ชื่อสินค้า:
ต้นตะคร้ำ
รหัส:
376782
ประเภท:
ราคา:
200.00 บาท
/ต้น
ติดต่อ:
คุณปุณณภา งานสำเร็จ
ที่อยู่ร้าน:
อ.เมืองนครราชสีมา จ.นครราชสีมา
ร้านนี้ยังไม่มีการแจ้งเลขทะเบียนพานิชย์
เปิดร้านมาแล้ว 14 ปี 1 เดือน
ไอดีไลน์:
โทรศัพท์:
ค่าขนส่ง:
60 บาท
คำเตือน: โปรดตรวจสอบความน่าเชื่อถือของร้าน เพื่อหลีกเลี่ยงการทุจริต การขอชำระเงินปลายทางเมื่อรับสินค้าถือเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ดี
รายละเอียด
ต้นตะคร้ำ
-เป็นไม้มงคลที่ใช้มัดเสาเอก หรือใส่หลุมเสาเรือนเป็นสิริมงคลบ้าน “ค้ำชูเป็นไม้ค้ำยัน” ให้กับบ้านเรือน
-เนื้อไม้ แข็ง เหนียว ใช้ทำเสาบ้าน ด้ามเครื่องมือเกษตร ดุมล้อเกวียน ครก
-ผลใช้ย้อมตอกให้สีดำ
-ผลสุกใช้รับประทานได้
-ชาวขมุจะใช้เปลือกต้นตะคร้ำนำมาขูดใส่ลาบ
ชื่ออื่น กอกกั๋น (อุบลราชธานี) หวีด (เชียงใหม่) อ้อยช้าง (เหนือ) ตะคร้ำ กุ้ก กุ๊ก หวีด ช้าเกาะ ช้างโน้ม
ชื่อวิทยาศาสตร์ Lannea coromandelica (Houtt.) Merr.
ชื่อวงศ์ Anacardiaceae
ลักษณะ
เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดกลางที่มีลำต้นเปลาตรง เรือนยอดเป็นพุ่มกลมหรือทรงกระบอก โคนต้นเป็นพูพอน กิ่งอ่อนและก้านช่อดอกมีขนสีเทาคลุมกระจายทั่วเปลือกนอกต้นสีเทาหรือปนเทาแตกสะเก็ดอาจมีหลุมตื้นๆ แต่เปลือกในสีนวลมีริ้วสีชมพูสลับ ถ้าสับดูจะมียางซึมสีออกชมพูปนแดง แต่ถ้าทิ้งไว้นานๆ จะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองคล้ำ มีกระพี้เป็นสีชมพูอ่อนๆ แต่แก่นต้นเป็นสีน้ำตาลแดง
สรรพคุณ
ตำรายาไทย เปลือกต้น มีรสขม ใช้สมานแผล และห้ามเลือด แก้ท้องอืดเฟ้อ แก้ปวดท้อง เป็นยาธาตุ หรือช่วยเจริญอาหาร ใช้แก้ปวด ใช้รักษาบาดแผล แก้รอยฟกช้ำ แผลผุพอง ตาอักเสบรุนแรง โรคเกาต์ แผลเปื่อยในกระเพาะอาหาร แก้ปวดฟัน อาการแพลง และท้องร่วง ใบ ใช้รักษาโรคเท้าช้าง อาการอักเสบ อาการปวดประสาท อาการแพลง และรอยฟกช้ำ แก่น มีรสหวาน ชุ่มคอ แก้กระหายน้ำ ใช้ปรุงแต่งรสยาให้มีรสหวาน
ตำรายาพื้นบ้านอีสาน ใบ ผสมใบไพล ใบหวดหม่อน บดเป็นผงกินกับน้ำเช้าเย็น แก้ไอเป็นเลือด รากหรือเปลือกต้น ต้มน้ำดื่ม แก้ท้องเสีย ยางที่ปูดจากลำต้น ใช้ผสมร่วมกับยางที่ปูดจากลำต้นมะกอก ฝนน้ำดื่ม แก้ไอเป็นเลือด สารสกัดน้ำจากเปลือกต้นสดและผลสด เป็นพิษต่อปลา แก้ไขข้อมูลเมื่อ 21 Jun 23 10:58
-เป็นไม้มงคลที่ใช้มัดเสาเอก หรือใส่หลุมเสาเรือนเป็นสิริมงคลบ้าน “ค้ำชูเป็นไม้ค้ำยัน” ให้กับบ้านเรือน
-เนื้อไม้ แข็ง เหนียว ใช้ทำเสาบ้าน ด้ามเครื่องมือเกษตร ดุมล้อเกวียน ครก
-ผลใช้ย้อมตอกให้สีดำ
-ผลสุกใช้รับประทานได้
-ชาวขมุจะใช้เปลือกต้นตะคร้ำนำมาขูดใส่ลาบ
ชื่ออื่น กอกกั๋น (อุบลราชธานี) หวีด (เชียงใหม่) อ้อยช้าง (เหนือ) ตะคร้ำ กุ้ก กุ๊ก หวีด ช้าเกาะ ช้างโน้ม
ชื่อวิทยาศาสตร์ Lannea coromandelica (Houtt.) Merr.
ชื่อวงศ์ Anacardiaceae
ลักษณะ
เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดกลางที่มีลำต้นเปลาตรง เรือนยอดเป็นพุ่มกลมหรือทรงกระบอก โคนต้นเป็นพูพอน กิ่งอ่อนและก้านช่อดอกมีขนสีเทาคลุมกระจายทั่วเปลือกนอกต้นสีเทาหรือปนเทาแตกสะเก็ดอาจมีหลุมตื้นๆ แต่เปลือกในสีนวลมีริ้วสีชมพูสลับ ถ้าสับดูจะมียางซึมสีออกชมพูปนแดง แต่ถ้าทิ้งไว้นานๆ จะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองคล้ำ มีกระพี้เป็นสีชมพูอ่อนๆ แต่แก่นต้นเป็นสีน้ำตาลแดง
สรรพคุณ
ตำรายาไทย เปลือกต้น มีรสขม ใช้สมานแผล และห้ามเลือด แก้ท้องอืดเฟ้อ แก้ปวดท้อง เป็นยาธาตุ หรือช่วยเจริญอาหาร ใช้แก้ปวด ใช้รักษาบาดแผล แก้รอยฟกช้ำ แผลผุพอง ตาอักเสบรุนแรง โรคเกาต์ แผลเปื่อยในกระเพาะอาหาร แก้ปวดฟัน อาการแพลง และท้องร่วง ใบ ใช้รักษาโรคเท้าช้าง อาการอักเสบ อาการปวดประสาท อาการแพลง และรอยฟกช้ำ แก่น มีรสหวาน ชุ่มคอ แก้กระหายน้ำ ใช้ปรุงแต่งรสยาให้มีรสหวาน
ตำรายาพื้นบ้านอีสาน ใบ ผสมใบไพล ใบหวดหม่อน บดเป็นผงกินกับน้ำเช้าเย็น แก้ไอเป็นเลือด รากหรือเปลือกต้น ต้มน้ำดื่ม แก้ท้องเสีย ยางที่ปูดจากลำต้น ใช้ผสมร่วมกับยางที่ปูดจากลำต้นมะกอก ฝนน้ำดื่ม แก้ไอเป็นเลือด สารสกัดน้ำจากเปลือกต้นสดและผลสด เป็นพิษต่อปลา แก้ไขข้อมูลเมื่อ 21 Jun 23 10:58
คำสำคัญ:
ตะคร้ำ
ไม้มงคลหายาก