ชื่อสินค้า:
ขายต้นช้างโน้ม หางกวางตัวผู้
รหัส:
387393
ประเภท:
ราคา:
300.00 บาท
/ต้น
ติดต่อ:
คุณปุณณภา งานสำเร็จ
ที่อยู่ร้าน:
อ.เมืองนครราชสีมา จ.นครราชสีมา
ร้านนี้ยังไม่มีการแจ้งเลขทะเบียนพานิชย์
เปิดร้านมาแล้ว 14 ปี 1 เดือน
ไอดีไลน์:
โทรศัพท์:
ค่าขนส่ง:
80 บาท
คำเตือน: โปรดตรวจสอบความน่าเชื่อถือของร้าน เพื่อหลีกเลี่ยงการทุจริต การขอชำระเงินปลายทางเมื่อรับสินค้าถือเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ดี
รายละเอียด
ต้นช้างโน้ม คนละต้นกับช้างน้าว ช้างโน้มเป็นไม้พุ่มบนลานหินทราย ดอกคล้ายช้างน้าว ตาลเหลือง หรือกำลังช้างสาร แต่ขนาดเล็กกว่า
ช้างโน้ม
Gomphia serrata (Gaertn.) Kanis
ชื่ออื่น กาปิโต, ช้างน้าว (ตะวันออกเฉียงใต้); ท้องปลิง (ใต้); หางกวางผู้ (ตะวันออกเฉียงเหนือ); ยูลง (มลายู-นราธิวาส)
ลักษณะ
ไม้พุ่มหรือไม้ต้น ใบเดี่ยว เรียงเวียน รูปรีถึงรูปใบหอกกลับหรือรูปไข่ถึงรูปไข่กลับแกมรูปใบหอก ช่อดอกแบบช่อกระจุกแยกแขนง ออกตามซอกใบหรือปลายกิ่ง ดอกส่วนใหญ่สีเหลือง บางครั้งอาจพบสีขาวนวลหรือสีขาว ผลแบบผลกลุ่ม ผลย่อยแบบผลผนังชั้นในแข็ง สีเขียวอมเหลือง เมื่อสุกเปลี่ยนเป็นสีม่วงเข้มหรือเกือบดำ เมล็ดรูปเคียว มี ๑ เมล็ด
ช้างโน้มเป็นไม้พุ่มหรือไม้ต้น สูงได้ถึง ๒๕ ม. เส้นผ่านศูนย์กลางลำต้นประมาณ ๔๐ ซม. กิ่งอ่อนบางครั้งทอดเลื้อย เกลี้ยง
ใบเดี่ยว เรียงเวียน รูปรีถึงรูปใบหอกกลับหรือรูปไข่ถึงรูปไข่กลับแกมรูปใบหอก กว้าง ๒-๑๐ ซม. ยาว ๖-๓๕ ซม. ปลายแหลมถึงเรียวแหลม บางครั้งอาจพบปลายมน โคนสอบถึงสอบเรียว ขอบกึ่งเรียบถึงหยักซี่ฟันถี่ละเอียด แผ่นใบบางคล้ายกระดาษถึงค่อนข้างหนา เกลี้ยงทั้ง ๒ ด้าน เส้นกลางใบนูนเด่นชัดทั้ง ๒ ด้าน เส้นแขนงใบเรียงขนานถี่ เห็นไม่ชัดเจนบริเวณใกล้ขอบใบมีเส้นขอบในเห็นชัดเจน เส้นใบย่อยแบบร่างแหละเอียด ก้านใบยาว ๒.๕-๗.๕ มม. เกลี้ยง หูใบขนาดเล็ก อยู่ในซอกก้านใบ รูปคล้ายสามเหลี่ยม กว้างและยาวประมาณ ๓ มม. ปลายแหลมขอบหยักซี่ฟันถี่ ร่วงง่าย
ช่อดอกแบบช่อกระจุกแยกแขนง ออกตามซอกใบหรือปลายกิ่ง ประกอบด้วยดอกจำนวนมาก ก้านช่อดอกยาวประมาณ ๕ ซม. เกลี้ยง แกนกลางช่อดอกยาว ๒.๕-๓๕ ซม. ช่อย่อยแบบช่อกระจุก มีดอกหนาแน่นตั้งแต่ ๑-๗ ดอก หรือมากกว่า ก้านดอกรูปคล้ายเส้นด้าย ยาว ๕-๘ มม. เกลี้ยง เป็นข้อที่โคน ฐานดอกนูน เส้นผ่านศูนย์กลาง ๐.๗-๑ มม. สูง ๐.๗-๑ มม. ใบประดับ ๒-๓ ใบ อยู่บริเวณโคนก้านช่อดอก รูปไข่กว้าง กว้างประมาณ ๑ มม. ยาวประมาณ ๑.๒ มม. ปลายเรียวแหลมขอบหยักซี่ฟันถี่ เกลี้ยง เส้นผ่านศูนย์กลางดอกประมาณ ๑ ซม. กลีบเลี้ยง ๕ กลีบ สีชมพูเรื่อรูปไข่ถึงรูปรีหรือรูปไข่กลับ กว้าง ๒.๕-๔ มม. ยาว ๔-๗ มม. ปลายกลีบแหลมถึงมน บางครั้งอาจพบปลายกลม ขอบเรียบ เกลี้ยง เรียงซ้อนเหลื่อมในดอกตูม ขยายใหญ่และติดทนเมื่อเป็นผล กลีบดอก ๕ กลีบ รูปไข่กลับเบี้ยวถึงรูปช้อนกว้าง กว้าง ๒.๕-๖ มม. ยาว ๔.๕-๘ มม. ปลายมนกลมหรือตัด ขอบเรียบเกลี้ยง ค่อนข้างบาง ส่วนใหญ่มักมีสีเหลือง บางครั้งอาจพบสีขาวนวลหรือสีขาว เรียงบิดเวียนในดอกตูมร่วงง่าย เกสรเพศผู้ ๑๐ เกสร เรียงเป็นวง ก้านชูอับเรณูสั้นมาก อับเรณูโค้ง กว้าง ๐.๕-๐.๘ มม. ยาว ๒.๕-๖ มม. แตกเป็นรูที่ปลาย ๒ รู ก้านชูเกสรเพศเมีย รูปทรงกระบอกสั้น เป็นสัน ๕ สัน ติดทน บางครั้งอาจเปลี่ยนเป็นรูปกึ่งกลมเมื่อเป็นผล รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ มี ๕ รังไข่ แยกจากกันเฉพาะส่วนที่เป็นรังไข่แต่ละรังไข่รูปไข่กลับ โค้ง กว้าง ๐.๔-๐.๖ มม.
ยาว ๐.๗-๑ มม. มี ๑ ช่อง ออวุล ๑ เม็ด ก้านยอดเกสรเพศเมีย ๑ ก้าน ยาว ๓-๗ มม. ยอดเกสรเพศเมียเป็นจุด
ผลแบบผลกลุ่ม ผลย่อยแบบผลผนังชั้นในแข็ง มี ๑-๕ ผล สีเขียวอมเหลือง เมื่อสุกเปลี่ยนเป็นสีม่วงเข้มหรือเกือบดำ กว้างได้ถึง ๘ มม. ยาวได้ถึง ๑ ซม. ฐานผลนูน สูงได้ถึง ๕ มม. มีเส้นผ่านศูนย์กลางได้ถึง ๕ มม. มีก้านยอดเกสรเพศเมียติดทน ก้านช่อผลยาวได้ถึง ๑ ซม. เมล็ดรูปเคียว กว้างประมาณ ๐.๘ มม. ยาวประมาณ ๒ มม. มี ๑ เมล็ด
ช้างโน้มมีเขตการกระจายพันธุ์ในประเทศไทยทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงใต้ และภาคใต้ พบตามป่าทุกประเภทบนดินที่มีซากพืชเน่าเปื่อยทับถมกัน ดินร่วนซุยที่มีอินทรียวัตถุมาก ดินทราย หรือดินปนหิน ตามพื้นราบถึงที่ลาดชัน หรือพบตามริมฝั่งแม่น้ำ และตามหน้าผาใกล้ทะเล ที่สูงตั้งแต่ใกล้ระดับทะเลถึงประมาณ ๑,๒๐๐ ม. ออกดอกและเป็นผลเดือนกุมภาพันธ์ถึงเมษายน ในต่างประเทศพบทางตอนใต้ของอินเดีย ศรีลังกา ไหหลำ ภูมิภาคอินโดจีน และภูมิภาคมาเลเซีย
สรรพคุณ
ตำรายาไทย ทั้งต้น เข้าตำรับยารักษาโรคเบาหวาน ราก นำมาต้มน้ำดื่ม แก้ผิดสำแดง (กินอาหารแสลง ทำให้เกิดโรค) แก้เบาหวาน แก่น ต้มน้ำดื่ม แก้ปัสสาวะขัด ลำต้น ต้มน้ำดื่มแก้ปวดเมื่อย ใบแก่ ใช้ห่อขี้ไต้
ประโยชน์ รากและใบมีรสขม ทางตอนใต้ของอินเดีย ใช้ต้มหรือเคี่ยวเป็นยาแก้ปวดท้อง ในกัมพูชาใช้กิ่งอ่อนแก้ปวดฟัน.
แก้ไขข้อมูลเมื่อ 05 Sep 24 08:44
ช้างโน้ม
Gomphia serrata (Gaertn.) Kanis
ชื่ออื่น กาปิโต, ช้างน้าว (ตะวันออกเฉียงใต้); ท้องปลิง (ใต้); หางกวางผู้ (ตะวันออกเฉียงเหนือ); ยูลง (มลายู-นราธิวาส)
ลักษณะ
ไม้พุ่มหรือไม้ต้น ใบเดี่ยว เรียงเวียน รูปรีถึงรูปใบหอกกลับหรือรูปไข่ถึงรูปไข่กลับแกมรูปใบหอก ช่อดอกแบบช่อกระจุกแยกแขนง ออกตามซอกใบหรือปลายกิ่ง ดอกส่วนใหญ่สีเหลือง บางครั้งอาจพบสีขาวนวลหรือสีขาว ผลแบบผลกลุ่ม ผลย่อยแบบผลผนังชั้นในแข็ง สีเขียวอมเหลือง เมื่อสุกเปลี่ยนเป็นสีม่วงเข้มหรือเกือบดำ เมล็ดรูปเคียว มี ๑ เมล็ด
ช้างโน้มเป็นไม้พุ่มหรือไม้ต้น สูงได้ถึง ๒๕ ม. เส้นผ่านศูนย์กลางลำต้นประมาณ ๔๐ ซม. กิ่งอ่อนบางครั้งทอดเลื้อย เกลี้ยง
ใบเดี่ยว เรียงเวียน รูปรีถึงรูปใบหอกกลับหรือรูปไข่ถึงรูปไข่กลับแกมรูปใบหอก กว้าง ๒-๑๐ ซม. ยาว ๖-๓๕ ซม. ปลายแหลมถึงเรียวแหลม บางครั้งอาจพบปลายมน โคนสอบถึงสอบเรียว ขอบกึ่งเรียบถึงหยักซี่ฟันถี่ละเอียด แผ่นใบบางคล้ายกระดาษถึงค่อนข้างหนา เกลี้ยงทั้ง ๒ ด้าน เส้นกลางใบนูนเด่นชัดทั้ง ๒ ด้าน เส้นแขนงใบเรียงขนานถี่ เห็นไม่ชัดเจนบริเวณใกล้ขอบใบมีเส้นขอบในเห็นชัดเจน เส้นใบย่อยแบบร่างแหละเอียด ก้านใบยาว ๒.๕-๗.๕ มม. เกลี้ยง หูใบขนาดเล็ก อยู่ในซอกก้านใบ รูปคล้ายสามเหลี่ยม กว้างและยาวประมาณ ๓ มม. ปลายแหลมขอบหยักซี่ฟันถี่ ร่วงง่าย
ช่อดอกแบบช่อกระจุกแยกแขนง ออกตามซอกใบหรือปลายกิ่ง ประกอบด้วยดอกจำนวนมาก ก้านช่อดอกยาวประมาณ ๕ ซม. เกลี้ยง แกนกลางช่อดอกยาว ๒.๕-๓๕ ซม. ช่อย่อยแบบช่อกระจุก มีดอกหนาแน่นตั้งแต่ ๑-๗ ดอก หรือมากกว่า ก้านดอกรูปคล้ายเส้นด้าย ยาว ๕-๘ มม. เกลี้ยง เป็นข้อที่โคน ฐานดอกนูน เส้นผ่านศูนย์กลาง ๐.๗-๑ มม. สูง ๐.๗-๑ มม. ใบประดับ ๒-๓ ใบ อยู่บริเวณโคนก้านช่อดอก รูปไข่กว้าง กว้างประมาณ ๑ มม. ยาวประมาณ ๑.๒ มม. ปลายเรียวแหลมขอบหยักซี่ฟันถี่ เกลี้ยง เส้นผ่านศูนย์กลางดอกประมาณ ๑ ซม. กลีบเลี้ยง ๕ กลีบ สีชมพูเรื่อรูปไข่ถึงรูปรีหรือรูปไข่กลับ กว้าง ๒.๕-๔ มม. ยาว ๔-๗ มม. ปลายกลีบแหลมถึงมน บางครั้งอาจพบปลายกลม ขอบเรียบ เกลี้ยง เรียงซ้อนเหลื่อมในดอกตูม ขยายใหญ่และติดทนเมื่อเป็นผล กลีบดอก ๕ กลีบ รูปไข่กลับเบี้ยวถึงรูปช้อนกว้าง กว้าง ๒.๕-๖ มม. ยาว ๔.๕-๘ มม. ปลายมนกลมหรือตัด ขอบเรียบเกลี้ยง ค่อนข้างบาง ส่วนใหญ่มักมีสีเหลือง บางครั้งอาจพบสีขาวนวลหรือสีขาว เรียงบิดเวียนในดอกตูมร่วงง่าย เกสรเพศผู้ ๑๐ เกสร เรียงเป็นวง ก้านชูอับเรณูสั้นมาก อับเรณูโค้ง กว้าง ๐.๕-๐.๘ มม. ยาว ๒.๕-๖ มม. แตกเป็นรูที่ปลาย ๒ รู ก้านชูเกสรเพศเมีย รูปทรงกระบอกสั้น เป็นสัน ๕ สัน ติดทน บางครั้งอาจเปลี่ยนเป็นรูปกึ่งกลมเมื่อเป็นผล รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ มี ๕ รังไข่ แยกจากกันเฉพาะส่วนที่เป็นรังไข่แต่ละรังไข่รูปไข่กลับ โค้ง กว้าง ๐.๔-๐.๖ มม.
ยาว ๐.๗-๑ มม. มี ๑ ช่อง ออวุล ๑ เม็ด ก้านยอดเกสรเพศเมีย ๑ ก้าน ยาว ๓-๗ มม. ยอดเกสรเพศเมียเป็นจุด
ผลแบบผลกลุ่ม ผลย่อยแบบผลผนังชั้นในแข็ง มี ๑-๕ ผล สีเขียวอมเหลือง เมื่อสุกเปลี่ยนเป็นสีม่วงเข้มหรือเกือบดำ กว้างได้ถึง ๘ มม. ยาวได้ถึง ๑ ซม. ฐานผลนูน สูงได้ถึง ๕ มม. มีเส้นผ่านศูนย์กลางได้ถึง ๕ มม. มีก้านยอดเกสรเพศเมียติดทน ก้านช่อผลยาวได้ถึง ๑ ซม. เมล็ดรูปเคียว กว้างประมาณ ๐.๘ มม. ยาวประมาณ ๒ มม. มี ๑ เมล็ด
ช้างโน้มมีเขตการกระจายพันธุ์ในประเทศไทยทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงใต้ และภาคใต้ พบตามป่าทุกประเภทบนดินที่มีซากพืชเน่าเปื่อยทับถมกัน ดินร่วนซุยที่มีอินทรียวัตถุมาก ดินทราย หรือดินปนหิน ตามพื้นราบถึงที่ลาดชัน หรือพบตามริมฝั่งแม่น้ำ และตามหน้าผาใกล้ทะเล ที่สูงตั้งแต่ใกล้ระดับทะเลถึงประมาณ ๑,๒๐๐ ม. ออกดอกและเป็นผลเดือนกุมภาพันธ์ถึงเมษายน ในต่างประเทศพบทางตอนใต้ของอินเดีย ศรีลังกา ไหหลำ ภูมิภาคอินโดจีน และภูมิภาคมาเลเซีย
สรรพคุณ
ตำรายาไทย ทั้งต้น เข้าตำรับยารักษาโรคเบาหวาน ราก นำมาต้มน้ำดื่ม แก้ผิดสำแดง (กินอาหารแสลง ทำให้เกิดโรค) แก้เบาหวาน แก่น ต้มน้ำดื่ม แก้ปัสสาวะขัด ลำต้น ต้มน้ำดื่มแก้ปวดเมื่อย ใบแก่ ใช้ห่อขี้ไต้
ประโยชน์ รากและใบมีรสขม ทางตอนใต้ของอินเดีย ใช้ต้มหรือเคี่ยวเป็นยาแก้ปวดท้อง ในกัมพูชาใช้กิ่งอ่อนแก้ปวดฟัน.
แก้ไขข้อมูลเมื่อ 05 Sep 24 08:44
คำสำคัญ:
ช้างน้าว
พันธุ์ไม้หายาก