ชื่อสินค้า:
ต้นสิรินธรวัลลี สามสิบสองประดง 32ประดง
รหัส:
382508
ประเภท:
ราคา:
300.00 บาท
/ต้น
ติดต่อ:
คุณปุณณภา งานสำเร็จ
ที่อยู่ร้าน:
อ.เมืองนครราชสีมา จ.นครราชสีมา
ร้านนี้ยังไม่มีการแจ้งเลขทะเบียนพานิชย์
เปิดร้านมาแล้ว 14 ปี 1 เดือน
ไอดีไลน์:
โทรศัพท์:
ค่าขนส่ง:
80 บาท
คำเตือน: โปรดตรวจสอบความน่าเชื่อถือของร้าน เพื่อหลีกเลี่ยงการทุจริต การขอชำระเงินปลายทางเมื่อรับสินค้าถือเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ดี
รายละเอียด
ต้นสิรินธรวัลลี สามสิบสองประดง 32ประดง พันธุ์ไม้นามพระราชทาน
สิรินธรวัลลี
ชื่ออื่น สามสิบสองประดง (หนองคาย) ประดงแดง
ชื่อวิทยาศาสตร์ Bauhinia sirindhorniae (K.Larsen & S.S.Larsen)
ชื่อวงศ์ Leguminosae-Caesalpiniaceae
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้เถาเนื้อแข็ง ยาว 10-20 เมตร กิ่งอ่อนมีขนสีน้ำตาลแดง กิ่งแก่เกลี้ยง ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่ถึงเกือบกลม กว้าง 4-17 เซนติเมตร ยาว 5-18 เซนติเมตร ปลายใบแหลมและแยกเป็น 2 พู เว้าลึกเกือบถึงโคนใบ ฐานใบเว้ารูปหัวใจ ปลายใบพูมน ขอบใบเรียบ ผิวใบด้านบนเกลี้ยง ด้านล่างมีขนเล็กน้อย มีขนมากบริเวณเส้นกลางใบ แผ่นใบหนาคล้ายแผ่นหนัง ผิวใบด้านบนเขียวเข้มเป็นมัน หูใบเป็นเส้นม้วนโค้ง เส้นใบข้างละ 9-11 เส้น ออกจากโคนใบ โค้งจากขอบไปยังปลายใบ ก้านใบยาว 2-6.5 เซนติเมตร ดอก สีน้ำตาลแดง ออกเป็นช่อกระจุกซ้อนที่ปลายกิ่ง แต่ละช่อมีดอกจำนวนมาก มีขนสีน้ำตาลแดง ช่อดอกยาวได้ถึง 15 เซนติเมตร ดอกตูมรูปรี ยาวประมาณ 5 มิลลิเมตร ดอกย่อยบานกว้างประมาณ 1 เซนติเมตร มีใบประดับ 2 ใบ รูปใบหอก ด้านนอกมีขน ด้านในเกลี้ยง ก้านดอกยาว 1.5-2 เซนติเมตร มีขนสั้นนุ่ม กลีบเลี้ยงมี 5 กลีบ โคนเชื่อมกันปลายแยก ยาวประมาณ 6 มิลลิเมตร กว้างประมาณ 3 มิลลิเมตร ผิวนอกมีขนหนาแน่น กลีบดอกสีเหลืองอมส้มถึงแดง มี 5 กลีบ รูปใบหอกแคบ กว้าง 3-6 มิลลิเมตร ยาว 9-13 มิลลิเมตร ด้านนอกมีขนสีน้ำตาลแดงหนาแน่น กลีบดอกแยกกัน เกสรเพศผู้สมบูรณ์ 3 อัน ก้านชูอับเรณูยาว 12-15 มม. อับเรณูรูปขอบขนาน กว้าง 1 มม. ยาว 3 มม. เมื่อแก่แตกตามยาว เกสรเพศผู้เป็นหมัน 2 อัน รูปสามเหลี่ยม ขนาดเล็กมาก เกสรเพศเมียมีรังไข่เหนือวงกลีบ ยาว 7-11 มม. รังไข่และก้านเกสรตัวเมียมีขนหนาแน่น รังไข่ ยาว 7-10 มม. มีก้านสั้น ฐานดอกรูปหลอดถึงรูปกรวยแคบ ยาว 1-1.6 เซนติเมตร มีขน ผล เป็นฝักแบน รูปขอบขนาน กว้าง 3-4 เซนติเมตร ยาว 15-18 เซนติเมตร มีขนสีน้ำตาลแดงปกคลุมหนาแน่น กลีบเลี้ยงติดแน่นที่โคนฝัก เมล็ด 5-7 เมล็ด สีน้ำตาลดำ รูปกลมแบนขนาดเล็ก เส้นผ่านศูนย์กลาง 1.5-22 เซนติเมตร เป็นพืชถิ่นเดียว และหายากของประเทศไทย พบตามป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ออกดอกช่วงเดือนพฤษภาคมถึงสิงหาคม
สรรพคุณ
ตำรายาไทย เนื้อไม้ ใช้รักษาอาการประดงที่เกิดจากระบบ โลหิตในร่างกายชนิดต่างๆ รวมเรียกว่า ประดงทั้งสามสิบสองประการ อาการโดยรวมคือเป็นเม็ด ผื่นคัน ปวดแสบปวดร้อน แก้น้ำเหลืองเสีย แก้ลมพิษ หรือภูมิแพ้ต่างๆ
ตำรายาพื้นบ้านมุกดาหาร ใช้ แก้โรคประดง บำรุงกำลัง แก้ไขข้อมูลเมื่อ 22 Feb 24 05:30
สิรินธรวัลลี
ชื่ออื่น สามสิบสองประดง (หนองคาย) ประดงแดง
ชื่อวิทยาศาสตร์ Bauhinia sirindhorniae (K.Larsen & S.S.Larsen)
ชื่อวงศ์ Leguminosae-Caesalpiniaceae
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้เถาเนื้อแข็ง ยาว 10-20 เมตร กิ่งอ่อนมีขนสีน้ำตาลแดง กิ่งแก่เกลี้ยง ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่ถึงเกือบกลม กว้าง 4-17 เซนติเมตร ยาว 5-18 เซนติเมตร ปลายใบแหลมและแยกเป็น 2 พู เว้าลึกเกือบถึงโคนใบ ฐานใบเว้ารูปหัวใจ ปลายใบพูมน ขอบใบเรียบ ผิวใบด้านบนเกลี้ยง ด้านล่างมีขนเล็กน้อย มีขนมากบริเวณเส้นกลางใบ แผ่นใบหนาคล้ายแผ่นหนัง ผิวใบด้านบนเขียวเข้มเป็นมัน หูใบเป็นเส้นม้วนโค้ง เส้นใบข้างละ 9-11 เส้น ออกจากโคนใบ โค้งจากขอบไปยังปลายใบ ก้านใบยาว 2-6.5 เซนติเมตร ดอก สีน้ำตาลแดง ออกเป็นช่อกระจุกซ้อนที่ปลายกิ่ง แต่ละช่อมีดอกจำนวนมาก มีขนสีน้ำตาลแดง ช่อดอกยาวได้ถึง 15 เซนติเมตร ดอกตูมรูปรี ยาวประมาณ 5 มิลลิเมตร ดอกย่อยบานกว้างประมาณ 1 เซนติเมตร มีใบประดับ 2 ใบ รูปใบหอก ด้านนอกมีขน ด้านในเกลี้ยง ก้านดอกยาว 1.5-2 เซนติเมตร มีขนสั้นนุ่ม กลีบเลี้ยงมี 5 กลีบ โคนเชื่อมกันปลายแยก ยาวประมาณ 6 มิลลิเมตร กว้างประมาณ 3 มิลลิเมตร ผิวนอกมีขนหนาแน่น กลีบดอกสีเหลืองอมส้มถึงแดง มี 5 กลีบ รูปใบหอกแคบ กว้าง 3-6 มิลลิเมตร ยาว 9-13 มิลลิเมตร ด้านนอกมีขนสีน้ำตาลแดงหนาแน่น กลีบดอกแยกกัน เกสรเพศผู้สมบูรณ์ 3 อัน ก้านชูอับเรณูยาว 12-15 มม. อับเรณูรูปขอบขนาน กว้าง 1 มม. ยาว 3 มม. เมื่อแก่แตกตามยาว เกสรเพศผู้เป็นหมัน 2 อัน รูปสามเหลี่ยม ขนาดเล็กมาก เกสรเพศเมียมีรังไข่เหนือวงกลีบ ยาว 7-11 มม. รังไข่และก้านเกสรตัวเมียมีขนหนาแน่น รังไข่ ยาว 7-10 มม. มีก้านสั้น ฐานดอกรูปหลอดถึงรูปกรวยแคบ ยาว 1-1.6 เซนติเมตร มีขน ผล เป็นฝักแบน รูปขอบขนาน กว้าง 3-4 เซนติเมตร ยาว 15-18 เซนติเมตร มีขนสีน้ำตาลแดงปกคลุมหนาแน่น กลีบเลี้ยงติดแน่นที่โคนฝัก เมล็ด 5-7 เมล็ด สีน้ำตาลดำ รูปกลมแบนขนาดเล็ก เส้นผ่านศูนย์กลาง 1.5-22 เซนติเมตร เป็นพืชถิ่นเดียว และหายากของประเทศไทย พบตามป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ออกดอกช่วงเดือนพฤษภาคมถึงสิงหาคม
สรรพคุณ
ตำรายาไทย เนื้อไม้ ใช้รักษาอาการประดงที่เกิดจากระบบ โลหิตในร่างกายชนิดต่างๆ รวมเรียกว่า ประดงทั้งสามสิบสองประการ อาการโดยรวมคือเป็นเม็ด ผื่นคัน ปวดแสบปวดร้อน แก้น้ำเหลืองเสีย แก้ลมพิษ หรือภูมิแพ้ต่างๆ
ตำรายาพื้นบ้านมุกดาหาร ใช้ แก้โรคประดง บำรุงกำลัง แก้ไขข้อมูลเมื่อ 22 Feb 24 05:30
คำสำคัญ:
สิรินธรวัลลี
พันธุ์ไม้หายาก