ค้นหาสินค้า

อบเชย (Cinnamon)

ร้าน สวนแดงจินดา
อบเชยญวน | สวนแดงจินดา -  เชียงใหม่

สวนแดงจินดา | เชียงใหม่
ต้นอบเชยญวน
สมุนไพรอบเชย มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า บอกคอก (ลำปาง), พญาปราบ (นครราชสีมา), สะวง (ปราจีนบุรี), กระดังงา (กาญจนบุรี), ฝักดาบ (พิษณุโลก), สุรามิด (สุโขทัย), กระแจกโมง โมงหอม (ชลบุรี), กระเจียด เจียดกระทังหัน (ยะลา), อบเชยต้น มหาปราบ (ภาคกลาง)
สรรพคุณของอบเชย
เปลือกต้นและเนื้อไม้ มีรสเผ็ด หวานชุ่ม มีกลิ่นหอม เป็นยาร้อนออกฤทธิ์ต่อไต ม้าม และกระเพาะปัสสาวะ ใช้เป็นยาบำรุงร่างกาย ทำให้ร่างกายอบอุ่น ช่วยกระจายความเย็นในร่างกาย ทำให้เลือดหมุนเวียนดี (เปลือกต้นและเนื้อไม้)
เปลือกต้นใช้ปรุงผสมเป็นยาหอมและยานัตถุ์ ทำให้สดชื่น แก้ปวดศีรษะ แก้อาการอ่อนเพลีย (เปลือกต้น)
ช่วยบำรุงดวงจิต บำรุงธาตุ ช่วยชูกำลัง แก้อาการอ่อนเพลีย (เปลือกต้น) ส่วนใบอบเชยต้นมีสรรพคุณเป็นยาบำรุงธาตุ และบำรุงกำลัง (ใบอบเชยไทย)
รากอบเชยเทศ มีสรรพคุณช่วยปลุกธาตุให้เจริญ แก้พิษร้อน ส่วนเปลือกต้นอบเชยเทศมีสรรพคุณปลุกธาตุอันดับให้เจริญ (เปลือกต้นอบเชยเทศ,รากอบเชยเทศ)
อบเชยจีนมีรสเผ็ดอมหวาน มีฤทธิ์ร้อน ช่วยบำรุงธาตุไฟในระบบไต ตับ ม้าม และหัวใจ (เปลือกต้นอบเชยจีน)
อบเชยสามารถช่วยลดความดันโลหิตได้ ด้วยการใช้ผงอบเชยที่หาซื้อได้ทั่วไปที่เป็นแท่งนำมาบด โดยให้ใช้ผงอบเชยหนัก 1 กรัม ชงกับน้ำร้อน 1 ถ้วยกาแฟ ใช้ดื่มก่อนอาหารเช้าและเย็น (เปลือกต้น)
ใช้ปรุงเป็นยานัตถุ์รับประทานแก้เบื่ออาหาร (เปลือกต้น) เปลือกต้นนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาบำรุงธาตุ และช่วยทำให้เจริญอาหาร (เปลือกต้นอบเชยไทย)
อบเชยมีสรรพคุณช่วยทำให้ร่างกายมีความสามารถในการใช้อินซูลินเพื่อการสันดาปกลูโคสได้ดีขึ้น อบเชยสามารถลดการดื้ออินซูลินทำให้เซลล์ต่าง ๆ นำน้ำตาลในเลือดไปใช้เป็นพลังงานให้หมดไปไม่ค้างอยู่ในเลือด สมุนไพรอบเชยจึงเหมาะสมกับโรคเบาหวานชนิดที่ 2 สำหรับผู้เป็นโรคเบาหวาน ให้ใช้อบเชยวันละ 1 ช้อนชา หรือประมาณ 1,200 มิลลิกรัม โดยให้แบ่งการรับประทานออกเป็น 4 มื้อ ซึ่งจะได้ผงอบเชยในปริมาณ 300 มิลลิกรัม หรือมีขนาดเท่ากับแคปซูลเบอร์ 1 แต่สำหรับผู้ไม่เป็นเบาหวานสามารถกินได้วันละ 500-600 มิลลิกรัม หรือประมาณวันละ 2 แคปซูล (เปลือกของกิ่ง)
ช่วยย่อยสลายไขมัน ควบคุมระดับไขมันในเลือด และคอเลสเตอรอลชนิดเลว (LDL) ให้มีระดับต่ำลง (เปลือกต้น)
ช่วยต้านมะเร็ง เพราะมสารคลีเซอไรซินเข้มข้น (เปลือกต้น)
เปลือกต้นใช้เป็นยาแก้ไข้หวัด ไข้สันนิบาต แก้อาการหวัด แก้อาการไอ (เปลือกต้น) เมล็ดนำมาทุบให้แตกผสมกับน้ำผึ้ง ให้เด็กกินเป็นยาแก้ไอ (เมล็ดอบเชยไทย)
รากและใบ ใช้ต้มกับน้ำรับประทานเป็นยาแก้ไข้เนื่องจากความอักเสบของสตรีที่คลอดบุตรใหม่ ๆ (รากและใบอบเชยไทย)
ช่วยแก้ไอเย็น หืดหอบเนื่องมาจากลมเย็นกระทบ (เปลือกต้นและเนื้อไม้)
ตำรับยาแก้อาการไอหอบหืด ให้ใช้อบเชยจีน หู่จื้อ เจ็กเสี่ย เปลือกโบตั๋น อย่างละ 3-5 กรัม ซัวจูยู้ ซัวเอี๊ยะ หกเหล็ง อย่างละ 6 กรัม และเส็กตี่ 12 กรัม นำมารวมกันต้มกับน้ำรับประทาน หรือทำเป็นยาเม็ดลูกกลอนรับประทาน (เปลือกต้นอบเชยจีน)
เปลือกต้นใช้ปรุงเป็นยาหอม แก้ลมวิงเวียน (เปลือกต้น) ส่วนใบสามารถนำมาปรุงเป็นยาหอม แก้ลมวิงเวียนได้เช่นกัน (ใบอบเชยไทย)
ช่วยแก้อาการคลื่นไส้อาเจียน (เปลือกต้น)
รากใช้ปรุงเป็นยาแก้อาการปวดฟัน (รากอบเชยไทย)
เปลือกต้นใช้ปรุงเป็นยาน้ำ แก้อาการจุกเสียดแน่นท้อง ช่วยขับผายลม อาหารไม่ย่อย (เปลือกต้น) ส่วนใบใช้ปรุงเป็นยาหอมแก้จุกเสียดแน่นท้องและลงท้อง (ใบอบเชยต้น)
ช่วยแก้อาการท้องร่วง แก้ท้องเสีย แก้ท้องเสียในเด็ก แก้บิด ลำไส้เล็กทำงานผิดปกติ ลำไส้อักเสบ (เปลือกต้น) เมล็ดอบเชยไทย นำมาทุบให้แตกผสมกับน้ำผึ้งให้เด็กกินเป็นยาแก้บิด (เมล็ดอบเชยไทย)
เปลือกต้นใช้แทน Cinnamon เคี้ยวกินเป็นยาแก้อาการปวดท้อง (เปลือกต้นอบเชยไทย)
ช่วยรักษาแผลในกระเพาะอาหาร (เปลือกต้น)
แก้โรคกระเพาะ ปวดกระเพาะหรือถ่าย เนื่องจากลมเย็นชื้นหรือลมเย็นที่ทำให้มีอาการปวดและท้องเสีย ให้ใช้อบเชยจีน 2-3 กรัม นำมาต้มกับน้ำรับประทาน (เปลือกต้นอบเชยจีน)
ยาชงจากเปลือกต้น ใช้กินเป็นยาถ่าย (เปลือกต้นอบเชยไทย)
ช่วยขับพยาธิ (เปลือกต้น)
ช่วยขับปัสสาวะ (เปลือกต้น)
ช่วยแก้ไตหย่อน ปัสสาวะไม่รู้ตัว หรือปัสสาวะบ่อย ให้ใช้อบเชยจีน หู่จื้อ เจ็กเสี่ย เปลือกโบตั๋น อย่างละ 3-5 กรัม ซัวจูยู้ ซัวเอี๊ยะ หกเหล็ง อย่างละ 6 กรัม และเส็กตี่ 12 กรัม นำมารวมกันต้มกับน้ำรับประทาน หรือทำเป็นยาเม็ดลูกกลอนรับประทาน (เปลือกต้นอบเชยจีน)
เปลือกนำมาต้มหรือทำเป็นผง ใช้แก้โรคหนองในและแก้โทษน้ำคาวปลา (เปลือกต้นอบเชยไทย)
เปลือกต้นนำมาบดให้เป็นผงใช้โรยรักษาแผลกามโรค (เปลือกต้น)
ช่วยแก้อาการปวดประจำเดือนของสตรี (เปลือกต้น)
รากนำมาต้มให้สตรีกินหลังการคลอดบุตร และลดไข้หลังการผ่าตัด (รากอบเชยไทย)
น้ำต้มเปลือกต้นใช้ดื่มเป็นยาแก้ตับอักเสบ (เปลือกต้น)
เปลือกต้นมีสรรพคุณเป็นยาห้ามเลือด ช่วยสมานแผล (เปลือกต้น)
ใบอบเชยเทศมีสรรพคุณเป็นยาฆ่าเชื้อ (ใบอบเชยเทศ)
น้ำมันอบเชยเทศมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อจุลินทรีย์และเชื้อรา แต่ทำให้เกิดอาการระคายเคือง (เข้าใจว่าคือน้ำมันจากเปลือกต้น)
น้ำยางจากใบใช้เป็นยาทาแผลถอนพิษของยางน่อง (ใบอบเชยไทย)
ใบใช้ตำเป็นยาพอกแก้อาการปวดรูมาติสซั่ม (ใบอบเชยไทย)
ช่วยแก้อาการปวด แก้ปวดหลัง ปวดเอวเนื่องจากไตหย่อน ไม่มีกำลัง แก้ปวดตามข้อ ปวดตามบ่าหรือไหล่ (เปลือกต้นและเนื้อไม้)
คนเมืองจะใช้รากอบเชยไทย นำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้อาการปวดหลังปวดเอว (รากอบเชยไทย)
ช่วยแก้ลมอัณฑพฤกษ์ (เปลือกต้น)
รากมีรสหอมสุขุม มีสรรพคุณช่วยแก้ลมอัมพฤกษ์ (รากอบเชยเทศ)
อบเชยจัดอยู่ในพิกัดยาไทยร่วมกับสมุนไพรอื่น ๆ หลายตำรับ ได้แก่ พิกัดตรีธาตุ (เป็นยาแก้ธาตุพิการ แก้ลม แก้ไข้ แก้เสมหะ), พิกัดตรีทิพย์รส (เป็นยาบำรุงธาตุ บำรุงโลหิต บำรุงกระดูก บำรุงตับปอดให้เป็นปกติ แก้ลมในกองเสมหะ), พิกัดจตุวาตะผล (เป็นยาบำรุงธาตุ แก้ไข้ แก้พรรดึก ขับผายลม แก้ลมกองริดสีดวง แก้ตรีสมุฏฐาน), พิกัดทศกุลาผล (เป็นยาบำรุงธาตุ บำรุงกำลัง บำรุงดวงจิตให้แช่มชื่น แก้ไข้ แก้ไข้เพื่อดี แก้เสมหะ บำรุงปอด ขับลมในลำไส้ แก้รัตตะปิตตะโรค แก้ลมอัมพฤกษ์ อัมพาต) เป็นต้น
ข้อห้ามในการใช้อบเชย
ผู้ที่เป็นไข้ตัวร้อน ปัสสาวะเป็นเลือด ปัสสาวะขัด อุจจาระแข็งแห้ง เป็นโรคริดสีดวงทวาร เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 2 ขวบ และสตรีมีครรภ์ห้ามรับประทานอบเชย และห้ามกินน้ำมันอบเชน เพราะจะทำให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียนและเป็นอันตรายต่อไตได้
อบเชยจีนเป็นสมุนไพรที่ค่อนข้างปลอดภัย แต่ถ้ารับประทานในปริมาณมาก ๆ หรือไม่ได้รับประทานตามคำแนะนำในฉลาดหรือจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ก็อาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงได้ในบางราย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในคนที่เป็นโรคตับ เนื่องจากอบเชยจีนมีสารคูมารินซึ่งเป็นสารที่ก่อให้เกิดผลเสียต่อตับ และการได้รับสารนี้ในในระยะยาวก็อาจมีปัญหาต่อตับได้
ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของอบเชย
เปลือกต้นอบเชยจีนพบน้ำมันระเหยประมาณ 1-2% ในน้ำมันระเหยพบสารหลายชนิด เช่น Cinnamic aldehyde, Cinnamyl acetate, Phenyl-propyl acetate, Tannin, Latax และยาง เป็นต้นในน้ำมันหอมระเหยสารที่เป็นองค์ประกอบหลักคือ Cinnamic aldehyde ประมาณ 51-76% และพบ eugenol เล็กน้อยประมาณ 5-18%
สารสำคัญที่พบ สารที่ใช้บำบัดรักษาโรคเบาหวาน คือ เมธิลไฮดรอกซี่ ชาลโคน โพลิเมอร์ (Methylhydroxy Chalcone Polymer – MHCP) ซึ่งเป็นชาลโคนชนิดแรกที่พบในอบเชยอยู่ในกลุ่มที่เรียกว่า โพลีฟีนอล (Polyphenol) หรือ ฟลาโวนอยด์ (Flavonoid) นอกจากนี้ยังมีสารอื่น ๆ อีก เช่น coumarin, cinnamaldehyde, cinnamic acid, ocimene, linalool, terpinene, vanillin เป็นต้น
อบเชยมีฤทธิ์ลดความดัน ลดน้ำตาลและไขมันในเลือด ลดการหดเกร็งของหลอดลม ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ และกระเพาะอาหาร ต้านออกซิเดชัน มีฤทธิ์ต้านมะเร็ง ต้านมะเร็งเม็ดเลือด ต้านเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา แก้ปวดและต้านการอักเสบ ช่วยทำให้แผลหายเร็วขึ้นในหนูทดลอง
อบเชยมีคุณสมบัติในการกระตุ้นการตายของเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งปากมดลูก สามารถยับยั้งการเจริญและกระตุ้นการตายของเซลล์มะเร็งตับได้ และมีความเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่และมะเร็งผิวหนัง
สารสำคัญในอบเชยจีนมีความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระสูง
อบเชยมีฤทธิ์ต้านการซึมเศร้า ช่วยปรับปรุงการทำงานของระบบประสาทส่วนกลาง
น้ำมันระเหยจากเปลือกต้นมีฤทธิ์ทำให้เส้นเลือดขยาดตัว จึงทำให้เลือดไหลเวียนได้สะดวกยิ่งขึ้น
คุณสมบัติเด่นของอบเชยจีนคือความสามารถในการระดับน้ำตาลในเลือดได้ โดยมีการศึกษามากมายที่ระบุค่อนข้างแน่ชัดว่าอบเชยจีนสามารถต้านโรคเบาหวานได้
ผลของอบเชยและขมิ้นต่อระดับ Oxalate ไขมัน และน้ำตาลในเลือด อบเชยและขมิ้นมีสาร Oxalate สูง ซึ่งการรับประทานสารดังกล่าวในปริมาณมากอาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคนิ่วในไตได้ ซึ่งจากการศึกษาทางคลินิกแบบ Crossover กับอาสาสมัครที่มีสุขภาพดีจำนวน 11 ราย แบ่งเป็นชาย 4 คน และหญิง 7 คน มีอายุตั้งแต่ 21-38 ปี เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ โดยให้ได้รับอบเชยในขนาด 3 กรัมต่อวัน จำนวน 6 ราย หรือได้รับขมิ้น 2.8 กรัมต่อวัน จำนวน 5 ราย โดยให้รับประทานพร้อมกับอาหารเช้า อาหารกลาง และที่เหลือให้รับประทานในมื้อเย็น (อาสาสมัครจะได้รับสาร Oxalate จากอบเชยหรือขมิ้นวันละประมาณ 55 มิลลิกรัม) เป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ หลังจากนั้นมีการปรับขนาด โดยให้รับอบเชยในขนาด 3.5 กรัมต่อวัน หรือได้รับขมิ้นวันละ 3.2 กรัมต่อวัน (อาสาสมัครจะได้รับสาร Oxalate จากอบเชยหรือขมิ้นวันละประมาณ 63 มิลลิกรัม) เป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ ผลการทดลองพบว่า อบเชยและขมิ้นในขนาดดังกล่าว ไม่มีผลต่อระดับไขมันและระดับน้ำตาลในเลือด แต่ช่วงที่อาสาสมัครได้รับขมิ้นจะมี

ราคา 250.00 บาท ติดต่อ กุสุมา ตุ่นแก้ว โทร. 0896373665 0896373665

ร้านนี้ยังไม่มีการแจ้งเลขทะเบียนพานิชย์ เปิดร้านมาแล้ว 11 ปี 9 เดือน

โทรศัพท์