ชื่อสินค้า:
ชุมเห็ดเทศ ขายใบสด
รหัส:
381439
ประเภท:
ราคา:
100.00 บาท
/1กิโลกรัม
ติดต่อ:
คุณอังศรา ไพฑูรย์
ที่อยู่ร้าน:
อ.เมืองระยอง จ.ระยอง
ร้านนี้ยังไม่มีการแจ้งเลขทะเบียนพานิชย์
เปิดร้านมาแล้ว 7 ปี 9 เดือน
ไอดีไลน์:
โทรศัพท์:
แบรนด์:
สมุนไพรดีเกษตรวิถีไทย
คำเตือน: โปรดตรวจสอบความน่าเชื่อถือของร้าน เพื่อหลีกเลี่ยงการทุจริต การขอชำระเงินปลายทางเมื่อรับสินค้าถือเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ดี
รายละเอียด
ชุมเห็ดเทศ ขายใบสดกก100บาทใบตากแห้งกก250บาท นับใบขายใบละ1บาทเมล็ดพันธุ์ชุดละ 50 บาทบรรจุราว 200 เมล็ดน้ำหนัก 10 กรัม สนใจโทร0876069955ไอดีไลน์aungsara09เก็บปลายทาง#สรรพคุณของชุมเห็ดเทศ
รากชุมเห็ดเทศใช้ผสมยาบำรุงธาตุ (ราก)
ใช้ใบชาชุมเห็ดเทศนำมาชงกับน้ำดื่มเป็นยาบำรุงหัวใจ (ใบ)
ช่วยทำให้เจริญอาหาร (ราก)
หากดื่มยาชงจากชุมเห็ดเทศเป็นประจำจะช่วยลดไขมันในเส้นเลือดได้ (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
ชาชุมเห็ดเทศใช้ชงกับน้ำดื่ม สามารถช่วยลดความดันโลหิตได้ (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ด้วยการใช้ใบสดหรือแห้งประมาณ 1 กำมือ นำมาต้มกับน้ำ 3 แก้ว เคี่ยวนาน 30 นาที ใช้แบ่งน้ำมาดื่มก่อนอาหารเช้าและเย็น หรือจะใช้ชงเป็นชาดื่มต่างน้ำวันละ 3 เวลาก่อนอาหาร เป็นระยะเวลา 3 สัปดาห์ เมื่อระดับน้ำตาลในเลือดลดเป็นปกติดีแล้วก็ให้ต้มใบยอดื่มอีก 3 สัปดาห์ ก็จะหายขาดจากโรคเบาหวาน (ใบ)
ช่วยแก้อาการนอนไม่หลับ (เมล็ด)
ช่วยแก้เส้นประสาทอักเสบ (ใบ)
ช่วยทำให้หัวใจเต้นเป็นปกติ (ใบ, ราก, ต้น)
เมล็ดช่วยแก้ตานซาง ถ่ายพิษตานซาง ด้วยการใช้เมล็ดแห้งประมาณ 3-5 กรัม นำมาบดเป็นผงผสมกับน้ำผึ้งรับประทานตอนท้องว่าง (เมล็ด ทั้งต้น)
ช่วยรักษาโรคตาเหลือง (ราก)
ช่วยแก้ดีซ่าน (ทั้งต้น)
ช่วยแก้กษัยเส้น (ใบ, ราก, ต้น)
ใบและดอกนำมาต้มกับน้ำรับประทานเป็นยาแก้หืด (ใบและดอก)
รากและทั้งต้นเป็นยาถ่ายเสมหะ (ราก, ทั้งต้น)
ใบมีกลิ่นฉุน นำมาต้มกับน้ำใช้เป็นยาอมบ้วนปาก
ใบและดอกนำมาต้มกับน้ำรับประทานเป็นยาขับเสมหะในรายที่หลอดลมอักเสบ (ใบและดอก)
ช่วยแก้อาการท้องขึ้น (อาการท้องอืดท้องเฟ้อเพราะลมในกระเพาะอาหารเฟ้อขึ้น) (เมล็ด)
เปลือกต้นเป็นยาสมานท้อง (เปลือกต้น)
ตำรายาไทยใช้ใบและดอกเป็นยาถ่าย ยาระบาย ช่วยแก้อาการท้องผูก ช่วยกระตุ้นทำให้ลำไส้ใหญ่บีบตัวได้ดีขึ้น (ใบอ่อนจะมีฤทธิ์มากกว่าใบแก่ และหากไม่นำใบมาคั่วเสียก่อนจะเกิดผลข้างเคียงได้ คืออาจมีอาการคลื่นไส้อาเจียน เมื่อคั่วจนร้อนแล้วจะทำให้สารที่มีฤทธิ์ทำให้มีอาการอาเจียนสลายไปได้) (ใบ, ดอก)
ใช้ใบสดหรือแห้งครั้งละ 12 ใบนำมาต้มกับน้ำพอสมควร ใช้ดื่มครั้งเดียวก่อนอาหารตอนเช้ามืดหรือช่วงก่อนนอน
ใช้ใบนำมาชงกับน้ำเดือด 120 มิลลิลิตรเป็นเวลา 10 นาที แล้วดื่มก่อนเข้านอน
ใช้ใบสด 12 ใบ ล้างน้ำให้สะอาด นำมาหั่นตากแห้งหรือปิ้งกับไฟให้เหลือง ก่อนนำมาต้มหรือชงกับน้ำดื่มครั้งละ 1 ถ้วยแก้ว เติมเกลือเล็กน้อยแล้วดื่มครั้งเดียวให้หมด
ใช้ใบแห้งบดเป็นผง ปั้นทำเป็นยาลูกกลอนขนาดเท่าปลายนิ้วก้อยรับประทานครั้งละ 3 เม็ด ก่อนนอนหรือเมื่อมีอาการท้องผูก
ใช้ดอกสด 1 ช่อ นำมาต้มกับน้ำกิน หรือจะใช้ช่อดอกประมาณ 1-3 ช่อ (แล้วแต่ธาตุหนักธาตุเบาของแต่ละคน) นำมาต้มหรือลวกรับประทานเป็นผักจิ้ม
ส่วนยาชงจากใบที่บรรจุในซองในขนาด 3 กรัมต่อซอง ให้ใช้ครั้งละ 1-2 ซอง นำมาชงกับน้ำเดือน 120 มิลลิลิตรต่อซอง นาน 10 นาที ใช้ดื่มวันละ 1 ครั้งก่อนนอน
ใช้เมล็ดนำมาคั่วให้เหลืองใช้ชงกับน้ำดื่มเป็นชา มีฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อน ๆ
นอกจากนี้เปลือกต้น ราก และผลก็มีสรรพคุณเป็นยาระบายท้องเช่นกัน (เปลือกต้น, ราก, ผล)ส่วนต้น ราก ใบ ดอก และเมล็ดใช้เป็นยารักษาอาการท้องผูก (ต้น, ราก, ใบ, ดอก, เมล็ด)
ช่วยสมานธาตุ รักษากระเพาะปัสสาวะอักเสบ (ใบ)
เมล็ดมีกลิ่นเหม็นเบื่อ รสเอียนเล็กน้อย ใช้เป็นยาขับพยาธิในลำไส้ ด้วยการใช้เมล็ดประมาณ 3-5 กรัมนำมาบดเป็นผงผสมกับน้ำผึ้งรับประทานตอนท้องว่าง (เมล็ด ต้น ทั้งต้น) ส่วนผลหรือฝักมีรสเอียนเบื่อ ใช้เป็นยาแก้พยาธิ ขับพยาธิตัวตืด พยาธิไส้เดือน (ผล) ส่วนใบสดใช้เป็นยาขับพยาธิตัวตืด ด้วยการใช้ใบสดประมาณ 1 กำมือ (ประมาณ 20 กรัม) นำมาต้มกับน้ำดื่ม หรือจะใช้น้ำคั้นจากใบผสมกับน้ำปูนใสก็เป็นยาขับพยาธิเช่นกัน (ใบ) ใช้ทั้งต้นอ่อนนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาขับพยาธิไส้เดือน หรือจะใช้น้ำคั้นจากทั้งต้นผสมกับกรดมะนาว (Citric acid) ดื่มก็ได้ ส่วนดอกและต้นก็เป็นยาขับพยาธิไส้เดือนได้เช่นกัน (ทั้งต้นอ่อน, ต้น, ดอก)
รากใช้เป็นยาเบื่อพยาธิ (ราก)
ต้น ราก ใบ หรือดอก ใช้ต้มกับน้ำดื่มแทนน้ำชาเป็นยาขับปัสสาวะ (ต้น, ราก, ใบ, ดอก)
ใช้เป็นยาแก้ปัสสาวะเหลือง (ราก)
ใบใช้เป็นยาแก้สังคัง ด้วยการใช้ใบสด 4-5 ใบนำมาตำรวมกับกระเทียม 4-5 กลีบ เติมปูนแดงเล็กน้อยแล้วนำมาใช้ทา หรือจะใช้ใบชุมเห็ดเทศ 3 ใบ หัวกระเทียม 3 หัว และเกลือตัวผู้ 3 เม็ด นำมาตำให้ละเอียดแล้วใช้ทาบริเวณที่เป็น (ใบ)
ช่วยรักษาริดสีดวงทวาร (ทั้งต้น)
รากใช้ต้มกินเป็นยารักษาตกมูกเลือด (ราก)
ยาต้มหรือยาชงจากใบชุมเห็ดเทศ ยาต้มเข้มข้นช่วยเร่งคลอดหรือทำให้แท้ง (ใบ)
ใช้รักษาโรคเริม (ใบ)
เปลือกและเนื้อไม้ช่วยขับน้ำเหลืองเสีย (เปลือกและเนื้อไม้)
ใบใช้ผสมกับน้ำปูนใส หรือน้ำมัน หรือเกลือ ใช้ตำพอกจากการถูกแมลงสัตว์กัดต่อย (ใบ)
เด็กชาวแอฟริกาที่ผิวหนังเป็นแผลจะใช้ใบนำมาตำผสมกับน้ำอาบและบางครั้งก็ใช้อาบเด็กแรกเกิด (ใบ)
ใบใช้เป็นยารักษาโรคผิวหนังต่าง ๆ รักษากลากเกลื้อน ผดผื่นคัน ผิวหนังอักเสบเป็นผื่นคัน หรือมีอาการคันบริเวณหนังศีรษะ โดยมีวิธีใช้อยู่หลายวิธีด้วยกัน เช่น (ใบ)
ให้นำใบมาต้มกับน้ำ แล้วใช้น้ำที่ต้มได้มาล้างผิวหนังบริเวณที่เป็น
ใช้ใบสดนำมาตำให้ละเอียดหรือขยี้ใช้ถูทาบริเวณที่เป็นนาน ๆ และบ่อย ๆ
ใช้ใบประมาณ 3-4 ใบนำมาตำให้ละเอียด เติมน้ำมะนาวเล็กน้อย แล้วนำมาใช้ทาวันละ 2-3 ครั้ง
ใช้ใบสดประมาณ 4-5 ใบนำมาตำรวมกับกระเทียม 4-5 กลีบ แล้วเติมปูนแดงเล็กน้อย ตำผสมกันแล้วนำมาทาบริเวณที่เป็นกลากหรือโรคผิวหนัง (ให้ขูดผิวบริเวณที่เป็นด้วยไม้ไผ่ที่ฆ่าเชื้อแล้วให้แดงก่อนทายา) โดยใช้ทาวันละ 3-4 ครั้ง จนกว่าจะหาย และเมื่อหายแล้วก็ให้ทาต่อไปอีก 1 สัปดาห์
ใช้ใบสดมาตำแช่กับเหล้า แล้วเอาส่วนของเหล้านำมาทาบริเวณที่เป็นวันละ 2-3 ครั้งจนกว่าจะหาย พบว่าได้ผลดีนัก แต่จะใช้ไม่ได้ผลกับผู้ป่วยที่ติดเชื้อราที่ผมและเล็บ
ใช้ใบผสมกับน้ำปูนใส หรือน้ำมัน หรือเกลือ ใช้ตำพอกรักษากลากหรือโรคผิวหนัง
ส่วนอีกวิธีให้นำใบมาตำหรือคั้นเอาแต่น้ำผสมกับน้ำปูนใสทาหรือผสมกับวาสลิน ทำเป็นยาขี้ผึ้งทา
หรือจะใช้ครีมสารสกัดจากใบชุมเห็ดเทศ 95% ด้วยเอทานอลความเข้มข้น 20% นำมาทาวันละ 2-3 ครั้ง หลังอาบน้ำเช้าและเย็น ติดต่อกันทุกวันเป็นเวลา 2-4 สัปดาห์
นอกจากนี้ในส่วนของต้น เปลือกต้น ราก ผล เมล็ด และทั้งต้นก็มีสรรพคุณเป็นยารักษาโรคผิวหนัง กลากเกลื้อนด้วยเช่นกัน (ต้น, เปลือกต้น, ราก, ผล, เมล็ด, ทั้งต้น)
ต้นใช้เป็นยารักษาคุดทะราด (ต้น)
ใบและรากใช้เป็นยาฆ่าพยาธิตามผิวหนัง (ใบ, ราก)
ทั้งต้นมีสรรพคุณเป็นยาแก้ฝี (ทั้งต้น)[4]
ใบชุมเห็ดเทศใช้ตำพอกเพื่อเร่งให้หัวฝีออกเร็วขึ้นได้ (ใบ)
ช่วยรักษาฝี แผลพุพอง ด้วยการใช้ใบรวมก้านสด 1 กำมือ นำมาต้มกับน้ำพอท่วมแล้วเคี่ยวให้เหลือ 1 ใน 3 นำมาใช้ชะล้างฝีที่แตกแล้วหรือแผลพุพอง วันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น แต่ถ้าบริเวณที่เป็นกว้างมากก็ให้ใช้ใบประมาณ 10-12 กำมือ นำมาต้มกับน้ำอาบเช้าเย็นจนกว่าจะหาย (ใบ)
ใช้เป็นยารักษาหิดและสิว (ราก ต้น, ดอก)
ชาวศรีลังกาและอินเดีย ใช้เป็นยาแก้งูกัด (ทั้งต้นอ่อน)
ช่วยแก้อาการฟกบวม (ทั้งต้น)
ใช้ดอก 1 ช่อนำมาต้มกับน้ำดื่มจะช่วยทำให้ผิวหนังดีมีสีมีใย (ดอก)
ข้อควรระวังในการใช้สมุนไพรชุมเห็ดเทศ
ไม่ควรใช้สมุนไพรชนิดนี้ติดต่อกันเป็นเวลานานในขนาดสูง เพราะจะทำให้สูญเสียน้ำและเกลือแร่มากเกินไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งโพแทสเซียม ซึ่งอาจทำให้เกิดความผิดปกติของลำไส้ และทำให้ไตอักเสบหรือมีอาการใจสั่นได้
ไม่ควรใช้สมุนไพรชนิดนี้เป็นยาระบายในสตรีมีครรภ์หรือให้นมบุตร เนื่องจากมีรายงานว่าสาร Rhein สามารถหลั่งออกมาทางน้ำนมได้ จึงไม่ควรใช้ยานี้ในขณะให้นมบุตร
การนำใบมาใช้เป็นยาระบาย แก้อาการท้องผูก หากไม่นำใบมาคั่วเสียก่อนจะเกิดผลข้างเคียงได้ คือ อาจมีอาการคลื่นไส้อาเจียน เมื่อคั่วจนร้อนแล้วจะทำให้สารที่มีฤทธิ์ที่ทำให้มีอาการอาเจียนสลายไป
ห้ามใช้สมุนไพรชนิดนี้กับผู้ป่วยที่มีภาวะทางเดินอาหารหรือลำไส้อุดตัน หรือมีอาการอักเสบของลำไส้อย่างเฉียบพลัน
ห้ามใช้ยาชงชุมเห็ดเทศกับเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 12 ปี
การรับประทานในขนาดสูงอาจทำให้ไตอักเสบได้
การใช้ชุมเห็ดเทศอาจทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ มีอาการปวดมวนท้อง มดลูกเกิดการบีบตัว อาหารไม่ย่อย หรืออาจมีอาการท้องเสียได้ หากมีอาการดังกล่าวควรลดขนาดใช้
ประโยชน์ของชุมเห็ดเทศ
ดอกสด ยอดอ่อน สามารถนำมาต้มหรือลวกรับประทานเป็นผักจิ้มได้ โดยยอดอ่อนจะมีรสชาติขม
การดื่มชาชงจากชุมเห็ดเทศเป็นประจำจะช่วยลดสิว ฝ้า กระ และทำให้ผิวพรรณผ่องใสได้
ชาวแอฟริกาจะปลูกต้นชุมเห็ดเทศไว้รอบ ๆ บ้าน เพื่อใช้ไล่มด
ในอินเดียและศรีลังกาจะใช้ทั้งต้นอ่อนเป็นยาเบื่อปลา
ต้นชุมเห็ดเทศมีดอกสวยและมีสีสัน ดูแลได้ง่าย สามารถนำมาใช้ปลูกเป็นฉากหลังทางเดินในสวน บริเวณศาลา หรือปลูกเป็นไม้ประดับสวนหรือตามริมน้ำได้
ในปัจจุบันได้มีผลิตภัณฑ์ที่ทำจากสมุนไพรชุมเห็ดเทศออกวางจำหน่ายในท้องตลาดหลากหลายรูปแบบ เช่น ชาชง ยาแคปซูล ยาระบายอัดเม็ด หรือในรูปแบบยาทาแก้กลากเกลื้อน แก้ไขข้อมูลเมื่อ 31 Dec 23 10:55
รากชุมเห็ดเทศใช้ผสมยาบำรุงธาตุ (ราก)
ใช้ใบชาชุมเห็ดเทศนำมาชงกับน้ำดื่มเป็นยาบำรุงหัวใจ (ใบ)
ช่วยทำให้เจริญอาหาร (ราก)
หากดื่มยาชงจากชุมเห็ดเทศเป็นประจำจะช่วยลดไขมันในเส้นเลือดได้ (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
ชาชุมเห็ดเทศใช้ชงกับน้ำดื่ม สามารถช่วยลดความดันโลหิตได้ (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ด้วยการใช้ใบสดหรือแห้งประมาณ 1 กำมือ นำมาต้มกับน้ำ 3 แก้ว เคี่ยวนาน 30 นาที ใช้แบ่งน้ำมาดื่มก่อนอาหารเช้าและเย็น หรือจะใช้ชงเป็นชาดื่มต่างน้ำวันละ 3 เวลาก่อนอาหาร เป็นระยะเวลา 3 สัปดาห์ เมื่อระดับน้ำตาลในเลือดลดเป็นปกติดีแล้วก็ให้ต้มใบยอดื่มอีก 3 สัปดาห์ ก็จะหายขาดจากโรคเบาหวาน (ใบ)
ช่วยแก้อาการนอนไม่หลับ (เมล็ด)
ช่วยแก้เส้นประสาทอักเสบ (ใบ)
ช่วยทำให้หัวใจเต้นเป็นปกติ (ใบ, ราก, ต้น)
เมล็ดช่วยแก้ตานซาง ถ่ายพิษตานซาง ด้วยการใช้เมล็ดแห้งประมาณ 3-5 กรัม นำมาบดเป็นผงผสมกับน้ำผึ้งรับประทานตอนท้องว่าง (เมล็ด ทั้งต้น)
ช่วยรักษาโรคตาเหลือง (ราก)
ช่วยแก้ดีซ่าน (ทั้งต้น)
ช่วยแก้กษัยเส้น (ใบ, ราก, ต้น)
ใบและดอกนำมาต้มกับน้ำรับประทานเป็นยาแก้หืด (ใบและดอก)
รากและทั้งต้นเป็นยาถ่ายเสมหะ (ราก, ทั้งต้น)
ใบมีกลิ่นฉุน นำมาต้มกับน้ำใช้เป็นยาอมบ้วนปาก
ใบและดอกนำมาต้มกับน้ำรับประทานเป็นยาขับเสมหะในรายที่หลอดลมอักเสบ (ใบและดอก)
ช่วยแก้อาการท้องขึ้น (อาการท้องอืดท้องเฟ้อเพราะลมในกระเพาะอาหารเฟ้อขึ้น) (เมล็ด)
เปลือกต้นเป็นยาสมานท้อง (เปลือกต้น)
ตำรายาไทยใช้ใบและดอกเป็นยาถ่าย ยาระบาย ช่วยแก้อาการท้องผูก ช่วยกระตุ้นทำให้ลำไส้ใหญ่บีบตัวได้ดีขึ้น (ใบอ่อนจะมีฤทธิ์มากกว่าใบแก่ และหากไม่นำใบมาคั่วเสียก่อนจะเกิดผลข้างเคียงได้ คืออาจมีอาการคลื่นไส้อาเจียน เมื่อคั่วจนร้อนแล้วจะทำให้สารที่มีฤทธิ์ทำให้มีอาการอาเจียนสลายไปได้) (ใบ, ดอก)
ใช้ใบสดหรือแห้งครั้งละ 12 ใบนำมาต้มกับน้ำพอสมควร ใช้ดื่มครั้งเดียวก่อนอาหารตอนเช้ามืดหรือช่วงก่อนนอน
ใช้ใบนำมาชงกับน้ำเดือด 120 มิลลิลิตรเป็นเวลา 10 นาที แล้วดื่มก่อนเข้านอน
ใช้ใบสด 12 ใบ ล้างน้ำให้สะอาด นำมาหั่นตากแห้งหรือปิ้งกับไฟให้เหลือง ก่อนนำมาต้มหรือชงกับน้ำดื่มครั้งละ 1 ถ้วยแก้ว เติมเกลือเล็กน้อยแล้วดื่มครั้งเดียวให้หมด
ใช้ใบแห้งบดเป็นผง ปั้นทำเป็นยาลูกกลอนขนาดเท่าปลายนิ้วก้อยรับประทานครั้งละ 3 เม็ด ก่อนนอนหรือเมื่อมีอาการท้องผูก
ใช้ดอกสด 1 ช่อ นำมาต้มกับน้ำกิน หรือจะใช้ช่อดอกประมาณ 1-3 ช่อ (แล้วแต่ธาตุหนักธาตุเบาของแต่ละคน) นำมาต้มหรือลวกรับประทานเป็นผักจิ้ม
ส่วนยาชงจากใบที่บรรจุในซองในขนาด 3 กรัมต่อซอง ให้ใช้ครั้งละ 1-2 ซอง นำมาชงกับน้ำเดือน 120 มิลลิลิตรต่อซอง นาน 10 นาที ใช้ดื่มวันละ 1 ครั้งก่อนนอน
ใช้เมล็ดนำมาคั่วให้เหลืองใช้ชงกับน้ำดื่มเป็นชา มีฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อน ๆ
นอกจากนี้เปลือกต้น ราก และผลก็มีสรรพคุณเป็นยาระบายท้องเช่นกัน (เปลือกต้น, ราก, ผล)ส่วนต้น ราก ใบ ดอก และเมล็ดใช้เป็นยารักษาอาการท้องผูก (ต้น, ราก, ใบ, ดอก, เมล็ด)
ช่วยสมานธาตุ รักษากระเพาะปัสสาวะอักเสบ (ใบ)
เมล็ดมีกลิ่นเหม็นเบื่อ รสเอียนเล็กน้อย ใช้เป็นยาขับพยาธิในลำไส้ ด้วยการใช้เมล็ดประมาณ 3-5 กรัมนำมาบดเป็นผงผสมกับน้ำผึ้งรับประทานตอนท้องว่าง (เมล็ด ต้น ทั้งต้น) ส่วนผลหรือฝักมีรสเอียนเบื่อ ใช้เป็นยาแก้พยาธิ ขับพยาธิตัวตืด พยาธิไส้เดือน (ผล) ส่วนใบสดใช้เป็นยาขับพยาธิตัวตืด ด้วยการใช้ใบสดประมาณ 1 กำมือ (ประมาณ 20 กรัม) นำมาต้มกับน้ำดื่ม หรือจะใช้น้ำคั้นจากใบผสมกับน้ำปูนใสก็เป็นยาขับพยาธิเช่นกัน (ใบ) ใช้ทั้งต้นอ่อนนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาขับพยาธิไส้เดือน หรือจะใช้น้ำคั้นจากทั้งต้นผสมกับกรดมะนาว (Citric acid) ดื่มก็ได้ ส่วนดอกและต้นก็เป็นยาขับพยาธิไส้เดือนได้เช่นกัน (ทั้งต้นอ่อน, ต้น, ดอก)
รากใช้เป็นยาเบื่อพยาธิ (ราก)
ต้น ราก ใบ หรือดอก ใช้ต้มกับน้ำดื่มแทนน้ำชาเป็นยาขับปัสสาวะ (ต้น, ราก, ใบ, ดอก)
ใช้เป็นยาแก้ปัสสาวะเหลือง (ราก)
ใบใช้เป็นยาแก้สังคัง ด้วยการใช้ใบสด 4-5 ใบนำมาตำรวมกับกระเทียม 4-5 กลีบ เติมปูนแดงเล็กน้อยแล้วนำมาใช้ทา หรือจะใช้ใบชุมเห็ดเทศ 3 ใบ หัวกระเทียม 3 หัว และเกลือตัวผู้ 3 เม็ด นำมาตำให้ละเอียดแล้วใช้ทาบริเวณที่เป็น (ใบ)
ช่วยรักษาริดสีดวงทวาร (ทั้งต้น)
รากใช้ต้มกินเป็นยารักษาตกมูกเลือด (ราก)
ยาต้มหรือยาชงจากใบชุมเห็ดเทศ ยาต้มเข้มข้นช่วยเร่งคลอดหรือทำให้แท้ง (ใบ)
ใช้รักษาโรคเริม (ใบ)
เปลือกและเนื้อไม้ช่วยขับน้ำเหลืองเสีย (เปลือกและเนื้อไม้)
ใบใช้ผสมกับน้ำปูนใส หรือน้ำมัน หรือเกลือ ใช้ตำพอกจากการถูกแมลงสัตว์กัดต่อย (ใบ)
เด็กชาวแอฟริกาที่ผิวหนังเป็นแผลจะใช้ใบนำมาตำผสมกับน้ำอาบและบางครั้งก็ใช้อาบเด็กแรกเกิด (ใบ)
ใบใช้เป็นยารักษาโรคผิวหนังต่าง ๆ รักษากลากเกลื้อน ผดผื่นคัน ผิวหนังอักเสบเป็นผื่นคัน หรือมีอาการคันบริเวณหนังศีรษะ โดยมีวิธีใช้อยู่หลายวิธีด้วยกัน เช่น (ใบ)
ให้นำใบมาต้มกับน้ำ แล้วใช้น้ำที่ต้มได้มาล้างผิวหนังบริเวณที่เป็น
ใช้ใบสดนำมาตำให้ละเอียดหรือขยี้ใช้ถูทาบริเวณที่เป็นนาน ๆ และบ่อย ๆ
ใช้ใบประมาณ 3-4 ใบนำมาตำให้ละเอียด เติมน้ำมะนาวเล็กน้อย แล้วนำมาใช้ทาวันละ 2-3 ครั้ง
ใช้ใบสดประมาณ 4-5 ใบนำมาตำรวมกับกระเทียม 4-5 กลีบ แล้วเติมปูนแดงเล็กน้อย ตำผสมกันแล้วนำมาทาบริเวณที่เป็นกลากหรือโรคผิวหนัง (ให้ขูดผิวบริเวณที่เป็นด้วยไม้ไผ่ที่ฆ่าเชื้อแล้วให้แดงก่อนทายา) โดยใช้ทาวันละ 3-4 ครั้ง จนกว่าจะหาย และเมื่อหายแล้วก็ให้ทาต่อไปอีก 1 สัปดาห์
ใช้ใบสดมาตำแช่กับเหล้า แล้วเอาส่วนของเหล้านำมาทาบริเวณที่เป็นวันละ 2-3 ครั้งจนกว่าจะหาย พบว่าได้ผลดีนัก แต่จะใช้ไม่ได้ผลกับผู้ป่วยที่ติดเชื้อราที่ผมและเล็บ
ใช้ใบผสมกับน้ำปูนใส หรือน้ำมัน หรือเกลือ ใช้ตำพอกรักษากลากหรือโรคผิวหนัง
ส่วนอีกวิธีให้นำใบมาตำหรือคั้นเอาแต่น้ำผสมกับน้ำปูนใสทาหรือผสมกับวาสลิน ทำเป็นยาขี้ผึ้งทา
หรือจะใช้ครีมสารสกัดจากใบชุมเห็ดเทศ 95% ด้วยเอทานอลความเข้มข้น 20% นำมาทาวันละ 2-3 ครั้ง หลังอาบน้ำเช้าและเย็น ติดต่อกันทุกวันเป็นเวลา 2-4 สัปดาห์
นอกจากนี้ในส่วนของต้น เปลือกต้น ราก ผล เมล็ด และทั้งต้นก็มีสรรพคุณเป็นยารักษาโรคผิวหนัง กลากเกลื้อนด้วยเช่นกัน (ต้น, เปลือกต้น, ราก, ผล, เมล็ด, ทั้งต้น)
ต้นใช้เป็นยารักษาคุดทะราด (ต้น)
ใบและรากใช้เป็นยาฆ่าพยาธิตามผิวหนัง (ใบ, ราก)
ทั้งต้นมีสรรพคุณเป็นยาแก้ฝี (ทั้งต้น)[4]
ใบชุมเห็ดเทศใช้ตำพอกเพื่อเร่งให้หัวฝีออกเร็วขึ้นได้ (ใบ)
ช่วยรักษาฝี แผลพุพอง ด้วยการใช้ใบรวมก้านสด 1 กำมือ นำมาต้มกับน้ำพอท่วมแล้วเคี่ยวให้เหลือ 1 ใน 3 นำมาใช้ชะล้างฝีที่แตกแล้วหรือแผลพุพอง วันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น แต่ถ้าบริเวณที่เป็นกว้างมากก็ให้ใช้ใบประมาณ 10-12 กำมือ นำมาต้มกับน้ำอาบเช้าเย็นจนกว่าจะหาย (ใบ)
ใช้เป็นยารักษาหิดและสิว (ราก ต้น, ดอก)
ชาวศรีลังกาและอินเดีย ใช้เป็นยาแก้งูกัด (ทั้งต้นอ่อน)
ช่วยแก้อาการฟกบวม (ทั้งต้น)
ใช้ดอก 1 ช่อนำมาต้มกับน้ำดื่มจะช่วยทำให้ผิวหนังดีมีสีมีใย (ดอก)
ข้อควรระวังในการใช้สมุนไพรชุมเห็ดเทศ
ไม่ควรใช้สมุนไพรชนิดนี้ติดต่อกันเป็นเวลานานในขนาดสูง เพราะจะทำให้สูญเสียน้ำและเกลือแร่มากเกินไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งโพแทสเซียม ซึ่งอาจทำให้เกิดความผิดปกติของลำไส้ และทำให้ไตอักเสบหรือมีอาการใจสั่นได้
ไม่ควรใช้สมุนไพรชนิดนี้เป็นยาระบายในสตรีมีครรภ์หรือให้นมบุตร เนื่องจากมีรายงานว่าสาร Rhein สามารถหลั่งออกมาทางน้ำนมได้ จึงไม่ควรใช้ยานี้ในขณะให้นมบุตร
การนำใบมาใช้เป็นยาระบาย แก้อาการท้องผูก หากไม่นำใบมาคั่วเสียก่อนจะเกิดผลข้างเคียงได้ คือ อาจมีอาการคลื่นไส้อาเจียน เมื่อคั่วจนร้อนแล้วจะทำให้สารที่มีฤทธิ์ที่ทำให้มีอาการอาเจียนสลายไป
ห้ามใช้สมุนไพรชนิดนี้กับผู้ป่วยที่มีภาวะทางเดินอาหารหรือลำไส้อุดตัน หรือมีอาการอักเสบของลำไส้อย่างเฉียบพลัน
ห้ามใช้ยาชงชุมเห็ดเทศกับเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 12 ปี
การรับประทานในขนาดสูงอาจทำให้ไตอักเสบได้
การใช้ชุมเห็ดเทศอาจทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ มีอาการปวดมวนท้อง มดลูกเกิดการบีบตัว อาหารไม่ย่อย หรืออาจมีอาการท้องเสียได้ หากมีอาการดังกล่าวควรลดขนาดใช้
ประโยชน์ของชุมเห็ดเทศ
ดอกสด ยอดอ่อน สามารถนำมาต้มหรือลวกรับประทานเป็นผักจิ้มได้ โดยยอดอ่อนจะมีรสชาติขม
การดื่มชาชงจากชุมเห็ดเทศเป็นประจำจะช่วยลดสิว ฝ้า กระ และทำให้ผิวพรรณผ่องใสได้
ชาวแอฟริกาจะปลูกต้นชุมเห็ดเทศไว้รอบ ๆ บ้าน เพื่อใช้ไล่มด
ในอินเดียและศรีลังกาจะใช้ทั้งต้นอ่อนเป็นยาเบื่อปลา
ต้นชุมเห็ดเทศมีดอกสวยและมีสีสัน ดูแลได้ง่าย สามารถนำมาใช้ปลูกเป็นฉากหลังทางเดินในสวน บริเวณศาลา หรือปลูกเป็นไม้ประดับสวนหรือตามริมน้ำได้
ในปัจจุบันได้มีผลิตภัณฑ์ที่ทำจากสมุนไพรชุมเห็ดเทศออกวางจำหน่ายในท้องตลาดหลากหลายรูปแบบ เช่น ชาชง ยาแคปซูล ยาระบายอัดเม็ด หรือในรูปแบบยาทาแก้กลากเกลื้อน แก้ไขข้อมูลเมื่อ 31 Dec 23 10:55
คำสำคัญ:
ชุมเห็ดเทศ
ชุมเห็ดเทศ