ค้นหาสินค้า

หูเสือ (Indian borage)

ร้าน สวนแดงจินดา
หูเสือด่าง | สวนแดงจินดา -  เชียงใหม่

สวนแดงจินดา | เชียงใหม่
หูเสือ ชื่อสามัญ Indian borage, Country borage, Oreille, Oregano[2]
หูเสือ ชื่อวิทยาศาสตร์ Plectranthus amboinicus (Lour.) Spreng. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Coleus amboinicus Lour., Coleus aromaticus Benth.) จัดอยู่ในวงศ์กะเพรา (LAMIACEAE หรือ LABIATAE)[1]
สมุนไพรหูเสือ มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า หอมด่วนหูเสือ หอมด่วนหลวง (ภาคเหนือ), เนียมหูเสือ (ภาคอีสาน), ผักฮ่านใหญ่ (ไทใหญ่), ผักหูเสือ (ไทย), เนียมอีไหลหลึง โฮว้หีเช่า (จีน) เป็นต้น
สรรพคุณของหูเสือ
ต้นและใบมีกลิ่นหอมฉุน รสเผ็ดร้อน มีสรรพคุณช่วยทำให้เจริญอาหาร (ต้นและใบ)[1]
ใบหูเสือมีสรรพคุณเป็นยาบำรุงร่างกาย (ใบ)[1],[4]
ตำรับยาบำรุงเลือดลม ระบุให้ใช้รากหูเสือนำมาต้มกับน้ำกิน จะช่วยรักษาเลือดลมให้เป็นปกติ (ราก)[4]
ต้นและใบนำมาคั้นเอาน้ำใช้หยอดหู จะช่วยแก้ฝีในหู แก้ปวดหู หูน้ำหนวก และแก้พิษฝีในหูได้ (ต้นและใบ, ใบ)[1],[2],[4]
ช่วยดับกลิ่นปาก แก้ปวดฟัน ป้องกันฟันผุ ด้วยการนำรากหูเสือมาแช่กับน้ำธรรมดา แล้วนำมากินและอมบ่อย ๆ (ราก)[4]
ใบใช้ภายนอกเป็นยาพอกศีรษะแก้อาการปวด ลดไข้ (ใบ)[1]
ต้นและใบใช้ตำแล้วนำมาโปะหน้าผากหรือกระหม่อมเด็กเล็กจะช่วยลดไข้ตัวร้อน แก้ไข้หวัดในเด็กได้ (ต้นและใบ,ใบ)[1],[4]
ใบนำมาขยี้ดม จะช่วยแก้อาการหวัด คัดจมูกได้ (ใบ)[1],[4]

ตำรับยาแก้อาการไอ ไอเรื้อรัง แก้เจ็บคอ คออักเสบ ต่อมทอนซิลอักเสบ ระบุให้ใช้ใบสดประมาณ 4-5 ใบ นำมาฉีกเป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วนำไปต้มกับน้ำ 1 ลิตร กินครั้งละครึ่งแก้ววันละ 3 เวลา (อาจจะใส่น้ำผึ้งและเกลือเล็กน้อยด้วยก็ได้) โดยให้กินก่อนหรือหลังอาหาร อุ่นเช้าและเย็น สัก 2 วัน ต้มดื่มเรื่อย ๆ จะช่วยทำให้อาการไอและเจ็บคอดีขึ้นและหายได้ หรืออีกวิธีให้ใช้ใบหูเสือสดประมาณ 4-5 ใบ นำมาสับกับหมูไม่ติดมันให้ละเอียด ใช้ต้มกินแบบแกงจืด ใส่เกลือป่น โดยให้กินทั้งน้ำและเนื้อ 2 มื้อ เช้าและเย็น ส่วนตำรับยาแก้ไอในเด็ก ระบุให้นำใบหูเสือมานวดกับเกลือ คั้นเอาน้ำใส่ช้อนทองเหลืองอุ่นให้เดือด แล้วนำมาให้เด็กกิน (ใบ)[1],[4]
ช่วยแก้โรคหืดหอบ ด้วยการนำใบหูเสือสดมารับประทานร่วมกับน้ำพริก แจ่ว จะช่วยแก้หอบหืด ทำให้หายใจโล่ง อีกทั้งยังช่วยแก้ไอ แก้หวัดได้อีกด้วย (ใบ, ต้นและใบ)[1],[4]
ต้นและใบนำมาขยี้ใช้ทาท้องเด็กเพื่อแก้อาการท้องอืดได้ (ต้นและใบ, ใบ)[1],[4]
ยางจากใบใช้ผสมกับน้ำตาลกินจะช่วยขับลม แก้อาการปวดท้อง อาหารไม่ย่อย (ยางจากใบ)[1]
ใบนำมาต้มกับน้ำกินเป็นยาแก้ทางเดินปัสสาวะอักเสบ (ใบ)[1]
ใบนำมาต้มกับน้ำกินหลังคลอดจะช่วยขับน้ำคาวปลา (ใบ)[1]
ต้นและใบนำมาขยี้ใช้เป็นยาปิดห้ามเลือด (ต้นและใบ, ใบ)[1],[4]
ใบใช้เป็นยาพอกรักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ด้วยการนำใบหูเสือมาล้างให้สะอาด ตำแล้วนำมาโปะตรงที่เป็นแผล จะช่วยทำให้แผลไม่เปื่อย ไม่พอง และไม่ลุกลาม (ใบ)[1],[4]
ใบนำมาคั้นเอาใช้เป็นยาทารักษาแผลเรื้อรัง แผลที่มีน้ำเหลือง น้ำหนอง หรือเป็นตุ่มพุพอง (ใบ)[1],[4]
ใบนำมาขยี้ทารักษาหิด (ใบ)[1],[4]
ใบใช้ภายนอกนำมาขยี้ทาหรือใช้เป็นยาพอกแก้แมงป่องต่อย ตะขาบกัด (ใบ)[1],[4]
ช่วยรักษาอาการบวม ใช้ตำพอกแก้ปวดข้อ (ใบ)[1],[4]
ใบใช้เป็นยาแก้ลมชักบางประเภท (ใบ)[1]
ช่วยบำรุงน้ำนมหลังคลอดของสตรี (ใบ)[4]
บางข้อมูลระบุว่าหูเสือยังมีสรรพคุณช่วยแก้อาการนอนไม่หลับ (นำใบมาต้มกับน้ำดื่มแทนน้ำชา), ช่วยลดเสมหะ (นำใบสดมาต้ม ใส่ใบกระวานและกานพลูเล็กน้อย ผสมกับน้ำผึ้ง 1 ช้อนชา ใช้ดื่มวันละ 2 ครั้ง ติดต่อกัน 3 วัน) (ไม่มีแหล่งอ้างอิง)
ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของหูเสือ
สารสำคัญที่พบได้ในใบหูเสือ ได้แก่ น้ำมันหอมระเหย carvacrol, cyperene, thymol, -terpinene เป็นต้น[3]
หูเสือหรือเนียมหูเสือมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย ยับยั้งเชื้อรา ยับยั้งยีสต์ ฆ่าแมลง ยับยั้งการงอกของพืชอื่น และยับยั้งเอนไซม์ protease จากเชื้อ HIV[3]
ประโยชน์ของหูเสือ
ยอดอ่อนและใบอ่อนใช้รับประทานเป็นผักจิ้มกับน้ำพริก ลาบทุกชนิด ก้อย แจ่วป่น ซุปหน่อไม้ ซุบมะเขือ ใช้ใส่ในแกงต่าง ๆ ใช้รับประทานสดเป็นผักแกล้มกับอาหารอื่น ๆ ใช้กินกับหมาก รวมทั้งยังนำมาใช้แทนใบกะเพราในแกงกบ แกงปลาไหล ผัดหมูสับ เป็นต้น เนื่องจากผักหูเสือมีน้ำมันหอมระเหยสูง จึงช่วยย่อยและดับกลิ่นคาวได้ดีมาก[1],[2],[4]
กลิ่นหอมของใบหูเสือจะคล้ายกับเครื่องเทศ “ออริกาโน” (Oregano) ที่ใช้โรยหน้าพิซซ่า หากใครที่ชอบกลิ่นของออริกาโน ก็สามารถนำใบหูเสือมาตากให้แห้งสนิทในที่ร่ม แล้วบดให้ละเอียด เพียงเท่านี้ก็สามารถนำมาใช้แทนออริกาโนได้เลย[4]
ต้นนำมาตำหรือบดใช้ซักผ้า สระผมได้[5]
ใบสามารถนำไปทำเป็นยานัตถุ์ได้ เพราะมีกลิ่นหอม หรือจะนำมาใส่ในยุ้งข้าวเพื่อไล่แมลง ใช้ดับกลิ่นคาวอาหารก็ได้[1],[4]
หูเสือ เป็นผักที่มีกลิ่นหอมฉุน มีรสเผ็ดร้อน มีรสเปรี้ยวแทรกอยู่เล็กน้อย ตามบ้านเรือนต่าง ๆ ส่วนใหญ่จะพบหูเสือถูกปลูกอยู่ในกะละมัง แม้ว่าผักหูเสือจะไม่ใช่ผักหรือสมุนไพรที่โดดเด่น แต่แทบทุกบ้านมักจะปลูกไว้เป็นไม้คู่บ้าน โดยชาวบ้านในแถบทางภาคอีสานและภาคเหนือจะปลูกไว้เป็นเหมือนยาสามัญประจำบ้าน ส่วนคนจีนจะปลูกไว้เป็นยาแก้ไอ[4]
cr.medthai
สนใจติดต่อ สวนแดงจินดา
โทร 089-637-3665
Facebook: สวน แดง จินดา
เว็บไซค์ :dangjindagarden.com

ราคา 30.00 บาท ติดต่อ กุสุมา ตุ่นแก้ว โทร. 0896373665 0896373665

ร้านนี้ยังไม่มีการแจ้งเลขทะเบียนพานิชย์ เปิดร้านมาแล้ว 11 ปี 8 เดือน

โทรศัพท์

ต้นหูเสือ | สวนแดงจินดา -  เชียงใหม่

สวนแดงจินดา | เชียงใหม่
ต้นหูเสือ
สมุนไพรหูเสือ มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า หอมด่วนหูเสือ หอมด่วนหลวง (ภาคเหนือ), เนียมหูเสือ (ภาคอีสาน), ผักฮ่านใหญ่ (ไทใหญ่), ผักหูเสือ (ไทย), เนียมอีไหลหลึง โฮว้หีเช่า (จีน)
สรรพคุณของหูเสือ
ต้นและใบมีกลิ่นหอมฉุน รสเผ็ดร้อน มีสรรพคุณช่วยทำให้เจริญอาหาร (ต้นและใบ)
ใบหูเสือมีสรรพคุณเป็นยาบำรุงร่างกาย (ใบ)
ตำรับยาบำรุงเลือดลม ระบุให้ใช้รากหูเสือนำมาต้มกับน้ำกิน จะช่วยรักษาเลือดลมให้เป็นปกติ (ราก)
ต้นและใบนำมาคั้นเอาน้ำใช้หยอดหู จะช่วยแก้ฝีในหู แก้ปวดหู หูน้ำหนวก และแก้พิษฝีในหูได้ (ต้นและใบ, ใบ)
ช่วยดับกลิ่นปาก แก้ปวดฟัน ป้องกันฟันผุ ด้วยการนำรากหูเสือมาแช่กับน้ำธรรมดา แล้วนำมากินและอมบ่อย ๆ (ราก)
ใบใช้ภายนอกเป็นยาพอกศีรษะแก้อาการปวด ลดไข้ (ใบ)
ต้นและใบใช้ตำแล้วนำมาโปะหน้าผากหรือกระหม่อมเด็กเล็กจะช่วยลดไข้ตัวร้อน แก้ไข้หวัดในเด็กได้ (ต้นและใบ,ใบ)
ใบนำมาขยี้ดม จะช่วยแก้อาการหวัด คัดจมูกได้ (ใบ)
ตำรับยาแก้อาการไอ ไอเรื้อรัง แก้เจ็บคอ คออักเสบ ต่อมทอนซิลอักเสบ ระบุให้ใช้ใบสดประมาณ 4-5 ใบ นำมาฉีกเป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วนำไปต้มกับน้ำ 1 ลิตร กินครั้งละครึ่งแก้ววันละ 3 เวลา (อาจจะใส่น้ำผึ้งและเกลือเล็กน้อยด้วยก็ได้) โดยให้กินก่อนหรือหลังอาหาร อุ่นเช้าและเย็น สัก 2 วัน ต้มดื่มเรื่อย ๆ จะช่วยทำให้อาการไอและเจ็บคอดีขึ้นและหายได้ หรืออีกวิธีให้ใช้ใบหูเสือสดประมาณ 4-5 ใบ นำมาสับกับหมูไม่ติดมันให้ละเอียด ใช้ต้มกินแบบแกงจืด ใส่เกลือป่น โดยให้กินทั้งน้ำและเนื้อ 2 มื้อ เช้าและเย็น ส่วนตำรับยาแก้ไอในเด็ก ระบุให้นำใบหูเสือมานวดกับเกลือ คั้นเอาน้ำใส่ช้อนทองเหลืองอุ่นให้เดือด แล้วนำมาให้เด็กกิน (ใบ)
ช่วยแก้โรคหืดหอบ ด้วยการนำใบหูเสือสดมารับประทานร่วมกับน้ำพริก แจ่ว จะช่วยแก้หอบหืด ทำให้หายใจโล่ง อีกทั้งยังช่วยแก้ไอ แก้หวัดได้อีกด้วย (ใบ, ต้นและใบ)
ต้นและใบนำมาขยี้ใช้ทาท้องเด็กเพื่อแก้อาการท้องอืดได้ (ต้นและใบ, ใบ)
ยางจากใบใช้ผสมกับน้ำตาลกินจะช่วยขับลม แก้อาการปวดท้อง อาหารไม่ย่อย (ยางจากใบ)
ใบนำมาต้มกับน้ำกินเป็นยาแก้ทางเดินปัสสาวะอักเสบ (ใบ)
ใบนำมาต้มกับน้ำกินหลังคลอดจะช่วยขับน้ำคาวปลา (ใบ)
ต้นและใบนำมาขยี้ใช้เป็นยาปิดห้ามเลือด (ต้นและใบ, ใบ)
ใบใช้เป็นยาพอกรักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ด้วยการนำใบหูเสือมาล้างให้สะอาด ตำแล้วนำมาโปะตรงที่เป็นแผล จะช่วยทำให้แผลไม่เปื่อย ไม่พอง และไม่ลุกลาม (ใบ)
ใบนำมาคั้นเอาใช้เป็นยาทารักษาแผลเรื้อรัง แผลที่มีน้ำเหลือง น้ำหนอง หรือเป็นตุ่มพุพอง (ใบ)
ใบนำมาขยี้ทารักษาหิด (ใบ)
ใบใช้ภายนอกนำมาขยี้ทาหรือใช้เป็นยาพอกแก้แมงป่องต่อย ตะขาบกัด (ใบ)
ช่วยรักษาอาการบวม ใช้ตำพอกแก้ปวดข้อ (ใบ)
ใบใช้เป็นยาแก้ลมชักบางประเภท (ใบ)
ช่วยบำรุงน้ำนมหลังคลอดของสตรี (ใบ)
บางข้อมูลระบุว่าหูเสือยังมีสรรพคุณช่วยแก้อาการนอนไม่หลับ (นำใบมาต้มกับน้ำดื่มแทนน้ำชา), ช่วยลดเสมหะ (นำใบสดมาต้ม ใส่ใบกระวานและกานพลูเล็กน้อย ผสมกับน้ำผึ้ง 1 ช้อนชา ใช้ดื่มวันละ 2 ครั้ง ติดต่อกัน 3 วัน) (ไม่มีแหล่งอ้างอิง)
ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของหูเสือ
สารสำคัญที่พบได้ในใบหูเสือ ได้แก่ น้ำมันหอมระเหย carvacrol, cyperene, thymol, -terpinene เป็นต้น
หูเสือหรือเนียมหูเสือมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย ยับยั้งเชื้อรา ยับยั้งยีสต์ ฆ่าแมลง ยับยั้งการงอกของพืชอื่น และยับยั้งเอนไซม์ protease จากเชื้อ HIV
ประโยชน์ของหูเสือ
ยอดอ่อนและใบอ่อนใช้รับประทานเป็นผักจิ้มกับน้ำพริก ลาบทุกชนิด ก้อย แจ่วป่น ซุปหน่อไม้ ซุบมะเขือ ใช้ใส่ในแกงต่าง ๆ ใช้รับประทานสดเป็นผักแกล้มกับอาหารอื่น ๆ ใช้กินกับหมาก รวมทั้งยังนำมาใช้แทนใบกะเพราในแกงกบ แกงปลาไหล ผัดหมูสับ เป็นต้น เนื่องจากผักหูเสือมีน้ำมันหอมระเหยสูง จึงช่วยย่อยและดับกลิ่นคาวได้ดีมาก
กลิ่นหอมของใบหูเสือจะคล้ายกับเครื่องเทศ “ออริกาโน” (Oregano) ที่ใช้โรยหน้าพิซซ่า หากใครที่ชอบกลิ่นของออริกาโน ก็สามารถนำใบหูเสือมาตากให้แห้งสนิทในที่ร่ม แล้วบดให้ละเอียด เพียงเท่านี้ก็สามารถนำมาใช้แทนออริกาโนได้เลย
ต้นนำมาตำหรือบดใช้ซักผ้า สระผมได้
ใบสามารถนำไปทำเป็นยานัตถุ์ได้ เพราะมีกลิ่นหอม หรือจะนำมาใส่ในยุ้งข้าวเพื่อไล่แมลง ใช้ดับกลิ่นคาวอาหารก็ได้
หูเสือ เป็นผักที่มีกลิ่นหอมฉุน มีรสเผ็ดร้อน มีรสเปรี้ยวแทรกอยู่เล็กน้อย ตามบ้านเรือนต่าง ๆ ส่วนใหญ่จะพบหูเสือถูกปลูกอยู่ในกะละมัง แม้ว่าผักหูเสือจะไม่ใช่ผักหรือสมุนไพรที่โดดเด่น แต่แทบทุกบ้านมักจะปลูกไว้เป็นไม้คู่บ้าน โดยชาวบ้านในแถบทางภาคอีสานและภาคเหนือจะปลูกไว้เป็นเหมือนยาสามัญประจำบ้าน ส่วนคนจีนจะปลูกไว้เป็นยาแก้ไอ
cr.medthai
สนใจติดต่อ สวนแดงจินดา
โทร 089-637-3665
Facebook: สวน แดง จินดา

ราคา 30.00 บาท ติดต่อ กุสุมา ตุ่นแก้ว โทร. 0896373665 0896373665

ร้านนี้ยังไม่มีการแจ้งเลขทะเบียนพานิชย์ เปิดร้านมาแล้ว 11 ปี 8 เดือน

โทรศัพท์