ชื่อสินค้า:
ต้นตานเสี้ยนชนิดกินลูก
รหัส:
387107
ประเภท:
ราคา:
200.00 บาท
/ต้น
ติดต่อ:
คุณปุณณภา งานสำเร็จ
ที่อยู่ร้าน:
อ.เมืองนครราชสีมา จ.นครราชสีมา
ร้านนี้ยังไม่มีการแจ้งเลขทะเบียนพานิชย์
เปิดร้านมาแล้ว 14 ปี 1 เดือน
ไอดีไลน์:
โทรศัพท์:
ค่าขนส่ง:
60 บาท
คำเตือน: โปรดตรวจสอบความน่าเชื่อถือของร้าน เพื่อหลีกเลี่ยงการทุจริต การขอชำระเงินปลายทางเมื่อรับสินค้าถือเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ดี
รายละเอียด
ต้นตานเสี้ยน ชนิดกินลูก พบมากที่จังหวัดกาญจนบุรี
ชื่อวิทยาศาสตร์ Xantolis siamensis (H.R. Fletcher) P.Royen
วงศ์ : Sapotaceae
พบสมุนไพรชนิดนี้ครั้งแรกในประเทศไทย และพบว่าเป็นพืชถิ่นเดียวของประเทศไทย พบมากในแถบกาญจนบุรี ออกดอกเป็นกระจุกตามกิ่ง ดอกมีสีขาว ผลกลมรี ปลายผลมีติ่งแหลม คล้ายกับ ตานเสี้ยน (Xantolis burmanica (Collett & Hemsl.) P. Royen) แต่สมุนไพรชนิดนี้มีก้านใบและก้านดอกสั้นกว่า
ข้อมูลเพิ่มเติม
สกุล Xantolis ปัจจุบันมีรายงานการศึกษาสมุนไพรในสกุลนี้ทั่วโลกเพียง 14 ชนิด แต่พบในประเทศไทยจำนวน 4 ชนิด คือ
1) Xantolis burmanica (Collett&Hemsl.) P. Royen มีชื่อสามัญในภาษาไทยว่า ตานเสี้ยน และมีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ เช่น นมพระสี (เลย) มะนมนาง (เชียงใหม่) ตานเสี้ยนเป็นไม้ยืนต้นพบได้เฉพาะในพม่า (เมียนมาร์) และประเทศไทยเท่านั้น อ่านชื่อวิทยาศาสตร์ของสมุนไพรชนิดนี้ก็บ่งบอกอยู่แล้วว่าพบที่ประเทศพม่าเป็นครั้งแรก ออกดอกเป็นกระจุกตามกิ่ง ดอกมีสีขาว ผลกลมรี ปลายผลมีติ่งแหลม
2) Xantolis cambodiana (Pierre ex Dubard) P.Royen มีชื่อสามัญในภาษาไทยว่า ตานนม มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นอื่นๆ ว่า นมนาง (ลำปาง) นางหวาน (ภาคอีสาน) เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางพบได้ใน 4 ประเทศ คือ กัมพูชา ไทย ลาวและเวียดนาม แต่จากชื่อวิทยาศาสตร์เข้าใจว่าพบครั้งแรกที่กัมพูชา
3) Xantolis tomentosa Raf. เป็นชนิดที่พบได้ในอินเดีย ศรีลังกา ไทยและเวียดนาม สมุนไพรชนิดนี้ชื่อวิทยาศาสตร์บ่งบอกว่าสมุนไพรชนิดนี้มีขนมาก ซึ่งสอดคล้องกับชื่อสามัญในภาษาอังกฤษว่า Hairy Xantolis จากเอกสารของหอพรรณไม้ กรมป่าไม้ ไม่มีรายงานเกี่ยวกับพืชชนิดนี้ในประเทศไทย สมุนไพรชนิดนี้เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก สูงประมาณ 15 เมตร ใบเป็นรูปไข่ มีขนแบบกำมะหยี่ปกคลุม ดอกออกเป็นช่อ มีกลิ่นหอม ออกดอกในช่วงธันวาคม ถึงกุมภาพันธ์ มีการกระจายตั้งแต่อินเดียไปจนถึงจีนตอนใต้ สิงคโปร์ และฟิลิปปินส์
4) Xantolis siamensis (H.R. Fletcher) P.Royen มีชื่อสามัญในภาษาไทยว่า ตานเสี้ยน ถ้าอ่านชื่อวิทยาศาสตร์แสดงว่าพบสมุนไพรชนิดนี้ครั้งแรกในประเทศไทย และพบว่าเป็นพืชถิ่นเดียวของประเทศไทย พบมากในแถบกาญจนบุรี ออกดอกเป็นกระจุกตามกิ่ง ดอกมีสีขาว ผลกลมรี ปลายผลมีติ่งแหลม คล้ายกับ ตานเสี้ยน (Xantolis burmanica (Collett & Hemsl.) P. Royen) แต่สมุนไพรชนิดนี้มีก้านใบและก้านดอกสั้นกว่า
แก้ไขข้อมูลเมื่อ 24 Aug 24 11:16
ชื่อวิทยาศาสตร์ Xantolis siamensis (H.R. Fletcher) P.Royen
วงศ์ : Sapotaceae
พบสมุนไพรชนิดนี้ครั้งแรกในประเทศไทย และพบว่าเป็นพืชถิ่นเดียวของประเทศไทย พบมากในแถบกาญจนบุรี ออกดอกเป็นกระจุกตามกิ่ง ดอกมีสีขาว ผลกลมรี ปลายผลมีติ่งแหลม คล้ายกับ ตานเสี้ยน (Xantolis burmanica (Collett & Hemsl.) P. Royen) แต่สมุนไพรชนิดนี้มีก้านใบและก้านดอกสั้นกว่า
ข้อมูลเพิ่มเติม
สกุล Xantolis ปัจจุบันมีรายงานการศึกษาสมุนไพรในสกุลนี้ทั่วโลกเพียง 14 ชนิด แต่พบในประเทศไทยจำนวน 4 ชนิด คือ
1) Xantolis burmanica (Collett&Hemsl.) P. Royen มีชื่อสามัญในภาษาไทยว่า ตานเสี้ยน และมีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ เช่น นมพระสี (เลย) มะนมนาง (เชียงใหม่) ตานเสี้ยนเป็นไม้ยืนต้นพบได้เฉพาะในพม่า (เมียนมาร์) และประเทศไทยเท่านั้น อ่านชื่อวิทยาศาสตร์ของสมุนไพรชนิดนี้ก็บ่งบอกอยู่แล้วว่าพบที่ประเทศพม่าเป็นครั้งแรก ออกดอกเป็นกระจุกตามกิ่ง ดอกมีสีขาว ผลกลมรี ปลายผลมีติ่งแหลม
2) Xantolis cambodiana (Pierre ex Dubard) P.Royen มีชื่อสามัญในภาษาไทยว่า ตานนม มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นอื่นๆ ว่า นมนาง (ลำปาง) นางหวาน (ภาคอีสาน) เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางพบได้ใน 4 ประเทศ คือ กัมพูชา ไทย ลาวและเวียดนาม แต่จากชื่อวิทยาศาสตร์เข้าใจว่าพบครั้งแรกที่กัมพูชา
3) Xantolis tomentosa Raf. เป็นชนิดที่พบได้ในอินเดีย ศรีลังกา ไทยและเวียดนาม สมุนไพรชนิดนี้ชื่อวิทยาศาสตร์บ่งบอกว่าสมุนไพรชนิดนี้มีขนมาก ซึ่งสอดคล้องกับชื่อสามัญในภาษาอังกฤษว่า Hairy Xantolis จากเอกสารของหอพรรณไม้ กรมป่าไม้ ไม่มีรายงานเกี่ยวกับพืชชนิดนี้ในประเทศไทย สมุนไพรชนิดนี้เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก สูงประมาณ 15 เมตร ใบเป็นรูปไข่ มีขนแบบกำมะหยี่ปกคลุม ดอกออกเป็นช่อ มีกลิ่นหอม ออกดอกในช่วงธันวาคม ถึงกุมภาพันธ์ มีการกระจายตั้งแต่อินเดียไปจนถึงจีนตอนใต้ สิงคโปร์ และฟิลิปปินส์
4) Xantolis siamensis (H.R. Fletcher) P.Royen มีชื่อสามัญในภาษาไทยว่า ตานเสี้ยน ถ้าอ่านชื่อวิทยาศาสตร์แสดงว่าพบสมุนไพรชนิดนี้ครั้งแรกในประเทศไทย และพบว่าเป็นพืชถิ่นเดียวของประเทศไทย พบมากในแถบกาญจนบุรี ออกดอกเป็นกระจุกตามกิ่ง ดอกมีสีขาว ผลกลมรี ปลายผลมีติ่งแหลม คล้ายกับ ตานเสี้ยน (Xantolis burmanica (Collett & Hemsl.) P. Royen) แต่สมุนไพรชนิดนี้มีก้านใบและก้านดอกสั้นกว่า
แก้ไขข้อมูลเมื่อ 24 Aug 24 11:16
คำสำคัญ:
ตานเสี้ยน
พันธุ์ไม้หายาก