ชื่อสินค้า:
ตาลโตนด ขายเมล็ดพันธุ์สำหรับเพาะ
รหัส:
385848
ประเภท:
ราคา:
100.00 บาท
/10เมล็ด
ติดต่อ:
คุณอังศรา ไพฑูรย์
ที่อยู่ร้าน:
อ.เมืองระยอง จ.ระยอง
ร้านนี้ยังไม่มีการแจ้งเลขทะเบียนพานิชย์
เปิดร้านมาแล้ว 7 ปี 9 เดือน
ไอดีไลน์:
โทรศัพท์:
แบรนด์:
เมล็ดพันธุ์ดีเกษตรวิถีไทย
คำเตือน: โปรดตรวจสอบความน่าเชื่อถือของร้าน เพื่อหลีกเลี่ยงการทุจริต การขอชำระเงินปลายทางเมื่อรับสินค้าถือเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ดี
รายละเอียด
ขายเมล็ดพร้อมเพาะเมล็ดละ10บาทและต้นกล้าตาลโตนดราคา170/ต้นจัดส่งเคอรี่ทั่วประเทศสนใจสั่งโทร0876069955ไอดีไลน์ aungsara09
#ต้นตาล จัดเป็นพืชดั้งเดิมของทวีปแอฟริกา และภายหลังได้ขยายแพร่พันธุ์ไปเรื่อย ๆ จนมีอยู่ทั่วไปในเอเชียเขตร้อนรวมทั้งประเทศไทยด้วย ซึ่งพบทั่วไปในทุกภาคของประเทศ และสามารถพบได้มากในภาคตะวันตก ในจังหวัดเพชรบุรี สุพรรณบุรี อยุธยา และนครปฐม
ประโยชน์ของต้นตาล หลัก ๆ แล้วจะนิยมนำมาใช้ประกอบอาหารและใช้ในงานหัตถกรรมต่าง ๆ และอาจมีการนำไปใช้ทางยาสมุนไพรบ้าง โดยต้นตาลนั้นสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 สายพันธุ์หลัก ๆ ได้แก่
1. ตาลบ้าน เป็นตาลที่มีจำนวนของเต้าจาวในแต่ละผลประมาณ 1-4 เต้า และยังมีสายพันธุ์ย่อยอีก 3 สายพันธุ์ ได้แก่ ตาลหม้อ (ผลใหญ่ ผิวดำคล้ำ), ตาลไข่ (ผลเล็กกว่า ผลมีสีขาวเหลือง), และตาลจาก (มีผลในทะลายแน่นคล้ายกับทะลายจาก)
2. ตาลป่า หรือ ตาลก้านยาว ชนิดนี้จะมีผลเล็ก มีสีเขียวคล้ำ มีเต้าอยู่ 1-2 เต้า ลำต้นเขียวสดและก้านใบยาว และไม่ค่อยเป็นที่รู้จักมากนัก
*ต้นตาลโตนดประเทศไทยที่น่าจะเริ่มการปลูกครั้งแรกบริเวณแถบจังหวัดภาคใต้ โดยเฉพาะเมืองท่าที่มีการค้าขายกับชาวอินเดียในสมัยนั้น
พบบันทึกเกี่ยวกับตาลโตนดที่เก่าแก่ในคัมภีร์พระพุทธประวัติที่ปรากฏคำว่า “ตาล” หรือ “ตาละ” ที่หมายถึงต้นตาลโตนด ซึ่งเป็นหนึ่งในพรรณไม้ที่ถูกกล่าวถึงขณะที่พระองค์เสด็จไปประทับ ณ ลัฏฐิวนอุทยาน (ลัฏฐตาล) ในพรรษที่สองหลังจากสำเร็จเป็นพระอรหันต์ เพื่อโปรดพระเจ้าพระพิมพิสาร ราชาแห่งแคว้นมคธ รวมทั้งบริวาร ซึ่งมีช่วงหนึ่งที่พระเจ้าพิมพิสารทรงดำรัสว่า ป่าไผ่นั้นร่วมเย็นดีกว่าป่าตาล นอกจากนั้นในพุทธประวัติยังมีช่วงหนึ่งที่กล่าวถึง พระวินัยที่ทรงห้ามนำผลไม้หรือพืช 10 ชนิด ใช้ทำน้ำอัฐบาน เพราะเป็นผลไม้ที่ห้ามรับประทานหลังเที่ยงแล้ว ซึ่ง 1 ใน 10 เป็นลูกตาลด้วย
ประวัติต้นตาลที่พบบัทึกในประเทศไทยนั้นเริ่มพบหลักฐานในสมัยทวราวดี (พุทธศตวรรษที่ 11-16) ที่มีการใช้ตราประทับรูปคนปีนตาล นอกจากนั้น มีการพบบันทึกเกี่ยวกับตาลโตนดในศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงในช่วงหนึ่งที่แปลได้ว่า ในปีมะโรง ศกที่ 1214 พ่อขุนรามคำแหงขณะพระชนมายุ 14 พรรษา ได้ทรงปลูกไม้ตาลไว้กลางเมืองสุโขทัย
แหล่งของต้นตาลโตนดในไทย พบได้ทั่วไปในทุกภาค แต่พบมากที่สุด คือ พื้นที่ภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดสงขลา ที่พบมากที่สุด รองลงมาคือ จังหวัดเพชรบุรี และจังหวัดอื่น ส่วนภาคกลางพบรองลงมาจากภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดนครปฐม จังหวัดชัยนาท โดยแบ่งพันธุ์ตามลักษณะผลที่พบ คือ พันธุ์ที่มีผลสีดำ เรียก ตาลโตนดกา และพันธุ์ที่มีผลสีแดง เรียก ตาลโตนดข้าว
*ประโยชน์ตาลโตนด
1. ต้นตาล
– ใช้เป็นเชื้อเพลิง
– ใช้สำหรับงานก่อสร้า้ง เช่น เสาเรือน กระดานพื้นบ้าน เสาสะพานปลา ใช้ทำเป็นที่เกาะของหอยนางรม เป็นต้น โดยเฉพาะต้นตาลแก่
– ใช้ประดิษฐ์ของใช้ต่างๆ เช่น ขันตักน้ำ เครื่องเล่น โต๊ะ ม้านั่ง เก้าอี้ กล่องใส่ของ และเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ เป็นต้น
2. กาบตาลหรือทางตาล
– ใช้ทำฟืน เป็นเชื้อเพลิง
– ทำรั้วบ้าน รั้วไร่นา คอกสัตว์
– เส้นใยกาบตาล ใช้ทำเชือก เครื่องจักสานต่างๆ เช่น หมวก กระเป๋า ไม้กวาด และกล่องใส่กระดาษทิชชู่ เป็นต้น
3. ใบตาล
– คนโบราณใช้แทนกระดาษเขียนหนังสือ เขียนบันทึกตำรา คัมภีร์ต่างๆ
– ใช้ทำของเล่นเด็ก เช่น กังหันลม สานเป็นตะกร้อ ปลาตะเพียน
– ใช้สานเป็นของใช้ เช่น หมวก ภาชนะใส่สิ่งของ ทำถาดอาหาร ใช้ทำพัดขนาดใหญ่ที่เรียกว่า “ตาลปัตร” เป็นต้น
– ใช้ในงานก่อสร้าง มุงหลังคา กั้นฝาบ้าน
– ใช้ทำอาหาร ขนมหวาน เช่น เผาเป็นขี้เถ้าละลายน้ำสำหรับทำขนมเปียกปูน
– ใช้หมักทำปุ๋ย
4. ผลอ่อนหรือลูกตาลอ่อน
– ผลอ่่อนตาลที่เก็บหลังจากออกจั่น 2-3 เดือน นำมาเฉาะเอาเนื้อด้านใน ที่เรียกว่า “จาวตาล” ตาล 1 ลูก จะมีลอนตาลประมาณ 3 ลอน นำมารับประทานเป็นผลไม้ มีรสนุ่มหอมหวาน
– ลูกตาลที่แก่จัดจะมีจาวตาลเหนียว แข็ง ใช้ทำจาวตาลเชื่อม
– ลูกตาลที่แก่จัดจะมีสีเหลืองสด นำมาคั้นน้ำ และเอาเส้นใยออกจะได้น้ำสีเหลือง มีกลิ่นหอม ใช้ต้มดื่มหรือทำอาหารคาวหวาน เช่น แกงหัวตาล ขนมตาล
– ลูกตาลแก่ใช้ประดิษฐ์เป็นของเล่น เช่น ทำล้อรถเด็ก ตุ๊กตา กะลาตาล
– เนื้อตาลแก่ใช้เผาทำถ่านสำหรับผสมยาสีฟัน ผลอ่อน และจาวตาล ใช้ทำอาหารคาวหวาน
5. ผลแก่
– ผลแก้นำมาฝานเปลือก นำเปลือกที่เป็นเส้นใยสีเหลืองคั้นเอาน้ำสำหรับทำขนมตาล
– น้ำคั้นลูกตาลแ่ก่ ใช้เป็นส่วนผสมของสบู่ ยาสระผม
– ใยลูกตาลแก่ที่เหลือจากคั้นแล้ว ใช้เป็นฝอยล้างจาน หรือนำมาเป็นฝอยขัดตัว
– ผลตาลแก่นำมาเพาะขายพันธุ์
6. ช่อดอก และน้ำตาล
– ช่อตาลหรืองวงตาล เมื่อปาดขณะมีดอก จะได้น้ำหวาน เรียกว่า “น้ำตาลสด หรือ น้ำตาลโตนด” ใช้รับประทานสดๆ
– น้ำตาลโตนดใช้เคี่ยวทำน้ำตาลปึก น้ำตาลปี๊ป ทำน้ำผึ้งตังเม
– น้ำตาลโตนดนำมาหมักทำเป็นน้ำส้มสายชู กะแช่ หรือกลั่นเหล้าน้ำตาล
ที่มา : สำนักงานการเกษตรจังหวัดสงขลา, 2542.
*สรรพคุณตาลโตนด
1. ช่อดอก และน้ำตาล
– น้ำตาลสดใช้เป็นยาระบาย เป็นกระสายยาบำรุง
– ช่อดอกหรืองวงตาลที่ยังอ่อนนำมาฝานต้ม เป็นยาบำรุงหัวใจ ยาเจริญอาหาร รักษาตาลโขมยในเด็ก ฝนทำยารักษาแผล แก้ร้อนใน ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ ขับพยาธิ
2. ผลตาล
ผลตาลแก่ คั้นเอาน้ำจากเปลือกผล ใช้ต้มดื่ม กินแก้โรคตานขโมย ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ แก้ไข ร้อนในกระหายน้ำ หรือใช้แช่น้ำอาบ แก้ผดผื่นคัน
3. ก้านตาล และใบตาล
– ก้านตาลหรือทางตาลสดนำมาเผาไฟแล้วคั้นเอาน้ำดื่มสำหรับเป็นยาแก้ท้องร่วง ขับปัสสาวะ แก้ปวดเมื่อย
-นำใบมาต้มน้ำดื่ม แก้อาการกระสับกระส่ายหลังคลอด แก้อาการท้องร่วง ท้องเสีย แล แก้ไขข้อมูลเมื่อ 27 Jun 24 12:42
#ต้นตาล จัดเป็นพืชดั้งเดิมของทวีปแอฟริกา และภายหลังได้ขยายแพร่พันธุ์ไปเรื่อย ๆ จนมีอยู่ทั่วไปในเอเชียเขตร้อนรวมทั้งประเทศไทยด้วย ซึ่งพบทั่วไปในทุกภาคของประเทศ และสามารถพบได้มากในภาคตะวันตก ในจังหวัดเพชรบุรี สุพรรณบุรี อยุธยา และนครปฐม
ประโยชน์ของต้นตาล หลัก ๆ แล้วจะนิยมนำมาใช้ประกอบอาหารและใช้ในงานหัตถกรรมต่าง ๆ และอาจมีการนำไปใช้ทางยาสมุนไพรบ้าง โดยต้นตาลนั้นสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 สายพันธุ์หลัก ๆ ได้แก่
1. ตาลบ้าน เป็นตาลที่มีจำนวนของเต้าจาวในแต่ละผลประมาณ 1-4 เต้า และยังมีสายพันธุ์ย่อยอีก 3 สายพันธุ์ ได้แก่ ตาลหม้อ (ผลใหญ่ ผิวดำคล้ำ), ตาลไข่ (ผลเล็กกว่า ผลมีสีขาวเหลือง), และตาลจาก (มีผลในทะลายแน่นคล้ายกับทะลายจาก)
2. ตาลป่า หรือ ตาลก้านยาว ชนิดนี้จะมีผลเล็ก มีสีเขียวคล้ำ มีเต้าอยู่ 1-2 เต้า ลำต้นเขียวสดและก้านใบยาว และไม่ค่อยเป็นที่รู้จักมากนัก
*ต้นตาลโตนดประเทศไทยที่น่าจะเริ่มการปลูกครั้งแรกบริเวณแถบจังหวัดภาคใต้ โดยเฉพาะเมืองท่าที่มีการค้าขายกับชาวอินเดียในสมัยนั้น
พบบันทึกเกี่ยวกับตาลโตนดที่เก่าแก่ในคัมภีร์พระพุทธประวัติที่ปรากฏคำว่า “ตาล” หรือ “ตาละ” ที่หมายถึงต้นตาลโตนด ซึ่งเป็นหนึ่งในพรรณไม้ที่ถูกกล่าวถึงขณะที่พระองค์เสด็จไปประทับ ณ ลัฏฐิวนอุทยาน (ลัฏฐตาล) ในพรรษที่สองหลังจากสำเร็จเป็นพระอรหันต์ เพื่อโปรดพระเจ้าพระพิมพิสาร ราชาแห่งแคว้นมคธ รวมทั้งบริวาร ซึ่งมีช่วงหนึ่งที่พระเจ้าพิมพิสารทรงดำรัสว่า ป่าไผ่นั้นร่วมเย็นดีกว่าป่าตาล นอกจากนั้นในพุทธประวัติยังมีช่วงหนึ่งที่กล่าวถึง พระวินัยที่ทรงห้ามนำผลไม้หรือพืช 10 ชนิด ใช้ทำน้ำอัฐบาน เพราะเป็นผลไม้ที่ห้ามรับประทานหลังเที่ยงแล้ว ซึ่ง 1 ใน 10 เป็นลูกตาลด้วย
ประวัติต้นตาลที่พบบัทึกในประเทศไทยนั้นเริ่มพบหลักฐานในสมัยทวราวดี (พุทธศตวรรษที่ 11-16) ที่มีการใช้ตราประทับรูปคนปีนตาล นอกจากนั้น มีการพบบันทึกเกี่ยวกับตาลโตนดในศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงในช่วงหนึ่งที่แปลได้ว่า ในปีมะโรง ศกที่ 1214 พ่อขุนรามคำแหงขณะพระชนมายุ 14 พรรษา ได้ทรงปลูกไม้ตาลไว้กลางเมืองสุโขทัย
แหล่งของต้นตาลโตนดในไทย พบได้ทั่วไปในทุกภาค แต่พบมากที่สุด คือ พื้นที่ภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดสงขลา ที่พบมากที่สุด รองลงมาคือ จังหวัดเพชรบุรี และจังหวัดอื่น ส่วนภาคกลางพบรองลงมาจากภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดนครปฐม จังหวัดชัยนาท โดยแบ่งพันธุ์ตามลักษณะผลที่พบ คือ พันธุ์ที่มีผลสีดำ เรียก ตาลโตนดกา และพันธุ์ที่มีผลสีแดง เรียก ตาลโตนดข้าว
*ประโยชน์ตาลโตนด
1. ต้นตาล
– ใช้เป็นเชื้อเพลิง
– ใช้สำหรับงานก่อสร้า้ง เช่น เสาเรือน กระดานพื้นบ้าน เสาสะพานปลา ใช้ทำเป็นที่เกาะของหอยนางรม เป็นต้น โดยเฉพาะต้นตาลแก่
– ใช้ประดิษฐ์ของใช้ต่างๆ เช่น ขันตักน้ำ เครื่องเล่น โต๊ะ ม้านั่ง เก้าอี้ กล่องใส่ของ และเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ เป็นต้น
2. กาบตาลหรือทางตาล
– ใช้ทำฟืน เป็นเชื้อเพลิง
– ทำรั้วบ้าน รั้วไร่นา คอกสัตว์
– เส้นใยกาบตาล ใช้ทำเชือก เครื่องจักสานต่างๆ เช่น หมวก กระเป๋า ไม้กวาด และกล่องใส่กระดาษทิชชู่ เป็นต้น
3. ใบตาล
– คนโบราณใช้แทนกระดาษเขียนหนังสือ เขียนบันทึกตำรา คัมภีร์ต่างๆ
– ใช้ทำของเล่นเด็ก เช่น กังหันลม สานเป็นตะกร้อ ปลาตะเพียน
– ใช้สานเป็นของใช้ เช่น หมวก ภาชนะใส่สิ่งของ ทำถาดอาหาร ใช้ทำพัดขนาดใหญ่ที่เรียกว่า “ตาลปัตร” เป็นต้น
– ใช้ในงานก่อสร้าง มุงหลังคา กั้นฝาบ้าน
– ใช้ทำอาหาร ขนมหวาน เช่น เผาเป็นขี้เถ้าละลายน้ำสำหรับทำขนมเปียกปูน
– ใช้หมักทำปุ๋ย
4. ผลอ่อนหรือลูกตาลอ่อน
– ผลอ่่อนตาลที่เก็บหลังจากออกจั่น 2-3 เดือน นำมาเฉาะเอาเนื้อด้านใน ที่เรียกว่า “จาวตาล” ตาล 1 ลูก จะมีลอนตาลประมาณ 3 ลอน นำมารับประทานเป็นผลไม้ มีรสนุ่มหอมหวาน
– ลูกตาลที่แก่จัดจะมีจาวตาลเหนียว แข็ง ใช้ทำจาวตาลเชื่อม
– ลูกตาลที่แก่จัดจะมีสีเหลืองสด นำมาคั้นน้ำ และเอาเส้นใยออกจะได้น้ำสีเหลือง มีกลิ่นหอม ใช้ต้มดื่มหรือทำอาหารคาวหวาน เช่น แกงหัวตาล ขนมตาล
– ลูกตาลแก่ใช้ประดิษฐ์เป็นของเล่น เช่น ทำล้อรถเด็ก ตุ๊กตา กะลาตาล
– เนื้อตาลแก่ใช้เผาทำถ่านสำหรับผสมยาสีฟัน ผลอ่อน และจาวตาล ใช้ทำอาหารคาวหวาน
5. ผลแก่
– ผลแก้นำมาฝานเปลือก นำเปลือกที่เป็นเส้นใยสีเหลืองคั้นเอาน้ำสำหรับทำขนมตาล
– น้ำคั้นลูกตาลแ่ก่ ใช้เป็นส่วนผสมของสบู่ ยาสระผม
– ใยลูกตาลแก่ที่เหลือจากคั้นแล้ว ใช้เป็นฝอยล้างจาน หรือนำมาเป็นฝอยขัดตัว
– ผลตาลแก่นำมาเพาะขายพันธุ์
6. ช่อดอก และน้ำตาล
– ช่อตาลหรืองวงตาล เมื่อปาดขณะมีดอก จะได้น้ำหวาน เรียกว่า “น้ำตาลสด หรือ น้ำตาลโตนด” ใช้รับประทานสดๆ
– น้ำตาลโตนดใช้เคี่ยวทำน้ำตาลปึก น้ำตาลปี๊ป ทำน้ำผึ้งตังเม
– น้ำตาลโตนดนำมาหมักทำเป็นน้ำส้มสายชู กะแช่ หรือกลั่นเหล้าน้ำตาล
ที่มา : สำนักงานการเกษตรจังหวัดสงขลา, 2542.
*สรรพคุณตาลโตนด
1. ช่อดอก และน้ำตาล
– น้ำตาลสดใช้เป็นยาระบาย เป็นกระสายยาบำรุง
– ช่อดอกหรืองวงตาลที่ยังอ่อนนำมาฝานต้ม เป็นยาบำรุงหัวใจ ยาเจริญอาหาร รักษาตาลโขมยในเด็ก ฝนทำยารักษาแผล แก้ร้อนใน ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ ขับพยาธิ
2. ผลตาล
ผลตาลแก่ คั้นเอาน้ำจากเปลือกผล ใช้ต้มดื่ม กินแก้โรคตานขโมย ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ แก้ไข ร้อนในกระหายน้ำ หรือใช้แช่น้ำอาบ แก้ผดผื่นคัน
3. ก้านตาล และใบตาล
– ก้านตาลหรือทางตาลสดนำมาเผาไฟแล้วคั้นเอาน้ำดื่มสำหรับเป็นยาแก้ท้องร่วง ขับปัสสาวะ แก้ปวดเมื่อย
-นำใบมาต้มน้ำดื่ม แก้อาการกระสับกระส่ายหลังคลอด แก้อาการท้องร่วง ท้องเสีย แล แก้ไขข้อมูลเมื่อ 27 Jun 24 12:42