ค้นหาสินค้า

ขลู่ (Indian Marsh Fleabane)

ร้าน สวนแดงจินดา
ต้นขลู่ | สวนแดงจินดา -  เชียงใหม่

สวนแดงจินดา | เชียงใหม่
ขลู่ ชื่อสามัญ Indian marsh fleabane
ขลู่ ชื่อวิทยาศาสตร์ Pluchea indica (L.) Less. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Baccharis indica L., Conyza foliolosa Wall. ex DC., Conyza corymbosa Roxb., Conyza indica (L.) Blume ex DC.[5]) จัดอยู่ในวงศ์ทานตะวัน (ASTERACEAE หรือ COMPOSITAE)[1],[2],[3],[6]
สมุนไพรขลู่ มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ขี้ป้าน (แม่ฮ่องสอน), หนาดวัว หนาดงัว หนวดงั่ว หนวดงิ้ว (อุดรธานี), ขลู่ (ภาคกลาง), เพี้ยฟาน (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), ขลู คลู (ภาคใต้), หลวนซี (จีนกลาง), หล่วงไซ (แต้จิ๋ว) เป็นต้น
สรรพคุณของขลู่
ใช้เป็นยาอายุวัฒนะ (ใบสดแก่[5],[6], เปลือก ใบ เมล็ด[6])
ใบนำมาต้มกับน้ำอาบจะช่วยบำรุงประสาท (ใบ)[1],[5],[6]
ทั้งต้นนำมาต้มกินเป็นยารักษาโรคเบาหวาน (ทั้งต้น)[1],[2],[3],[5] ส่วนใบก็ใช้ชงดื่มเป็นน้ำชาก็มีสรรพคุณช่วยรักษาโรคเบาหวานได้เช่นกัน (ใบ)[4],[5]
ใบใช้ชงดื่มแทนน้ำเป็นชา มีสรรพคุณช่วยลดความดันโลหิต (ใบ)[4]
ใบสดแก่และรากใช้เป็นยาแก้กระษัย (ราก, ใบสดแก่, ทั้งต้น[5], เปลือก ใบ เมล็ด[6])
ช่วยรักษาโรคตานขโมย (ทั้งต้น)[2],[5]
ช่วยแก้ตานซางในเด็ก เข้าใจว่าใช้ใบชงดื่มแทนน้ำชา (ใบ)[4]
ทั้งต้นใช้เป็นยารักษาโรควัณโรคที่ต่อมน้ำเหลือง (ทั้งต้น)[1],[5],[6]
ขลู่ใช้ปรุงเป็นยาต้มรับประทานแก้โรคเลือด (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)[7]
ช่วยรักษาเลือดลม (ใบและต้นอ่อน, ทั้งต้น)[1],[5]

ช่วยรักษาไข้ (ใบและราก[1],[2],[5],[6], ใบสดแก่[5])
ช่วยขับเหงื่อ (ใบและราก[1],[5],[6], ใบสดแก่[5]) บ้างว่าช่วยล้างพิษได้ด้วย[8]
ช่วยรักษาริดสีดวงจมูก ด้วยการขูดเอาแต่ผิวของต้นนำมาขูดขนออกให้สะอาด ทำเป็นเส้นตากแห้ง แล้วมวนเป็นยาสูบรักษาริดสีดวงจมูก (ผิวต้นหรือเปลือกต้น[1],[5],[6], ทั้งต้น[6], เปลือกต้น ใบ เมล็ด[6])
เปลือกต้นนำมาสับเป็นชิ้น ๆ ใช้มวนบุหรี่สูบช่วยแก้โพรงจมูกอักเสบหรือไซนัสได้ (เปลือกต้น)[5]
ทั้งต้นสดหรือต้นแห้งใช้เป็นยาช่วยย่อย (ทั้งต้น)[6]
น้ำคั้นจากใบช่วยรักษาโรคบิด (ใบ[1],[5], ใบและราก[6])
ดอกมีรสหอมฝาดเมาเค็ม ช่วยแก้นิ่ว (ดอก)[2],[5],[6] ทั้งต้นมีรสฝาดเค็ม มีสรรพคุณแก้นิ่วได้เช่นกัน (ทั้งต้น)[4] ส่วนใบและรากมีรสหอมฝาดเมาเค็ม มีสรรพคุณขับนิ่วได้เช่นกัน (ใบ,ราก)[5]
ทั้งต้นใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาก่อนอาหารครั้งละ 75 มิลลิลิตร (ประมาณ 1 ถ้วยชา) วันละ 3 ครั้ง จะช่วยขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะพิการได้ รักษาอาการขัดเบา (ทั้งต้น)[1],[2],[3],[4],[5],[6] ส่วนใบก็เป็นยาขับปัสสาวะด้วยเช่นกัน (ใบ)[5] ซึ่งจากการทดลองในสัตว์และคนปกติ พบว่ายาชงที่ได้จากต้นขลู่จะมีฤทธิ์เป็นยาขับปัสสาวะได้ดีกว่ายาขับปัสสาวะแผนปัจจุบัน (Hydrochlorothiazide) และยังมีข้อดีก็คือ มีการสูญเสียเกลือแร่ในร่างกายน้อยกว่าการใช้ยาแผนปัจจุบัน[3]
ทั้งต้นมีรสหอมฝาดเมาเค็ม ช่วยแก้นิ่วในไต (ทั้งต้น)[2],[5],[6]
ทั้งต้นช่วยรักษาริดสีดวงทวาร หรือจะใช้เปลือกต้นด้วยการขูดเอาขนออกให้สะอาดแล้วลอกเอาแต่เปลือก นำมาต้มรมริดสีดวงทวารหนัก หรือจะใช้ใบสดเอามาตำบีบคั้นเอาแต่น้ำแล้วนำมาทาตรงหัวของริดสีดวงทวาร จะช่วยทำให้หัวริดสีดวงทวารหดหายไปได้ (ทั้งต้น น้ำคั้นจากใบ[1],[2],[3],[4],[5],[6], เปลือก ใบ เมล็ด[6])
ช่วยแก้มุตกิดระดูขาวของสตรี ด้วยการใช้ใบนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นชา (ใบ[1],[5],[6], ทั้งต้น[2],[5])
ใบใช้ต้มกับน้ำอาบเป็นยาบีบมดลูก (ใบ)[1],[5]
ใบใช้ชงดื่มเป็นชา ช่วยลดอาการบวมน้ำได้ (ใบ)[4]
ใบและรากใช้เป็นยาฝาดสมาน (ใบและราก)[1],[5],[6]
ใบสดแก่ใช้เป็นสมานทั้งภายนอกและภายใน (ใบสดแก่)[5]
ใบและรากสดใช้ตำพอกแก้แผลอักเสบ (ใบและราก[1],[2],[5],[6], ใบ[6])
ใบและรากใช้ทำเป็นขี้ผึ้งสำหรับทารักษาแผลเรื้อรัง แต่ไม่แน่ใจว่าต้องผสมกับสมุนไพรชนิดอื่น ๆ อีกหรือไม่ (ใบและราก)[1],[5]
ทั้งต้นนำมาต้มกับน้ำอาบช่วยแก้ผื่นคันและรักษาโรคผิวหนัง (ทั้งต้น)[2],[3],[5] ส่วนใบก็นำมาต้มกับน้ำอาบแก้ผื่นคันได้เช่นกัน (ใบ)[5]
ใบและต้นอ่อนช่วยรักษาประดง (โรคผิวหนังชนิดหนึ่งที่ทำให้เกิดอาการคัน) (ใบและต้นอ่อน)[1],[5] หรือจะใช้ทั้งต้นก็ช่วยรักษาประดงได้เช่นกัน (ทั้งต้น)[5]
ใบและต้นอ่อนนำมาต้มกับน้ำอาบจะช่วยรักษาหิด และขี้เรื้อน (ใบและต้นอ่อน)[1],[5]
ช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อย ด้วยการใช้ใบนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นชา (ใบ)[1],[5],[6]
ใบและต้นอ่อนใช้ตำผสมกับแอลกอฮอล์ นำมาใช้ทาหลังบริเวณเหนือไตจะช่วยบรรเทาอาการปวดเอวได้ (ใบและต้นอ่อน)[1],[5]
ช่วยบรรเทาอาการปวดข้อ อาการปวดในโรคไขข้ออักเสบ (ใบและต้นอ่อน)[1],[2],[5]
ใบและรากใช้ผสมกับสมุนไพรชนิดอื่น ๆ นำมาต้มกับน้ำอาบจะช่วยรักษาอาการเส้นตึง (ใบและราก)[1],[5]
ในปัจจุบันการแพทย์แผนไทยได้มีการทดลองใบขลู่ (จำนวนตามต้องการหรือพอประมาณ) นำมาต้มให้ผู้ป่วยที่เป็นโรคเอดส์ในระยะเริ่มแรกหรือเพิ่งตรวจพบกิน จะช่วยดูแลสุขภาพได้ในระดับหนึ่ง (ใบ)[8]
ขนาดและวิธีใช้ : ยาแห้งให้ใช้ประมาณ 15-20 กรัม หากเป็นต้นสดให้ใช้ประมาณ 30-40 กรัม นำมาต้มกับน้ำรับประทาน หรือจะใช้ร่วมกับตัวยาหรือสมุนไพรอื่น ๆ ในตำรับยา
ประโยชน์ของขลู่
ยอดอ่อนมีรสมัน ใช้รับประทานเป็นผักสดจิ้มกับน้ำพริก ลาบ หรือเครื่องเคียงขนมจีน ส่วนใบอ่อนนำไปลวกใช้รับประทานเป็นผักจิ้มกับน้ำพริก หรือใส่ในแกงคั่ว ส่วนดอกนำไปยำร่วมกับเนื้อสัตว์ต่าง ๆ[5],[10]
ใบเมื่อนำมาผึ่งให้แห้งจะมีกลิ่นหอมคล้ายกลิ่นน้ำผึ้ง นำมาใช้ต้มกับน้ำดื่มหรือชงแทนชาจะช่วยลดน้ำหนักได้ (ใบ)[1],[2],[5],[6]
ใบสดแก่นำมาตำผสมกับเกลือใช้กินรักษากลิ่นปากและช่วยระงับกลิ่นตัว (ใบ)
cr.medthai
สนใจติดต่อ สวนแดงจินดา
โทร 089-637-3665
Facebook: สวน แดง จินดา
เว็บไซค์ :dangjindagarden.com

ราคา 40.00 บาท ติดต่อ กุสุมา ตุ่นแก้ว โทร. 0896373665 0896373665

ร้านนี้ยังไม่มีการแจ้งเลขทะเบียนพานิชย์ เปิดร้านมาแล้ว 11 ปี 8 เดือน

โทรศัพท์