ค้นหาสินค้า

ผักชีล้อม (Water dropwort)

ร้าน สวนแดงจินดา
ผักชีล้อม | สวนแดงจินดา -  เชียงใหม่

สวนแดงจินดา | เชียงใหม่

ผักชีล้อม ชื่อสามัญ Water dropwort, Oenanthe
ผักชีล้อม ชื่อวิทยาศาสตร์ Oenanthe javanica (Blume) DC. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Oenanthe stolonifera Wall. ex DC) จัดอยู่ในวงศ์ผักชี (APIACEAE หรือ UMBELLIFERAE)

ผักชีล้อม มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ผักอัน ผักอันอ้น ผักอันอ้อ ผักผันอ้อ จีอ้อ ผักหนอกช้าง จุ้ยคึงไฉ่ (จีน) เป็นต้น
สรรพคุณของผักชีล้อม
เชื่อว่าการรับประทานผักชีล้อมจะช่วยบำรุงรักษาสายตาและช่วยรักษาโรคตา (ทั้งต้น)
ผลหรือเมล็ดผักชีล้อมเป็นสมุนไพรที่มีฤทธิ์อุ่น ช่วยขจัดความเย็น ปรับการไหลเวียนของพลังลมปราณ ปรับสมดุลให้ระบบทางเดินอาหาร (มักใช้ในการรักษาอาการปวดท้องน้อย ปวดประจำเดือน และอาการท้องอืดท้องเฟ้อ) (ผล)
ผักชีล้อมมีรสเผ็ดขมเล็กน้อยและมีกลิ่นหอมเฉพาะช่วยให้เจริญอาหาร (ทั้งต้น)
ช่วยบำรุงปอด (ผล)
ช่วยบำรุงหัวใจ (ทั้งต้น)
ช่วยบำรุงเลือด (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
ช่วยดับพิษในร่างกาย (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
ช่วยแก้ธาตุพิการ (ผล)
ช่วยแก้อาหารหืดหอบ แก้อาการไอ (ผล)
ช่วยขับเสมหะ (ทั้งต้น)
ช่วยแก้อาการเจ็บคอ (ต้น)
ช่วยแก้ลมวิงเวียน แก้ลมทำให้สะอึก (ผล)
ช่วยขับเหงื่อ ด้วยการใช้เป็นส่วนผสมในตำรายาอาบหรืออบสมุนไพร (ทั้งต้น)
ช่วยแก้อาการคลื่นเหียนอาเจียน (ผล)
ช่วยกระตุ้นการทำงานของลำไส้ (ทั้งต้น)
ช่วยในการย่อยอาหาร (ผล)
ช่วยบรรเทาอาการท้องอืดท้องเฟ้อ ลดแก๊สส่วนเกินที่เกิดขึ้นในร่างกาย (ผล, ทั้งต้น)
ช่วยขับลมในลำไส้ ทำให้ผายเรอ (ผล)
ช่วยแก้น้ำเหลืองเสีย ด้วยการใช้เป็นส่วนผสมในตำรายาอาบหรืออบสมุนไพร (ทั้งต้น)
สุมนไพรผักชีล้อม ทั้งต้นช่วยแก้อาการบวมและแก้เหน็บชา ด้วยการใช้เป็นส่วนผสมในตำรายาอาบหรืออบสมุนไพร (ทั้งต้น)

ประโยชน์ของผักชีล้อม
ผักชีล้อมใช้เป็นพืชปรุงรสที่ให้กลิ่นฉุน มีรสร้อนแรง ยอดอ่อนนิยมใช้รับประทานเป็นผักสดแกล้มกินกับน้ำพริก ส้มตำ ยำ และลาบ หรือใช้กินแบบทำให้สุก เช่น การย่าง การอบ ทอด หรือทำเป็นซุป ต้ม ตุ๋น หรือนำมาลวกใช้เป็นเครื่องเคียง หรือนำไปตกแต่งโรยหน้าอาหารเช่นเดียวกับผักชี และยังสามารถนำมาทำเป็นผักดองแบบเกาหลีที่เรียกว่ากิมจิได้อีกด้วย
ผลอ่อนใช้รับประทานเป็นผักจิ้มหรือใช้ปรุงอาหารได้
ใช้ในการประกอบอาหาร ช่วยทำให้อาหารไม่เลี่ยนและย่อยได้ง่าย
ชาวโรมันนิยมรับประทานผักชีล้อมเพื่อช่วยลดความอ้วน
ชาวตะวันตกเชื่อว่าผักชีล้อมมีแคลเซียมสูง ซึ่งมีประโยชน์ต่อการทำงานของกล้ามเนื้อ และช่วยบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง
เมนูผักชีล้อม เช่น ยำผักชีล้อม ผักชีล้อมชุบแป้งทอด ผักชีล้อมเท็มปุระ สลัด เป็นต้น
ผักชีล้อมกับความเชื่อ มีความเชื่อกันว่าผักชีล้อมช่วยเสริมความกล้าหาญและความแข็งแกร่ง ช่วยทำให้มีชีวิตยืนยาว และในสมัยก่อนก็มีการใช้ผักชีล้อมมาห้อยไว้เหนือประตูเพื่อช่วยขจัดวิญญาณชั่วร้าย นอกจากนี้ยังเชื่อว่างูมักกินผักชีล้อมเป็นอาหารเพื่อช่วยให้มันสามารถลอกคราบได้ง่ายขึ้น
cr.medthai
สนใจติดต่อ สวนแดงจินดา
โทร 089-637-3665
Facebook: สวน แดง จินดา
เว็บไซค์ :dangjindagarden.com

ราคา 30.00 บาท ติดต่อ กุสุมา ตุ่นแก้ว โทร. 0896373665 0896373665

ร้านนี้ยังไม่มีการแจ้งเลขทะเบียนพานิชย์ เปิดร้านมาแล้ว 11 ปี 9 เดือน

โทรศัพท์

เทียนแกลบ ผักชีลาวต้น | สวนแดงจินดา -  เชียงใหม่

สวนแดงจินดา | เชียงใหม่
เทียนแกลบ หรือผักชีลาวต้น (Dill)
มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า เทียนข้าวเปลือก, เทียนหวาน, เตียนแกบ, ยี่หร่าหวาน, ฮุ่ยเซียง เสี่ยวหุยเซียง (จีนกลาง)
สรรพคุณ
เมล็ดมีรสเผ็ด เป็นยาร้อนเล็กน้อย ออกฤทธิ์ต่อกระเพาะ ไต และกระเพาะปัสสาวะ ใช้เป็นยากระจายความเย็นในไต ทำให้ไตมีความอุ่น (เมล็ด)
ช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย (เมล็ด)
ช่วยแก้กระษัย ด้วยการใช้เทียนข้าวเปลือกบดเป็นผง นำมาตุ๋นกับไตหมูรับประทาน (เมล็ด)
เมล็ดใช้เป็นยาบำรุงกำลัง (เมล็ด)
ช่วยแก้ชีพจรอ่อนหรือพิการ (เมล็ด)
ช่วยแก้อาการคลั่ง นอนสะดุ้ง (เมล็ด)
ช่วยแก้อาการเบื่ออาหาร กระตุ้นความอยากอาหาร (เมล็ด)
ช่วยแก้อาเจียน (เมล็ด)
ช่วยแก้อาการไอ (เมล็ด)
ช่วยในการขับเสมหะและละลายเสมหะ (เมล็ด)
เมล็ดใช้เป็นยาขับลมในกระเพาะอาหารและลำไส้ ช่วยแก้อาการปวดท้อง ด้วยการใช้เทียนข้าวเปลือกและพริกไทยอย่างละเท่ากัน นำมาบดรวมกันเป็นผง ใช้ผสมกับเหล้าทำเป็นยาเม็ดลูกกลอนขนาดเท่าเม็ดถั่วลิสงรับประทานก่อนอาหารครั้งละ 50 เม็ด (เมล็ด)
ช่วยแก้อาการอาหารไม่ย่อย (เมล็ด)
ช่วยแก้อาการปวดกระเพาะ ปวดท้อง ด้วยการใช้เทียนข้าวเปลือก 8 กรัม, ข่าลิง 8 กรัม, โอวเอี๊ยะ 8 กรัม, หัวแห้วหมูคั่ว 10 กรัม นำทั้งหมดมารวมกันต้มกับน้ำรับประทาน (เมล็ด)
ช่วยแก้ลำไส้อักเสบในเด็ก (เมล็ด)
ช่วยแก้เส้นศูนย์กลางท้องพิการ (เมล็ด)
ชวยแก้อาการปวดท้องน้อย ปวดท้องประจำเดือนของสตรี (เมล็ด)
ช่วยขับปัสสาวะ (เมล็ด)
ใช้แก้ลมเย็น มือเท้ามีอาการเย็นหรือชา (เมล็ด)
ใช้แก้อาการปวดหลัง ปวดเอว เนื่องจากไตไม่มีกำลัง ด้วยการใช้เทียนข้าวเปลือกนำมาบดเป็นผง ใช้ตุ๋นกับไตหมูรับประทานเป็นยา (เมล็ด)
เทียนข้าวเปลือกจัดอยู่ในตำรับยา “พิกัดเทียน” ซึ่งประกอบไปด้วยตำรับยา “พิกัดเทียนทั้งห้า” (เทียนข้าวเปลือก เทียนขาว เทียนดำ เทียนแดง และเทียนตาตั๊กแตน), ตำรับยา “พิกัดเทียนทั้งเจ็ด” (เพิ่มเทียนเยาวพาณีและเทียนสัตตบุษย์), ตำรับยา “พิกัดเทียนทั้งเก้า” (เพิ่มเทียนตากบและเทียนเกล็ดหอย) ซึ่งมีสรรพคุณโดยรวมคือเป็นยาบำรุงโลหิต ช่วยขับลม แก้อาเจียน บำรุงโลหิต และใช้ในตำรับยาหอม
เทียนข้าวเปลือกปรากฏอยู่ในตำรับยารักษากลุ่มอาการทางระบบไหลเวียนโลหิต (แก้ลม) อันได้แก่ตำรับ “ยาหอมเทพจิตร” และในตำรับ “ยาหอมนวโกฐ” โดยเป็นตำรับยาที่มีสรรพคุณในการแก้ลมวิงเวียน แก้อาการหน้ามืดตาลาย คลื่นเหียน อาเจียน ใจสั่น และช่วยแก้ลมจุกแน่นในท้อง
นอกจากนี้เทียนข้าวเปลือกยังปรากอยู่ในตำรับยา “น้ำมันมหาจักร” ซึ่งในคำอธิบายพระตำราพระโอสถพระนารายณ์ระบุไว้ว่า น้ำมันขนาดนี้จะประกอบไปด้วย เทียนทั้งห้า (รวมถึงเทียนข้าวเปลือก), การบูร, น้ำมันงา, ดีปลี และผิวมะกรูดสด ซึ่งมีสรรพคุณเป็นยาแก้ลม แก้ริดสีดวง แก้เปื่อยคัน ใช้ทาแก้อาการเมื่อยขบ และใส่บาดแผลที่มีอาการปวด หรือเกิดจากเสี้ยนหนาม หอกดาบ ถ้าระวังไม่ให้แผลถูกน้ำก็จะไม่เป็นหนอง
ประโยชน์ของเทียนข้าวเปลือก
เมล็ดสามารถนำมาใช้ใส่ในอาหารประเภทต้ม ตุ๋น เพื่อช่วยทำให้มีกลิ่นหอมน่ารับประทาน หรือจะนำมาอบบดผสมในขนมอบอย่างขนมปัง เค้ก หรือบิสกิต เป็นต้น
ชาวล้านนาจะใช้เมล็ดเทียนข้าวเปลือกเป็นส่วนผสมของพริก ลาบพริก น้ำพริกลาบ ส่วนยอดอ่อนของต้นที่เรียกว่า “ผักชีลาว” จะใช้เป็นผักสดจิ้มกับน้ำพริก ลาวเนื้อสัตว์ต่าง ๆ หรือยำต่าง ๆ[5] (ส่วนนี้ผู้เขียนไม่แน่ใจว่าจะใช้ประโยชน์ของต้นเทียนแกลบ (ชื่อวิทยาศาสตร์ Foeniculum vulgare Mill.) ที่กล่าวถึงในบทความนี้หรือไม่ เพราะอาจจะเป็นประโยชน์ของต้นผักชีลาว (ชื่อวิทยาศาสตร์ Anethum graveolens Linn.) ก็ได้ เนื่องจากทั้งสองชนิดมีลักษณะของต้นและดอกที่คล้ายคลึงกันมาก อีกทั้งยังมีชื่อท้องถิ่นเหมือนกันอีกด้วยว่า “เทียนข้าวเปลือก“)
ในต่างประเทศจะใช้หน่อและใบของต้นเทียนข้าวเปลือกมาใช้ในการประกอบอาการ เช่น ผัด ต้ม ตุ๋น ย่าง หรือรับประทานแบบสด ๆ
มีการใช้เทียนข้าวเปลือก (เข้าใจว่าคือส่วนของเมล็ด) มาใช้แต่งกลิ่นอาหารประเภทเนื้อ ซอส กลิ่นซุป ขนมหวาน ขนมปัง เหล้า ผักดอง และมีการใช้น้ำมันหอมระเหยจากเทียนข้าวเปลือกชนิดหวานในการแต่งกลิ่นยาถ่าย (ช่วยบรรเทาอาการไซ้ท้องได้ด้วย) ส่วนน้ำมันหอมระเหยจากเทียนข้าวเปลือกชนิดจมจะนำมาใช้ในการแต่งกลิ่นเครื่องสำอาง ครีม เครื่องหอม สบู่ สารชะล้าง และยาทาภายนอก
วิธีใช้สมุนไพรเทียนข้าวเปลือก
ให้รับประทานครั้งละ 3-10 กรัม โดยนำมาต้มกับน้ำรับประทาน หรืออาจใช้ร่วมกับตัวยาชนิดอื่น ๆ ตามตำรับยาก็ได้
ยาผง ในขนาด 0.3-0.6 กรัม สารสกัดแอลกอฮอล์ (1:1 ในแอลกอฮอล์ 70%) ขนาด 0.8-2 มิลลิลิตร ใช้วันละ 3 ครั้ง หรือในรูปของยาชง (ยาผง 1-3 กรัมชงกับน้ำ 150 มล. สารสกัดของเหลว(1:1 กรัมต่อมิลลิลิตร) ขนาด 1-3 มล. ทิงเจอร์ (1:5 กรัมต่อมิลลิลิตร) ขนาด 5-15 มิลลิลิตร ใช้รับประทานระหว่างมื้ออาหารวันละ 2-3 ครั้ง และไม่ควรใช้ติดต่อกันเป็นระยะเวลานานหลาย ๆ สัปดาห์
cr,medthai
สนใจติดต่อ
โทร 089-637-3665
Facebook:สวนแดงจินดา

ราคา 30.00 บาท ติดต่อ กุสุมา ตุ่นแก้ว โทร. 0896373665 0896373665

ร้านนี้ยังไม่มีการแจ้งเลขทะเบียนพานิชย์ เปิดร้านมาแล้ว 11 ปี 9 เดือน

โทรศัพท์