ชื่อสินค้า:
ต้นสนกระหรือกระดูกไก่ คนละต้นกับกลิ่นร่ำ
รหัส:
387667
ประเภท:
ราคา:
300.00 บาท
/ต้น
ติดต่อ:
คุณปุณณภา งานสำเร็จ
ที่อยู่ร้าน:
อ.เมืองนครราชสีมา จ.นครราชสีมา
ร้านนี้ยังไม่มีการแจ้งเลขทะเบียนพานิชย์
เปิดร้านมาแล้ว 14 ปี 2 เดือน
ไอดีไลน์:
โทรศัพท์:
ค่าขนส่ง:
80 บาท
คำเตือน: โปรดตรวจสอบความน่าเชื่อถือของร้าน เพื่อหลีกเลี่ยงการทุจริต การขอชำระเงินปลายทางเมื่อรับสินค้าถือเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ดี
รายละเอียด
สนกระ , กระดูกไก่ คนละต้นกับกลิ่นร่ำ
ชื่อวิทยาศาสตร์ Prismatomeris tetrandra (Roxb.) K.Schum.
ชื่อวงศ์ Rubiaceae
ชื่ออื่น กระดูกไก่ (กลาง,เลย) กรัก (ประจวบคีรีขันธ์,พังงา) กรักผี (ใต้) ซ้อนป่า (นครราชสีมา) ดูกไก่ขาว (ใต้,นครศรีธรรมราช) ดูกไก่ดำ (ใต้) ต่อกระดูก (เลย) ผ่าโฮ่ม (สตูล) พุดป่า (ชลบุรี,เหนือ) สนกระ (กลาง)
ลักษณะ
ไม้ต้นหรือไม้พุ่ม สูงประมาณ 5 ม. ลำต้นเรียบ สีเทาปนน้ำตาล แตกกิ่งน้อย
ใบ เดี่ยว ออกตรงข้าม สลับตั้งฉาก รูปรีหรือรูปขอบขนาน ยาว 2.5-20 ซม. กว้าง 1-8 ซม เส้นกลางใบนูนทั้งด้านบนและด้านล่างของใบ ฐานใบรูปลิ่ม ปลายใบเรียวแหลม ขอบใบเรียบ ใบหนาคล้ายหนัง ผิวเกลี้ยง หูใบอยู่ระหว่างก้านใบเป็นคู่ รูปสามเหลี่ยม
ดอก ช่อดอกออกเป็นกระจุกที่ซอกใบและปลายยอด 4-10 ดอก มีกลีบเลี้ยงรูปถ้วยโคนปลายตัด ไม่มีแฉก เชื่อมติดกัน กลีบดอกเป็นหลอด สีขาว ปลายแยกเป็น 5 แฉก เมื่อบานมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 2.5-3 เซนติเมตรเกสรเพศผู้ อยู่ภายในหรือยื่นเหนือระดับปากหลอดกลีบดอก เกสรเพศเมียอยู่ภายในหรือยื่นเหนือระดับปากหลอดกลีบดอก ดอกย่อยบานพร้อมกันทั้งช่อ บานนาน 2 สัปดาห์ ดอกบานวันเดียวโรย ส่งกลิ่นหอมอ่อนๆ ตลอดวัน
ผล รูปร่าง กลมหรือเบี้ยว เมื่อสุกสีดำ
สรรพคุณ
ราก รสขมเย็น แก้พิษโลหิต แก้ดีพิการ
ทั้ง 5 แก้กระษัยไตพิการ, ขับปัสสาวะ
สนกระ เป็นคนละชนิดกับต้นอีร่ำ(ชื่อการค้าใช้กลิ่นร่ำ) ทั้งสองต้นจะคล้ายกันมาก แก้ไขข้อมูลเมื่อ 21 Sep 24 10:12
ชื่อวิทยาศาสตร์ Prismatomeris tetrandra (Roxb.) K.Schum.
ชื่อวงศ์ Rubiaceae
ชื่ออื่น กระดูกไก่ (กลาง,เลย) กรัก (ประจวบคีรีขันธ์,พังงา) กรักผี (ใต้) ซ้อนป่า (นครราชสีมา) ดูกไก่ขาว (ใต้,นครศรีธรรมราช) ดูกไก่ดำ (ใต้) ต่อกระดูก (เลย) ผ่าโฮ่ม (สตูล) พุดป่า (ชลบุรี,เหนือ) สนกระ (กลาง)
ลักษณะ
ไม้ต้นหรือไม้พุ่ม สูงประมาณ 5 ม. ลำต้นเรียบ สีเทาปนน้ำตาล แตกกิ่งน้อย
ใบ เดี่ยว ออกตรงข้าม สลับตั้งฉาก รูปรีหรือรูปขอบขนาน ยาว 2.5-20 ซม. กว้าง 1-8 ซม เส้นกลางใบนูนทั้งด้านบนและด้านล่างของใบ ฐานใบรูปลิ่ม ปลายใบเรียวแหลม ขอบใบเรียบ ใบหนาคล้ายหนัง ผิวเกลี้ยง หูใบอยู่ระหว่างก้านใบเป็นคู่ รูปสามเหลี่ยม
ดอก ช่อดอกออกเป็นกระจุกที่ซอกใบและปลายยอด 4-10 ดอก มีกลีบเลี้ยงรูปถ้วยโคนปลายตัด ไม่มีแฉก เชื่อมติดกัน กลีบดอกเป็นหลอด สีขาว ปลายแยกเป็น 5 แฉก เมื่อบานมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 2.5-3 เซนติเมตรเกสรเพศผู้ อยู่ภายในหรือยื่นเหนือระดับปากหลอดกลีบดอก เกสรเพศเมียอยู่ภายในหรือยื่นเหนือระดับปากหลอดกลีบดอก ดอกย่อยบานพร้อมกันทั้งช่อ บานนาน 2 สัปดาห์ ดอกบานวันเดียวโรย ส่งกลิ่นหอมอ่อนๆ ตลอดวัน
ผล รูปร่าง กลมหรือเบี้ยว เมื่อสุกสีดำ
สรรพคุณ
ราก รสขมเย็น แก้พิษโลหิต แก้ดีพิการ
ทั้ง 5 แก้กระษัยไตพิการ, ขับปัสสาวะ
สนกระ เป็นคนละชนิดกับต้นอีร่ำ(ชื่อการค้าใช้กลิ่นร่ำ) ทั้งสองต้นจะคล้ายกันมาก แก้ไขข้อมูลเมื่อ 21 Sep 24 10:12
คำสำคัญ:
กลิ่นร่ำ
พันธุ์ไม้หายาก