ชื่อสินค้า:
ผกากรองสีชมพูขายเมล็ดพันธ์/ต้นกล้า
รหัส:
363516
ประเภท:
ราคา:
50.00 บาท
/ชุด
ติดต่อ:
คุณอังศรา ไพฑูรย์
ที่อยู่ร้าน:
อ.เมืองระยอง จ.ระยอง
ร้านนี้ยังไม่มีการแจ้งเลขทะเบียนพานิชย์
เปิดร้านมาแล้ว 7 ปี 7 เดือน
ไอดีไลน์:
โทรศัพท์:
คำเตือน: โปรดตรวจสอบความน่าเชื่อถือของร้าน เพื่อหลีกเลี่ยงการทุจริต การขอชำระเงินปลายทางเมื่อรับสินค้าถือเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ดี
รายละเอียด
28 สรรพคุณและประโยชน์ของต้นผกากรอง
#สรรพคุณของผกากรอง
รากช่วยแก้อาการปวดศีรษะ (ราก)
รากแห้งนำมาต้มกับน้ำดื่ม จะช่วยแก้อาการเวียนศีรษะจากอากาศที่ร้อนอบอ้าวได้ (ราก)
ใช้เป็นยาบำรุงกำลัง (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
ใช้แก้เด็กซึมเซา ง่วงนอนเสมอ ด้วยการใช้ดอกผกากรอง แห้งหนัก 1 บาท ผสมกับดอกทานตะวันแห้ง 1 ดอก นำมาต้มกับน้ำสะอาดแล้วนำมาดื่ม (ดอก)
ช่วยแก้อาการปวดฟัน ด้วยการใช้รากสดนำมาต้มเอาน้ำอมบ้วนปาก จะช่วยแก้อาการปวดฟันได้ (ราก)
ช่วยแก้คางทูม ด้วยการใช้ผกากรองแห้งหนัก 4 บาท นำมาต้มกับน้ำเป็นยาดื่ม (ราก)
รากมีรสจืดขม ใช้เป็นยาแก้ไข้เรื้อรัง แก้หวัด ไข้สูง แก้ไข้หวัดตัวร้อน หวัดใหญ่ ด้วยการใช้รากแห้งหนัก 4 บาท นำมาต้มกับน้ำเป็นยาดื่ม (ราก) ตำรับยาจีนจะใช้รากผกากรองสด, กังบ๊วยกึง, ซึ่งปัวจิ้กึงหนักอย่างละ 35 กรัม นำมาต้มกับน้ำรับประทาน (ราก)
ช่วยทำให้อาเจียน (ใบ)
ช่วยแก้อาการเจียนเป็นเลือด (ดอก)
ช่วยแก้วัณโรค วัณโรคปอด ด้วยการใช้ดอกแห้ง หนัก 1 บาท นำมาต้มกับน้ำดื่ม (ดอก)
ช่วยแก้ติดเชื้อวัณโรคที่ต่อมทอนซิล (ราก)
ช่วยแก้หืด (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
ช่วยขับลม (ราก, ใบ)ขับลมชื้น (ราก)
ดอกใช้เป็นยาแก้อาการปวดท้องอาเจียน ด้วยการใช้ดอกผกากรองสดหนัก 1 บาท นำมาต้มกับน้ำสะอาด ใส่เกลือเล็กน้อย แล้วนำมาใช้ดื่มเป็นยา (ดอก)
ช่วยแก้อาการปวดกระเพาะ (ราก)
ใบมีคุณสมบัติห้ามเลือดและช่วยรักษาแผลสดได้ เราจะใช้ใบมาตำหรือขยี้ให้ช้ำแล้วนำมาพอกบริเวณบาดแผลสด อีกทั้งยังมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อโรคได้ด้วย (ใบ, ดอก)
ใบและก้านใช้เป็นยาภายนอกรักษาโรคผิวหนัง ฝีหนอง โดยนำมาตำแล้วพอกหรือนำมาต้มกับน้ำใช้ล้างแผลหรือบริเวณที่เป็น (ใบ)
ใบใช้ตำพอกแผล ฝีพุพองเป็นหนอง แก้ผดผื่นคันที่เกิดขึ้นจากหิด (ใบ, ดอก)
ตำรับยาแก้ผดผื่นคันจะใช้ใบผกากรองแห้ง, ใบสะระแหน่, ใบสนแผง, ต้นกะเม็ง, โซวเฮียะ หนักอย่างละ 35 กรัม นำมารวมกันบดเป็นยาผง ใช้ผสมกับเหล้าทาบริเวณที่เป็นวันละ 3 ครั้ง (ใบ)
รากมีสรรพคุณแก้โรคผิวหนังผื่นคัน แก้อาการคัน แก้อาการปวดแสบปวดร้อนทางผิวหนังที่เกิดจากการเป็นฝี (ราก)
ดอกใช้เป็นยาแก้อักเสบ (ดอก)
รากใช้เป็นยาดับพิษแก้บวม (ราก)
ใบมีรสขมเย็น ใช้ใบสดนำมาโขลกให้ละเอียดแล้วนำมาพอกแก้ปวด แก้บวม พอกรักษาฝี ถอนพิษ และรักษาแผลฟกช้ำได้ (ใบ)ส่วนรากและดอกก็ช่วยแก้รอยฟกช้ำ แก้อาการฟกช้ำดำเขียวที่เกิดจากการกระทบกระแทกได้เช่นกัน (ราก, ดอก)
แก้โรคปวดตามข้อ ด้วยการใช้ใบนำมาต้มกับน้ำ ผสมกับน้ำอาบ หรือทำเป็นลูกประคบ (ใบ[ ราก) หมอพื้นบ้านในเกาะชวาของอินโดนีเซีย จะใช้ผกากรองมาปรุงเป็นยารักษาโรคไขข้ออักเสบ (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
ช่วยแก้อาการปวดเอ็น ด้วยการใช้ดอกสดนำมาตำให้ละเอียด คั้นเอาแต่น้ำ แล้วนำมาทา ส่วนกากที่เหลือให้นำมาพอกบริเวณที่เป็นแล้วเอาผ้ารัดไว้ (ดอก)
วิธีใช้สมุนไพรผกากรอง
การใช้รากตาม ให้ใช้รากแห้งครั้งละ 15-35 กรัม นำมาต้มกับน้ำรับประทาน ถ้าเป็นรากสดให้ใช้ครั้งละ 35-70 กรัม นำมาต้มกับน้ำรับประทาน
การใช้ใบตาม ให้ใช้ใบสดประมาณ 15-30 กรัม นำมาต้มกับน้ำดื่ม หากใช้ภายนอกให้นำมาตำพอกหรือคั้นเอาแต่น้ำผสมกับเหล้าเป็นยาทา หรือจะนำไปต้มกับน้ำใช้ชะล้างบริเวณที่เป็นก็ได้ (ใบ)
การใช้ดอกตาม ให้ใช้ดอกแห้งประมาณ 6-10 กรัม นำมาต้มกับน้ำดื่มแก้หิด (ใบ) #ประโยชน์ของผกากรอง
ประโยชน์หลัก ๆ ของผกากรอง คือ การนำมาปลูกเป็นไม้ประดับ ปลูกเป็นกลุ่มเพื่อประดับตามสถานที่ต่าง ๆ กลางแจ้ง เช่น ตามทางเดิม ริมถนน ริมทะเล ริมน้ำตก ลำธาร ฯลฯ หรือใช้ปลูกเพื่อตกแต่งตามแนวรั้วได้เป็นอย่างดี เพราะให้ดอกที่มีสีสันสดใสได้ตลอดทั้งปี ปลูกเลี้ยงดูแลได้ง่าย มีความทนทานต่อสภาพแวดล้อมและโรคหรือแมลงต่าง ๆ ได้ดีมาก และในปัจจุบันผกากรองก็มีสีสันของดอกที่หลากหลายมากกว่าแต่ก่อน จึงมีการนำมาปลูกประดับตามสถานที่ต่าง ๆ หรือปลูกไว้ในกระถางกันมากขึ้นเรื่อย ๆ อีกทั้งยังทนทานต่อการตัดแต่งและดันทรง ทนต่อความแห้งแล้ง ดินเลว จึงเหมาะสำหรับปลูกในกระถางเพื่อทำไม้ดัดเป็นรูปทรงต่าง ๆ หรือไม้แคระ (บอนไซ)
ผกากรองเป็นพืชที่ออกดอกดกเป็นช่อตลอดทั้งปี จึงเป็นแหล่งอาหารที่สำคัญของแมลงต่าง ๆ เช่น ผีเสื้อและผึ้ง
เนื่องจากใบผกากรองมีกลิ่นฉุน และมีสารพิษที่เป็นพิษต่อระบบประสาทของแมลงจำพวกหนอนกระทู้ในแปลงผักที่ชื่อว่า แลนทานิน (Lantanin) จึงมีการนำมาใช้เป็นสมุนไพรสำหรับฆ่าและขับไล่แมลงศัตรูพืช โดยวิธีการเตรียมและใช้ผกากรองเป็นสารป้องกันและกำจัดศัตรูพืช วิธีแรกให้ใช้เมล็ดผกากรองบด 1 กิโลกรัมผสมกับน้ำ 2 ลิตร และให้แช่ทิ้งไว้ 24 ชั่วโมง แล้วนำมาใช้ฉีดพ่นเพื่อฆ่าหนอนกระทู้ในแปลงผัก ส่วนอีกวิธีให้ใช้ใบและดอกสดบดละเอียดหนัก 50 กรัม ผสมกับน้ำ 400 ซีซี แช่ทิ้งไว้ 1 คืน แล้วกรองผสมกับน้ำในอัตราส่วน 1 : 5 แล้วนำไปใช้ฉีดพ่น
#ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของผกากรอง
สารที่พบ ได้แก่ Alkaloid, A-pinene Pcymene, B-Caryophyllene, Humulene, Lantic acid, Lantanolic acid เป็นต้น[1]
สารพิษที่พบ ได้แก่ lantadene A (Rehmannic acid), lantadene B และ lantadene C[8]
สาร Lantaden alkaloid ที่สกัดได้จากผกากรอง มีฤทธิ์คล้ายกับควินิน สามารถช่วยแก้พิษร้อนในร่างกายได้
สารที่สกัดจากใบผกากรองด้วยแอลกอฮอล์ มีฤทธิ์ในการกระตุ้นลำไส้และมดลูกของหนูทดลอง และยังสามารถช่วยแก้หอบหืดในหนูทดลองได้อีกด้วย
เมื่อนำใบผกากรองสดมาให้วัวหรือแกะกิน พบว่าวัวหรือแกะจะมีอาการกลัวแสงและเป็นดีซ่าน แสดงว่าอาจมีพิษซ่อนอยู่ในใบผกากรอง
#ข้อควรระวังในการใช้สมุนไพรผกากรอง
สตรีมีครรภ์ห้ามรับประทานสมุนไพรชนิดนี้
ผกากรองเป็นพืชมีพิษ การนำไปใช้เป็นยาสมุนไพรควรใช้อย่างระมัดระวัง
ใบผกากรองมีสารเป็นพิษคือสาร Lantanin สารชนิดนี้เป็นอันตรายต่อสัตว์เลี้ยงมาก โดยเฉพาะสัตว์จำพวกแพะและแกะ โดยพิษของผกากรองจะส่งผลต่อระบบประสาทและต่อตับ เมื่อสัตว์เลี้ยงกินเข้าไปมาก ๆ จะทำให้ถึงตาย
สารพิษจากผกากรองที่นำไปใช้เป็นยาฆ่าแมลงในแปลงผัก อาจตกค้างและเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคได้ ฉะนั้นควรใช้ด้วยความระมัดระวัง และควรเว้นระยะปลอดภัยก่อนการเก็บเกี่ยวผลผลิตด้วย
#พิษของผกากรอง
ส่วนที่เป็นพิษคือส่วนของผลแก่ที่ไม่สุก ส่วนของใบ และทั้งต้นโดยเฉพาะผล และสารที่เป็นพิษคือ Lantadene และผู้ป่วยส่วนใหญ่มักเป็นเด็กที่มีอายุประมาณ 2-6 ขวบ
ผู้ป่วยที่ได้รับพิษจากผกากรองมักจะไม่แสดงอาการเป็นพิษออกมาทันที แต่อาการจะเกิดขึ้นเมื่อผ่านไปประมาณ 2-3 ชั่วโมง โดยจะมีอาการเป็นพิษที่เกิดขึ้น ได้แก่ มีอาการมึนงง อาเจียน ท้องเสีย อ่อนเพลีย ไม่มีเรี่ยวแรง ขาดออกซิเจน ทำให้หายใจลึกและช้า หายใจลำบาก รูม่านตาขยาย กลัวแสง กล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกัน มีอาการโคม่า การตอบสนองของกล้ามเนื้อ tendon ถูกกด มีอาการหมดสติ และอาจถึงตายได้ในที่สุด
คนและสัตว์ที่กินเข้าไปจะก่อให้เกิดอาการผิวหนังไวต่อแสง ผิวหนังมีรอยฟกช้ำดำเขียว ผิวหนังแตกในคน ส่วนในสัตว์เมื่อกินเข้าไปจะเกิดอาการทำให้น้ำหนักตัวไม่เพิ่มขึ้นเลย มีน้ำนมลดลง ขนไม่งามเท่าที่ควร ผิวหนังขาด pigment (เช่น วัว ควาย แกะ หมู เป็นต้น)
สำหรับอาการเป็นพิษที่เกิดขึ้นในสัตว์ จะมีพิษกึ่งเฉียบพลันในสัตว์ทดลองที่กินใบผกากรอง โดยจะมีอาการซึม ไม่อยากกินอาหาร มีอาการท้องผูก ปัสสาวะบ่อย หลังจากนี้อีกประมาณ 1-2 วัน จะพบอาการเหลืองและขาดน้ำตามเนื้อเยื่อเมือก ตาอักเสบ กล้ามเนื้ออักเสบ ผิวหนังไวต่อแสง ทำให้กล้ามเนื้ออักเสบที่เรียกว่า pink nose เจ็บ ซึ่งอาการอักเสบนี้อาจจะลุกลามไปถึงปาก โพรงจมูก ตา เกิดเป็นผลบวม หนังตาบวม ปลายจมูกแข็ง หูหนาและแตก ทำให้เกิดอาการคันจนสัตว์ต้องถูบ่อย ๆ จนทำให้เป็นแผลหรือตาบอดได้ และโดยมากเมื่อได้รับพิษไปประมาณ 1-4 อาทิตย์ อาจทำให้ตายได้ เนื่องจากไตล้มเหลว อดอาหาร ขาดน้ำ ไม่มีการขับถ่าย ปัสสาวะไม่หยุด ปริมาณของ Billirubin ในเลือดสูง จึงเหลือง เอนไซม์จากตับสูง (แสดงว่ามีการอักเสบของตับ) และเมื่อทำการชันสูตรซากสัตว์ที่ตายแล้วก็พบว่า มีอาการดีซ่าน ตับบวม ถุงน้ำดีโต เนื่องจากผนังบวม ไตเหลือง บวม ฉ่ำน้ำ และลำไส้ใหญ่ไม่เคลื่อนไหว[8] นอกจากนี้ยังพบว่าในวัวที่กินพืชชนิดนี้เข้าไปแล้วจะพบว่ามีระดับของ serum adenosine diaminase เพิ่มขึ้น ถ้าสัตว์ได้รับสารนั้นจะมีอาการดีซ่าน (jaundice)[9]
พิษเรื้อรังในสัตว์ที่จะเกิดขึ้นตามมา นอกจากผิวหนังจะเกิดอาการแพ้แสงแดดแล้ว ยังจะมีการเปลี่ยนแปลงของผิวหนังส่วนอื่น ๆ อีก เช่น ผิวหนังบริเวณจมูกหรือปาก หู คอ ไหล่ ขา รวมไปถึงส่วนอื่น ๆ อาจเป็นสีเหลือง แข็ง บวม แตก และเจ็บ ผิวหนังลอกและเปิด และอาจเกิดอาการอักเสบไปจนถึงเนื้อเยื่อบุผิวเมือกบริเวณใกล้เคียงด้วย ซึ่งอาการเยื่อบุตาอักเสบจะพบเห็นได้เป็นบางครั้งในระยะที่รับพิษเฉียบพลัน และอาจมีผลกระทบต่อผิวหนัง เยื่อบุรอบตาและที่ตาด้วย[8]
ตัวอย่างผู้ป่วยที่ได้รับพิษจากผกากรอง
เด็กหญิงอายุปีครึ่ง (น้ำหนัก 35 ปอนด์) ได้กินผลของผกากรองสีเขียวโดยไม่ทราบปริมาณ หลังจากกินไปแล้ว 6 ชั่วโมง เด็กมีอาการอ่อนเพลีย ไม่มีแรงจนไม่สามารถยืนได้ เริ่มมีอาการอาเจียนและหมดสติ เด็กถูกส่งตัวเข้าห้องพยาบาลทันที โดยมีรายงานว่า เด็กมีอาการขาดออกซิเจน หายใจลึก โคม่า รูม่านตาขยายเท่าหัวเข็มหมุด และไม่ตอบสนองต่อแสง และได้รักษาด้วยวิธีการให้ออกซิเจน ฉีด adrenal steroid เข้าทางกล้ามเนื้อ ฉีด epinephrine 1:1000 เข้าใต้ผิวหนัง และรักษาไปตามอาการ หลังจากนั้นเด็กหยุดหายใจหลังกินผลไปได้ประมาณ 8.5 ชั่วโมง ผลการชันสูตรพบว่า มีเลือดคั่งที่ปอดและที่ไตเล็กน้อย ส่วนสาเหตุการตายเนื่องมาจาก pulmonary edema และ neurocirculatory collapse[8]
เด็กชายอายุ 3 ปี (หนัก 27 ปอนด์) ถูกนำส่ แก้ไขข้อมูลเมื่อ 23 Aug 22 09:23
#สรรพคุณของผกากรอง
รากช่วยแก้อาการปวดศีรษะ (ราก)
รากแห้งนำมาต้มกับน้ำดื่ม จะช่วยแก้อาการเวียนศีรษะจากอากาศที่ร้อนอบอ้าวได้ (ราก)
ใช้เป็นยาบำรุงกำลัง (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
ใช้แก้เด็กซึมเซา ง่วงนอนเสมอ ด้วยการใช้ดอกผกากรอง แห้งหนัก 1 บาท ผสมกับดอกทานตะวันแห้ง 1 ดอก นำมาต้มกับน้ำสะอาดแล้วนำมาดื่ม (ดอก)
ช่วยแก้อาการปวดฟัน ด้วยการใช้รากสดนำมาต้มเอาน้ำอมบ้วนปาก จะช่วยแก้อาการปวดฟันได้ (ราก)
ช่วยแก้คางทูม ด้วยการใช้ผกากรองแห้งหนัก 4 บาท นำมาต้มกับน้ำเป็นยาดื่ม (ราก)
รากมีรสจืดขม ใช้เป็นยาแก้ไข้เรื้อรัง แก้หวัด ไข้สูง แก้ไข้หวัดตัวร้อน หวัดใหญ่ ด้วยการใช้รากแห้งหนัก 4 บาท นำมาต้มกับน้ำเป็นยาดื่ม (ราก) ตำรับยาจีนจะใช้รากผกากรองสด, กังบ๊วยกึง, ซึ่งปัวจิ้กึงหนักอย่างละ 35 กรัม นำมาต้มกับน้ำรับประทาน (ราก)
ช่วยทำให้อาเจียน (ใบ)
ช่วยแก้อาการเจียนเป็นเลือด (ดอก)
ช่วยแก้วัณโรค วัณโรคปอด ด้วยการใช้ดอกแห้ง หนัก 1 บาท นำมาต้มกับน้ำดื่ม (ดอก)
ช่วยแก้ติดเชื้อวัณโรคที่ต่อมทอนซิล (ราก)
ช่วยแก้หืด (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
ช่วยขับลม (ราก, ใบ)ขับลมชื้น (ราก)
ดอกใช้เป็นยาแก้อาการปวดท้องอาเจียน ด้วยการใช้ดอกผกากรองสดหนัก 1 บาท นำมาต้มกับน้ำสะอาด ใส่เกลือเล็กน้อย แล้วนำมาใช้ดื่มเป็นยา (ดอก)
ช่วยแก้อาการปวดกระเพาะ (ราก)
ใบมีคุณสมบัติห้ามเลือดและช่วยรักษาแผลสดได้ เราจะใช้ใบมาตำหรือขยี้ให้ช้ำแล้วนำมาพอกบริเวณบาดแผลสด อีกทั้งยังมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อโรคได้ด้วย (ใบ, ดอก)
ใบและก้านใช้เป็นยาภายนอกรักษาโรคผิวหนัง ฝีหนอง โดยนำมาตำแล้วพอกหรือนำมาต้มกับน้ำใช้ล้างแผลหรือบริเวณที่เป็น (ใบ)
ใบใช้ตำพอกแผล ฝีพุพองเป็นหนอง แก้ผดผื่นคันที่เกิดขึ้นจากหิด (ใบ, ดอก)
ตำรับยาแก้ผดผื่นคันจะใช้ใบผกากรองแห้ง, ใบสะระแหน่, ใบสนแผง, ต้นกะเม็ง, โซวเฮียะ หนักอย่างละ 35 กรัม นำมารวมกันบดเป็นยาผง ใช้ผสมกับเหล้าทาบริเวณที่เป็นวันละ 3 ครั้ง (ใบ)
รากมีสรรพคุณแก้โรคผิวหนังผื่นคัน แก้อาการคัน แก้อาการปวดแสบปวดร้อนทางผิวหนังที่เกิดจากการเป็นฝี (ราก)
ดอกใช้เป็นยาแก้อักเสบ (ดอก)
รากใช้เป็นยาดับพิษแก้บวม (ราก)
ใบมีรสขมเย็น ใช้ใบสดนำมาโขลกให้ละเอียดแล้วนำมาพอกแก้ปวด แก้บวม พอกรักษาฝี ถอนพิษ และรักษาแผลฟกช้ำได้ (ใบ)ส่วนรากและดอกก็ช่วยแก้รอยฟกช้ำ แก้อาการฟกช้ำดำเขียวที่เกิดจากการกระทบกระแทกได้เช่นกัน (ราก, ดอก)
แก้โรคปวดตามข้อ ด้วยการใช้ใบนำมาต้มกับน้ำ ผสมกับน้ำอาบ หรือทำเป็นลูกประคบ (ใบ[ ราก) หมอพื้นบ้านในเกาะชวาของอินโดนีเซีย จะใช้ผกากรองมาปรุงเป็นยารักษาโรคไขข้ออักเสบ (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
ช่วยแก้อาการปวดเอ็น ด้วยการใช้ดอกสดนำมาตำให้ละเอียด คั้นเอาแต่น้ำ แล้วนำมาทา ส่วนกากที่เหลือให้นำมาพอกบริเวณที่เป็นแล้วเอาผ้ารัดไว้ (ดอก)
วิธีใช้สมุนไพรผกากรอง
การใช้รากตาม ให้ใช้รากแห้งครั้งละ 15-35 กรัม นำมาต้มกับน้ำรับประทาน ถ้าเป็นรากสดให้ใช้ครั้งละ 35-70 กรัม นำมาต้มกับน้ำรับประทาน
การใช้ใบตาม ให้ใช้ใบสดประมาณ 15-30 กรัม นำมาต้มกับน้ำดื่ม หากใช้ภายนอกให้นำมาตำพอกหรือคั้นเอาแต่น้ำผสมกับเหล้าเป็นยาทา หรือจะนำไปต้มกับน้ำใช้ชะล้างบริเวณที่เป็นก็ได้ (ใบ)
การใช้ดอกตาม ให้ใช้ดอกแห้งประมาณ 6-10 กรัม นำมาต้มกับน้ำดื่มแก้หิด (ใบ) #ประโยชน์ของผกากรอง
ประโยชน์หลัก ๆ ของผกากรอง คือ การนำมาปลูกเป็นไม้ประดับ ปลูกเป็นกลุ่มเพื่อประดับตามสถานที่ต่าง ๆ กลางแจ้ง เช่น ตามทางเดิม ริมถนน ริมทะเล ริมน้ำตก ลำธาร ฯลฯ หรือใช้ปลูกเพื่อตกแต่งตามแนวรั้วได้เป็นอย่างดี เพราะให้ดอกที่มีสีสันสดใสได้ตลอดทั้งปี ปลูกเลี้ยงดูแลได้ง่าย มีความทนทานต่อสภาพแวดล้อมและโรคหรือแมลงต่าง ๆ ได้ดีมาก และในปัจจุบันผกากรองก็มีสีสันของดอกที่หลากหลายมากกว่าแต่ก่อน จึงมีการนำมาปลูกประดับตามสถานที่ต่าง ๆ หรือปลูกไว้ในกระถางกันมากขึ้นเรื่อย ๆ อีกทั้งยังทนทานต่อการตัดแต่งและดันทรง ทนต่อความแห้งแล้ง ดินเลว จึงเหมาะสำหรับปลูกในกระถางเพื่อทำไม้ดัดเป็นรูปทรงต่าง ๆ หรือไม้แคระ (บอนไซ)
ผกากรองเป็นพืชที่ออกดอกดกเป็นช่อตลอดทั้งปี จึงเป็นแหล่งอาหารที่สำคัญของแมลงต่าง ๆ เช่น ผีเสื้อและผึ้ง
เนื่องจากใบผกากรองมีกลิ่นฉุน และมีสารพิษที่เป็นพิษต่อระบบประสาทของแมลงจำพวกหนอนกระทู้ในแปลงผักที่ชื่อว่า แลนทานิน (Lantanin) จึงมีการนำมาใช้เป็นสมุนไพรสำหรับฆ่าและขับไล่แมลงศัตรูพืช โดยวิธีการเตรียมและใช้ผกากรองเป็นสารป้องกันและกำจัดศัตรูพืช วิธีแรกให้ใช้เมล็ดผกากรองบด 1 กิโลกรัมผสมกับน้ำ 2 ลิตร และให้แช่ทิ้งไว้ 24 ชั่วโมง แล้วนำมาใช้ฉีดพ่นเพื่อฆ่าหนอนกระทู้ในแปลงผัก ส่วนอีกวิธีให้ใช้ใบและดอกสดบดละเอียดหนัก 50 กรัม ผสมกับน้ำ 400 ซีซี แช่ทิ้งไว้ 1 คืน แล้วกรองผสมกับน้ำในอัตราส่วน 1 : 5 แล้วนำไปใช้ฉีดพ่น
#ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของผกากรอง
สารที่พบ ได้แก่ Alkaloid, A-pinene Pcymene, B-Caryophyllene, Humulene, Lantic acid, Lantanolic acid เป็นต้น[1]
สารพิษที่พบ ได้แก่ lantadene A (Rehmannic acid), lantadene B และ lantadene C[8]
สาร Lantaden alkaloid ที่สกัดได้จากผกากรอง มีฤทธิ์คล้ายกับควินิน สามารถช่วยแก้พิษร้อนในร่างกายได้
สารที่สกัดจากใบผกากรองด้วยแอลกอฮอล์ มีฤทธิ์ในการกระตุ้นลำไส้และมดลูกของหนูทดลอง และยังสามารถช่วยแก้หอบหืดในหนูทดลองได้อีกด้วย
เมื่อนำใบผกากรองสดมาให้วัวหรือแกะกิน พบว่าวัวหรือแกะจะมีอาการกลัวแสงและเป็นดีซ่าน แสดงว่าอาจมีพิษซ่อนอยู่ในใบผกากรอง
#ข้อควรระวังในการใช้สมุนไพรผกากรอง
สตรีมีครรภ์ห้ามรับประทานสมุนไพรชนิดนี้
ผกากรองเป็นพืชมีพิษ การนำไปใช้เป็นยาสมุนไพรควรใช้อย่างระมัดระวัง
ใบผกากรองมีสารเป็นพิษคือสาร Lantanin สารชนิดนี้เป็นอันตรายต่อสัตว์เลี้ยงมาก โดยเฉพาะสัตว์จำพวกแพะและแกะ โดยพิษของผกากรองจะส่งผลต่อระบบประสาทและต่อตับ เมื่อสัตว์เลี้ยงกินเข้าไปมาก ๆ จะทำให้ถึงตาย
สารพิษจากผกากรองที่นำไปใช้เป็นยาฆ่าแมลงในแปลงผัก อาจตกค้างและเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคได้ ฉะนั้นควรใช้ด้วยความระมัดระวัง และควรเว้นระยะปลอดภัยก่อนการเก็บเกี่ยวผลผลิตด้วย
#พิษของผกากรอง
ส่วนที่เป็นพิษคือส่วนของผลแก่ที่ไม่สุก ส่วนของใบ และทั้งต้นโดยเฉพาะผล และสารที่เป็นพิษคือ Lantadene และผู้ป่วยส่วนใหญ่มักเป็นเด็กที่มีอายุประมาณ 2-6 ขวบ
ผู้ป่วยที่ได้รับพิษจากผกากรองมักจะไม่แสดงอาการเป็นพิษออกมาทันที แต่อาการจะเกิดขึ้นเมื่อผ่านไปประมาณ 2-3 ชั่วโมง โดยจะมีอาการเป็นพิษที่เกิดขึ้น ได้แก่ มีอาการมึนงง อาเจียน ท้องเสีย อ่อนเพลีย ไม่มีเรี่ยวแรง ขาดออกซิเจน ทำให้หายใจลึกและช้า หายใจลำบาก รูม่านตาขยาย กลัวแสง กล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกัน มีอาการโคม่า การตอบสนองของกล้ามเนื้อ tendon ถูกกด มีอาการหมดสติ และอาจถึงตายได้ในที่สุด
คนและสัตว์ที่กินเข้าไปจะก่อให้เกิดอาการผิวหนังไวต่อแสง ผิวหนังมีรอยฟกช้ำดำเขียว ผิวหนังแตกในคน ส่วนในสัตว์เมื่อกินเข้าไปจะเกิดอาการทำให้น้ำหนักตัวไม่เพิ่มขึ้นเลย มีน้ำนมลดลง ขนไม่งามเท่าที่ควร ผิวหนังขาด pigment (เช่น วัว ควาย แกะ หมู เป็นต้น)
สำหรับอาการเป็นพิษที่เกิดขึ้นในสัตว์ จะมีพิษกึ่งเฉียบพลันในสัตว์ทดลองที่กินใบผกากรอง โดยจะมีอาการซึม ไม่อยากกินอาหาร มีอาการท้องผูก ปัสสาวะบ่อย หลังจากนี้อีกประมาณ 1-2 วัน จะพบอาการเหลืองและขาดน้ำตามเนื้อเยื่อเมือก ตาอักเสบ กล้ามเนื้ออักเสบ ผิวหนังไวต่อแสง ทำให้กล้ามเนื้ออักเสบที่เรียกว่า pink nose เจ็บ ซึ่งอาการอักเสบนี้อาจจะลุกลามไปถึงปาก โพรงจมูก ตา เกิดเป็นผลบวม หนังตาบวม ปลายจมูกแข็ง หูหนาและแตก ทำให้เกิดอาการคันจนสัตว์ต้องถูบ่อย ๆ จนทำให้เป็นแผลหรือตาบอดได้ และโดยมากเมื่อได้รับพิษไปประมาณ 1-4 อาทิตย์ อาจทำให้ตายได้ เนื่องจากไตล้มเหลว อดอาหาร ขาดน้ำ ไม่มีการขับถ่าย ปัสสาวะไม่หยุด ปริมาณของ Billirubin ในเลือดสูง จึงเหลือง เอนไซม์จากตับสูง (แสดงว่ามีการอักเสบของตับ) และเมื่อทำการชันสูตรซากสัตว์ที่ตายแล้วก็พบว่า มีอาการดีซ่าน ตับบวม ถุงน้ำดีโต เนื่องจากผนังบวม ไตเหลือง บวม ฉ่ำน้ำ และลำไส้ใหญ่ไม่เคลื่อนไหว[8] นอกจากนี้ยังพบว่าในวัวที่กินพืชชนิดนี้เข้าไปแล้วจะพบว่ามีระดับของ serum adenosine diaminase เพิ่มขึ้น ถ้าสัตว์ได้รับสารนั้นจะมีอาการดีซ่าน (jaundice)[9]
พิษเรื้อรังในสัตว์ที่จะเกิดขึ้นตามมา นอกจากผิวหนังจะเกิดอาการแพ้แสงแดดแล้ว ยังจะมีการเปลี่ยนแปลงของผิวหนังส่วนอื่น ๆ อีก เช่น ผิวหนังบริเวณจมูกหรือปาก หู คอ ไหล่ ขา รวมไปถึงส่วนอื่น ๆ อาจเป็นสีเหลือง แข็ง บวม แตก และเจ็บ ผิวหนังลอกและเปิด และอาจเกิดอาการอักเสบไปจนถึงเนื้อเยื่อบุผิวเมือกบริเวณใกล้เคียงด้วย ซึ่งอาการเยื่อบุตาอักเสบจะพบเห็นได้เป็นบางครั้งในระยะที่รับพิษเฉียบพลัน และอาจมีผลกระทบต่อผิวหนัง เยื่อบุรอบตาและที่ตาด้วย[8]
ตัวอย่างผู้ป่วยที่ได้รับพิษจากผกากรอง
เด็กหญิงอายุปีครึ่ง (น้ำหนัก 35 ปอนด์) ได้กินผลของผกากรองสีเขียวโดยไม่ทราบปริมาณ หลังจากกินไปแล้ว 6 ชั่วโมง เด็กมีอาการอ่อนเพลีย ไม่มีแรงจนไม่สามารถยืนได้ เริ่มมีอาการอาเจียนและหมดสติ เด็กถูกส่งตัวเข้าห้องพยาบาลทันที โดยมีรายงานว่า เด็กมีอาการขาดออกซิเจน หายใจลึก โคม่า รูม่านตาขยายเท่าหัวเข็มหมุด และไม่ตอบสนองต่อแสง และได้รักษาด้วยวิธีการให้ออกซิเจน ฉีด adrenal steroid เข้าทางกล้ามเนื้อ ฉีด epinephrine 1:1000 เข้าใต้ผิวหนัง และรักษาไปตามอาการ หลังจากนั้นเด็กหยุดหายใจหลังกินผลไปได้ประมาณ 8.5 ชั่วโมง ผลการชันสูตรพบว่า มีเลือดคั่งที่ปอดและที่ไตเล็กน้อย ส่วนสาเหตุการตายเนื่องมาจาก pulmonary edema และ neurocirculatory collapse[8]
เด็กชายอายุ 3 ปี (หนัก 27 ปอนด์) ถูกนำส่ แก้ไขข้อมูลเมื่อ 23 Aug 22 09:23
คำสำคัญ:
ผกากรอง