ชื่อสินค้า:
ต้นเติม ประดู่ส้ม
รหัส:
383340
ประเภท:
ราคา:
200.00 บาท
/ต้น
ติดต่อ:
คุณปุณณภา งานสำเร็จ
ที่อยู่ร้าน:
อ.เมืองนครราชสีมา จ.นครราชสีมา
ร้านนี้ยังไม่มีการแจ้งเลขทะเบียนพานิชย์
เปิดร้านมาแล้ว 14 ปี 3 เดือน
ไอดีไลน์:
โทรศัพท์:
ค่าขนส่ง:
60 บาท
คำเตือน: โปรดตรวจสอบความน่าเชื่อถือของร้าน เพื่อหลีกเลี่ยงการทุจริต การขอชำระเงินปลายทางเมื่อรับสินค้าถือเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ดี
รายละเอียด
ขายต้นเติมหรือ ประดู่ส้ม
ชื่อสามัญ Java cedar
ชื่อวิทยาศาสตร์ Bischofia javanica Blume
งศ์มะขามป้อม (Phyllanthaceae)
ชื่อท้องถิ่นที่หลากหลาย เช่น ดู่ส้ม (กาญจนบุรี นครราชสีมา) ดู่น้ำ ประดู่ส้ม (ชุมพร) ประส้มใบเปรี้ยว ประดู่ใบเปรี้ยว (อุบลราชธานี) ยายตุหงัน (เลย) กระดังงาดง (สุโขทัย) จันบือ (พังงา) ส้มกบ ส้มกบใหญ่ (ตรัง) กุติ กุตีกรองหยัน กรองประหยัน ขมฝาด จันตะเบือ ย่าตุหงัน (ยะลา) ยายหงัน (ปัตตานี) ไม้เติม (คนเมือง) ซะเต่ย (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่) ซาเตอ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ชอชวาเหมาะ (กะเหรี่ยงแดง) ด่งเก้า (ม้ง) เดี๋ยงซุย (เมี่ยน) ไม้เติม ลำผาด ลำป้วย (ลั้วะ) ด่อกะเติ้ม (ปะหล่อง) ละล่ะทึม (ขมุ) ชิวเฟิงมู่ ฉง หยางมู่ (จีนกลาง) เป็นต้น
ลักษณะ
เติม เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ มีความสูงได้ถึง 40 เมตร ลักษณะของต้นเป็นทรงเรือนยอดค่อนข้างทึบ กิ่งมักคดงอ เนื้อไม้ลำต้นสีน้ำตาลอมสีเหลือง มีกลิ่นหอม เปลือกต้นเป็นสีน้ำตาลอ่อนหรืออมแดง และเป็นสีน้ำตาลเข้มเมื่ออายุมากขึ้น เปลือกชั้นในเป็นสีน้ำตาลอมแดง และมียางสีแดง
ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ดและตอนกิ่ง การกระจายพันธุ์จากอินเดียไปจนถึงประเทศในหมู่เกาะแปซิฟิก
พบขึ้นตามป่าเบญจพรรณ ป่าดงดิบ หรือริมลำห้วยที่ความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 100-1,000 เมตร
ประโยชน์และสรรพคุณ
ลำต้น ใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้เจ็บคอ แก้เสียงแหบแห้ง หรือจะใช้เปลือกลำต้นและใบนำมาต้มดื่มเป็นยาแก้เจ็บคอ
ดอก มีรสร้อนหอม ช่วยแก้เสมหะ
ใบ ช่วยแก้ตานซางในเด็กและช่วยแก้ปอดอักเสบ
เนื้อไม้ มีรสฝาดขม ใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาบำรุงโลหิต แก้โลหิตกำเดา แก้ไข้เพื่อโลหิต
รากและเปลือก ใช้เป็นยาฟอกโลหิต แก้โลหิตกำเดา เปลือกต้นใช้ตำผสมกับอาหารที่มีรสจัด จะช่วยป้องกันอาการท้องเสียได้ ชาวเขาเผ่าแม้ว ลีซอ ใช้ลำต้นต้มน้ำดื่ม แก้เจ็บคอ เสียงแหบ แก้บิด ในภูมิปัญญาพื้นบ้านมีการใช้เปลือกต้น ตำผสมกับอาหารที่มีรสจัด ป้องกันอาการท้องเสีย ต่างประเทศมีรายงานใช้รักษาแผลในกระเพาะ ขับพยาธิและแก้บิดมีตัว เปลือกสดแก้อาการปวดท้อง น้ำคั้นเปลือกสดผสมน้ำมะนาวแก้เจ็บคอด้วย
ประโยชน์ทางอาหาร ยอดอ่อนและดอกนำไปประกอบอาหาร เช่น อาหารประเภทยำ ยำกับปลากระป๋อง ฯลฯ หรือนำไปลวกหรือกินสดจิ้มกับน้ำพริก
บางท้องที่นำไปหมกกับเกลือกินแบบกินเมี่ยง หรือใบอ่อนนำมาสับให้ละเอียดเป็นส่วนผสมอาหารประเภทลาบ และยังนำยอดอ่อนลนไฟปรุงประกอบอาหารเพื่อช่วยเพิ่มรสเปรี้ยวได้ด้วย เช่น การทำแกงส้มปลา
ผลสุกกินได้ มีรสเปรี้ยวและฝาด
เนื้อไม้ต้นเติมสีเทาแกมสีน้ำตาลไหม้ เนื้อไม้หยาบแต่ถ้าเลื่อยผ่าไสตบแต่งขัดมันขึ้นดี นำมาใช้ในงานก่อสร้าง ทำสะพาน ทำฝา พื้นกระดาน ฯลฯ หรือใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ เครื่องเรือน และอุปกรณ์ใช้งานที่ทนน้ำได้ดี เช่น แจวและพาย ฯลฯ
ลำต้นนำมาเผาเอาถ่านก็ได้ เปลือกต้นมีสารแทนนินมาก
เปลือกให้สีแดงหรือสีชมพู จึงมีการนำมาย้อมสีภาชนะใช้สอย เช่น กระบุง ตะกร้า เครื่องเรือนทำด้วยหวายหรือไม้ไผ่ เปลือกด้านในให้สีน้ำตาลนำไปย้อมผ้าได้
ส่วนของเปลือกมีสารแทนนินเป็นองค์ประกอบถึง 16% นำไปย้อมแหหรือเชือกทำให้เหนียวแน่นทนทาน
หลายพื้นที่นิยมปลูกเป็นไม้เบิกนำ เป็นไม้เหมาะในการนำมาปลูกเสริมให้ป่าได้ แก้ไขข้อมูลเมื่อ 21 Apr 24 03:50
ชื่อสามัญ Java cedar
ชื่อวิทยาศาสตร์ Bischofia javanica Blume
งศ์มะขามป้อม (Phyllanthaceae)
ชื่อท้องถิ่นที่หลากหลาย เช่น ดู่ส้ม (กาญจนบุรี นครราชสีมา) ดู่น้ำ ประดู่ส้ม (ชุมพร) ประส้มใบเปรี้ยว ประดู่ใบเปรี้ยว (อุบลราชธานี) ยายตุหงัน (เลย) กระดังงาดง (สุโขทัย) จันบือ (พังงา) ส้มกบ ส้มกบใหญ่ (ตรัง) กุติ กุตีกรองหยัน กรองประหยัน ขมฝาด จันตะเบือ ย่าตุหงัน (ยะลา) ยายหงัน (ปัตตานี) ไม้เติม (คนเมือง) ซะเต่ย (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่) ซาเตอ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ชอชวาเหมาะ (กะเหรี่ยงแดง) ด่งเก้า (ม้ง) เดี๋ยงซุย (เมี่ยน) ไม้เติม ลำผาด ลำป้วย (ลั้วะ) ด่อกะเติ้ม (ปะหล่อง) ละล่ะทึม (ขมุ) ชิวเฟิงมู่ ฉง หยางมู่ (จีนกลาง) เป็นต้น
ลักษณะ
เติม เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ มีความสูงได้ถึง 40 เมตร ลักษณะของต้นเป็นทรงเรือนยอดค่อนข้างทึบ กิ่งมักคดงอ เนื้อไม้ลำต้นสีน้ำตาลอมสีเหลือง มีกลิ่นหอม เปลือกต้นเป็นสีน้ำตาลอ่อนหรืออมแดง และเป็นสีน้ำตาลเข้มเมื่ออายุมากขึ้น เปลือกชั้นในเป็นสีน้ำตาลอมแดง และมียางสีแดง
ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ดและตอนกิ่ง การกระจายพันธุ์จากอินเดียไปจนถึงประเทศในหมู่เกาะแปซิฟิก
พบขึ้นตามป่าเบญจพรรณ ป่าดงดิบ หรือริมลำห้วยที่ความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 100-1,000 เมตร
ประโยชน์และสรรพคุณ
ลำต้น ใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้เจ็บคอ แก้เสียงแหบแห้ง หรือจะใช้เปลือกลำต้นและใบนำมาต้มดื่มเป็นยาแก้เจ็บคอ
ดอก มีรสร้อนหอม ช่วยแก้เสมหะ
ใบ ช่วยแก้ตานซางในเด็กและช่วยแก้ปอดอักเสบ
เนื้อไม้ มีรสฝาดขม ใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาบำรุงโลหิต แก้โลหิตกำเดา แก้ไข้เพื่อโลหิต
รากและเปลือก ใช้เป็นยาฟอกโลหิต แก้โลหิตกำเดา เปลือกต้นใช้ตำผสมกับอาหารที่มีรสจัด จะช่วยป้องกันอาการท้องเสียได้ ชาวเขาเผ่าแม้ว ลีซอ ใช้ลำต้นต้มน้ำดื่ม แก้เจ็บคอ เสียงแหบ แก้บิด ในภูมิปัญญาพื้นบ้านมีการใช้เปลือกต้น ตำผสมกับอาหารที่มีรสจัด ป้องกันอาการท้องเสีย ต่างประเทศมีรายงานใช้รักษาแผลในกระเพาะ ขับพยาธิและแก้บิดมีตัว เปลือกสดแก้อาการปวดท้อง น้ำคั้นเปลือกสดผสมน้ำมะนาวแก้เจ็บคอด้วย
ประโยชน์ทางอาหาร ยอดอ่อนและดอกนำไปประกอบอาหาร เช่น อาหารประเภทยำ ยำกับปลากระป๋อง ฯลฯ หรือนำไปลวกหรือกินสดจิ้มกับน้ำพริก
บางท้องที่นำไปหมกกับเกลือกินแบบกินเมี่ยง หรือใบอ่อนนำมาสับให้ละเอียดเป็นส่วนผสมอาหารประเภทลาบ และยังนำยอดอ่อนลนไฟปรุงประกอบอาหารเพื่อช่วยเพิ่มรสเปรี้ยวได้ด้วย เช่น การทำแกงส้มปลา
ผลสุกกินได้ มีรสเปรี้ยวและฝาด
เนื้อไม้ต้นเติมสีเทาแกมสีน้ำตาลไหม้ เนื้อไม้หยาบแต่ถ้าเลื่อยผ่าไสตบแต่งขัดมันขึ้นดี นำมาใช้ในงานก่อสร้าง ทำสะพาน ทำฝา พื้นกระดาน ฯลฯ หรือใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ เครื่องเรือน และอุปกรณ์ใช้งานที่ทนน้ำได้ดี เช่น แจวและพาย ฯลฯ
ลำต้นนำมาเผาเอาถ่านก็ได้ เปลือกต้นมีสารแทนนินมาก
เปลือกให้สีแดงหรือสีชมพู จึงมีการนำมาย้อมสีภาชนะใช้สอย เช่น กระบุง ตะกร้า เครื่องเรือนทำด้วยหวายหรือไม้ไผ่ เปลือกด้านในให้สีน้ำตาลนำไปย้อมผ้าได้
ส่วนของเปลือกมีสารแทนนินเป็นองค์ประกอบถึง 16% นำไปย้อมแหหรือเชือกทำให้เหนียวแน่นทนทาน
หลายพื้นที่นิยมปลูกเป็นไม้เบิกนำ เป็นไม้เหมาะในการนำมาปลูกเสริมให้ป่าได้ แก้ไขข้อมูลเมื่อ 21 Apr 24 03:50
คำสำคัญ:
ประดู่
พันธุ์ไม้หายาก