ชื่อสินค้า:
ต้นหนาด
รหัส:
382512
ประเภท:
ราคา:
300.00 บาท
/ต้น
ติดต่อ:
คุณปุณณภา งานสำเร็จ
ที่อยู่ร้าน:
อ.เมืองนครราชสีมา จ.นครราชสีมา
ร้านนี้ยังไม่มีการแจ้งเลขทะเบียนพานิชย์
เปิดร้านมาแล้ว 14 ปี 2 เดือน
ไอดีไลน์:
โทรศัพท์:
ค่าขนส่ง:
80 บาท
คำเตือน: โปรดตรวจสอบความน่าเชื่อถือของร้าน เพื่อหลีกเลี่ยงการทุจริต การขอชำระเงินปลายทางเมื่อรับสินค้าถือเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ดี
รายละเอียด
ต้นหนาด ไม้มงคลแก้อาถรรพ์ กันภูติผี เข้ายาดีหลายตำรับ
หนาดใหญ่
ชื่ออื่น หนาด (จันทบุรี) คำพอง หนาดหลวง (เหนือ) ผักชีช้าง พิมเสน (กลาง) ใบหรม (ใต้)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Blumea balsamifera (L.) DC.
ชื่อวงศ์ Asteraceae
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้พุ่มหรือไม้ยืนต้นขนาดเล็ก มีกลิ่นหอมคล้ายการบูร สูง 1-4 เมตร ลำต้นกลม กิ่งก้านมีขนนุ่มยาว เปลือกต้นสีน้ำตาลเทา มีกลิ่นหอมของการบูร ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปวงรีแกมขอบขนาน ผิวใบทั้งสองด้านมีขนละเอียดหนาแน่น คล้ายเส้นไหม และมีกลิ่นหอม กว้าง 2-20 เซนติเมตร ยาว 8-40 เซนติเมตร ปลายใบ และโคนใบแหลม ขอบใบหยักแบบซี่ฟัน หรือฟันเลื่อย ก้านใบมีรยางค์ 2-3 อัน ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่งหรือซอกใบ เป็นช่อกลม ช่อดอกมีขนาดโตไม่เท่ากัน กว้าง 6-30 เซนติเมตร ยาว 10-50 เซนติเมตร มีริ้วประดับหลายชั้น บางครั้งริ้วประดับอาจยาวกว่าดอก รูปขอบขนาน แคบยาว 1-9 มิลลิเมตร ปลายแหลม ด้านหลังมีขนนุ่มหนาแน่น ดอกย่อยมีเป็นจำนวนมาก กลีบดอกสีเหลือง ฐานดอกมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2-4 มิลลิเมตร ดอกสมบูรณ์เพศมีหลอดดอกยาว 4-7 มิลลิเมตร ปลายแยกเป็นหลอด รูปไข่ ปลายแหลม มีขนนุ่ม ดอกตัวเมียมีหลอดดอกเล็กเรียว ยาวไม่เกิน 6 มิลลิเมตร ปลายแยกเป็น 2-4 แฉก เกลี้ยง ผลแห้งไม่แตก รูปขอบขนาน ยาวราว 1 มิลลิเมตร สีน้ำตาล โค้งงอเล็กน้อย เป็นเส้น 5-10 เส้น มีขนสีขาว
สรรพคุณ
หมอยาพื้นบ้านจังหวัดอุบลราชธานี ใช้ ลำต้นและใบ เข้ายากับใบเปล้าใหญ่ และใบมะขาม ต้มน้ำอาบ แก้วิงเวียน หน้ามืด ตาลาย
ตำรายาไทยและยาพื้นบ้าน ใช้ ใบ มีกลิ่นหอมฉุน มีรสเมาร้อน แก้อาการเกร็งของกล้ามเนื้อ เป็นยาห้ามเลือด ยาเจริญอาหาร แก้โรคไขข้ออักเสบ เป็นยาบำรุงหลังคลอด แก้ไข้ ลดความดันโลหิต ขับพยาธิ ระงับประสาท ขับลม แก้จุกเสียดแน่นเฟ้อ แก้ปวดท้อง ขับเหงื่อ ขับเสมหะ แก้มุตกิด ใบและยอดอ่อน กลั่นด้วยไอน้ำ จะได้พิมเสนตกผลึกออกมา นำมาทำเป็นยากิน แก้ปวดท้อง ท้องร่วง หรือใช้ขับลม ใช้ภายนอกเป็นผงใส่บาดแผล แก้แผลอักเสบ แก้กลากเกลื้อน และแผลฟกช้ำ ใบและยอดอ่อน ต้มกินเป็นยาแก้ไข้ ขับเหงื่อ แก้จุกเสียด แน่นเฟ้อ ปวดท้อง ขับเสมหะ แก้ริดสีดวงจมูก ขับลมในลำไส้ ขับพยาธิ แก้บิด บำรุงกำลัง หรือใช้ภายนอก บดเป็นผงผสมสุรา ใช้พอกหรือทาแผลฟกช้ำ ฝีบวมอักเสบ แผลฝีหนอง บาดแผลสด ห้ามเลือด แก้ปวดหลังเอว ปวดข้อ และแก้กลากเกลื้อน ใบสด หั่นเป็นฝอยเหมือนยาเส้น ตากแดดพอหมาดๆ มวนกับยาฉุน สูบ แก้ริดสีดวงจมูก (โรคติดเชื้อที่เกิดในจมูก ทำให้หายใจขัด มีฝีหนองในจมูก โพรงจมูกอักเสบ) ยาชงของ ใบ เป็นยาบำรุงธาตุ ขับลม ขับเหงื่อ ขับเสมหะ และระดู ใช้ผสมในน้ำอาบสมุนไพรหลังคลอด บำรุงผิวหนังให้ชุ่มชื้น แก้หิด สิ่งสกัดจาก ใบ ทำให้ความดันโลหิตต่ำ ขยายเส้นเลือด ขับปัสสาวะ ใช้ในเมื่อมีอาการตื่นเต้น นอนไม่หลับ ราก มีรสร้อน ใช้ต้มน้ำดื่มแก้หวัด แก้บวม ปวดข้อ ปวดท้อง ท้องเสีย ขับลม ทำให้การหมุนเวียนโลหิตดี และแก้ปวดเมื่อยหลังคลอด ทั้งต้น รสเมาร้อนหอม แก้ไข้ แก้ลมแดด แก้เจ็บหน้าอก แก้ปวดท้อง แก้อหิวาตกโรค ขับพยาธิ ลดความดันเลือด ระงับประสาท
ยาพื้นบ้าน ใช้ ใบ บดผสมกับต้นข่อย แก่นก้ามปู พิมเสน และการบูร มวนด้วยใบตองแห้งสูบ รักษาโรคหืด ในใบพบสาร cryptomeridion มีฤทธิ์ลดการเกร็งของกล้ามเนื้อเรียบ เช่น กล้ามเนื้อหลอดลม
ยาพื้นบ้านนครราชสีมา ใช้ ใบ รักษาโรคเรื้อน โดยตำใบให้ละเอียด ใส่ด่างทับทิมและน้ำพอประมาณ นำมาปิดบริเวณที่เป็นแผล
ประเทศจีน ใช้ ใบ ขับลม ขับพยาธิ และทำให้แท้ง
แก้ไขข้อมูลเมื่อ 22 Feb 24 08:48
หนาดใหญ่
ชื่ออื่น หนาด (จันทบุรี) คำพอง หนาดหลวง (เหนือ) ผักชีช้าง พิมเสน (กลาง) ใบหรม (ใต้)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Blumea balsamifera (L.) DC.
ชื่อวงศ์ Asteraceae
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้พุ่มหรือไม้ยืนต้นขนาดเล็ก มีกลิ่นหอมคล้ายการบูร สูง 1-4 เมตร ลำต้นกลม กิ่งก้านมีขนนุ่มยาว เปลือกต้นสีน้ำตาลเทา มีกลิ่นหอมของการบูร ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปวงรีแกมขอบขนาน ผิวใบทั้งสองด้านมีขนละเอียดหนาแน่น คล้ายเส้นไหม และมีกลิ่นหอม กว้าง 2-20 เซนติเมตร ยาว 8-40 เซนติเมตร ปลายใบ และโคนใบแหลม ขอบใบหยักแบบซี่ฟัน หรือฟันเลื่อย ก้านใบมีรยางค์ 2-3 อัน ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่งหรือซอกใบ เป็นช่อกลม ช่อดอกมีขนาดโตไม่เท่ากัน กว้าง 6-30 เซนติเมตร ยาว 10-50 เซนติเมตร มีริ้วประดับหลายชั้น บางครั้งริ้วประดับอาจยาวกว่าดอก รูปขอบขนาน แคบยาว 1-9 มิลลิเมตร ปลายแหลม ด้านหลังมีขนนุ่มหนาแน่น ดอกย่อยมีเป็นจำนวนมาก กลีบดอกสีเหลือง ฐานดอกมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2-4 มิลลิเมตร ดอกสมบูรณ์เพศมีหลอดดอกยาว 4-7 มิลลิเมตร ปลายแยกเป็นหลอด รูปไข่ ปลายแหลม มีขนนุ่ม ดอกตัวเมียมีหลอดดอกเล็กเรียว ยาวไม่เกิน 6 มิลลิเมตร ปลายแยกเป็น 2-4 แฉก เกลี้ยง ผลแห้งไม่แตก รูปขอบขนาน ยาวราว 1 มิลลิเมตร สีน้ำตาล โค้งงอเล็กน้อย เป็นเส้น 5-10 เส้น มีขนสีขาว
สรรพคุณ
หมอยาพื้นบ้านจังหวัดอุบลราชธานี ใช้ ลำต้นและใบ เข้ายากับใบเปล้าใหญ่ และใบมะขาม ต้มน้ำอาบ แก้วิงเวียน หน้ามืด ตาลาย
ตำรายาไทยและยาพื้นบ้าน ใช้ ใบ มีกลิ่นหอมฉุน มีรสเมาร้อน แก้อาการเกร็งของกล้ามเนื้อ เป็นยาห้ามเลือด ยาเจริญอาหาร แก้โรคไขข้ออักเสบ เป็นยาบำรุงหลังคลอด แก้ไข้ ลดความดันโลหิต ขับพยาธิ ระงับประสาท ขับลม แก้จุกเสียดแน่นเฟ้อ แก้ปวดท้อง ขับเหงื่อ ขับเสมหะ แก้มุตกิด ใบและยอดอ่อน กลั่นด้วยไอน้ำ จะได้พิมเสนตกผลึกออกมา นำมาทำเป็นยากิน แก้ปวดท้อง ท้องร่วง หรือใช้ขับลม ใช้ภายนอกเป็นผงใส่บาดแผล แก้แผลอักเสบ แก้กลากเกลื้อน และแผลฟกช้ำ ใบและยอดอ่อน ต้มกินเป็นยาแก้ไข้ ขับเหงื่อ แก้จุกเสียด แน่นเฟ้อ ปวดท้อง ขับเสมหะ แก้ริดสีดวงจมูก ขับลมในลำไส้ ขับพยาธิ แก้บิด บำรุงกำลัง หรือใช้ภายนอก บดเป็นผงผสมสุรา ใช้พอกหรือทาแผลฟกช้ำ ฝีบวมอักเสบ แผลฝีหนอง บาดแผลสด ห้ามเลือด แก้ปวดหลังเอว ปวดข้อ และแก้กลากเกลื้อน ใบสด หั่นเป็นฝอยเหมือนยาเส้น ตากแดดพอหมาดๆ มวนกับยาฉุน สูบ แก้ริดสีดวงจมูก (โรคติดเชื้อที่เกิดในจมูก ทำให้หายใจขัด มีฝีหนองในจมูก โพรงจมูกอักเสบ) ยาชงของ ใบ เป็นยาบำรุงธาตุ ขับลม ขับเหงื่อ ขับเสมหะ และระดู ใช้ผสมในน้ำอาบสมุนไพรหลังคลอด บำรุงผิวหนังให้ชุ่มชื้น แก้หิด สิ่งสกัดจาก ใบ ทำให้ความดันโลหิตต่ำ ขยายเส้นเลือด ขับปัสสาวะ ใช้ในเมื่อมีอาการตื่นเต้น นอนไม่หลับ ราก มีรสร้อน ใช้ต้มน้ำดื่มแก้หวัด แก้บวม ปวดข้อ ปวดท้อง ท้องเสีย ขับลม ทำให้การหมุนเวียนโลหิตดี และแก้ปวดเมื่อยหลังคลอด ทั้งต้น รสเมาร้อนหอม แก้ไข้ แก้ลมแดด แก้เจ็บหน้าอก แก้ปวดท้อง แก้อหิวาตกโรค ขับพยาธิ ลดความดันเลือด ระงับประสาท
ยาพื้นบ้าน ใช้ ใบ บดผสมกับต้นข่อย แก่นก้ามปู พิมเสน และการบูร มวนด้วยใบตองแห้งสูบ รักษาโรคหืด ในใบพบสาร cryptomeridion มีฤทธิ์ลดการเกร็งของกล้ามเนื้อเรียบ เช่น กล้ามเนื้อหลอดลม
ยาพื้นบ้านนครราชสีมา ใช้ ใบ รักษาโรคเรื้อน โดยตำใบให้ละเอียด ใส่ด่างทับทิมและน้ำพอประมาณ นำมาปิดบริเวณที่เป็นแผล
ประเทศจีน ใช้ ใบ ขับลม ขับพยาธิ และทำให้แท้ง
แก้ไขข้อมูลเมื่อ 22 Feb 24 08:48
คำสำคัญ:
ต้นหนาด
ต้นไม้มงคล