ชื่อสินค้า:
ต้นมะเมื่อย
รหัส:
372661
ประเภท:
ราคา:
200.00 บาท
/ต้น
ติดต่อ:
คุณปุณณภา งานสำเร็จ
ที่อยู่ร้าน:
อ.เมืองนครราชสีมา จ.นครราชสีมา
ร้านนี้ยังไม่มีการแจ้งเลขทะเบียนพานิชย์
เปิดร้านมาแล้ว 14 ปี 1 เดือน
ไอดีไลน์:
โทรศัพท์:
ค่าขนส่ง:
60 บาท
คำเตือน: โปรดตรวจสอบความน่าเชื่อถือของร้าน เพื่อหลีกเลี่ยงการทุจริต การขอชำระเงินปลายทางเมื่อรับสินค้าถือเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ดี
รายละเอียด
เมื่อยขาว
ชื่ออื่นๆ
ม่วยขาว (อุบลราชธานี), มะม่วย (เชียงใหม่) ม่วย (เชียงราย อุบลราชธานี) แฮนม่วย (เลย) แฮนเครือ มะเมื่อย ม่วยเครือ
ชื่อวิทยาศาสตร์
Gnetum montanum Markgr
ชื่อพ้อง
ชื่อวงศ์
Gnetaceae
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้เถาเนื้อแข็ง หรือไม้พุ่มรอเลื้อยขนาดใหญ่ สูง 5-10 เมตร แตกกิ่งก้านมาก เปลือกต้นสีน้ำตาลปนดำ เปลือกนอกแตกเป็นสะเก็ด กิ่งเป็นข้อต่อกัน และบริเวณข้อพองบวม ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก รูปไข่ถึงรูปขอบขนานแกมรูปไข่ มีขนาดแตกต่างกันมาก กว้างประมาณ 5-6 เซนติเมตร ยาวประมาณ 13-16 เซนติเมตร เนื้อใบหนาและเหนียวคล้ายแผ่นหนัง เมื่อแห้งสีออกดำ ปลายใบเป็นติ่งแหลม โคนใบกลม มนหรือแหลม ขอบใบเรียบ เส้นใบโค้ง เส้นใบ 6-8 คู่ ก้านใบยาว 1-1.5 เซนติเมตร ดอกออกเป็นช่อเชิงลดที่ปลายยอดและตามลำต้น ช่อดอกแตกแขนงมากและมีดอกย่อยจำนวนมาก แยกเป็นช่อดอกเพศผู้และเพศเมีย สร้างโคนหรือสตรอบิลัส ออกเป็นช่อแกน มีลักษณะเป็นกลุ่ม เรียงเป็นชั้นๆตามซอกใบ มีสีเขียวปนเหลือง โคนเพศผู้และโคนเพศเมียแยกเพศ อยู่บนต้นเดียวกัน โคนตัวผู้เป็นช่อเชิงลด แตกแขนง ออกที่ปลายยอดหรือตามลำต้น กว้างประมาณ 0.4 เซนติเมตร ยาวประมาณ 3 เซนติเมตร ก้านของโคนยาว 0.5-2.4 ซม. ก้านของโคนย่อยยาว 0.5-1.0 ซม. โคนย่อยรูปทรงกระบอก กว้าง 4-5 มม. ยาว 3.5-4.2 ซม. โคนและปลายมน สีเขียว มีขนสั้นๆ จำนวนมากและหนาแน่น แต่ละโคนมี 8-15 ชั้น แต่ละชั้นมีเกสรเพศผู้ 8-25 อัน เรียงเป็นวงรอบข้อ ยาว 0.5-1.5 มม. สีเหลืองหรือขาวอมเหลือง อับเรณูสีขาว มีก้านชูเกสรเพศผู้รูปทรงกระบอก ยาวประมาณ 1 มม. โคนเพศเมีย แตกแขนง ก้านของโคนยาว 1.7-4.9 ซม. แต่ละโคนมี 6-14 ชั้น แต่ละชั้นมี 1-8 เมล็ด มีขนเล็กน้อย ก้านของโคนย่อยยาว 1-3 มม. เมล็ดรูปกระสวย กว้างประมาณ 1 เซนติเมตร ยาว 1.5 เซนติเมตร โคนและปลายมน เกลี้ยง เมล็ดไม่มีผลห่อหุ้ม จะมีกลีบนุ่มคล้ายหนังหุ้มอยู่ เมื่อยังอ่อนสีเขียวเมื่อแก่สีชมพูแดง ก้านเมล็ดสั้น ยาว 1-2 มม. เกลี้ยง พบตามป่าดิบแล้ง ช่วงการออกดอกเพศผู้เดือนมกราคมถึงมีนาคม ระยะการออกดอกเพศเมียและติดเมล็ด ราวเดือนกุมภาพันธ์ถึงพฤษภาคม
สรรพคุณ
ยาพื้นบ้านอีสานใช้ ลำต้น ผสมกับเถาเอ็นอ่อน ต้มน้ำดื่ม แก้ปวดเมื่อย ต้มน้ำดื่มช่วยในการอยู่ไฟ เปลือกต้น ต้มน้ำดื่มแก้บวมพอง ใช้ทำเชือก มีความเหนียวมาก ราก น้ำต้มรากกินแก้พิษบางชนิด และแก้ไข้มาลาเรีย เมล็ด ทำให้สุกรับประทานได้
ชาวเขาผ่าอีก้อใช้ ใบ ต้มน้ำชะล้างแผลสด แผลเปื่อยอักเสบ ฝี หนอง ตุ่ม ช่วยให้เลือดไหลเวียนได้ดี แก้ไขข้อมูลเมื่อ 07 Apr 23 02:06
ชื่ออื่นๆ
ม่วยขาว (อุบลราชธานี), มะม่วย (เชียงใหม่) ม่วย (เชียงราย อุบลราชธานี) แฮนม่วย (เลย) แฮนเครือ มะเมื่อย ม่วยเครือ
ชื่อวิทยาศาสตร์
Gnetum montanum Markgr
ชื่อพ้อง
ชื่อวงศ์
Gnetaceae
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้เถาเนื้อแข็ง หรือไม้พุ่มรอเลื้อยขนาดใหญ่ สูง 5-10 เมตร แตกกิ่งก้านมาก เปลือกต้นสีน้ำตาลปนดำ เปลือกนอกแตกเป็นสะเก็ด กิ่งเป็นข้อต่อกัน และบริเวณข้อพองบวม ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก รูปไข่ถึงรูปขอบขนานแกมรูปไข่ มีขนาดแตกต่างกันมาก กว้างประมาณ 5-6 เซนติเมตร ยาวประมาณ 13-16 เซนติเมตร เนื้อใบหนาและเหนียวคล้ายแผ่นหนัง เมื่อแห้งสีออกดำ ปลายใบเป็นติ่งแหลม โคนใบกลม มนหรือแหลม ขอบใบเรียบ เส้นใบโค้ง เส้นใบ 6-8 คู่ ก้านใบยาว 1-1.5 เซนติเมตร ดอกออกเป็นช่อเชิงลดที่ปลายยอดและตามลำต้น ช่อดอกแตกแขนงมากและมีดอกย่อยจำนวนมาก แยกเป็นช่อดอกเพศผู้และเพศเมีย สร้างโคนหรือสตรอบิลัส ออกเป็นช่อแกน มีลักษณะเป็นกลุ่ม เรียงเป็นชั้นๆตามซอกใบ มีสีเขียวปนเหลือง โคนเพศผู้และโคนเพศเมียแยกเพศ อยู่บนต้นเดียวกัน โคนตัวผู้เป็นช่อเชิงลด แตกแขนง ออกที่ปลายยอดหรือตามลำต้น กว้างประมาณ 0.4 เซนติเมตร ยาวประมาณ 3 เซนติเมตร ก้านของโคนยาว 0.5-2.4 ซม. ก้านของโคนย่อยยาว 0.5-1.0 ซม. โคนย่อยรูปทรงกระบอก กว้าง 4-5 มม. ยาว 3.5-4.2 ซม. โคนและปลายมน สีเขียว มีขนสั้นๆ จำนวนมากและหนาแน่น แต่ละโคนมี 8-15 ชั้น แต่ละชั้นมีเกสรเพศผู้ 8-25 อัน เรียงเป็นวงรอบข้อ ยาว 0.5-1.5 มม. สีเหลืองหรือขาวอมเหลือง อับเรณูสีขาว มีก้านชูเกสรเพศผู้รูปทรงกระบอก ยาวประมาณ 1 มม. โคนเพศเมีย แตกแขนง ก้านของโคนยาว 1.7-4.9 ซม. แต่ละโคนมี 6-14 ชั้น แต่ละชั้นมี 1-8 เมล็ด มีขนเล็กน้อย ก้านของโคนย่อยยาว 1-3 มม. เมล็ดรูปกระสวย กว้างประมาณ 1 เซนติเมตร ยาว 1.5 เซนติเมตร โคนและปลายมน เกลี้ยง เมล็ดไม่มีผลห่อหุ้ม จะมีกลีบนุ่มคล้ายหนังหุ้มอยู่ เมื่อยังอ่อนสีเขียวเมื่อแก่สีชมพูแดง ก้านเมล็ดสั้น ยาว 1-2 มม. เกลี้ยง พบตามป่าดิบแล้ง ช่วงการออกดอกเพศผู้เดือนมกราคมถึงมีนาคม ระยะการออกดอกเพศเมียและติดเมล็ด ราวเดือนกุมภาพันธ์ถึงพฤษภาคม
สรรพคุณ
ยาพื้นบ้านอีสานใช้ ลำต้น ผสมกับเถาเอ็นอ่อน ต้มน้ำดื่ม แก้ปวดเมื่อย ต้มน้ำดื่มช่วยในการอยู่ไฟ เปลือกต้น ต้มน้ำดื่มแก้บวมพอง ใช้ทำเชือก มีความเหนียวมาก ราก น้ำต้มรากกินแก้พิษบางชนิด และแก้ไข้มาลาเรีย เมล็ด ทำให้สุกรับประทานได้
ชาวเขาผ่าอีก้อใช้ ใบ ต้มน้ำชะล้างแผลสด แผลเปื่อยอักเสบ ฝี หนอง ตุ่ม ช่วยให้เลือดไหลเวียนได้ดี แก้ไขข้อมูลเมื่อ 07 Apr 23 02:06
คำสำคัญ:
พันธุ์ไม้หายาก
ต้นสมุนไพร