ค้นหาสินค้า

ต้นกระโดนป่า

ร้าน วรากรสมุนไพร
ชื่อสินค้า:

ต้นกระโดนป่า

รหัส:
378377
ราคา:
200.00 บาท /ต้น
ติดต่อ:
คุณปุณณภา งานสำเร็จ
ที่อยู่ร้าน:
อ.เมืองนครราชสีมา จ.นครราชสีมา
ร้านนี้ยังไม่มีการแจ้งเลขทะเบียนพานิชย์ เปิดร้านมาแล้ว 14 ปี 2 เดือน
ไอดีไลน์:
โทรศัพท์:
ปุ่มติดต่อ:
ค่าขนส่ง:
60 บาท
คำเตือน: โปรดตรวจสอบความน่าเชื่อถือของร้าน เพื่อหลีกเลี่ยงการทุจริต การขอชำระเงินปลายทางเมื่อรับสินค้าถือเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ดี
รายละเอียด
ต้นกระโดน
กระโดน
ชื่ออื่น กระโดนโคก กระโดนบก ปุย (ใต้ เหนือ) ปุยกระโดน (ใต้); ปุยขาว ผ้าฮาด (เหนือ); หูกวาง (จันทบุรี); ต้นจิก (ภาคกลาง) พุย (เชียงใหม่) ขุย กะนอน
ชื่อวิทยาศาสตร์ Careya sphaerica Roxb.
วงศ์ Lecythidaceae
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้ยืนต้น ขนาดกลาง ผลัดใบ สูง 10-20 เมตร เปลือกต้นสีดำ หรือสีน้ำตาลดำหนา แตกล่อนเป็นแผ่น มีกิ่งก้านสาขามาก เนื้อไม้สีแดงเข้มถึงสีน้ำตาลแกมแดง เรือนยอดเป็นพุ่มกลม แน่นทึบ เปลือกหนา แตกล่อน ใบเดี่ยว เรียงสลับเวียนเป็นกลุ่มตามปลายกิ่ง รูปไข่กลับ กว้าง15-25 เซนติเมตร ยาว 30-35 เซนติเมตร ปลายใบมน มีติ่งแหลมยื่น ฐานใบสอบเรียว ขอบใบหยักเล็กน้อยตลอดทั้งขอบใบ ผิวใบทั้งสองด้านเกลี้ยง เนื้อใบหนา ค่อนข้างนิ่ม ก้านใบอวบ ยาว 2-3 เซนติเมตร หน้าแล้งใบแก่ท้องใบเป็นสีแดง แล้วทิ้งใบเมื่อออกใบอ่อน ยอดอ่อนเป็นสีน้ำตาลแดง เส้นแขนงใบข้างละ 8-15 เส้น เส้นใบย่อยแบบร่างแห ชัดเจนทางด้านล่าง ก้านใบยาว 1.5-4 เซนติเมตร เกลี้ยง ใบก่อนร่วงมีสีแดง ดอกขนาดใหญ่ ช่อแบบกระจะ สั้นมาก มี 2-6 ดอก ออกตามปลายกิ่งที่ไม่มีใบ ดอกลักษณะคล้ายเป็นดอกเดี่ยว กลีบดอก 4 กลีบ รูปขอบขนาน แยกกัน ปลายกลีบ และขอบกลีบสีเขียวอ่อนโคนกลีบสีชมพู กลีบดอกยาวประมาณ 1-5 นิ้ว โคนกลีบดอกเชื่อมกันเป็นรูประฆัง ร่วงง่าย ดอกบานกลางคืน และมักร่วงตอนเช้า ใบประดับกลม หรือรี 3 ใบ กลีบเลี้ยง 4 กลีบ แยกกัน ยาว 8-10 มิลลิเมตร สีเขียวอ่อน หนา ค่อนข้างมน เกสรเพศผู้มีจำนวนมาก ยาว 4-5 เซนติเมตร สีขาว ก้านเกสรยาวเรียงตัวกันแน่นเป็นพู่ โคนก้านเกสรเชื่อมติดกันเป็นวงสีแดงอ่อน เกสรที่สมบูรณ์อยู่ข้างใน จานฐานดอกรูปวงแหวน ขอบนูนขึ้น เกสรเพศเมียมีรังไข่ใต้วงกลีบ รูปกระสวยกลับ มี 4 ช่อง แต่ละช่องมีออวุลจำนวนมาก เกสรเพศเมียติดคงทน ก้านเกสรเพศเมียยาว 4-6 เซนติเมตร ผลรูปกลม หรือรูปไข่ มีเนื้อ สีเขียว ค่อนข้างแข็ง กว้างประมาณ 5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 6.5 เซนติเมตร ผิวเรียบ เปลือกหนา ที่ปลายผลมีส่วนของกลีบเลี้ยงติดทน และก้านเกสรเพศเมียติดที่ปลายผล ผลสดมีสีเขียวพอสุกเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ภายในผลมีเมล็ดเป็นจำนวนมาก เมล็ดแบน เป็นรูปไข่ สีน้ำตาลอ่อน กว้างประมาณ 1 เซนติเมตร ยาวประมาณ 1.5 เซนติเมตร พบขึ้นทั่วไปตามป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรัง ออกดอกช่วงเดือนมกราคม ถึงเมษายน ออกผลราวเดือนกุมภาพันธ์ถึงมิถุนายน ยอดอ่อนใช้รับประทานเป็นผักจิ้มได้สดๆ มีรสฝาด เปลือกใช้ต้มย้อมผ้าให้สีน้ำตาลแดง ได้เส้นใยที่ได้จากเปลือกใช้ทำเชือก ทำเบาะรองหลังช้าง ทำกระดาษสีน้ำตาล
สรรพคุณ
ยาพื้นบ้านอีสาน ใช้ เปลือกต้น แก้น้ำกัดเท้า แก้โรคกระเพาะอาหาร สมานแผลภายใน
ตำรายาไทย ใช้ เปลือกต้น รสฝาดเมา แช่น้ำดื่มแก้ปวดท้อง ท้องเสีย แก้พิษงู แก้อักเสบจากงูกัด ใช้เป็นยาสมาน ใช้สมานแผล แก้เคล็ดเมื่อย ใบ รสฝาด ใช้รักษาแผลสด โดยนึ่งให้สุกใช้ปิดแผล หรือปรุงเป็นน้ำมันสมานแผล ดอก รสสุขุมบำรุงร่างกายหลังคลอดบุตร แก้หวัด แก้ไอ ทำให้ชุ่มคอ ผล รสจืดเย็น ช่วยย่อยอาหาร บำรุงหลังคลอด ดอก และน้ำจากเปลือกสด ใช้ผสมกับน้ำผึ้ง กินเป็นยาแก้หวัด แก้ไอ ทำให้ชุ่มคอ และเป็นยาบำรุงสำหรับสตรีหลังคลอดบุตร ใบอ่อน และยอดอ่อน รับประทานสดเป็นผักจิ้ม มีรสฝาด ต้น ผสมกับเถายางน่อง และดินประสิว เคี่ยวให้งวด ตากแห้ง ใช้ปิดแผลมีพิษ ปิดหัวฝี เมล็ด รสฝาดเมา เป็นพิษ
ข้อควรระวัง
เมล็ดเป็นพิษ รากมีพิษ ใช้เบื่อปลา ส่วนใบและยอดอ่อนมีปริมาณกรดออกซาลิค (oxalic acid) ในปริมาณค่อนข้างสูงอาจเป็นสาเหตุเบื้องต้นของการเกิดนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ แก้ไขข้อมูลเมื่อ 30 Aug 23 10:25