ค้นหาสินค้า

ต้นแสมสาร (Samae San )

ร้าน วรากรสมุนไพร
ต้นแสมสาร | วรากรสมุนไพร - เมืองนครราชสีมา นครราชสีมา

วรากรสมุนไพร | เมืองนครราชสีมา นครราชสีมา
ต้นแสมสาร
-ส่วนประกอบสำคัญในยาแผนโบราณหลายขนาน
-ดอกอ่อนและใบอ่อน ใช้รับประทานเป็นผักได้ แต่ต้องนำมาต้มเพื่อลดความขมลงก่อนจะนำไปแกง คล้ายกับแกงขี้เหล็ก
-เนื้อไม้ มีความทนทาน เหนียว เสี้ยนตรง ไม่หักง่าย และไม่แข็งมากจนเกินไป ในสมัยก่อนนิยมนำมาใช้ในการต่อเรือ แต่ในปัจจุบันนิยมนำมาใช้ทำเครื่องเรือน เครื่องมือช่าง ทำสลัก เขียง ฝักมีด ฯลฯ
ชื่อวิทยาศาสตร์ Senna garrettiana (Craib) H.S.Irwin & Barneby
วงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยราชพฤกษ์ (CAESALPINIOIDEAE หรือ CAESALPINIACEAE)
ชื่ออื่น ขี้เหล็กสาร (นครราชสีมา, ปราจีนบุรี), ขี้เหล็กโคก ขี้เล็กแพะ (ภาคเหนือ), ขี้เหล็กป่า (ภาคเหนือ,ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), กราบัด กะบัด (ชาวบน-นครราชสีมา), ไงซาน (เขมร-สุรินทร์)
ลักษณะของแสมสาร ต้นแสมสาร จัดเป็นไม้ยืนต้น ที่มีความสูงของต้นประมาณ 10 เมตร ลำต้นตั้งตรง มีเนื้อไม้แข็ง กิ่งแขนงแตกเป็นเรือนยอดกลมทึบ เปลือกลำต้นหนาเป็นสีน้ำตาลแก่เกือบดำ ลำต้นขรุขระแตกเป็นร่องลึก แตกเป็นสะเก็ดเหลี่ยม ตามกิ่งอ่อนเป็นเหลี่ยม นิยมขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด เพราะได้ผลดีที่สุด เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุย ชอบแสงแดดจัด ในประเทศไทยพบได้มาทางภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคอื่น ๆ ยกเว้นภาคใต้ โดยมักขึ้นในบริเวณป่าโปร่ง ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าที่ราบต่ำทั่วไป และป่าผลัดใบที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน 500 เมตร ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ออกเรียงสลับ มีใบย่อยประมาณ 6-9 คู่ ลักษณะของใบเป็นรูปไข่ รูปหอก หรือรูปหอกถึงรูปไข่กว้าง ปลายใบเรียวแหลม โคนใบมนหรือกลม ส่วนขอบใบเรียบ ใ หลังใบเรียบเป็นสีเขียวเข้มและเป็นมัน ส่วนท้องใบเรียบเป็นสีอ่อนกว่า มีเส้นแขนงใบข้างละประมาณ 10-15 เส้น ออกดอกเป็นช่อใหญ่ โดยจะออกตามปลายกิ่งหรือออกตามมุมก้านใบ แต่ละช่อดอกจะมีดอกย่อยจำนวนมากเบียดกันแน่นเป็นกระจุก มีขนนุ่มอยู่ทั่วไป ดอกย่อยเป็นสีเหลือง สีเหลืองเข้ม หรือสีเหลืองทอง กลีบดอกมี 5 กลีบ ปลายกลีบดอกมน โคนกลีบดอกเรียว ส่วนกลีบเลี้ยงดอกมีลักษณะเป็นรูปกลม เป็นสีเขียวออกเหลือง แต่ละดอกเมื่อบานเต็มที่จะมีขนาดกว้างประมาณ 1-3 เซนติเมตร และมีก้านดอกยาวประมาณ 1-3 เซนติเมตร ดอกมีเกสรเพศผู้ติดอยู่กับผนังกลางดอก 10 อัน ก้านเกสรเป็นสีน้ำตาลมีขนาดยาวไม่เท่ากัน ออกดอกในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม ผลแสมสาร ออกผลเป็นฝักแบน ฝักมักจะบิด เปลือกฝักค่อนข้างบาง ผิวฝักเรียบเกลี้ยงไม่มีขนติดฝักในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม และผลจะแก่ในช่วงเดือนตุลาคมถึงเดือนธันวาคม
สรรพคุณของแสมสาร
-แก่นมีรสขมเฝื่อน สรรพคุณเป็นยาแก้โลหิต แก้ลม ช่วยถ่ายกระษัย ช่วยแก้โลหิตกำเดา
-รากมีสรรพคุณเป็นยาฟอกโลหิต
-ยอดใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้โรคเบาหวาน
-ดอกใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้นอนไม่หลับ
ตำรายาไทย
*แก่น รสขมกร่อย สรรพคุณ ระบายถ่ายเสมหะ ถ่ายกระษัย โลหิตระดูสตรี ทำให้เส้นเอ็นอ่อน
-บัญชียาจากสมุนไพร ที่มีการใช้ตามองค์ความรู้ดั้งเดิม ตามประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ ในบัญชียาหลักแห่งชาติ ปรากฏการใช้แสมสาร ในยารักษาอาการโรคในระบบต่างๆของร่างกาย ได้แก่
1.ยาบำรุงโลหิต ปรากฏตำรับ “ยาบำรุงโลหิต” มีส่วนประกอบของแสมสารร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ใช้บำรุงโลหิต
2.ยารักษากลุ่มอาการทางกล้ามเนื้อและกระดูก ปรากฏตำรับ “ยากษัยเส้น” มีส่วนประกอบของแสมสารร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ใช้บรรเทาอาการปวดหลัง ปวดเอว ปวดเมื่อยตามร่างกาย

ราคาต้นละ 200.00 บาท ติดต่อ ปุณณภา งานสำเร็จ โทร. 0616499298 ไอดีไลน์ herbsddd

ร้านนี้ยังไม่มีการแจ้งเลขทะเบียนพานิชย์ เปิดร้านมาแล้ว 14 ปี 2 เดือน

แอดไลน์