ค้นหาสินค้า

ต้นระย่อมน้อย

ร้าน วรากรสมุนไพร
ชื่อสินค้า:

ต้นระย่อมน้อย

รหัส:
378373
ราคา:
450.00 บาท /ต้น
ติดต่อ:
คุณปุณณภา งานสำเร็จ
ที่อยู่ร้าน:
อ.เมืองนครราชสีมา จ.นครราชสีมา
ร้านนี้ยังไม่มีการแจ้งเลขทะเบียนพานิชย์ เปิดร้านมาแล้ว 14 ปี 1 เดือน
ไอดีไลน์:
โทรศัพท์:
ปุ่มติดต่อ:
ค่าขนส่ง:
60 บาท
คำเตือน: โปรดตรวจสอบความน่าเชื่อถือของร้าน เพื่อหลีกเลี่ยงการทุจริต การขอชำระเงินปลายทางเมื่อรับสินค้าถือเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ดี
รายละเอียด
ระย่อมน้อย
สมุนไพรลดความดันโลหิต รักษาอาการทางจิตประสาท
ชื่ออื่น ละย่อม (สุราษฎร์ธานี) ปลายข้าวสาร (กระบี่)เข็มแดง ย่อมตีนหมา (ภาคเหนือ) เข็มขาว เข็มแดง (ภาคอีสาน)กะย่อม ระย่อมน้อย (ภาคใต้)กอเหม่ (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน)คลาน ตูมคลาน มะโอ่งที สะมออู (กะเหรี่ยงกาญจนบุรี)เสอเกินมุ อิ้นตู้หลัวฟูมุ (จีนกลาง)
ชื่อสามัญ: Indian snake roots, Serpent wood
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Rauvolfia serpentine (Bent.)
วงศ์ APOCYNACEAE
ลีกษณะ
ระย่อม เป็นไม้พุ่มเตี้ยๆ ไม่สูงมาก ใบดกหนาทึบสีเขียวสด ลำต้นมักคดงอ รากขนาดใหญ่ ลึกลงไปในดิน ชอบขึ้นตามชายป่า เชิงเขาที่ดินร่วนปนทราย หรือเป็นหินปนกรวดลูกรัง ที่ค่อนข้างชุ่มชื้น พบกระจายพันธุ์มาตั้งแต่ศรีลังกา อินเดีย เนปาล จีน ภูฏาน ทิเบต พม่า ไทย ลาว กัมพูชา ฯลฯ ดอกเป็นช่อคล้ายดอกเข็มแดง สีขาวอมชมพูอ่อน มี 5 กลีบ กลีบเลี้ยง 5 กลีบ เช่นกัน โคนก้านดอกเชื่อมติดกันเป็นช่อสีชมพู พอดอกโรยก็จะค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีแดงเข้ม ออกดอกช่วงปลายฝนต้นหนาว ติดผลกลมๆ รีๆ สีเขียว เมื่อแก่จะกลายเป็นสีม่วงดำ คล้ายลูกต้นพลองหรือลูกมิกกี้เม้าส์
สรรพคุณ
-รากมีรสขมเป็นยาเย็น มีพิษเล็กน้อย ออกฤทธิ์ต่อตับและหัวใจ เป็นยาขับพิษร้อน ถอนพิษไข้ แก้พิษกาฬ ถ้านำรากมาบดผงปั้นเม็ดหรือคั่วให้กรอบแล้วนำมาชงหรือต้มกิน เป็นยาช่วยย่อยอาหาร ช่วยบำรุงประสาทช่วยแก้โลหิตเป็นพิษ ช่วยฟอกเลือด ทำให้เลือดเย็น การใช้เป็นยาลดความดันโลหิตให้นำรากแห้งในขนาด 200 มิลลิกรัม มาบดผงคลุกกับน้ำผึ้งปั้นเป็นเม็ด กินติดต่อกัน 1-3 อาทิตย์ มีสรรพคุณช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด และช่วยแก้ปวดอาการศีรษะเนื่องจากความดันโลหิตสูง มีการนำมาใช้ให้จิตใจสงบ แก้อาการนอนไม่หลับหรือช่วยให้นอนหลับ แก้อาการบ้าคลั่ง คลุ้มคลั่งเนื่องจากดีกำเริบและโลหิต และใช้แก้ไข้ป่าหรือไข้มาลาเรีย โดยการนำรากมาต้มกับน้ำดื่ม รวมถึงแก้ไข้ชัก แก้โรคเด็กเป็นซางชัก แก้หืด แก้ลมอัมพฤกษ์ ช่วยแก้อาการจุกเสียดด้วย
-รากระย่อมใช้แก้ไข้ แก้ไข้หวัดตัวร้อนที่ทำให้มีอาการปวดหัว เป็นยาแก้บิด แก้ท้องเดิน ท้องเสีย ใช้เป็นยาระบายอ่อนๆ เป็นยาขับพยาธิในเด็ก พยาธิไส้เดือนกลมของเด็ก ยาต้มจากรากมีสรรพคุณช่วยขับปัสสาวะ และเพิ่มการบีบตัวของกระเพาะปัสสาวะ เป็นยาขับระดูของสตรี และช่วยบำรุงความกำหนัด
-ใช้เป็นยาทาภายนอกก็ได้ ใช้แก้พิษแมลงกัดต่อย แก้โรคผิวหนังผดผื่นคัน แก้หิด ให้ใช้รากสด 2-3 ราก นำมาตำให้ละเอียด แล้วเติมน้ำพืชให้พอแฉะ ใช้เป็นยาทาแก้หิด ให้ทำวันละ 2-3 ครั้งจนกว่าจะหาย และรากช่วยบำรุงน้ำนมของสตรี
-กระพี้ มีสรรพคุณเป็นยาบำรุงโลหิต ทำให้โลหิตเป็นปกติ ทำให้โลหิตตั้งอยู่
-ต้นเป็นยาแก้ไข้อันทำให้หนาว
-เปลือกมีสรรพคุณเป็นยาแก้ไข้พิษ แก้ไข้สันนิบาต
-น้ำค้นจากใบ ใช้เป็นยารักษาโรคแก้วตามัว
-ดอกมีสรรพคุณเป็นยาแก้ตาแดง แก้โรคตา
-รากระย่อมเป็นยาบำรุงร่างกายสตรีมานานกว่า 30 ปี โดยไปเก็บระย่อมมาจากป่าใกล้บ้าน แต่เนื่องจากระย่อมมีสรรพคุณในการขับระดูด้วย สตรีมีครรภ์ห้ามใช้เพราะจะทำให้แท้งลูกได้ และสตรีที่กำลังให้นมบุตรก็ห้ามใช้ ระย่อมมีพิษเล็กน้อย อาจไปสู่ทารกได้
อาการข้างเคียงที่ต้องระวัง เช่น วิงเวียนศีรษะ หน้ามืด ใจสั่น หายใจไม่ออก หน้าแดง ปากแห้ง คอแห้ง ไม่สบายท้อง ไม่มีเรี่ยวแรง ซึมเศร้า ง่วงนอนบ่อย มีอาการถ่ายมากกว่าปกติ หรือมีอาการผิดปกติอื่นๆ ต้องหยุดหรือเลิกใช้ทันที
ก่อนนำมาปรุงยา ต้องฆ่าฤทธิ์ยาเสียก่อน โดย วิธีการดังนี้
1.พรมด้วยเหล้า แล้วนำไปคั่วไฟให้เหลือง
2.แช่ในน้ำซาวข้าวไว้ 1 คืน นำผึ่งไปให้แห้ง แล้วนำไปคั่วให้เหลือง
(หมอยาโบราณท่านจะแก้ฤทธิ์กันโดยปรุงยา บำรุงปอดเข้าแทรกไว้ในตำรับที่มีระย่อม)
**บุคคลเหล่านี้ห้ามใช้
สตรีมีครรภ์ คนที่เป็นโรคความดันต่ำ คนที่เป็นโรคหัวใจ
หากมีอาการวิงเวียนศีรษะ หน้ามืด ใจสั่น มีอาการผิดปกติ ให้หยุดใช้ยาทันที
ยอดอ่อน ดอกอ่อน และผลอ่อนของระย่อม นำมาปรุงเป็นอาหารได้ เช่น ทำแกงเลียง แกงส้ม
ตำรับยา
ยาแก้โรคจิตขนานนี้ปรากฏในหนังสือ 'อายุรเวทศึกษา เล่ม ๒' ของขุนนิทเทสสุขกิจ มีตัวยาทั้งสิ้น ๑๔ สิ่ง โดยตำราฯ ว่า
'เอาเปลือกกุ่มน้ำ ๒ บาท เปลือกมะรุม ๖ บาท แห้วหมู เปล้าน้อย เปล้าใหญ่ รางแดง จันทน์เทศ เปลือกมะตูม ก้านกัญชา บอระเพ็ด เปลือกโมกมัน หญ้าชันกาด สนเทศ สิ่งละ ๑ บาท ระย่อมเท่ายาทั้งหลาย รวมตำผง ละลายน้ำร้อน แทรกพิมเสน กินครั้งแรกหนัก ๒ ไพ ถ้านอนไม่หลับ ให้ทวียาขึ้นไปถึง ๑ สลึง แก้ไขข้อมูลเมื่อ 30 Aug 23 10:03