เกษตรภูธร | ขามสะแกแสง นครราชสีมา
เมล็ดสะเดาตากแห้ง
สำหรับทำสารกำจัด/ควบคุมการเจริญเติบโตของแมลง
ศัตรูพืช เหมาะสำหรับเป็นส่วนผสมหรือเป็นสารตั้งต้นในการทำสารไล่แมลงแบบเกษตรอินทรีย์
@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@
หมายเหตุ: เป็นสินค้าตามฤดูกาล โปรดสั่งจองสินค้าได้ที่
เบอร์ 093-425-7840 : พงษ์:ร้านเกษตรภูธร โคราช
เริ่มจองตั้งแต่ตอนนี้เป็นต้นไป
รับสินค้าเดือนพฤษภาคม (สินค้าคุณภาพ เมล็ดสะเดาของใหม่ทุกปี ไม่มีค้างสต๊อก )
$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$
ที่มา:รศ.ดร. ขวัญชัย สมบัติศิริ ภาควิชากีฏวิทยา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
เมื่อพูดถึงสะเดา หลายท่านคงนึกถึงนํ้าปลาหวานสะเดากับปลาดุกย่างหรือกุ้งนางเผา ซึ่งเป็นอาหารประจำชาติอย่างหนึ่งที่คนไทยรู้จัก บริโภคกันมาเป็นเวลานาน เหตุไฉนจึงจะเอาของที่ใช้เป็นอาหารไปใช้ฆ่าแมลงเสียล่ะ ถ้าสารที่ได้จากสะเดามีพิษในการฆ่าแมลง ประชาซนทั่วไปที่รับประทานดอกและใบสะเดาจะไม่ได้รับอันตรายไปด้วยหรือ ปัญหานี้เป็นเรื่องที่น่าสนใจที่ต้องบรรยายให้ทราบ ไม่เช่นนั้นต่อไปจะไม่มีคนกล้ารับประทานสะเดา ก่อนอื่นต้องขอทำความเข้าใจเกี่ยวกับสารหลายชนิดที่เราใช้บริโภค ยกตัวอย่างเกลือ ถ้าใช้ในปริมาณที่เหมาะสมก็เป็นประโยชน์ แต่ถ้าบริโภค เข้าไปมาก ๆ ก็จะเป็นเหมือนสารพิษ ทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพได้เหมือนกัน กลับมาถึงเรื่องสะเดา หลายท่านคงเคยเห็นนกชอบกินผลสะเดาสุก และนกก็ไม่เคยตายเพราะกินผลสะเดา เช่นเดียวกับที่เราไม่เคยเห็นมนุษย์ที่บริโภคสะเดาแล้วได้รับอันตราย แต่ก็ยังไม่สามารถสรุปได้ว่าสะเดานั้นปลอดภัยร้อยเปอร์เซ็นต์ เพราะแม้แต่ยาที่เรากินรักษาโรคภัย ต่าง ๆ ยังมีผลร้ายต่อร่างกายได้ถ้ากินมากเกินไป หรืออาจมีผลข้างเคียงบ้าง อย่างไรก็ตาม เท่าที่มีประสบการณ์จากการรับประทานสะเดามาเป็นเวลามากกว่า 20 ปีแล้ว ก็ไม่เคยมีอาการผิดปกติแต่อย่างใด ท่านคงจะสนใจว่าสารอะไรในสะเดาเป็นตัวที่ทำให้แมลงตาย และแมลงตายได้อย่างไร นักวิทยาศาสตร์ได้ทำการแยกสารต่าง ๆ ที่มีอยู่ ในเมล็ดสะเดา ปรากฏว่าพบมากกว่า 10 ชนิด สารที่จัดว่ามีผลต่อการป้องกันกำจัดแมลงโดยทั่วไป ส่วนใหญ่เป็นสาร Azadirachtin แมลงได้รับสารสกัดจากสะเดาโดยการกินเข้าไปหรือซึมผ่านผนังลำตัว เมื่อแมลงได้รับสารเข้าไปแล้ว แมลงจะไม่ตายในทันที แต่จะตายในระยะลอกคราบ จากหนอนระยะหนึ่งไปอีกระยะหนึ่ง ดังนั้น สารสกัดจากสะเดาจึงเหมาะที่จะใช้สำหรับแมลงในระยะตัวหนอนหรือตัวอ่อน ในกรณีที่หนอนได้รับสารจำนวนน้อยไม่เพียงพอ ที่จะทำให้มันตายในระยะหนอน อาจตายได้ในระยะดักแด้ หรือเจริญเป็นตัวแก่ที่ไม่สมบูรณ์ นอกจากนั้นสารสกัดยังมีผลกับการผลิตไข่ของตัวแก่ลดลง และเปอร์เซ็นต์การฟักไข่ยังลดลงอย่างมากด้วย ในแมลงบางชนิด อาจลดลงถึง 90% คราวนี้ถึงปัญหาว่าเมื่อสารสกัดเข้าไปในร่างกายของแมลงแล้วมีปฏิกิริยาอย่างไรในแมลง ถึงทำให้แมลงตาย ที่สำคัญที่สุดคือจะทำให้สาร cholesterol ซึ่งเป็นตัวสำคัญที่แมลงจะนำไปผลิตฮอร์โมนที่ใช้ในการลอกคราบ (ecdysonehormone) เมื่อปริมาณฮอร์โมนที่แมลงสร้างได้น้อย จึงทำให้หนอนไม่สามารถลอกคราบทั้งหมดออกจากร่างกายได้ คงลอกคราบได้เป็นบางส่วน นอกจากนั้นยังมีผลอย่างอื่นอีกหลายอย่าง เช่น ปริมาณโปรตีนบางอย่างลดลง รูปร่างของเม็ดโลหิตเปลี่ยนแปลงไป ตัวการสำคัญที่ทำให้แมลงตายคือปริมาณของฮอร์โมนที่ใช้ในการลอกคราบมีปริมาณลดน้อยลงมาก จนทำให้มันไม่สามารถลอกคราบเจริญเติบโตต่อไปได้ แต่ฮอร์โมนตัวนี้ในมนุษย์ไม่มี พันธุ์สะเดา เท่าที่พบในรายงานปรากฏว่าสะเดามีอยู่ 2 พันธุ์ คือสะเดาพันธุ์ไทย (Azadirachta indica var. siam- nensis) และสะเดาพันธุ์อินเดีย (Azadirachta indica) สะเดาทั้ง 2 พันธุ์นี้มีลักษณะหลายประการที่แตกต่างกัน คือสะเดาไทยมีขนาดใบหนาและใหญ่กว่า มีขอบใบหยักน้อยกว่า ผิวลำต้นแตกไม่เรียบเหมือนสะเดาอินเดีย ก้านช่อดอกสั้นกว่าและผลใหญ่กว่าสะเดาอินเดีย วิธีการสกัด การสกัดสารจากเมล็ดสะเดา สามารถกระทำได้หลายวิธี ตั้งแต่วิธีที่ง่ายที่สุด จนกระทั่งถึงวิธีที่สลับซับช้อนมากยิ่งขึ้น ในที่นี้จะอธิบายเฉพาะวิธีการที่ง่าย ๆ เพื่อเกษตรกรสามารถนำไปปฏิบัติได้ทันที และไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายแพง เริ่มต้นด้วยการเก็บผลสะเดาที่แก่ที่ตกอยู่ใต้ต้น นำมาแกะเอาเนื้อภายนอกออกเสียก่อนให้เหลือแต่เมล็ด เอาไปผึ่งให้แห้งในร่ม หรืออาจจะใช้สด ๆ ก็ได้ ใช้เมล็ดดังกล่าวไปบดหรือทุบให้มีขนาดเล็กลง เพื่อให้การสกัดสารจากเมล็ดสะเดาได้ผลดียิ่งขึ้น จากนั้นเอาไปแช่นํ้าในอัตรา 50 กรัม ต่อนํ้า 1-2 ลิตร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของแมลงที่ต้องการ กำจัด ทำการคนให้ทั่วยิ่งคนได้นานยิ่งดี จากนั้นทิ้งไว้ 1 คืน ทำการคนอีกครั้งหนึ่ง แล้วกรองแยกเอานํ้ายาไปใช้ป้องกันกำจัดแมลง ก่อนฉีดควรผสมนํ้ายาจับใบพืชเล็กน้อยตามอัตราที่กำหนดไว้ในกากสะเดาที่เหลือสามารถนำไปใช้เป็นปุ๋ยใส่ต้นพืชได้ดี วิธีต่อไปเพิ่มความยุ่งยากขึ้นมาอีกหน่อย คือ นำเมล็ดสะเดาที่ได้มาหีบเอานํ้ามันสะเดาออกเสียก่อน ซึ่งมีอยู่ประมาณ 30-40% นํ้ามันสะเดาที่ได้สามารถนำไปใช้ป้องกันกำจัดแมลงได้เช่นกัน โดยเฉพาะกับเพลี้ยจั๊กจั่น โดยผสมกับนํ้าให้เจือจางปะรมาณ 10-15% เนื่องจากนํ้ามันไม่ละลายในนํ้า จำเป็นต้องผสมนํ้ายาล้างชาม หรือสบู่ หรือสาร emulsifier ลงไปเล็กน้อย เพื่อให้นํ้ามันละลายน้ำได้ หรือจะใช้เครื่อง ULV ฉีด โดยไม่เจือจางก็ไต้ สำหรับกากสะเดาที่เหลือนำไปสกัดด้วยแอลกอฮอล์โดยใช้อัตราในปริมาณเดิมคือกากสะเดา 50 กรัมต่อแอลกอฮอล์ประมาณ 300-400 ซีชี คนสักประมาณ 2-3 ชม. หรือทิ้งค้างคืนไว้ จากนั้นกรองเอาน้ำออกมา ทิ้งไว้ให้แอลกอฮอล์ระเหยเหลือประมาณ 20-30 ซีซี กากที่เหลือสกัดต่อไปด้วยน้ำในอัตราเดิม คือเติมนํ้าลงไปอีกประมาณ 1-2 ลิตร คนนานเท่าที่จะทำได้ปล่อยทิ้งไว้ 1 คืน รุ่งขึ้นทำการกรองเอานํ้าออก และนำนํ้ายาที่ใช้แอลกอฮอล์สกัดซึ่งระเหยเหลือ 20-30 ซีซี ผสมลงไป จะทำให้นํ้ายามีประสิทธิภาพสูงขึ้น กากที่เหลือใช้เป็นปุ๋ยสำหรับต้นไม้ต่อไป สามารถแก้ปัญหาดินที่เป็นกรดได้ดี การสกัดอีกวิธีหนึ่งซึ่งสะดวกและรวดเร็วมาก ซึ่งเพิ่งค้นพบว่าสามารถใช้ฆ่าแมลงได้ผลดี โดยการนำเมล็ดสะเดาสดหรือแห้งก็ได้ใส่เครื่องปั่น แล้วเติมแอลกอฮอล์ลงไปเล็กน้อยเพื่อให้เครื่องปั่นบดเมล็ดสะเดาได้ จากนั้นนำมาเทใส่ภาชนะเก็บไว้ ต้องการใช้เมื่อใดก็เอามาผสมกับนํ้า โดยใช้สะเดาป่นประมาณ 1 กก.ต่อนํ้า 20 ลิตร จะแช่นํ้าทิ้งไว้ 1 คืน แล้วค่อยกรองใช้ก็ได้ หรือผสมนํ้าแล้วใช้ไม้คนสักพักหนึ่ง กรองเอานํ้าออกผสมกับนํ้ายาจับใบ และอาจใส่ white oil ด้วยก็ได้จะทำให้ประสิทธิภาพของสารสกัดดีขึ้น วิธีการสกัดอีกแบบหนึ่งที่คุณอรรณพ ตันสกุล เจ้าของสวนส้มรังสิต ได้ทดลองฉีดป้องกันกำจัดแมลงศัตรูส้มได้ผลดี คือใช้ใบสะเดา ตะไคร้หอม และข่าแก่ หนักประมาณอย่างละ 2 กก. บดให้ละเอียดแล้วนำไป แช่นํ้า 1 ปีบ 1 คืน รุ่งขึ้นกรองเอาน้ำยาออก ใช้นํ้ายาที่ได้ 300-500 ซีซี ผสมนํ้า 1 ปีบ ฉีดฆ่าแมลงหลายชนิดได้ผลดี จากแนวความคิดที่จะใช้สารสกัดจากพืชเป็นสารฆ่าแมลง ยังสามารถพัฒนาไปได้อีกมาก แต่สิ่งที่ควรระวังคือสารสกัดจากพืชหลายชนิดมีพิษต่อมนุษย์-สัตว์ ดังนั้นก่อนที่จะทดลองสารสกัดจากพืชชนิดใด น่าจะลองสอบถามหรือหาข้อมูลเกี่ยวกับสารในพืชชนิดนั้นก่อน เพื่อความปลอดภัยควรใช้พืชที่มนุษย์ใช้เป็นอาหารได้ทดลองก่อน วิธีการใช้ ใช้นํ้ายาที่สกัดได้ฉีดพืชให้ทั่ว และถ้าเป็นไปได้ให้ฉีดโดนตัวหนอน ระยะเวลาที่ฉีดควรเป็นเวลาเย็น และไม่ควรรดนํ้าหลังจากการฉีดยา นํ้ายาที่สกัดด้วยนํ้าพยายามใช้ให้หมด ไม่ควรทิ้งไว้เกิน 2 วัน หากจำเป็นก็แช่ในตู้แย็น อาจทิ้งไว้ได้นานขึ้น นํ้ายาที่ใช้แอลกอฮอล์สกัด สามารถเก็บไว้ได้นานเท่าที่ต้องการ ระยะเวลาที่นํ้ายาสามารถออกฤทธิ์ต่อแมลงประมาณ 4-6 วัน ดังนั้น การใช้แต่ละครั้งอาจทิ้งช่วงห่างได้ 10-14 วัน ทั้งนี้แล้วแต่ประชากรของแมลง ถ้ามากก็ร่นระยะเวลาฉีดให้ถี่ขึ้น ประสิทธิภาพของนํ้ายาจะมีผลดีต่อแมลงในระยะตัวอ่อนหรือตัวหนอนมากกว่าในระยะตัวแก่ โดยเฉพาะหนอนผีเสื้อ หนอนด้วงปีกแข็ง ตั๊กแตน เพลี้ยอ่อน เพลี้ยจั๊กจั่น ลูกนํ้ายุง และแมลงชนิดอื่น นํ้ายาจะออกฤทธิ์ทั้งในทางดูดซึมเข้าผนังร่างกายโดยตรง หรือกินเข้าไป นอกจากนั้นยังเป็นสารยับยั้งการกิน เป็นสารไล่แมลง และยังดูดซึมเข้าทางรากได้ด้วย สารที่เป็นพิษทำให้แมลงตาย จะทำให้หนอนไม่สามารถลอกคราบจากระยะหนึ่งไปอีกระยะหนึ่งได้ ดังนั้น หนอนส่วนมากจะตายภายหลังได้รับสารสกัดจากสะเดา ประมาณ 3-7 วัน ในช่วงเวลาก่อนตายนั้น หนอนจะไม่ค่อยกินอาหาร อ่อนแอ มีขนาดเล็กกว่าปกติอย่างเห็นได้ชัด ::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::: สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร 093-425-7840 หรือที่ line : 0935133789 เมลล์ : [email protected] คุณสั่ง เราส่ง ไม่ต้องตรงมาถึงร้าน :::::::::::::::::::::::::::::::::
ราคา 60.00 บาท ติดต่อ นายฐาปนพงษ์ วิชัยต๊ะ โทร. 0934257840 0934257840
ร้านนี้ยังไม่มีการแจ้งเลขทะเบียนพานิชย์ เปิดร้านมาแล้ว 10 ปี 9 เดือน