ชื่อสินค้า:
ต้นเสม็ดขาว น้ำมันเขียวสกัดจากต้นนี้
รหัส:
383341
ประเภท:
ราคา:
300.00 บาท
/ต้น
ติดต่อ:
คุณปุณณภา งานสำเร็จ
ที่อยู่ร้าน:
อ.เมืองนครราชสีมา จ.นครราชสีมา
ร้านนี้ยังไม่มีการแจ้งเลขทะเบียนพานิชย์
เปิดร้านมาแล้ว 14 ปี 3 เดือน
ไอดีไลน์:
โทรศัพท์:
ค่าขนส่ง:
60 บาท
คำเตือน: โปรดตรวจสอบความน่าเชื่อถือของร้าน เพื่อหลีกเลี่ยงการทุจริต การขอชำระเงินปลายทางเมื่อรับสินค้าถือเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ดี
รายละเอียด
ต้นเสม็ดขาว
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Melaleuca quinquenervia (Cav.) S.T. Blake
วงศ์ : Myrtaceae
ชื่อสามัญ : Cajuput tree, Milk wood, Paper bark, Swamp tree
ชื่ออื่น : กือแล (มลายู-ปัตตานี); เม็ด, เหม็ด (ภาคใต้); เสม็ด (ทั่วไป); เสม็ดขาว (ภาคตะวันออก)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้นไม่ผลัดใบ สูง 5-25 เมตร เรือนยอดแคบเป็นพุ่มทรงสูง ลำต้นมักบิด เปลือกนอกสีขาวถึงน้ำตาลเทา เปลือกเป็นแผ่นบางๆ ซ้อนกันเป็นปีกหนา ลอกออกได้เป็นแผ่น เปลือกในบางสีน้ำตาลอ่อน ใบอ่อนยอดอ่อนมีขนคล้ายเส้นไหมปกคลุม ใบเดี่ยว เรียงเวียน รูปใบหอก กว้าง 1.5-4.0 ซม. ยาว 5-10 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบรูปลิ่ม ขอบใบเรียบ เนื้อใบค่อนข้างหนากรอบ สีเขียวอมเทา ใบอ่อนมีขนคล้ายเส้นไหมปกคลุม เส้นใบหลัก 5-7 เส้น ออกจากโคนใบจรดปลายใบ ก้านใบยาว 0.5-1.0 ซม. ดอก ออกเป็นช่อเชิงลด ตามซอกใบ หรือใกล้ปลายกิ่ง ดอก ประกอบด้วย กลีบเลี้ยง 5 กลีบ กลีบดอก 5 กลีบ สีขาว เกสรเพศผู้จำนวนมาก ก้านเกสรเพศผู้ยาวพ้นกลีบดอกเป็นพู่ ผล แบบแอปเปิ้ล คล้ายถ้วยปลายตัดเว้า ขนาดประมาณ 0.4 ซม. ผลแก่สีน้ำตาลอมเทาถึงคล้ำ ผลแห้งแตกด้านบน เมล็ดขนาดเล็ก จำนวนมาก
เสม็ดมักขึ้นรวมกันเป็นกลุ่มใหญ่ในป่าลุ่มน้ำขัง ตามขอบป่าพรุ และป่าชายหาดใกล้ทะเล มีเขตการกระจายทางภาคใต้ ภาคตะวันออกเฉียงใต้และภาคตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศไทย ต่างประเทศพบในพม่า มาเลเซียและอินโดนีเซีย ออกดอกติดผลตลอดปี
ประโยชน์ และสรรพคุณ
-เนื้อไม้ใช้ในการก่อสร้างและทำเสา คงทนต่อสภาพทีเปียกชื้นและในน้ำเค็ม ทำไต้จุดไฟ ทำฝาบ้าน และมุงหลังคา
-สกัดใบจะได้น้ำมันหอมระเหยที่เรียกว่า Cajuput oil มีคุณสมบัติในทางยาคล้าย Eucalyptus oil
- เปลือก ที่หนานุ่ม ใช้เป็นขี้ไต้จุดไฟให้แสงสว่าง รวมทั้งใช้ยัดฟูก และหมอน
- เนื้อไม้ ใช้ทำที่พักอาศัย เสาบ้าน ฟืน และการแปรรูปต่างๆ
- ใบ ใช้ชงเป็นชาสมุนไพร และอีกทั้งน้ำมันหอมระเหยจากใบนำมาสกัดเป็นน้ำมันเขียว คล้ายน้ำมันจากยูคาลิปตัส ไม่เป็นที่น่าแปลกใจ เพราะเสม็ดขาวอยู่ในวงศ์เดียวกันต้นยูคาลิปตัสนั่นเอง น้ำมันหอมระเหยจากใบเสม็ดขาวมีชื่อเรียกทางการค้าว่า cajuput oil หรือ Melaleuca oil ใช้ทำยาหม่อง ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ และมีสรรพคุณไล่ยุง
นอกจากประโยชน์เหล่านี้แล้วเสม็ดขาวยังเป็นไม้ที่ให้ร่มเงา มีประโยชน์ทางนิเวศวิทยา เนื่องจากป่าเสม็ดขาวเป็นที่อยู่อาศัยของนกน้ำ ผึ้ง และยังมีบางประเทศใช้ป่าเส็ดขาวเป็นพื้นที่ปรับน้ำเปรี้ยวที่มีค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) ต่ำ ให้มีระดับที่สูงขึ้น แก้ไขข้อมูลเมื่อ 21 Apr 24 04:02
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Melaleuca quinquenervia (Cav.) S.T. Blake
วงศ์ : Myrtaceae
ชื่อสามัญ : Cajuput tree, Milk wood, Paper bark, Swamp tree
ชื่ออื่น : กือแล (มลายู-ปัตตานี); เม็ด, เหม็ด (ภาคใต้); เสม็ด (ทั่วไป); เสม็ดขาว (ภาคตะวันออก)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้นไม่ผลัดใบ สูง 5-25 เมตร เรือนยอดแคบเป็นพุ่มทรงสูง ลำต้นมักบิด เปลือกนอกสีขาวถึงน้ำตาลเทา เปลือกเป็นแผ่นบางๆ ซ้อนกันเป็นปีกหนา ลอกออกได้เป็นแผ่น เปลือกในบางสีน้ำตาลอ่อน ใบอ่อนยอดอ่อนมีขนคล้ายเส้นไหมปกคลุม ใบเดี่ยว เรียงเวียน รูปใบหอก กว้าง 1.5-4.0 ซม. ยาว 5-10 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบรูปลิ่ม ขอบใบเรียบ เนื้อใบค่อนข้างหนากรอบ สีเขียวอมเทา ใบอ่อนมีขนคล้ายเส้นไหมปกคลุม เส้นใบหลัก 5-7 เส้น ออกจากโคนใบจรดปลายใบ ก้านใบยาว 0.5-1.0 ซม. ดอก ออกเป็นช่อเชิงลด ตามซอกใบ หรือใกล้ปลายกิ่ง ดอก ประกอบด้วย กลีบเลี้ยง 5 กลีบ กลีบดอก 5 กลีบ สีขาว เกสรเพศผู้จำนวนมาก ก้านเกสรเพศผู้ยาวพ้นกลีบดอกเป็นพู่ ผล แบบแอปเปิ้ล คล้ายถ้วยปลายตัดเว้า ขนาดประมาณ 0.4 ซม. ผลแก่สีน้ำตาลอมเทาถึงคล้ำ ผลแห้งแตกด้านบน เมล็ดขนาดเล็ก จำนวนมาก
เสม็ดมักขึ้นรวมกันเป็นกลุ่มใหญ่ในป่าลุ่มน้ำขัง ตามขอบป่าพรุ และป่าชายหาดใกล้ทะเล มีเขตการกระจายทางภาคใต้ ภาคตะวันออกเฉียงใต้และภาคตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศไทย ต่างประเทศพบในพม่า มาเลเซียและอินโดนีเซีย ออกดอกติดผลตลอดปี
ประโยชน์ และสรรพคุณ
-เนื้อไม้ใช้ในการก่อสร้างและทำเสา คงทนต่อสภาพทีเปียกชื้นและในน้ำเค็ม ทำไต้จุดไฟ ทำฝาบ้าน และมุงหลังคา
-สกัดใบจะได้น้ำมันหอมระเหยที่เรียกว่า Cajuput oil มีคุณสมบัติในทางยาคล้าย Eucalyptus oil
- เปลือก ที่หนานุ่ม ใช้เป็นขี้ไต้จุดไฟให้แสงสว่าง รวมทั้งใช้ยัดฟูก และหมอน
- เนื้อไม้ ใช้ทำที่พักอาศัย เสาบ้าน ฟืน และการแปรรูปต่างๆ
- ใบ ใช้ชงเป็นชาสมุนไพร และอีกทั้งน้ำมันหอมระเหยจากใบนำมาสกัดเป็นน้ำมันเขียว คล้ายน้ำมันจากยูคาลิปตัส ไม่เป็นที่น่าแปลกใจ เพราะเสม็ดขาวอยู่ในวงศ์เดียวกันต้นยูคาลิปตัสนั่นเอง น้ำมันหอมระเหยจากใบเสม็ดขาวมีชื่อเรียกทางการค้าว่า cajuput oil หรือ Melaleuca oil ใช้ทำยาหม่อง ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ และมีสรรพคุณไล่ยุง
นอกจากประโยชน์เหล่านี้แล้วเสม็ดขาวยังเป็นไม้ที่ให้ร่มเงา มีประโยชน์ทางนิเวศวิทยา เนื่องจากป่าเสม็ดขาวเป็นที่อยู่อาศัยของนกน้ำ ผึ้ง และยังมีบางประเทศใช้ป่าเส็ดขาวเป็นพื้นที่ปรับน้ำเปรี้ยวที่มีค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) ต่ำ ให้มีระดับที่สูงขึ้น แก้ไขข้อมูลเมื่อ 21 Apr 24 04:02
คำสำคัญ:
เสม็ด
พันธุ์ไม้หายาก