ค้นหาสินค้า

หญ้าหนวดแมว (Cat of Whisker)

ร้าน สวนแดงจินดา
หญ้าหนวดแมว | สวนแดงจินดา -  เชียงใหม่

สวนแดงจินดา | เชียงใหม่
สรรพคุณของหญ้าหนวดแมว
ทั้งต้นมีรสจืด สรรพคุณช่วยรักษาโรคกระษัย (ทั้งต้น)
ช่วยลดความดันโลหิต (ใบ)
ช่วยรักษาโรคเบาหวาน (ใบ)
ช่วยรักษาโรคเยื่อจมูกอักเสบ (ทั้งต้น)
ผลมีรสฝาด ช่วยสมานแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ (ผล)
เปลือกฝักช่วยแก้ลำไส้พิการ (เปลือกฝัก)
ช่วยแก้บิด แก้อาการท้องร่วง (ผล)
ช่วยรักษาโรคในทางเดินปัสสาวะ ช่วยขับปัสสาวะ รักษาโรคนิ่ว สลายนิ่ว หรือช่วยลดขนาดก้อนนิ่ว ด้วยการใช้ต้นกับใบประมาณ 1 กอบมือ (หากใช้ใบสดให้ใช้ประมาณ 90-120 กรัม แต่ถ้าเป็นใบแห้งให้ใช้ประมาณ 40-50 กรัม) นำมาต้มกับน้ำดื่มก่อนอาหารครั้งละ 1 ถ้วยชา หรือประมาณ 75 cc. วันละ 3 ครั้ง หรืออีกสูตรให้ใช้กิ่งกับใบขนาดกลาง (ไม่แก่หรืออ่อนจนเกินไป) นำมาล้างให้สะอาดแล้วผึ่งในที่ร่มให้แห้ง ให้ใช้ประมาณ 4 หยิบมือ (ประมาณ 4 กรัม) นำมาชงกับน้ำเดือดประมาณ 750 cc. เหมือนชงชา แล้วนำมาดื่มต่างน้ำตลอดทั้งวัน นานประมาณ 1-6 เดือน จะช่วยทำให้ปัสสาวะใสและคล่องขึ้น ช่วยทำให้อาการปวดของนิ่วลดลงและทำให้นิ่วมีขนาดเล็กลงและหลุดออกมาเอง (ใบ, ราก, ทั้งต้น)
ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศออสเตรเลีย มีการใช้หญ้าหนวดแมวเพื่อรักษาอาการอักเสบของไตและนิ่วในไต (ใบ, ทั้งต้น)
ในอินโดนีเซียมีการใช้ใบนำมาชงเป็นชาดื่ม ช่วยแก้โรคไตและกระเพาะปัสสาวะ (ใบ, ทั้งต้น)
ช่วยแก้โรคไตพิการ (ผล, เปลือกฝัก)
ช่วยลดน้ำขับกรดยูริกจากไต ช่วยป้องกันไม่ให้แคลเซียมตกค้างในไต ช่วยขยายท่อไตให้กว้างขึ้น และช่วยบรรเทาอาการปวด (ใบ)
ช่วยขับล้างสารพิษในระบบทางเดินปัสสาวะ ไต และตับ (ทั้งต้น)
ช่วยแก้หนองใน (ทั้งต้น)
ช่วยรักษาโรคปวดตามสันหลังและบั้นเอว (ใบ, ทั้งต้น)
ช่วยรักษาโรคปวดข้อ อาการปวดเมื่อย และไข้ข้ออักเสบ (ใบ)
คำแนะนำในการใช้สมุนไพรหญ้าหนวดแมว
สำหรับผู้ที่เป็นโรคไตหรือโรคหัวใจ ไม่ควรใช้สมุนไพรหญ้าหนวดแมว เพราะสมุนไพรชนิดนี้มีสารโพแทสเซียมสูงมาก ถ้าหากไตไม่ปกติก็จะไม่สามารถขับโพแทสเซียมออกมาได้ ทำให้เกิดโทษต่อร่างกายอย่างร้ายแรง และยังมีฤทธิ์ในการขับปัสสาวะให้ออกมามากกว่าปกติ และเกรงว่าขนาดของโพแทสเซียมที่สูงมากนั้น อาจจะไปกระตุ้นหัวใจให้เต้นเร็วผิดปกติ จึงอาจส่งผลกระทบต่อโรคหัวใจได้
ผลข้างเคียงของหญ้าหนวดแมว ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้กับคนปกติที่ไม่เคยเป็นโรคหัวใจมาก่อน โดยอาการที่อาจพบได้คือ ใจสั่น หายใจลำบาก ดังนั้นการใช้สมุนไพรชนิดนี้ครั้งแรก หากใช้วิธีการชงดื่มให้ใช้วิธีจิบ ๆ ดูก่อน หากมีอาการผิดปกติก็ควรหยุด แล้วดื่มน้ำตามให้มาก ๆ สักพักอาการก็จะหายไปเอง
การใช้สมุนไพรหญ้าหนวดแมวเพื่อรักษานิ่วจะได้ผลดีก็เมื่อใช้กับนิ่วก้อนเล็ก ๆ แต่จะไม่ได้ผลกับก้อนนิ่วที่มีขนาดใหญ่
การเลือกต้นนำมาใช้เป็นยาสมุนไพร ควรเลือกต้นที่ดูแข็งแรง แข็งและหนา ไม่อ่อนห้อยลงมา ลำต้นดูอวบเป็นเหลี่ยม ต้นมีสีม่วงแดงเข้ม และดูได้จากใบที่มีสีเขียวเข้มเป็นมันและใหญ่
วิธีการเก็บต้น เมื่อเลือกต้นได้ตามที่ต้องการแล้ว ให้เด็ดในส่วนของยอดลำต้น ยาวประมาณ 1 คืบ คือส่วนที่มีใบอ่อนจนถึงใบแก่ หรือดอกด้วย
ควรเลือกใช้ใบอ่อนในการปรุงเป็นยา เนื่องจากใบแก่จะมีความเข้มข้นมาก อาจทำให้มีฤทธิ์ไปกดหัวใจได้
การนำสมุนไพรหญ้าหนวดแมวมาปรุงเป็นยา ไม่ควรใช้วิธีการต้ม แต่ให้ใช้วิธีการชง
ควรใช้ใบตากแห้งในการปรุงเป็นยา เพราะใบสดอาจจะทำให้มีอาการคลื่นไส้และมีอาการหัวใจสั่นได้
สมุนไพรหญ้าหนวดแมว ไม่ควรใช้ร่วมกับยาแอสไพริน เนื่องจากหญ้าหนวดแมวจะทำให้ยาแอสไพรินไปจับกล้ามเนื้อหัวใจมากขึ้น
สนใจติดต่อ สวนแดงจินดา
089-637-3665 (คุณหลิง)
facebook :สวนแดงจินดา จำหน่ายพืชสมุนไพร
Page : สวนแดงจินดา

ราคา 40.00 บาท ติดต่อ กุสุมา ตุ่นแก้ว โทร. 0896373665 0896373665

ร้านนี้ยังไม่มีการแจ้งเลขทะเบียนพานิชย์ เปิดร้านมาแล้ว 11 ปี 8 เดือน

โทรศัพท์

หญ้าพันงูเขียว | สวนแดงจินดา -  เชียงใหม่

สวนแดงจินดา | เชียงใหม่
ร้านสวนแดงจินดา
จำหน่ายพืชสวนครัว สมุนไพรไทยพืชบ้าน
ร้านตั้งอยู่ที่ล็อค A1 ในตลาดคำเที่ยง เชียงใหม่ #ลูกค้าท่านใดสนใจ สามารถติดต่อ สอบถามได้#
สรรพคุณของพันงูเขียว
ทั้งต้นมีรสขม ชุ่ม เป็นยาเย็น ออกฤทธิ์ต่อปอดและลำไส้ใหญ่ ใช้เป็นยาขับพิษร้อน ถอนพิษไข้ ช่วยขับเหงื่อ (ทั้งต้น)[2]
ทั้งต้นใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้ไข้ ลดไข้ (ทั้งต้น)[3],[4]
ทั้งต้นใช้เป็นยารักษาโรคตาแดง (ทั้งต้น)[1] ตำรับยาแก้ตาบวม ตาแดง ตาอักเสบ จะใช้พันงูเขียวทั้งต้น 35 กรัม, เจียไก้หลาน 35 กรัม และอิไต้เถิง 25 กรัม นำมารวมกันตำผสมกับพิมเสนเล็กน้อย ใช้พอกบริเวณตาที่บวม (ทั้งต้น)[2]
ใบใช้รักษาอาการเจ็บคอ คออักเสบ ด้วยการใช้ใบสดนำมาตำให้ละเอียดผสมกับน้ำตาล ใช้เป็นยาอม (ใบ, ทั้งต้น)[1],[2]
ช่วยรักษาอาการอาเจียน (ทั้งต้น)[1]
ใช้เป็นยารักษาโรคกระเพาะ (ทั้งต้น)[1]
เปลือกต้นใช้เป็นยารักษาอาการท้องเสียและโรคบิด (เปลือกต้น)[1] ส่วนอีกข้อมูลระบุว่า ให้ใช้ใบเป็นยาแก้โรคบิด (ใบ)[4
ใช้เป็นยาขับพยาธิ (ทั้งต้น)[1] ใช้ขับพยาธิในเด็ก (ใบ)[4
ช่วยรักษาโรคนิ่วในทางเดินปัสสาวะ รักษาทางเดินปัสสาวะติดเชื้อ (ทั้งต้น)[1],[2]
ทั้งต้นใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้โรคหนองใน (ทั้งต้น)[3] ส่วนอีกข้อมูลระบุว่า รากมีสรรพคุณเป็นยาแก้โรคหนองใน (ราก)[4
รากมีสรรพคุณทำให้แท้ง (ราก)[4
ต้นสดใช้ตำพอกบริเวณที่เป็นแผลอักเสบ แผลเปื่อย ฝีและหนอง และพิษอักเสบปวดบวม (ทั้งต้น)[1],[2],[3]
ใบใช้เป็นยาทารักษาฝีหนอง (ใบ)[1]
ตำรับยาแก้บวม ฟกช้ำ จะใช้พันงูเขียวทั้งต้น, โกฐดอกขาว และสือเชียนเถา อย่างละเท่า ๆ กัน นำมาตำผสมกับกับเหล้าเล็กน้อย ใช้เป็นยาพอกบริเวณที่เป็น (ทั้งต้น)[2]
ใบใช้ตำพอกแก้เคล็ด (ใบ)[4
ทั้งต้นใช้เป็นยารักษาโรคปวดข้อ (ทั้งต้น)[1]
ใบใช้เป็นยาทาถูนวดรักษาอาการปวดเมื่อย (ใบ)[1] รักษาอาการปวดเมื่อยตามข้อเนื่องจากลมชื้นคั่งค้างภายในร่างกาย (ทั้งต้น)[2]
ขนาดและวิธีใช้ : การใช้ตาม [2] ยาแห้งให้ใช้ครั้งละ 15-35 กรัม ส่วนยาสดให้ใช้ครั้งละ 35-70 กรัม นำมาต้มกับน้ำรับประทาน หรือใช้ร่วมกับตัวยาอื่น ๆ ในตำรับยา หากนำมาใช้ภายนอก ให้นำมาตำพอกบริเวณที่ต้องการ
สนใจติดต่อ
โทร 089-637-3665
Line ID: linglingling99
Facebook: สวนแดงจินดา จำหน่ายพืชสมุนไพร เชียงใหม่
Facebook page :สวนแดงจินดา

ราคา 35.00 บาท ติดต่อ กุสุมา ตุ่นแก้ว โทร. 0896373665 0896373665

ร้านนี้ยังไม่มีการแจ้งเลขทะเบียนพานิชย์ เปิดร้านมาแล้ว 11 ปี 8 เดือน

โทรศัพท์

หญ้าหนวดแมว | สวนแดงจินดา -  เชียงใหม่

สวนแดงจินดา | เชียงใหม่
ชื่ออื่น : บางรักป่า (ประจวบคีรีขันธ์) พยับเมฆ (กรุงเทพฯ) อีตู่ดง (เพชรบูรณ์)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : พืชล้มลุกขนาดเล็ก ลำต้นกิ่งอ่อนเป็นสี่เหลี่ยม สูง 0.3-0.8 เมตร ใบเดี่ยวเรียงตรงข้าม แผ่นใบรูปสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด ขอบใบหยัก แผ่นใบสีเขียวเข้ม ดอกช่อ ออกตรงปลายยอด มี 2 พันธุ์ ชนิดดอกสีขาวอมม่วงอ่อน กับพันธุ์ดอกสีฟ้า บานจากล่างขึ้นข้างบน เกสรเพศผู้เป็นเส้นยาวยื่นออกมานอกกลีบดอก ผล เป็นผลแห้งไม่แตก
ส่วนที่ใช้ : ราก ทั้งต้น ใบและต้นขนาดกลางไม่แก่ไม่อ่อนจนเกินไป
สรรพคุณ :
ราก - ขับปัสสาวะ
ทั้งต้น - แก้โรคไต ขับปัสสาวะ รักษาโรคกระษัย รักษาโรคปวดตามสันหลัง และบั้นเอว รักษาโรคนิ่ว รักษาโรคเยื่อจมูกอักเสบ
ใบ - รักษาโรคไต รักษาโรคปวดข้อ ปวดหลัง ไขข้ออักเสบ ลดความดันโลหิต รักษาโรคเบาหวาน ลดน้ำขับกรดยูริคแอซิดจากไต
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
ขับปัสสาวะ
1. ใช้กิ่งกับใบหญ้าหนวดแมว ขนาดกลาง ไม่แก่หรืออ่อนจนเกินไป ล้างสะอาด นำมาผึ่งในที่ร่มให้แห้ง นำมา 4 กรัม หรือ 4 หยิบมือ ชงกับน้ำเดือด 1 ขวดน้ำปลา (750 ซีซี.) เหมือนกันชงชา ดื่มต่างน้ำตลอดวัน รับประทานนาน 1-6 เดือน
2. ใช้ต้นกับใบวันละ 1 กอบมือ (สด 90- 120 กรัม แห้ง 40- 50 กรัม ) ต้มกับน้ำรับประทาน ครั้งละ 1 ถ้วยชา (75 ซีซี.) วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร
ข้อควรระวัง - คนที่เป็นโรคหัวใจ ไต ห้ามรับประทาน เพราะมีสารโปตัสเซียมสูงมาก ถ้าไตไม่ปกติ จะไม่สามารถขับโปตัสเซียมออกมาได้ ซึ่งทำให้เกิดโทษต่อร่างกายอย่างร้ายแรง
การวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์
หญ้าหนวดแมวมีโปรแตสเซียมสูงประมาณร้อยละ 0.7-0.8 มี Glycoside ที่มีรสขม ชื่อ orthsiphonin นอกจากนี้ก็พบว่ามี essential (0.2-0.6%) saponin alkaloid, organic acid และ fatty oil อีกด้วย จากรายงานพบว่ามีสารขับปัสสาวะได้ ยาที่ชงจากใบใช้บำบัดโรคเกี่ยวกับไตได้หลายชนิดด้วยกัน ใช้บำบัดโรคเกี่ยวกับกระเพาะปัสสาวะ เช่น โรคไตอักเสบ
** โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล นายแพทย์ วีรสิงห์ เมืองมั่น และคณะ พบว่าได้ใช้ยาชงจากหญ้าหนวดแมว 4 กรัม ชงกับน้ำเดือด 750 ซีซี. ดื่มต่างน้ำในคนไข้ 27 คน พบว่าทำให้ปัสสาวะคล่องและใส อาการปวดนิ่วลดลงได้และนิ่วขนาดเล็กลง และหลุดออกมาได้เอง มีผู้ป่วยร้อยละ 40 ผู้ป่วยหายจากปวดนิ่วร้อยละ 20 กองวิจัยทางการแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ รายงานเรื่องพิษเฉียบพลันว่าไม่มีพิษ
สารเคมี :
ต้น มี Hederagenin, Beta-Sitosterol, Ursolic acid
ใบ มี Glycolic acid, Potassium Salt Orthosiphonoside, Tannin, Flavone Organic acid และน้ำมันหอมระเหย
สนใจติดต่อ
โทร 089-637-3665
Line ID: linglingling99
Facebook: สวนแดงจินดา จำหน่ายพืชสมุนไพร เชียงใหม่
Facebook page :สวนแดงจินดา

ราคา 40.00 บาท ติดต่อ กุสุมา ตุ่นแก้ว โทร. 0896373665 0896373665

ร้านนี้ยังไม่มีการแจ้งเลขทะเบียนพานิชย์ เปิดร้านมาแล้ว 11 ปี 8 เดือน

โทรศัพท์