ค้นหาสินค้า

ลำโพงกาสะลัก ขายเมล็ดพันธุ์/ต้นกล้า/ใบสด

ร้าน เมล็ดพันธุ์ดี เกษตรวิถีไทย
ชื่อสินค้า:

ลำโพงกาสะลัก ขายเมล็ดพันธุ์/ต้นกล้า/ใบสด

รหัส:
381248
ราคา:
5.00 บาท /1ใบ
ติดต่อ:
คุณอังศรา ไพฑูรย์
ที่อยู่ร้าน:
อ.เมืองระยอง จ.ระยอง
ร้านนี้ยังไม่มีการแจ้งเลขทะเบียนพานิชย์ เปิดร้านมาแล้ว 7 ปี 8 เดือน
ไอดีไลน์:
โทรศัพท์:
ปุ่มติดต่อ:
แบรนด์:
เมล็ดพันธุ์ดีเกษตรวิถีไทย
คำเตือน: โปรดตรวจสอบความน่าเชื่อถือของร้าน เพื่อหลีกเลี่ยงการทุจริต การขอชำระเงินปลายทางเมื่อรับสินค้าถือเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ดี
ภาพทั้งหมดของสินค้านี้
รายละเอียด
ขายเมล็ด #ต้นลำโพงกาสะลัก 1ขุด50บาทบรรจุ100เมล็ด ใบสด20ใบ100บาท ใบแห้ง1ขีด100บาทต้นกล้าขายต้นลั 50ถึง150บาทตามขนาดความสูงสนใจแจ้งจำนวนที่ต้องการและแจ้งที่อยู่จัดส่งได้เลยส่งเคอรี่เก็บปลายทางโทร0876069955ไอดีไลน์aungsara09. #สรรพคุณของลำโพง
เมล็ดนำมาคั่วพอหมดน้ำมัน ใช้ปรุงเป็นยากินบำรุงประสาท (เมล็ด)
บางตำราระบุว่าใช้รากเป็นยาแก้วิกลจริต บ้างว่าน้ำต้มจากใบ ราก และเมล็ด ใช้กินเป็นยาแก้อาการคุ้มคลั่งและเป็นยาลดไข้ (ราก)
เปลือกผลมีสรรพคุณเป็นยาแก้กษัย (เปลือกผล)
ใช้ต้นรากลำโพงผสมกับยามหานิลเทียนทอง เป็นยาแก้โรคซางเด็ก (ต้นและราก)
ใบมีสรรพคุณช่วยทำให้ผู้ที่เป็นหืดหายใจได้สะดวกยิ่งขึ้น (ใบ)
น้ำคั้นจากต้นเมื่อนำมาใช้หยอดตาจะทำให้ม่านตาขยาย เช่นเดียวกับการหยอดตา (ต้น)
ดอกนำมาหั่นตากแห้งผสมกับยาฉุนสูบแก้อาการหอบหืด แก้การตีบตัวของหลอดลม โดยให้ใช้สูบตอนที่มีอาการหอบหืดกำเริบ ให้สูบจนกว่าอาการจะหายไป วิธีนี้เด็กไม่ควรใช้ และไม่ควรสูบมากจนเกินไป เพราะอาจจะทำให้ได้รับพิษได้ (ดอก) ส่วนใบก็มีสรรพคุณเป็นยาแก้หอบหืดเช่นกัน เพราะช่วยขยายหลอดลม (ใบ)บ้างก็ว่าใช้ต้นลำโพงทั้งต้นนำมาตากแห้งหั่นสูบแก้โรคหืด (ทั้งต้น)
ดอกนำมาหั่นตากแดดให้แห้ง ใช้มวนสูบแก้ริดสีดวงจมูก (ดอก)
เมล็ดไปคั่วให้น้ำมันในเมล็ดออก ใช้เป็นยาถอนพิษไข้ แก้ไข้พิษ แก้ไข้กระสับกระส่าย (เมล็ด) ส่วนผลมีสรรพคุณเป็นยาแก้พิษไข้ แก้ไข้ที่ทำให้กระสับกระส่าย (ผล)
ถ่านจากรากมีรสเย็น สรรพคุณเป็นยาแก้ไข้พิษ เซื่องซึม และแก้ไข้กาฬ (ถ่านจากราก)
ช่วยแก้อาการสะอึกในไข้กาฬ (ใบ)
รากใช้ฝนทาแก้พิษร้อน ดับพิษร้อน (ราก)
เมล็ดมีสรรพคุณช่วยแก้อาการปวดฟัน (เมล็ด)
น้ำจากใบสดใช้หยอดหู แก้อาการปวดหู (ใบ)
เมล็ดลำโพงนำมาตำให้เป็นผงผสมกับน้ำมันงา ใช้หยอดหูน้ำหนวก (เมล็ด)
ใบมีฤทธิ์กดสมอง มีสรรพคุณแก้อาเจียนจากการเมารถเมาเรือ (ใบ)
ใบใช้เป็นยาทาเต้านมของสตรีลูกอ่อนที่ให้นมบุตร เพื่อช่วยแก้อาการอักเสบของเต้านม (ใบ)
ช่วยขับลมชื้น ให้ใช้ดอกลำโพงมาดองกับเหล้า 500 ซีซี เป็นเวลา 2 สัปดาห์ แล้วนำมารับประทานครั้งละ 1 ถ้วยชาจีน วันละ 2 ครั้ง (ดอก)
ช่วยแก้อาการปวดกระเพาะ (เมล็ด)
ช่วยแก้อาการปวดเกร็งท้อง (ใบ)
ช่วยแก้ริดสีดวง (เปลือกผล)
ใบใช้เป็นยาพอกแก้แผลเรื้อรัง แผลฝี แผลไหม้ (ใบ)
เปลือกผลมีรสเมาเบื่อ สรรพคุณช่วยแก้มะเร็ง คุดทะราด (เปลือกผล)
ช่วยแก้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย (ใบ)
เมล็ดมีสรรพคุณช่วยแก้โรคผิวหนัง (เมล็ด)
น้ำมันจากเมล็ดมีฤทธิ์ช่วยฆ่าเชื้อโรค เชื้อโรคที่ตัว แก้กลากเกลื้อน หิด เหา (น้ำมันจากเมล็ด)ส่วนเมล็ดนำมาหุงทำน้ำมันใส่แผล แก้กลากเกลื้อนผื่นคันได้ (เมล็ด)
ใบมีรสเบื่อเมา ใช้เป็นยาตำพอกรักษากลากเกลื้อน และฝี ทำให้ฝียุบ (ใบ)
รากมีรสเมาหวานเล็กน้อย มีสรรพคุณแก้ฝีกาฬทั้งปวง (ราก)
ใบใช้ตำพอกแก้ปวดบวมอักเสบ แก้ปวดบวมที่แผล (ใบ) ส่วนรากก็มีสรรพคุณแก้ปวดบวมอักเสบเช่นกัน (ราก)[5] ช่วยรักษาไขข้ออักเสบ และมีฤทธิ์คลายกล้ามเนื้อเรียบ (ใบ)
ใช้เมล็ดประมาณ 30 กรัม นำมาทุบให้พอกแหลก แล้วแช่กับน้ำมันพืชไว้ประมาณ 7 วัน (เช่น น้ำมันมะพร้าว หรือน้ำมันงา ฯลฯ หรือนำมาดองกับเหล้าก็ได้) ใช้ทาบริเวณที่มีอาการปวดเมื่อยหรือขัดยอก จะช่วยบรรเทาอาการปวดลงได้ แต่ถ้านำมาใช้ใส่ฟันที่เป็นรูจะช่วยบรรเทาอาการปวดได้ (เมล็ด)[1] ส่วนอีกวิธีให้ใช้ดอกลำโพงมาดองกับเหล้า 500 ซีซี เป็นเวลา 2 สัปดาห์ แล้วนำมารับประทานครั้งละ 1 ถ้วยชาจีน วันละ 2 ครั้ง จะช่วยแก้อาการปวดเมื่อยได้ (ดอก)
เมล็ดใช้เป็นยาชา (เมล็ด)
บางตำรายังระบุว่า รากลำโพงใช้แก้หมาบ้ากัดได้ (ราก)
เมล็ดมีสรรพคุณเป็นยาแก้ปวด แก้ชัก แก้เหน็บชาเนื่องจากลมชื้น และช่วยขับลม ส่วนเมล็ดที่นำไปคั่วให้น้ำมันในเมล็ดออก ใช้เป็นยาแก้ปวดข้อ ขาบวม ปวดบวม แก้พิษฝี ส่วนมากใช้เป็นยาภายนอก (เมล็ด)
ทั้งต้นหรือทุกส่วนของลำต้นมีฤทธิ์เป็นยาเสพติด ช่วยระงับความเจ็บปวด และแก้อาการเกร็ง ใช้มากจะทำให้เกิดการเสพติด (ทั้งต้น)
หมายเหตุ : วิธีใช้ตาม เมล็ดให้ใช้ครั้งละ 0.34-0.5 กรัม นำมาต้มกับน้ำรับประทานหรือใช้ชงกับน้ำรับประทาน หรือจะบดเป็นผงรับประทานครั้งละ 0.1-0.2 กรัม หากใช้ภายนอกให้ใช้น้ำตมล้างแผล หรือใช้บดเป็นผงโรยใส่แผลตามต้องการ ส่วนดอกและใบตากแห้ง นำมาใช้ทำเป็นยาสูบ แก้หอบหืด
หมายเหตุ : ลำโพงยังมีอีกหลายชนิดที่พบได้ในประเทศไทย เช่น ลำโพงกาสลัก (Datura Fastuosa L.) จะมีลักษณะของต้นคล้ายกับต้นลำโพงขาว แต่จะมีกิ่งก้านเป็นสีม่วงหรือสีม่วงอมแดง และดอกเป็นสีม่วง ปลายกลีบซ้อนกันหลายชั้น, ลำที่พบในประเทศจีน (Datura inermis Jasq.) ทั้งต้นมีขนปกคลุม มีดอกสีขาวขนาดใหญ่ ผลกลมเรียบไม่มีหนาม, ลำโพงยุโรป (Datura stramonium L.) ชนิดนี้มีดอกสีขาว ผลมีหนามแข็งปกคลุม ปลายผลแหลมเล็กน้อย เป็นต้น โดยลำโพงหลายชนิดที่กล่าวมาจะมีสรรพคุณทางยาที่ใกล้เคียงกันกับลำโพงขาว และสามารถนำมาใช้แทนกันได้
ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของลำโพง
ทั้งต้นพบสารอัลคาลอยด์ (Alkaloids) โดยจะพบจากดอกมากที่สุด ซึ่งมีหลายชนิด เช่น Hyoscine-Lsopolamine, Hyocyamine เป็นต้น
ใบและยอดลำโพงมีสารอัลคาลอยด์ Hyoscine และ Hyocyamine ซึ่งมีฤทธิ์คลายกล้ามเนื้อเรียบ ใช้แก้อาการปวดท้องเกร็ง แก้หอบหืด และช่วยขยายหลอดลม
สารอัลคาลอยด์ Hyoscine มีฤทธิ์กดสมองหรือกดประสาทส่วนกลาง ทำให้ประสาทสงบ ทำให้จิตใจสงบ ทำให้ง่วงนอน และนอนหลับได้ยาวขึ้น แต่ถ้าได้รับในปริมาณที่มากจนเกินไปจะทำให้เกิดภาพหลอน พูดจาเพ้อ มีอาการคุ้มคลั่งคล้ายกับได้รับยาทะโทรปีน (Atropine) และทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น มีการหายใจแรงขึ้น[3] Hyoscine สามารถใช้ควบคุมอาการอาเจียนจากการเมารถได้
จากการทดลองกับสัตว์พบว่าลำโพงมีฤทธิ์คล้ายยาชา และสามารถระงับความเจ็บปวดได้
สารอัลคาลอยด์ Hyoscine และ Hyocyamine มีอาการข้างเคียงคือ ทำให้ปากและคอแห้ง
จากการทดสอบความเป็นพิษ พบว่า หากร่างกายได้รับสารรวมจากลำโพง จะถูกตับและไตดูดซึมอย่างรวดเร็ว ถ้าได้รับพิษแล้วมีอาการชัก ตาเหลือก หายใจช้าลง หัวใจเต้นเร็วขึ้น และทำให้หัวใจวายได้ ซึ่งจากการทดลองกับหนูทดลองในปริมาณ 80 มิลลิกรัมต่อหนึ่งกิโลกรัม ก็สามารถทำให้หนูตายได้
ประโยชน์ของลำโพง
ใบใช้มวนสูบเป็นบุหรี่ได้ แต่ต้องระมัดระวังในการใช้ อย่าใช้จนเกินขนาด โดยไม่ควรใช้เกินกว่า 1 กรัม มิฉะนั้นอาจทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้ เช่น มีอาการคลื่นไส้ เวียนศีรษะในขณะที่สูบ หากมีอาการดังกล่าวควรเลิกใช้ทันที หรือมักจะมีอารมณ์เคลิ้ม เกิดความคิดสับสน และต้องใช้เวลาหลายวันกว่าจะกลับคืนมาได้
ข้อควรระวังในการใช้สมุนไพรลำโพง
สตรีมีครรภ์ห้ามรับประทานสมุนไพรชนิดนี้
ผู้ที่มีร่างกายอ่อนแอ เป็นโรคตาบอดตาใส เป็นหวัดไอร้อน และเป็นโรคเกี่ยวกับตับและไต ห้ามรับประทานสมุนไพรชนิดนี้เช่นกัน
แม้แพทย์แผนโบราณของไทยจะใช้ลำโพงเพื่อรักษาโรคได้มากมาย แต่ก็มีคำเตือนว่าควรระวังเป็นอย่างยิ่งถึงการใช้เมล็ด เพราะเชื่อว่ามีพิษทางเมาเบื่ออย่างรุนแรง อาจทำให้เป็นบ้าหรือถึงตายได้ ด้วยเหตุนี้ต้นลำโพงจึงมีอีกชื่อเรียกหนึ่งว่า "มะเขือบ้า" (ส่วนคำว่ามะเขือคงมาจากลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของต้นลำโพงที่คล้ายกับต้นมะเขือพวง) ซึ่งสอดคล้องกับคนไทยในอดีตจะเรียกคนบ้าบางจำพวกว่า "บ้าลำโพง" เพราะเชื่อว่าเกิดจากการสูบหรือกินลำโพงเข้าไปนั่นเอง
หากได้รับสารพิษเข้าไปจะทำให้เกิดอาการอ่อนเพลียและหลับไป 4-8 ชั่วโมง ถ้ามีจำนวนมากจะทำให้เกิดอาการเพ้อฝัน ตื่นเต้น ตาแข็ง หายใจไม่สวก พูดไม่ออก เมื่อแก้พิษจนแล้ว อาจมีอาการวิกลจริตตลอดไป รักษาไม่หาย บางท่านบอกว่าเมล็ดดิบ 1-3 เมล็ด กินแล้วจะทำให้ความจำดี แต่ปรากฏว่าเมื่อกินเข้าไปแล้วก็ทำให้เกิดพิษ มีอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่ออก จึงกินยาแก้พิษ ทำให้อาการเป็นพิษหายไป แต่อาการทางประสาทยังอยู่ รักษาไม่หาย ดังนั้นจึงไม่ควรเสี่ยง
พิษของลำโพง
สารออกฤทธิ์หรือสารพิษที่พบมากในเมล็ดและใบ (พบได้ทุกส่วน แต่มีมากในเมล็ด) คือ สารในกลุ่มโทรเพน อัลคาลอยด์ (Tropane alkaloids) ได้แก่ ไฮออสซีน (Hyoscine), ไฮออสไซอะมีน (Hyoscyamine), และสโคโพลามีน (Scopolamine) ซึ่งสารพิษในต้นลำโพงจะไม่สามารถถูกทำลายได้ด้วยความร้อน
อาการเป็นพิษที่พบ ถ้ากินเมล็ดและใบลำโพงเข้าไปจะแสดงอาการภายในเวลา 5-10 นาที ซึ่งอาการที่พบก็คือ ปากและคอแห้ง กระหายน้ำอย่างรุนแรง น้ำลายแห้งทำให้กลืนน้ำลายลำบากและทำให้พูดไม่ชัด มีอาการปวดศีรษะ มีไข้ร่วมกับอาการปวดศีรษะ ผู้ป่วยจะรู้สึกสับสน มึนงง ตื่นเต้น มีอาการประสาทหลอนทั้งหูและตา และอาจมีพฤติกรรมคล้ายโรคจิต ทำให้เพ้อฝัน ตาแข็ง ตาพร่า ม่านตาขยาย สู้แสงไม่ได้ ตัวร้อน ผิวหนังร้อนแดงและแห้ง กล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกัน หายใจช้าและขัด ผิวหนังเป็นสีคล้ำเพราะขาดออกซิเจน ในเด็กบางคนอาจมีอาการชัก ชีพจรเต้นเร็วและอ่อน นอกจากนี้ยังมีอาการปัสสาวะคั่ง ท้องผูก รายที่รุนแรงจะหมดสติและโคม่า
แพะเป็นสัตว์ที่มีน้ำย่อยพิเศษ เมื่อกินต้นลำโพงเข้าไปแล้วจึงไม่มีอันตรายใด
ตัวอย่างผู้ป่วยที่ได้รับพิษลำโพง
มีรายงานความเป็นพิษในผู้ใหญ่ที่รับประทานต้นและผลสดของลำโพงขาว
เด็กอายุประมาณ 10-12 ปี ได้รับประทานดอกลำโพงขาว ทำให้เด็กมีอาการปากแห้ง ม่านตาขยาย มีไข้ และผิวหน้าร้อนแดง
ชาย 4 คน ได้ดื่มชาสมุนไพรที่มีส่วนผสมของเมล็ดลำโพงขาว พร้อมกับได้สูบดอกแห้งของลำโพงขาว พบว่าทั้ง 4 ราย มีอาการเป็นพิษที่คล้ายกับอาการพิษที่ได้รับจากสารอะโทรปีน (Atropine) ผู้ป่วยมีอาการทางประสาทเป็นหลัก คือ มีอาการกระสับกระส่าย เพ้อ ประสาทหลอน เดินเซ ม่านตาขยาย มีอาการคั่งของปัสสาวะ และยังพบอาการอื่น ๆ อีกเช่น ปากแห้ง กระหายน้ำ มีไข้ และหัวใจเต้นแรง แก้ไขข้อมูลเมื่อ 18 Dec 23 12:24