วรากรสมุนไพร | เมืองนครราชสีมา นครราชสีมา
ต้นหนาด ไม้มงคลแก้อาถรรพ์ กันภูติผี เข้ายาดีหลายตำรับ
หนาดใหญ่
ชื่ออื่น หนาด (จันทบุรี) คำพอง หนาดหลวง (เหนือ) ผักชีช้าง พิมเสน (กลาง) ใบหรม (ใต้)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Blumea balsamifera (L.) DC.
ชื่อวงศ์ Asteraceae
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้พุ่มหรือไม้ยืนต้นขนาดเล็ก มีกลิ่นหอมคล้ายการบูร สูง 1-4 เมตร ลำต้นกลม กิ่งก้านมีขนนุ่มยาว เปลือกต้นสีน้ำตาลเทา มีกลิ่นหอมของการบูร ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปวงรีแกมขอบขนาน ผิวใบทั้งสองด้านมีขนละเอียดหนาแน่น คล้ายเส้นไหม และมีกลิ่นหอม กว้าง 2-20 เซนติเมตร ยาว 8-40 เซนติเมตร ปลายใบ และโคนใบแหลม ขอบใบหยักแบบซี่ฟัน หรือฟันเลื่อย ก้านใบมีรยางค์ 2-3 อัน ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่งหรือซอกใบ เป็นช่อกลม ช่อดอกมีขนาดโตไม่เท่ากัน กว้าง 6-30 เซนติเมตร ยาว 10-50 เซนติเมตร มีริ้วประดับหลายชั้น บางครั้งริ้วประดับอาจยาวกว่าดอก รูปขอบขนาน แคบยาว 1-9 มิลลิเมตร ปลายแหลม ด้านหลังมีขนนุ่มหนาแน่น ดอกย่อยมีเป็นจำนวนมาก กลีบดอกสีเหลือง ฐานดอกมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2-4 มิลลิเมตร ดอกสมบูรณ์เพศมีหลอดดอกยาว 4-7 มิลลิเมตร ปลายแยกเป็นหลอด รูปไข่ ปลายแหลม มีขนนุ่ม ดอกตัวเมียมีหลอดดอกเล็กเรียว ยาวไม่เกิน 6 มิลลิเมตร ปลายแยกเป็น 2-4 แฉก เกลี้ยง ผลแห้งไม่แตก รูปขอบขนาน ยาวราว 1 มิลลิเมตร สีน้ำตาล โค้งงอเล็กน้อย เป็นเส้น 5-10 เส้น มีขนสีขาว
สรรพคุณ
หมอยาพื้นบ้านจังหวัดอุบลราชธานี ใช้ ลำต้นและใบ เข้ายากับใบเปล้าใหญ่ และใบมะขาม ต้มน้ำอาบ แก้วิงเวียน หน้ามืด ตาลาย
ตำรายาไทยและยาพื้นบ้าน ใช้ ใบ มีกลิ่นหอมฉุน มีรสเมาร้อน แก้อาการเกร็งของกล้ามเนื้อ เป็นยาห้ามเลือด ยาเจริญอาหาร แก้โรคไขข้ออักเสบ เป็นยาบำรุงหลังคลอด แก้ไข้ ลดความดันโลหิต ขับพยาธิ ระงับประสาท ขับลม แก้จุกเสียดแน่นเฟ้อ แก้ปวดท้อง ขับเหงื่อ ขับเสมหะ แก้มุตกิด ใบและยอดอ่อน กลั่นด้วยไอน้ำ จะได้พิมเสนตกผลึกออกมา นำมาทำเป็นยากิน แก้ปวดท้อง ท้องร่วง หรือใช้ขับลม ใช้ภายนอกเป็นผงใส่บาดแผล แก้แผลอักเสบ แก้กลากเกลื้อน และแผลฟกช้ำ ใบและยอดอ่อน ต้มกินเป็นยาแก้ไข้ ขับเหงื่อ แก้จุกเสียด แน่นเฟ้อ ปวดท้อง ขับเสมหะ แก้ริดสีดวงจมูก ขับลมในลำไส้ ขับพยาธิ แก้บิด บำรุงกำลัง หรือใช้ภายนอก บดเป็นผงผสมสุรา ใช้พอกหรือทาแผลฟกช้ำ ฝีบวมอักเสบ แผลฝีหนอง บาดแผลสด ห้ามเลือด แก้ปวดหลังเอว ปวดข้อ และแก้กลากเกลื้อน ใบสด หั่นเป็นฝอยเหมือนยาเส้น ตากแดดพอหมาดๆ มวนกับยาฉุน สูบ แก้ริดสีดวงจมูก (โรคติดเชื้อที่เกิดในจมูก ทำให้หายใจขัด มีฝีหนองในจมูก โพรงจมูกอักเสบ) ยาชงของ ใบ เป็นยาบำรุงธาตุ ขับลม ขับเหงื่อ ขับเสมหะ และระดู ใช้ผสมในน้ำอาบสมุนไพรหลังคลอด บำรุงผิวหนังให้ชุ่มชื้น แก้หิด สิ่งสกัดจาก ใบ ทำให้ความดันโลหิตต่ำ ขยายเส้นเลือด ขับปัสสาวะ ใช้ในเมื่อมีอาการตื่นเต้น นอนไม่หลับ ราก มีรสร้อน ใช้ต้มน้ำดื่มแก้หวัด แก้บวม ปวดข้อ ปวดท้อง ท้องเสีย ขับลม ทำให้การหมุนเวียนโลหิตดี และแก้ปวดเมื่อยหลังคลอด ทั้งต้น รสเมาร้อนหอม แก้ไข้ แก้ลมแดด แก้เจ็บหน้าอก แก้ปวดท้อง แก้อหิวาตกโรค ขับพยาธิ ลดความดันเลือด ระงับประสาท
ยาพื้นบ้าน ใช้ ใบ บดผสมกับต้นข่อย แก่นก้ามปู พิมเสน และการบูร มวนด้วยใบตองแห้งสูบ รักษาโรคหืด ในใบพบสาร cryptomeridion มีฤทธิ์ลดการเกร็งของกล้ามเนื้อเรียบ เช่น กล้ามเนื้อหลอดลม
ยาพื้นบ้านนครราชสีมา ใช้ ใบ รักษาโรคเรื้อน โดยตำใบให้ละเอียด ใส่ด่างทับทิมและน้ำพอประมาณ นำมาปิดบริเวณที่เป็นแผล
ประเทศจีน ใช้ ใบ ขับลม ขับพยาธิ และทำให้แท้ง
ราคาต้นละ 300.00 บาท ติดต่อ ปุณณภา งานสำเร็จ โทร. 0616499298 ไอดีไลน์ herbsddd
ร้านนี้ยังไม่มีการแจ้งเลขทะเบียนพานิชย์ เปิดร้านมาแล้ว 14 ปี 2 เดือน
วรากรสมุนไพร | เมืองนครราชสีมา นครราชสีมา
ขายต้นหนาด ต้นใบหนาด ต้นไม้ไล่ผี
โบราณ มีความเชื่อว่า ใบ ของต้น “หนาด” สามารถป้องกันภูตผีปีศาจได้ โดยให้เด็ดเอาใบสด 1-2 ใบ พกใส่กระเป๋าติดตัวเดินทางไปไหนต่อไหน ภูตผีปีศาจจะไม่เข้าใกล้หรือคอยหลอกหลอนได้อย่างเด็ดขาด และในการทำพิธีเกี่ยวกับเรื่องผีหรือพิธีไล่ผี หมอผีผู้ประกอบพิธี จะต้องนำเอาใบ “หนาด” ใช้ร่วมในพิธีแบบขาดไม่ได้ทุกครั้ง ในยุคสมัยนั้น ชาวบ้านนิยมปลูกต้น “หนาด” ในบริเวณบ้านกันเกือบทุกครัวเรือน เพื่อป้องกันภูตผีปีศาจตามความเชื่อดังกล่าว ปัจจุบันในชนบทบางพื้นที่ยังคงเชื่อถือและปลูกต้น “หนาด” กันอยู่แต่ไม่แพร่หลายนัก
เวลาไม่อยู่บ้าน คนล้านนา ก็จะสานตาแหลว(เฉลว)อันเล็ก (เป็นไม้ไผ่สานเป็นตาราง ลายสานที่ห่าง ดูคล้ายลายสานบริเวณก้นเข่งไม่ไผ่สานที่ใช้บรรจุผักในตลาด) ใช้แขวนหน้าบ้าน ในลายไม้ไผ่ ก็จะมีเชือกทำด้วยหญ้าคาที่ยังเขียว มีใบหนาดแซมร่วมด้วย
ต้นหนาดใหญ่
ชื่อวิทยาศาสตร์ Blumea balsamifera (L.) DC.
จัดอยู่ในวงศ์ทานตะวัน ASTERACEAE หรือ COMPOSITAE
ชื่ออื่น หนาด (จันทบุรี), คำพอง หนาดหลวง (ภาคเหนือ), ใบหลม ผักชีช้าง พิมเสน หนาดใหญ่ (ภาคกลาง), แน พ็อบกวา (กะเหรี่ยง-แม่ฮองสอน), จะบอ (มลายู-ปัตตานี), เพาะจี่แบ (กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน), ส้างหยิ้ง (ม้ง), อิ่มบั้วะ (เมี่ยน), เก๊าล้อม (ลั้วะ), ด่อละอู้ (ปะหล่อง), ตั้งโฮงเซ้า ไต่ฮวงไหง่ ไหง่หนับเฮียง (จีน), ต้าเฟิงไอ๋ ไอ๋น่าเซียง (จีนกลาง)
ลักษณะ
เป็นพรรณไม้พุ่มกึ่งไม้ล้มลุกที่มีอายุได้หลายปี ลำต้นมีความสูงได้ประมาณ 0.5-4 เมตร ลำต้นตั้งตรง เนื้อไม้เป็นแก่นแข็ง เปลือกต้นเรียบเป็นสีเขียวอมขาว เมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลแกมเทา แตกกิ่งก้านมาก มีขนปุกปุยสีขาวหรือสีเหลืองอ่อนขึ้นปกคลุมและมีกลิ่นหอม
ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ดหรือผลหรือแยกไหล เป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ที่มักพบขึ้นตามที่รกร้าง ทุ่งนา หรือตามหุบเขาทั่วไป
ต้นหนาดใหญ่
ใบหนาดใหญ่ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปยาวรี รูปขอบขนานแกมใบหอก หรือรูปขอบขนานแกมรูปไข่ ปลายใบแหลมหรือมีติ่งหนาม โคนใบสอบหรือเรียวแหลมเล็กน้อย ส่วนขอบใบหยักเป็นซี่ใหญ่ ไม่เท่ากัน ใบมีขนาดกว้างประมาณ 1.2-4.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 10-17 เซนติเมตร แผ่นใบเป็นสีเขียว หลังใบและท้องใบมีขนทั้งสองด้าน ก้านใบสั้นหรือไม่มี
ดอกหนาดใหญ่ ดอกเป็นช่อกระจุกแน่น ออกดอกเป็นช่อแบบแยกแขนงขนาดใหญ่ที่บริเวณปลายกิ่งหรือซอกใบ ช่อดอกมีขนาดโตไม่เท่ากัน โดยมีขนาดกว้างประมาณ 6-30 เซนติเมตร และยาวประมาณ 10-50 เซนติเมตร ชั้นใบประดับยาวกว่าดอกย่อย ลักษณะของดอกย่อยมีขนาดเล็กสีเหลือง ลักษณะเป็นรูปทรงกระบอก มีกลีบดอกติดกันเป็นหลอดยาวได้ถึง 6 มิลลิเมตร ปลายกลีบเมื่อบานจะแยกออกจากกันเป็น 5 กลีบ กลีบดอกอ่อนเป็นสีเหลือง เมื่อแก่แล้วกลีบดอกจะเปลี่ยนเป็นสีขาว โคนดอกมีกลีบเลี้ยงลักษณะเป็นเส้นฝอยปลายแหลมหุ้มอยู่ ดอกมีเกสรเพศผู้ 5 อัน ยื่นออกมาจากใจกลางดอก และดอกมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 เซนติเมตร
ผลหนาดใหญ่ ผลเป็นผลแห้งไม่แตก รูปขอบขนาน ยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร สีน้ำตาล โค้งงอเล็กน้อย มีลักษณะเป็นเส้นเล็ก ๆ 5-10 เส้น ส่วนบนเป็นขนสีขาว ๆ ปกคลุม
พิมเสน (พิมเสนหนาด) คือส่วนที่สกัดได้จากใบและยอดอ่อนด้วยไอน้ำ ซึ่งจะได้น้ำมันหอม ทำให้เย็น พิมเสนก็จะตกผลึก แล้วกรองแยกเอาผลึกพิมเสนมาใช้ประมาณ 0.15-0.3 กรัม นำมาป่นให้เป็นผงละเอียด หรือนำไปทำเป็นยาเม็ดกิน
สรรพคุณ
- ใบสด ของต้น “หนาด” หั่นเป็นฝอยตากแห้งอย่าให้มีราเกาะ แล้วหยิบเพียงเล็กน้อยชงกับน้ำร้อน จะมีกลิ่นหอมเพราะ มีน้ำมันหอมระเหย ดื่มเรื่อยๆเป็นน้ำชา จะช่วยป้องกัน ไม่ให้เป็นไข้หวัดหัวลมหลังสิ้นฤดูฝนเข้าสู่ฤดูหนาวได้ ใบสดดังกล่าวมีสารชื่อ CRYTOMERIDION นำไปกลั่นเป็นน้ำมันแล้วทำให้แห้งตกผลึกเป็น “พิมเสน” มีกลิ่นหอมเย็น ใบสดยังหั่นเป็นฝอยตากแดดพอสลบผสมยาเส้นหรือยาฉุนมวนด้วยใบตองแห้งสูบ เป็นยาแก้ริดสีดวงจมูกให้แห้งและหายมีกลิ่นเหม็นดีมาก
-ใบสด สามารถกินครั้งละ 1-2 ใบ เป็นยาขับผายลม แก้ จุกเสียด แน่นเฟ้อ แก้ปวดท้อง ขับเหงื่อ ขับเสมหะได้ ใบแห้ง นำไปบดเป็นผงผสมเนื้อไม้ต้นข่อย แก่นต้นก้ามปู ต้นพิมเสน การบูร แห้งแล้ว มวนด้วยใบตองแห้งสูบเป็นยารักษาโรคหืดดีระดับหนึ่ง รากสดของต้น “หนาด” กะจำนวนเล็กน้อยต้มน้ำดื่ม เป็นยาขับนิ่ว ขับปัสสาวะ และ ไตพิการ
- ตำรายาไทยและยาพื้นบ้าน: ใช้ ใบ มีกลิ่นหอมฉุน มีรสเมาร้อน แก้อาการเกร็งของกล้ามเนื้อ เป็นยาห้ามเลือด ยาเจริญอาหาร แก้โรคไขข้ออักเสบ เป็นยาบำรุงหลังคลอด แก้ไข้ ลดความดันโลหิต ขับพยาธิ ระงับประสาท ขับลม แก้จุกเสียดแน่นเฟ้อ แก้ปวดท้อง ขับเหงื่อ ขับเสมหะ แก้มุตกิด ใบและยอดอ่อน กลั่นด้วยไอน้ำ จะได้พิมเสนตกผลึกออกมา นำมาทำเป็นยากิน แก้ปวดท้อง ท้องร่วง หรือใช้ขับลม ใช้ภายนอกเป็นผงใส่บาดแผล แก้แผลอักเสบ แก้กลากเกลื้อน และแผลฟกช้ำ ใบและยอดอ่อน ต้มกินเป็นยาแก้ไข้ ขับเหงื่อ แก้จุกเสียด แน่นเฟ้อ ปวดท้อง ขับเสมหะ แก้ริดสีดวงจมูก ขับลมในลำไส้ ขับพยาธิ แก้บิด บำรุงกำลัง หรือใช้ภายนอก บดเป็นผงผสมสุรา ใช้พอกหรือทาแผลฟกช้ำ ฝีบวมอักเสบ แผลฝีหนอง บาดแผลสด ห้ามเลือด แก้ปวดหลังเอว ปวดข้อ และแก้กลากเกลื้อน ใบสด หั่นเป็นฝอยเหมือนยาเส้น ตากแดดพอหมาดๆ มวนกับยาฉุน สูบ แก้ริดสีดวงจมูก (โรคติดเชื้อที่เกิดในจมูก ทำให้หายใจขัด มีฝีหนองในจมูก โพรงจมูกอักเสบ) ยาชงของ ใบ เป็นยาบำรุงธาตุ ขับลม ขับเหงื่อ ขับเสมหะ และระดู ใช้ผสมในน้ำอาบสมุนไพรหลังคลอด บำรุงผิวหนังให้ชุ่มชื้น แก้หิด สิ่งสกัดจาก ใบ ทำให้ความดันโลหิตต่ำ ขยายเส้นเลือด ขับปัสสาวะ ใช้ในเมื่อมีอาการตื่นเต้น นอนไม่หลับ ทั้งต้น รสเมาร้อนหอม แก้ไข้ แก้ลมแดด แก้เจ็บหน้าอก แก้ปวดท้อง แก้อหิวาตกโรค ขับพยาธิ ลดความดันเลือด ระงับประสาท
- ยาพื้นบ้าน: ใช้ ใบ บดผสมกับต้นข่อย แก่นก้ามปู พิมเสน และการบูร มวนด้วยใบตองแห้งสูบ รักษาโรคหืด ในใบพบสาร cryptomeridion มีฤทธิ์ลดการเกร็งของกล้ามเนื้อเรียบ เช่น กล้ามเนื้อหลอดลม
- หมอยาพื้นบ้านจังหวัดอุบลราชธานี: ใช้ ลำต้นและใบ เข้ายากับใบเปล้าใหญ่ และใบมะขาม ต้มน้ำอาบ แก้วิงเวียน หน้ามืด ตาลาย
- ยาพื้นบ้านนครราชสีมา: ใช้ ใบ รักษาโรคเรื้อน โดยตำใบให้ละเอียด ใส่ด่างทับทิมและน้ำพอประมาณ นำมาปิดบริเวณที่เป็นแผล
- ประเทศจีน: ใช้ ใบ ขับลม ขับพยาธิ และทำให้แท้ง
- การแพทย์แผนไทย: ใช้ ใบหนาด ในสูตรยาอบสมุนไพร มีสรรพคุณแก้โรคผิวหนังพุพอง น้ำเหลืองเสีย โดยตัวอย่างสมุนไพรแห้งที่ใช้ในการอบ ได้แก่ ยอดผักบุ้ง ใบมะกรูด ใบมะขาม ใบส้มป่อย ต้นตะไคร้ หัวไพล ใบพลับพลึง การบูร ขมิ้นชัน และใบหนาด เป็นสูตรยาอบสมุนไพรเพื่อสุขภาพ มีสรรพคุณ ช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย อาการวิงเวียนศีรษะ และช่วยเพิ่มการไหลเวียนของโลหิต บำรุงผิวพรรณ
องค์ประกอบทางเคมี:
เมื่อกลั่นใบด้วยไอน้ำจะได้น้ำมันระเหยง่าย ประกอบด้วย d-carvo-tanacetone 1-tetrahydrocarvone mixture ของ butyric isobutyric และ n-octanoic acids, 1-borneol 1,8-cineol อนุพันธ์ของ carvotanacetone 2 ชนิด diester ของ coniferyl alcohol อนุพันธ์ของ polyacetylenes และ thiophene campesterol stigmasterol sitosterol xanthoxylin erianthin สารฟลาโวนอยด์คือ 4’-methyl ether และ 4’, 7- dimethyl ether ของ dihydroquercetin สาร sesqiterpene ชื่อ cryptomeridion
สรรพคุณของหนาดใหญ่
-ใบและยอดอ่อนใช้ต้มเอาน้ำกินเป็นยาบำรุงกำลัง
-ใบใช้เป็นยาบำรุงธาตุ ช่วยทำให้เจริญอาหาร -
-ชาวไทลื้อจะใช้ใบนำมาสับแล้วตากให้แห้ง ใช้เข้ายาห่มตำรับไทลื้อ บำรุงร่างกายและผิวพรรณ
-ใบใช้เป็นยาบำรุงหลังคลอดบุตรของสตรี
-ใช้เป็นส่วนผสมในยาต้มให้สตรีหลังคลอดอาบเพื่อช่วยให้ฟื้นตัวเร็ว (ยาต้มประกอบไปด้วย ใบหนาด ไพล ราชาวดีป่า เปล้าหลวง และอูนป่า
-รากสดใช้ต้มเอาน้ำกิน จะช่วยทำให้การหมุนเวียนของเลือดดีขึ้น -
-ใบและรากมีรสเผ็ดขมเล็กน้อย เป็นยาร้อนเล็กน้อย ออกฤทธิ์ต่อตับ ม้าม กระเพาะ และลำไส้ ใช้เป็นยาฟอกเลือดทำให้ร่างกายอบอุ่น ประสะเลือด ช่วยขับลมชื้นในร่างกาย --
-ใช้เป็นยาลดความดันโลหิต
-ใบและทั้งต้นช่วยระงับประสาท
-ทั้งต้นใช้เป็นยาแก้อหิวาตกโรค
-ในกัมพูชา จะใช้ใบนำมาตำร่วมกับใบขัดมอญ พอกศีรษะแก้อาการปวดศีรษะ
-พิมเสนหนาดช่วยแก้ตาเป็นต้อ
-ใช้เป็นยาแก้ริดสีดวงจมูก (โรคติดเชื้อที่เกิดในจมูก ทำให้หายใจติดขัด มีฝีหนองในจมูก โพรงจมูกอักเสบ) ด้วยการใช้ใบสดนำมาหั่นให้เป็นฝอยเหมือนยาเส้น ตากแดดให้พอหมาด มวนกับยาฉุนแล้วใช้สูบ
-ใบนำมาขยี้แล้วใช้ยัดจมูกเวลาเลือดกำเดาไหล จะช่วยทำให้เลือดหยุดไหลได้
-หมอยาพื้นบ้านจังหวัดอุบลราชธานี จะใช้ลำต้นและใบหนาดใหญ่ เข้ายากับใบมะขามและใบเปล้าใหญ่ นำมาต้มกับน้ำอาบแก้อาการวิงเวียน หน้ามืด ตาลาย
-ใบและยอดอ่อนใช้ต้มกับน้ำกินเป็นยาแก้ไข้
-ทั้งต้นมีสรรพคุณเป็นยาแก้ไข้ แก้ลมแดด
-ชาวกะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอนจะใช้ต้นนำมาต้มกับน้ำอาบแก้อาการไข้
-ในซาราวัค จะใช้ใบนำมาต้มรวมกับเทียนดำ หัวหอมเล็ก หรือบดกับเกลือกินเป็นยาแก้ไข้
-ชาวม้งจะใช้ยอดอ่อนนำมาหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วนำไปตุ๋นใส่ไข่ ใช้กินเป็นยารักษาโรคไข้มาลาเรีย
-รากใช้ต้มกับน้ำกินเป็นยาแก้หวัด
-ใบช่วยขับเหงื่อ
-ในอินโดจีนจะใช้ใบร่วมกับต้นตะไคร้ นำมาต้มให้เดือดใช้อบตัวช่วยขับเหงื่อ
-ต้นและใบช่วยขับเสมหะ
-ใบใช้เป็นยารักษาโรคหืด ตำรับยาพื้นบ้านจะใช้ใบนำมาบดผสมกับแก่นก้ามปู การบูร ต้นข่อย และพิมเสน แล้วมวนด้วยใบตองแห้งสูบรักษาโรคหืด เนื่องจากใบมีสาร cryptomeridion ที่มีฤทธิ์ลดการเกร็งของกล้ามเนื้อเรียบ เช่น กล้ามเนื้อหลอดลม
ใช้แก้อาการเจ็บหน้าอก
ราคาต้นละ 200.00 บาท ติดต่อ ปุณณภา งานสำเร็จ โทร. 0616499298 ไอดีไลน์ herbsddd
ร้านนี้ยังไม่มีการแจ้งเลขทะเบียนพานิชย์ เปิดร้านมาแล้ว 14 ปี 2 เดือน