เช่น ใบชาเป็นยารักษาโรคกษัย (ใบ)[3]
ใช้เป็นยาดับพิษร้อน ถอนพิษไข้ แก้ไข้ (ใบ)[4]
กระพี้และเนื้อไม้ใช้เป็นยาถอนพิษผิดสำแดง ถอนพิษไข้ แก้ร้อนภายใน (กระพี้และเนื้อไม้)[4]
ใบมีรสร้อนเฝื่อนขื่น ใช้ใบสดประมาณ 7-10 ใบ นำไปตำกับเหล้าขาวหรือเหล้าโรง คั้นเอาน้ำกินเป็นยาขับน้ำคาวปลาหลังคลอดให้สะดวก ขับเลือดเน่าเสียของสตรี แก้อักเสบบริเวณปากมดลูก แก้สันนิบาตหน้าเพลิง (บาดทะยักในปากมดลูก) ขับเลือดร้าย แก้สันนิบาตเลือด แก้ประจำเดือนขัดข้อง ช่วยทำให้เลือดกระจาย (ใบ)[1],[2],[3],[4]
ใบใช้กินเป็นยาขับเลือดเสีย (ใบ)[1]
ในชวาจะใช้ใบสดตำพอกห้ามเลือด (ใบ)[1],[4]
ใช้เป็นยาแก้บวมฟกช้ำ ดำเขียว แก้พิษบาดทะยัก (ใบ)[4]
ในฮ่องกง จะใช้ทั้งต้นเป็นยาแก้คางทูม ต่อมทอนซิลอักเสบ แก้หัด แก้ปวดตึงกล้ามเนื้อ (ทั้งต้น)[4]
ข้อควรระวัง : มีบางข้อมูลระบุว่า ไม่ควรใช้สมุนไพรชนิดนี้ในคนที่มีร่างกายปกติ เพราะจะทำให้เลือดออกในทวารทั้งเจ็ดได้ และต้องใช้โดยผู้เชี่ยวชาญด้านเวชกรรมหรือเภสัชกรรมเท่านั้น (ไม่มีแหล่งอ้างอิง) และยังมีข้อมูลที่ระบุด้วยว่า ในใบและยางจะมีสารที่ก่อให้เกิดการระคายเคือง อาการเป็นพิษที่เกิดจะขึ้นอยู่กับส่วนของร่างกายที่สัมผัสสาร ส่วนวิธีการรักษานั้นให้รักษาไปตามอาการ ถ้าถูกยางที่ผิวหนังให้รีบล้างออกด้วยสบู่และน้ำสะอาดและทาด้วยครีมสเตียรอยด์ แต่หากเข้าตาให้ล้างด้วยน้ำสะอาดหลาย ๆ ครั้งในทันที และควรไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาต่อไป
ประโยชน์ของกระบือเจ็ดตัว
ยางจากต้นเป็นพิษ ในประเทศอินโดนีเซียจะนำมาใช้เป็นยาเบื่อปลา[1],[4]
นิยมนำมาปลูกเป็นไม้ประดับทั่วไป โดยนำมาปลูกลงในกระถางประดับตามมุมบ้าน หรือปลูกเป็นกลุ่ม ๆ ปลูกลงในแปลงประดับสวนทั่วไป ทั้งในสภาพแสงมากและแสงน้อย เป็นไม้พุ่มที่นิยมใช้กันมาก สามารถออกดอกได้ตลอดทั้งปี[4],[5],[6]
ใช้ทำดอกไม้ประดิษฐ์[6]
ใช้ทำเป็นลูกประคบเพื่อรักษาก้อนไขมันที่บริเวณข้อมือ ด้วยการใช้ใบกระบือเจ็ดตัว 1 กำมือ นำมาผสมกับหญ้าตีนกาและใบกะเพราแดง (อย่างละเท่ากัน) ผสมเกลือและการบูรอีกเล็กน้อย ห่อเป็นลูกประคบและพรมด้วยสุรา จากนั้นนำไปนึ่งและใช้ประคบบริเวณที่เป็น
cr.medthai
สนใจติดต่อ สวนแดงจินดา
โทร 089-637-3665
Facebook: สวน แดง จินดา
เว็บไซค์ :dangjinda.com
Facebook Page: สวนแดงจินดา
ราคา 80.00 บาท ติดต่อ กุสุมา ตุ่นแก้ว โทร. 0896373665 0896373665
ร้านนี้ยังไม่มีการแจ้งเลขทะเบียนพานิชย์ เปิดร้านมาแล้ว 11 ปี 8 เดือน