เมล็ดพันธุ์ดี เกษตรวิถีไทย | เมืองระยอง ระยอง
สรรพคุณของขมิ้นอ้อย
เหง้าขมิ้นอ้อยมีรสเผ็ดขม เป็นยาสุขุม ออกฤทธิ์ต่อตับและม้าม ช่วยกระจายโลหิต รักษาอาการเลือดคั่ง หรือเลือดไหลเวียนไม่สะดวก เส้นเลือดในท้องอุดตัน (เหง้า)[3],[4]
ช่วยแก้โลหิตเป็นพิษ แก้พิษโลหิต ใช้เป็นเป็นยาชำระโลหิต (เหง้า)[3],[4],[9]
ช่วยลดความดันโลหิต (เหง้า)[5]
ในเหง้าหรือในหัวสดของขมิ้นอ้อย มีสารหอมชนิดหนึ่งที่มีฤทธิ์เป็นยาบำรุงกำลัง (เหง้า)[9]
ช่วยแก้อาการหืดหอบหายใจไม่เป็นปกติ (เหง้า)[5]
เหง้าสดนำมาตำผสมกับการบูรเล็กน้อย นำมาดอง (ไม่แน่ใจว่าดองหรือผสม) กับน้ำฝนกลางหาว ใช้รินเอาแต่น้ำเป็นยาหยอดตา แก้อาการตาแดง ตามัว ตาแฉะ และตาพิการ (เหง้าสด)[4]
ตำรายาไทยใช้เหง้าเป็นยาแก้ไข้ (เหง้า)[2],[5] ช่วยแก้ไข้ทั้งปวง (เหง้า)[9]
ใช้รักษาอาการหวัด ด้วยการใช้หัวขมิ้นอ้อย อบเชยเทศ และพริกหาง นำมาต้มแล้วเติมน้ำผึ้งใช้รับประทานเป็นยาแก้หวัด (เหง้า)[1],[9]
ช่วยแก้อาเจียน (เหง้า)[2],[5]
ช่วยแก้เสมหะ (เหง้า)[9]
เหง้าใช้เป็นยาแก้ลม (เหง้า)[4],[9]
ขมิ้นอ้อยมีฤทธิ์กระตุ้นกระเพาะและลำไส้ให้เกิดการบีบตัว จึงช่วยในการขับลม ช่วยแก้อาการจุกเสียด ท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยในการย่อยอาหาร แก้อาการปวดท้อง และแก้อาการปวดลำไส้ได้ (เหง้า)[3],[9]
เหง้าใช้เป็นยาแก้ท้องร่วง ท้องเดิน (ที่ไม่ใช่บิดหรืออหิวาตกโรค)[2],[5],[7] เหง้าสดประมาณ 2 แว่น เมื่อนำมาบดผสมกับน้ำปูนใส สามารถนำมาใช้ดื่มเป็นยารักษาอาการท้องร่วงได้ (เหง้าสด)[1],[7]
เหง้านำมาหั่นเป็นแว่น ๆ จะใช้สดหรือตากแห้งก็ได้ โดยนำมาต้มกับน้ำเป็นยาดื่มแก้โรคกระเพาะ (เหง้า)[5]
ช่วยสมานลำไส้ (เหง้า)[3],[4]
น้ำคั้นจากใบของต้นขมิ้นอ้อย ใช้เป็นยาแก้ท้องมาน โดยขับออกทางปัสสาวะ (ใบ)[9]
ช่วยรักษาริดสีดวงทวาร ด้วยการใช้เหง้าขมิ้นอ้อย พริกไทยล่อน และเปลือกยางแดง นำมาผสมกันทำเป็นยาผง แล้วนำไปละลายในน้ำยางใส ปั้นเป็นยาลูกกลอนขนาดเท่าปลายนิ้วชี้ ใช้กินเช้าและเย็น (เหง้า)[7]
เหง้าและใบมีรสเฝื่อน ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ (เหง้า, ใบ)[4],[9]
ช่วยแก้หนองใน (เหง้า)[9]
ช่วยแก้อาการปวดประจำเดือนของสตรี ด้วยการใช้เหง้าหนักประมาณ 12 กรัม, ขมิ้นชัน 10 กรัม, คำฝอย 6 กรัม, ฝางเสน 8 กรัม, เม็ดลูกท้อ 8 กรัม, หง่วงโอ้ว 8 กรัม และโกฐเชียง 10 กรัม นำมาต้มกับน้ำหรือใช้ดองกับเหง้าเป็นยารับประทาน (เหง้า)[3]
ช่วยแก้ประจำเดือนมาไม่เป็นปกติของสตรี (เหง้า)[3],[4]
ช่วยแก้ระดูขาวของสตรี (เหง้า)[4],[9]
เหง้าใช้เป็นยาขับน้ำคาวปลาหลังการคลอดบุตรของสตรี (เหง้า)[10]
ช่วยรักษาซีสต์ในรังไข่ของสตรี (เหง้า)[3]
ช่วยแก้อาการตับและม้ามโต (เหง้า)[3]
แก้หัดหลบใน ด้วยการใช้เหง้า 5 แว่น และต้นต่อไส้ 1 กำมือ นำมาต้มรวมกับน้ำปูนใสพอสมควร แล้วนำมาใช้ดื่มเป็นยาก่อนอาหารเช้าและเย็น ครั้งละ 1 ถ้วยชา (เหง้า)[7]
เหง้าใช้เป็นยาสมานแผล (เหง้า)[2],[4]
เหง้านำมาหุงกับน้ำมันมะพร้าว แล้วนำมาใส่แผล จะช่วยทำให้แผลหายเร็วยิ่งขึ้น เนื่องจากหัวหรือเหง้าของขมิ้นอ้อยนั้นมีรสฝาด (สาร Tannin) อีกทั้งยังช่วยบรรเทาอาการฟกช้ำบวมได้อีกด้วย (เหง้า)[1]
เหง้าใช้เป็นยาภายนอก ช่วยรักษาโรคผิวหนังต่าง ๆ ฆ่าเชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย แก้กลากเกลื้อน แก้ผิวหนังอักเสบ (เหง้า)[6]
ใช้เป็นยารักษาฝี ฝีหนองบวม ด้วยการใช้เหง้าขมิ้นอ้อยสด, ต้นและเมล็ดของเหงือกปลาหมอ อย่างละเท่ากันมากน้อยตามต้องการ นำมาตำรวมกันจนละเอียดแล้วใช้พอกเช้าเย็น หรือหากเป็นฝีหัวเดือน ให้นำใบไผ่เผาไฟให้ไหม้ ส่วนหัวขมิ้นอ้อยนั้น ให้เอามาตำด้วยกัน แล้วใช้น้ำเป็นกระสายยา สามารถใช้ได้ทั้งกิน ทาหรือพอก (เหง้า)[1],[9]
ช่วยแก้ฝีในมดลูกของสตรี ด้วยการใช้เหง้าขมิ้นอ้อยประมาณ 3 ท่อน, บอระเพ็ด 3 ท่อน, ลูกขี้กาแดง 1 ลูก (นำมาผ่าเป็น 4 ซีก แล้วใช้เพียง 3 ซีก) แล้วนำมาต้มรวมกับสุรา ใช้กินเป็นยาแก้ฝีในมดลูกได้ (เหง้า)[7]
ช่วยแก้เสี้ยน ถูกหนามตำ ด้วยการใช้เหง้าขมิ้นอ้อยประมาณ 5 แว่น ดอกชบา 5 ดอก และข้าวเหนียวสุกประมาณ 1 กำมือ นำมาตำแล้วใช้พอก จะสามารถช่วยดูดเสี้ยนและหนองที่ออกจากแผลได้ (เหง้า)[1]
ใช้รักษาอาการปวด ปวดบวม แก้บวม ฟกช้ำ แก้ช้ำใน แก้อักเสบ แก้อาการเคล็ดขัดยอก ข้อเคล็ดอักเสบ และบรรเทาอาการปวดได้ดี ด้วยการใช้เหง้าขมิ้นสด ๆ นำมาตำให้ละเอียด แล้วเอามาพอกบริเวณที่มีอาการบวม จะช่วยบรรเทาอาการปวดข้อ ฟกชกช้ำบวมได้ (เหง้า)[1],[3],[4],[9] ส่วนใบก็ช่วยแก้ฟกช้ำบวมได้เช่นกัน (ใบ)[4]
ช่วยแก้อาการครั่นเนื้อครั่นตัว (เหง้า)[4]
น้ำมันหอมระเหยในขมิ้นอ้อยมีฤทธิ์ยับยั้งและช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรียต่าง ๆ ได้ดี เช่น เชื้ออหิวาตกโรค เชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดฝีหนองที่แผล เชื้อที่ทำให้เจ็บคอ เชื้อที่ทำให้ทางเดินปัสสาวะอักเสบ เป็นต้น[7]
เหง้านำมาใช้เข้าตำรับยาจู้ (ยานวดประคบ) ใช้แก้อาการปวดเมื่อย เจ็บตามร่างกาย (เหง้า)[5]
เหง้าใช้ผสมในยาระบายเพื่อทำให้ยาระบายมีฤทธิ์น้อยลง (เหง้า)[2],[9]
เหง้าใช้เป็นยารักษาโรคมะเร็ง[5] รักษาโรคมะเร็งปากมดลูก มะเร็งในรังไข่ มะเร็งตับ มะเร็งต่อมไทรอยด์ มะเร็งต่อมน้ำเหลือง มะเร็งปอด เนื้องอกธรรมดาของกล้ามเนื้อมดลูก (เหง้า)[4]
ขมิ้นอ้อย เป็นสมุนไพรชนิดหนึ่งที่ใช้เป็นส่วนประกอบในตำรายาไทยแผนโบราณเพื่อใช้รักษารักษาอาการนอนไม่หลับ ซึ่งมีหลักฐานงานวิจัยที่พอระบุได้ว่าเมื่อใช้สารสกัดจากเหง้าขมิ้นอ้อยด้วย 80% ethanol กับหนูทดลอง พบว่าสามารถช่วยยืดระยะเวลาการนอนหลับของหนูถีบจักรได้[8]
ขมิ้นอ้อยมีสรรพคุณทางยาเหมือนกับขมิ้นชัน[6] ท่านสามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ สรรพคุณและประโยชน์ของขมิ้นชัน 55 ข้อ !
วิธีใช้ขมิ้นอ้อย
ใช้ภายใน ให้นำเหง้ามาต้มกับน้ำรับประทานเป็นยา โดยใช้ครั้งละประมาณ 5-10 กรัม หากใช้เป็นยารักษาภายนอก ให้นำมาบดเป็นผงหรือทำเป็นยาเม็ดตามตำรายาที่ต้องการ[3]
หัวขมิ้นอ้อยว่านเหลือง
ข้อควรระวังระวังในการใช้ขมิ้นอ้อน
สำหรับผู้ที่เลือดน้อยหรือพลังหย่อนและสตรีมีครรภ์ห้ามรับประทานขมิ้นอ้อย[3] และมีข้อมูลที่ระบุด้วยว่าการรับประทานขมิ้นอ้อยในปริมาณที่มากเกินไป อาจทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารได้ และในบางรายนั้นมีอาการแพ้ขมิ้น โดยมีอาการคลื่นไส้ ท้องเสีย ปวดศีรษะ และนอนไม่หลับ หากใช้แล้วมีอาการดังกล่าวให้หยุดใช้ทันที (ข้อมูลส่วนนี้ยังไม่ยืนยัน เพราะขาดแหล่งที่มาที่น่าเชื่อถือ)
ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของขมิ้นอ้อย
สารที่พบในเหง้าของขมิ้นอ้อย ได้แก่ Curcumin, Curdione, Curzerene, Furanodiene, Furanodienone, Zederone, Zedoarone, แป้ง และน้ำมันระเหยประมาณ 1-1.5% เป็นต้น[3]
เมื่อนำสารสกัดที่ได้จากขมิ้นอ้อยมาฉีดเข้าในสัตว์ทดลอง จะพบว่าสารสกัดดังกล่าวมีฤทธิ์ต่อต้านเนื้องอกหรือมะเร็งปากมดลูก และยังมีฤทธิ์ในการยับยั้งเซลล์มะเร็งหรือเนื้องอกไม่ให้มีการเติบโตหรือขยายตัวได้อีกด้วย[3]
ในกรณีเมื่อนำขมิ้นอ้อยมาให้สัตว์ทดลองกินจะพบว่า ขมิ้นอ้อยมีฤทธิ์ในการกระตุ้นกระเพาะและลำไส้ของสัตว์ทดลองให้เกิดการบีบตัว (คล้ายกับฤทธิ์ของขิง) ดังนั้น จึงสามารนำมาใช้เพื่อช่วยในการขับลม แก้อาการปวดท้อง และแก้อาการปวดลำไส้ได้[3]
น้ำมันหอมระเหยที่ได้จากขมิ้นอ้อยสามารต่อต้านเชื้อ Staphylococcus หรือเชื้อในลำไส้ใหญ่ Columbacillus หรือเชื้ออหิวาต์ได้[3]
ขมิ้นอ้อยมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อราได้ถึง 11 ชนิด และช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราได้อีก 4 ชนิด ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเชื้อราที่ทำให้เกิดโรคผิวหนังต่าง ๆ เช่น กลาก ชันนะตุ เชื้อราที่ผิวหนัง ที่เล็บ ที่ซอกนิ้วเท้า[7]
มีรายงานทางคลินิกที่ได้นำสารที่สกัดจากขมิ้นอ้อยมาฉีดเข้าบริเวณปากมดลูกหรือบริเวณเส้นเลือดดำของผู้ที่ป่วยเป็นโรคมะเร็งปากมดลูกที่กำลังเข้ารับการรักษาเป็นระยะเวลา 3 เดือน พบว่าเนื้องอกมีขนาดเล็กลงหรือมีอาการเกือบจะเป็นปกติ และเมื่อได้ทำการรักษาต่อไปอีกเป็นระยะเวลา 3 เดือน พบว่าในจำนวนผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาจำนวน 80 คน หายขาดจากโรค 30 คน มีอาการที่ดีขึ้นมากจำนวน 30 คน และอีก 20 คนพบว่ามีอาการดีขึ้น[3]
สารสกัดจากเหง้าขมิ้นอ้อยมีฤทธิ์สงบประสาทโดยไปเพิ่มฤทธิ์ของ pentobarbital ต่อการนอนหลับ และลด locomotor activity ของหนูทดลองโดยอาจออกฤทธิ์ผ่าน muscarinic receptor และ opiate receptor ในการกดสมองส่วนกลาง[8]
ประโยชน์ของขมิ้นอ้อย
นอกจากจะใช้เหง้าเป็นยาสมุนไพรแล้ว ยังสามารถนำมาใช้เป็นเครื่องเทศเพื่อใช้ทำอาหารได้หลายชนิด เช่น การนำมาตำใส่แกงต่าง ๆ ร่วมกับจ๊ะไค เป็นต้น[5],[6]
สามารถนำมาใช้ในการแต่งสีเหลืองให้กับอาหารบางชนิดได้ เช่น ขนมเบื้องญวน ข้าวเหนียวเหลือง ข้าวเหนียวหน้ากุ้ง แกงเหลือง แกงกะหรี่ ข้าวหมกไก่ เนย มัสตาร์ด ผักดอง เป็นต้น อีกทั้งยังสามารถนำมาใช้ในการย้อมสีผ้าให้เป็นสีเหลืองได้อีกด้วย[1],[6]
เหง้าสามารถนำมาใช้ทำแป้งโชติ ซึ่งเป็นแป้งที่ย่อยง่ายและเหมาะสำหรับทารก[10]
ในอินโดนีเซียจะใช้ยอดอ่อนนำมารับประทานเป็นผัก[10]
ในอินเดียใช้เหง้าทำเป็นเครื่องหอม[10]
เหง้าใช้เคี้ยวเพื่อดับกลิ่นปากได้[10]
ช่วยบำรุงผิวพรรณให้สวยงาม ด้วยการเหง้าขมิ้นอ้อย หัวแห้วหมู พริกไทย และกระชาก (ไม่แน่ใจว่าคืออะไร) นำมาทุบรวมกันแล้วนำมาดองด้วยน้ำผึ้ง ใช้รับประทานก่อนเข้านอนทุกคืน[7]
มีข้อมูลระบุว่าขมิ้นอ้อยถูกนำไปใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางสมุนไพร ที่นำมาใช้มาการขัดหน้า ขัดผิว ช่วยแก้สิว แก้ฝ้า ช่วยลบเลือนจุดด่างดำ แก้โรคผดผื่นคัน และทำให้ผิวพรรณดูผุดผ่องงดงาม ผิวนุ่มและเรียบเนียน
เอกสารอ้างอิง
หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. “ขมิ้นอ้อย”. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). หน้า 90-91.
หนังสือสมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ. “ขมิ้นอ้อย Zedoary”. (คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). หน้า 95.
ห
ราคา 20.00 บาท ติดต่อ อังศรา ไพฑูรย์ โทร. 0876069955 0876069955 ไอดีไลน์ @043efhjv
ร้านนี้ยังไม่มีการแจ้งเลขทะเบียนพานิชย์ เปิดร้านมาแล้ว 7 ปี 9 เดือน