ชื่อสินค้า:
ต้นแก้งขี้พระร่วง
รหัส:
380136
ประเภท:
ราคา:
800.00 บาท
/ต้น
ติดต่อ:
คุณปุณณภา งานสำเร็จ
ที่อยู่ร้าน:
อ.เมืองนครราชสีมา จ.นครราชสีมา
ร้านนี้ยังไม่มีการแจ้งเลขทะเบียนพานิชย์
เปิดร้านมาแล้ว 14 ปี 3 เดือน
ไอดีไลน์:
โทรศัพท์:
คำเตือน: โปรดตรวจสอบความน่าเชื่อถือของร้าน เพื่อหลีกเลี่ยงการทุจริต การขอชำระเงินปลายทางเมื่อรับสินค้าถือเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ดี
รายละเอียด
ขาย ต้นแก้งขี้พระร่วง ไม้ชื่อแปลก หายาก
ชื่อวิทยาศาสตร์ Celtis timorensis Span.
วงศ์ ULMACEAE
ชื่ออื่น กล้วย (จันทบุรี) ขี้พระร่วง มันปลาไหล (นครราชสีมา) เช็ดก้นพระเจ้า (น่าน) เช็ดขี้พระเจ้า (เชียงใหม่) ตะคาย มะหาดน้ำ เยื้อง หม่อนดง ตายไม่ทันเฒ่า (ภาคใต้)
ลักษณะ
ไม้แก้งขี้พระร่วง ( Celtis timorensis Span.) บางที่ก็เรียกเพียง ขี้พระร่วง บางที่หนักไปกว่านั้น เรียก เช็ดก้นพระเจ้า หรือ เช็ดขี้พระเจ้า แม้ชื่อสามัญของไม้นี้ในภาษาอังกฤษก็ยังเรียก Stinkwood อันแปลว่าไม้กลิ่นเหม็น เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ กระจายพันธุ์ในเขตร้อนของเอเชีย พอโตเต็มที่จะสูงราวบ้านสองชั้น เปลือกต้นเรียบ สีเทา กิ่งอ่อน ก้านใบและช่อดอกมีขนนุ่มสั้นคลุม ใบเดี่ยว รูปรีหรือรูปไข่ กว้างยาวราวฝ่ามือเด็ก ปลายใบเรียวแหลม โคนใบเบี้ยว มน ถึงสอบกว้าง มีเส้นใบที่ดูคล้ายใบอบเชย ต่างกันตรงที่ขอบใบของอบเชยเรียบ แต่ขอบใบของไม้แก้งขี้พระร่วง มีทั้งเรียบและหยักแบบฟันเลื่อย ผิวใบเกลี้ยง ดอกมีขนาดเล็ก ออกเป็นช่อตามซอกใบ ผลสุกมีสีแดง กลมยาว แบบปลายนิ้วมือ
เนิ้อไม้มีกลิ่นเหม็นมากๆยิ่งเปียกน้ำ ยิ่งส่งกลิ่นเหม็นเพิ่มมากขึ้น และถ้าเอาไปเผาไฟยิ่งเหม็น
แก้งขี้พระร่วงมีการกระจายพันธุ์ในป่าเบญจพรรณและป่าดิบทางภาคเหนือ ภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ ที่ความสูงจากระดับทะเลปานกลาง 150–600 ม. ในต่างประเทศพบที่ศรีลังกา บังคลาเทศ พม่า ลาว กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์
ตำนานของไม้แก้งขี้พระร่วง
ครั้งหนึ่งพระร่วงประพาสป่าเสด็จไปลงพระบังคน เสร็จแล้วทรงหยิบไม้ใกล้ ๆ พระองค์มาชำระแล้วโยนทิ้งไป ไม้นั้นก็เกิดเป็นต้น มีพรรณแพร่หลายมาจนทุกวันนี้
สรรพคุณ
แต่มักนำมาปรุงเป็นยาขับพยาธิไส้เดือนในเด็ก
พ่อหมอพื้นบ้านมักใช้แก้งขี้พระร่วงเป็นไม้ไล่ปอบ ให้เหตุผลว่าคนยังเหม็น ปอบมันก็ไม่ทนดมกลิ่นเหมือนกัน แก้ไขข้อมูลเมื่อ 18 Oct 23 11:40
ชื่อวิทยาศาสตร์ Celtis timorensis Span.
วงศ์ ULMACEAE
ชื่ออื่น กล้วย (จันทบุรี) ขี้พระร่วง มันปลาไหล (นครราชสีมา) เช็ดก้นพระเจ้า (น่าน) เช็ดขี้พระเจ้า (เชียงใหม่) ตะคาย มะหาดน้ำ เยื้อง หม่อนดง ตายไม่ทันเฒ่า (ภาคใต้)
ลักษณะ
ไม้แก้งขี้พระร่วง ( Celtis timorensis Span.) บางที่ก็เรียกเพียง ขี้พระร่วง บางที่หนักไปกว่านั้น เรียก เช็ดก้นพระเจ้า หรือ เช็ดขี้พระเจ้า แม้ชื่อสามัญของไม้นี้ในภาษาอังกฤษก็ยังเรียก Stinkwood อันแปลว่าไม้กลิ่นเหม็น เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ กระจายพันธุ์ในเขตร้อนของเอเชีย พอโตเต็มที่จะสูงราวบ้านสองชั้น เปลือกต้นเรียบ สีเทา กิ่งอ่อน ก้านใบและช่อดอกมีขนนุ่มสั้นคลุม ใบเดี่ยว รูปรีหรือรูปไข่ กว้างยาวราวฝ่ามือเด็ก ปลายใบเรียวแหลม โคนใบเบี้ยว มน ถึงสอบกว้าง มีเส้นใบที่ดูคล้ายใบอบเชย ต่างกันตรงที่ขอบใบของอบเชยเรียบ แต่ขอบใบของไม้แก้งขี้พระร่วง มีทั้งเรียบและหยักแบบฟันเลื่อย ผิวใบเกลี้ยง ดอกมีขนาดเล็ก ออกเป็นช่อตามซอกใบ ผลสุกมีสีแดง กลมยาว แบบปลายนิ้วมือ
เนิ้อไม้มีกลิ่นเหม็นมากๆยิ่งเปียกน้ำ ยิ่งส่งกลิ่นเหม็นเพิ่มมากขึ้น และถ้าเอาไปเผาไฟยิ่งเหม็น
แก้งขี้พระร่วงมีการกระจายพันธุ์ในป่าเบญจพรรณและป่าดิบทางภาคเหนือ ภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ ที่ความสูงจากระดับทะเลปานกลาง 150–600 ม. ในต่างประเทศพบที่ศรีลังกา บังคลาเทศ พม่า ลาว กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์
ตำนานของไม้แก้งขี้พระร่วง
ครั้งหนึ่งพระร่วงประพาสป่าเสด็จไปลงพระบังคน เสร็จแล้วทรงหยิบไม้ใกล้ ๆ พระองค์มาชำระแล้วโยนทิ้งไป ไม้นั้นก็เกิดเป็นต้น มีพรรณแพร่หลายมาจนทุกวันนี้
สรรพคุณ
แต่มักนำมาปรุงเป็นยาขับพยาธิไส้เดือนในเด็ก
พ่อหมอพื้นบ้านมักใช้แก้งขี้พระร่วงเป็นไม้ไล่ปอบ ให้เหตุผลว่าคนยังเหม็น ปอบมันก็ไม่ทนดมกลิ่นเหมือนกัน แก้ไขข้อมูลเมื่อ 18 Oct 23 11:40
คำสำคัญ:
พันธุ์ไม้หายาก
ไม้หายาก