ชื่อสินค้า:
หญ้าเกล็ดหอย
รหัส:
357453
ราคา:
12.00 บาท
/ถุงชำ
ติดต่อ:
คุณปัณปุณออร์แกนิค
ที่อยู่ร้าน:
อ.ท่าเรือ จ.พระนครศรีอยุธยา
ร้านนี้ยังไม่มีการแจ้งเลขทะเบียนพานิชย์
เปิดร้านมาแล้ว 2 ปี 10 เดือน
ไอดีไลน์:
โทรศัพท์:
คำเตือน: โปรดตรวจสอบความน่าเชื่อถือของร้าน เพื่อหลีกเลี่ยงการทุจริต การขอชำระเงินปลายทางเมื่อรับสินค้าถือเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ดี
รายละเอียด
#หญ้าเกล็ดหอย
หญ้าเกล็ดหอย ชื่อสามัญ Black Cover[1], Three flowered beggarweed[2]
หญ้าเกล็ดหอย ชื่อวิทยาศาสตร์ Desmodium triflorum (L.) DC. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Hedysarum triflorum L., Meibomia triflora (L.) Kuntze) จัดอยู่ในวงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยถั่ว FABOIDEAE (PAPILIONOIDEAE หรือ PAPILIONACEAE)[1],[2]
สมุนไพรหญ้าเกล็ดหอย มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า เกล็ดปลา หญ้าตานทราย (เชียงใหม่), ผักแว่นดอย หญ้าตานทราย (แม่ฮ่องสอน), หญ้าเกล็ดหอย (กรุงเทพฯ), ผักแว่นโคก (นครศรีธรรมราช), หญ้าตานหอย (ภาคกลาง), หนู่เต๊าะโพ (กะเหรี่ยง, แม่ฮ่องสอน) เป็นต้น[1],[2]
ลักษณะของหญ้าเกล็ดหอย
ต้นหญ้าเกล็ดหอย จัดเป็นพืชล้มลุกจำพวกหญ้า ทอดเลื้อยไปตามพื้นดิน สูงได้ประมาณ 4.5-12.5 เซนติเมตร ลำต้นมีลักษณะแผ่แนบไปกับพื้นดินเป็นวงกว้าง ตามลำต้นและใบมีขนขึ้นปกคลุมอย่างหนาแน่น เส้นผ่านศูนย์กลางของลำต้นมีขนาดประมาณ 0.6-1.1 มิลลิเมตร พบกระจายทั่วไปในเขตร้อน ในประเทศไทยพบขึ้นกระจายอยู่ทุกภาค ที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลจนถึง 1,300 เมตร ในสภาพดินเหนียว ดินทราย และดินลูกรัง โดยมักขึ้นทั่วไปตามพื้นที่เปิดโล่ง พื้นที่รกร้าง สวนป่า ที่สาธารณะ ตามข้างทาง เช่น จังหวัดสระบุรี นครราชสีมา บุรีรัมย์ อุบลราชธานี ขอนแก่น พิษณุโลก เชียงราย พังงา เป็นต้น[1],[2],[3]
ใบหญ้าเกล็ดหอย ใบเป็นใบประกอบขนนก มีใบย่อย 3 ใบ ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปไข่กลับหรือรูปหัวใจกลับ ขนาดประมาณ 0.5-1 เซนติเมตร ปลายใบมนหรือเว้าตื้น โคนใบแหลม ส่วนขอบใบเรียบ หลังใบไม่มีขน ส่วนท้องมีขนเล็กน้อยถึงน้อยมาก หูใบย่อยมีขนาดเล็กมาก[1]
ดอกหญ้าเกล็ดหอย ออกดอกเป็นช่อกระจะที่ปลายยอดและตามซอกใบ ดอกย่อยมีขนาดเล็ก ลักษณะเป็นรูปดอกถั่ว กลีบดอกเป็นสีม่วงสดหรือสีม่วงบานเย็น ช่อดอกยาวประมาณ 0.5-2.5 เซนติเมตร มีดอกย่อยประมาณ 2-5 ดอก กลีบรองดอกที่โคนติดกันเป็นรูปถ้วย ปลายแยกเป็นแฉก 5 แฉก ส่วนกลีบดอกมี 5 กลีบ ดอกมีเกสรเพศผู้ 10 อัน[1],[2
ผลหญ้าเกล็ดหอย ผลมีลักษณะเป็นฝักแบนและโค้งเล็กน้อย ฝักยาวประมาณ 1-1.2 เซนติเมตร มีขนาดกว้างประมาณ 2 มิลลิเมตร ตามฝักมีรอยคอดเป็นข้อ ๆ ตามจำนวนของเมล็ด ประมาณ 1-6 ข้อ แต่ละข้อยาวประมาณ 2-3 มิลลิเมตร เมื่อแห้งแต่ละข้อจะหลุดออกจากกัน เมล็ดมีขนาดเล็ก ลักษณะของเมล็ดเป็นรูปไต มันวาว ออกดอกและติดผลในช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนกันยายน[1],[2]
สรรพคุณของหญ้าเกล็ดหอย
ทั้งต้นมีรสจืดเย็น มีสรรพคุณเป็นยาดับพิษร้อน แก้อาการร้อนในกระหายน้ำ (ทั้งต้น)[1],[3]
ช่วยฟอกโลหิต (ทั้งต้น)[3]
ทั้งต้นมีสรรพคุณเป็นยาแก้ไข้ (ทั้งต้น)[1],[3]
ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ (ทั้งต้น)[3]
ใช้เป็นยาแก้ดีพิการ (ทั้งต้น)[1]
ประโยชน์ของหญ้าเกล็ดหอย
ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับคลุมดินทั่วไป
เป็นแหล่งของอาหารสัตว์แทะเล็มจำพวกโคและกระบือ โดยคุณค่าทางอาหารของหญ้าเกล็ดหอยที่มีอายุประมาณ 75-90 วัน จะประกอบไปด้วย โปรตีน 17.9-23.1%, แคลเซียม 1.05-1.23%, ฟอสฟอรัส 0.42%, โพแทสเซียม 1.99%, ADF 34.4-38.6%, NDF 47-53.5%, DMD 47.9-51.3%, ไนเตรท 633.1 ppm, มิโมซีน 0.71 ppm, แทนนิน 0.26%, กรดออกซิลิค 399.4 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์[2]
เอกสารอ้างอิง
สวนพฤกษศาสตร์สายยาไทย. “หญ้าเกล็ดหอย”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.saiyathai.com. [05 ก.ย. 2014].
ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์นครราชสีมา, กรมปศุสัตว์. “หญ้าเกล็ดหอย”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : ncna-nak.dld.go.th. [05 ต.ค. 2014].
อุทยานธรรมชาติวิทยาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ. “หญ้าเกล็ดหอย”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.kanchanapisek.or.th/kp14/project_dev/project_area/Ratburi/index.php. [05 ต.ค. 2014].
เครดิต : (Medthai)
ติดตามข่าวสาร
Facebook FanPage : www.facebook.com/baitangrean
Facebook FanPage : www.facebook.com/panpunorganic แก้ไขข้อมูลเมื่อ 03 Mar 22 09:49
หญ้าเกล็ดหอย ชื่อสามัญ Black Cover[1], Three flowered beggarweed[2]
หญ้าเกล็ดหอย ชื่อวิทยาศาสตร์ Desmodium triflorum (L.) DC. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Hedysarum triflorum L., Meibomia triflora (L.) Kuntze) จัดอยู่ในวงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยถั่ว FABOIDEAE (PAPILIONOIDEAE หรือ PAPILIONACEAE)[1],[2]
สมุนไพรหญ้าเกล็ดหอย มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า เกล็ดปลา หญ้าตานทราย (เชียงใหม่), ผักแว่นดอย หญ้าตานทราย (แม่ฮ่องสอน), หญ้าเกล็ดหอย (กรุงเทพฯ), ผักแว่นโคก (นครศรีธรรมราช), หญ้าตานหอย (ภาคกลาง), หนู่เต๊าะโพ (กะเหรี่ยง, แม่ฮ่องสอน) เป็นต้น[1],[2]
ลักษณะของหญ้าเกล็ดหอย
ต้นหญ้าเกล็ดหอย จัดเป็นพืชล้มลุกจำพวกหญ้า ทอดเลื้อยไปตามพื้นดิน สูงได้ประมาณ 4.5-12.5 เซนติเมตร ลำต้นมีลักษณะแผ่แนบไปกับพื้นดินเป็นวงกว้าง ตามลำต้นและใบมีขนขึ้นปกคลุมอย่างหนาแน่น เส้นผ่านศูนย์กลางของลำต้นมีขนาดประมาณ 0.6-1.1 มิลลิเมตร พบกระจายทั่วไปในเขตร้อน ในประเทศไทยพบขึ้นกระจายอยู่ทุกภาค ที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลจนถึง 1,300 เมตร ในสภาพดินเหนียว ดินทราย และดินลูกรัง โดยมักขึ้นทั่วไปตามพื้นที่เปิดโล่ง พื้นที่รกร้าง สวนป่า ที่สาธารณะ ตามข้างทาง เช่น จังหวัดสระบุรี นครราชสีมา บุรีรัมย์ อุบลราชธานี ขอนแก่น พิษณุโลก เชียงราย พังงา เป็นต้น[1],[2],[3]
ใบหญ้าเกล็ดหอย ใบเป็นใบประกอบขนนก มีใบย่อย 3 ใบ ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปไข่กลับหรือรูปหัวใจกลับ ขนาดประมาณ 0.5-1 เซนติเมตร ปลายใบมนหรือเว้าตื้น โคนใบแหลม ส่วนขอบใบเรียบ หลังใบไม่มีขน ส่วนท้องมีขนเล็กน้อยถึงน้อยมาก หูใบย่อยมีขนาดเล็กมาก[1]
ดอกหญ้าเกล็ดหอย ออกดอกเป็นช่อกระจะที่ปลายยอดและตามซอกใบ ดอกย่อยมีขนาดเล็ก ลักษณะเป็นรูปดอกถั่ว กลีบดอกเป็นสีม่วงสดหรือสีม่วงบานเย็น ช่อดอกยาวประมาณ 0.5-2.5 เซนติเมตร มีดอกย่อยประมาณ 2-5 ดอก กลีบรองดอกที่โคนติดกันเป็นรูปถ้วย ปลายแยกเป็นแฉก 5 แฉก ส่วนกลีบดอกมี 5 กลีบ ดอกมีเกสรเพศผู้ 10 อัน[1],[2
ผลหญ้าเกล็ดหอย ผลมีลักษณะเป็นฝักแบนและโค้งเล็กน้อย ฝักยาวประมาณ 1-1.2 เซนติเมตร มีขนาดกว้างประมาณ 2 มิลลิเมตร ตามฝักมีรอยคอดเป็นข้อ ๆ ตามจำนวนของเมล็ด ประมาณ 1-6 ข้อ แต่ละข้อยาวประมาณ 2-3 มิลลิเมตร เมื่อแห้งแต่ละข้อจะหลุดออกจากกัน เมล็ดมีขนาดเล็ก ลักษณะของเมล็ดเป็นรูปไต มันวาว ออกดอกและติดผลในช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนกันยายน[1],[2]
สรรพคุณของหญ้าเกล็ดหอย
ทั้งต้นมีรสจืดเย็น มีสรรพคุณเป็นยาดับพิษร้อน แก้อาการร้อนในกระหายน้ำ (ทั้งต้น)[1],[3]
ช่วยฟอกโลหิต (ทั้งต้น)[3]
ทั้งต้นมีสรรพคุณเป็นยาแก้ไข้ (ทั้งต้น)[1],[3]
ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ (ทั้งต้น)[3]
ใช้เป็นยาแก้ดีพิการ (ทั้งต้น)[1]
ประโยชน์ของหญ้าเกล็ดหอย
ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับคลุมดินทั่วไป
เป็นแหล่งของอาหารสัตว์แทะเล็มจำพวกโคและกระบือ โดยคุณค่าทางอาหารของหญ้าเกล็ดหอยที่มีอายุประมาณ 75-90 วัน จะประกอบไปด้วย โปรตีน 17.9-23.1%, แคลเซียม 1.05-1.23%, ฟอสฟอรัส 0.42%, โพแทสเซียม 1.99%, ADF 34.4-38.6%, NDF 47-53.5%, DMD 47.9-51.3%, ไนเตรท 633.1 ppm, มิโมซีน 0.71 ppm, แทนนิน 0.26%, กรดออกซิลิค 399.4 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์[2]
เอกสารอ้างอิง
สวนพฤกษศาสตร์สายยาไทย. “หญ้าเกล็ดหอย”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.saiyathai.com. [05 ก.ย. 2014].
ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์นครราชสีมา, กรมปศุสัตว์. “หญ้าเกล็ดหอย”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : ncna-nak.dld.go.th. [05 ต.ค. 2014].
อุทยานธรรมชาติวิทยาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ. “หญ้าเกล็ดหอย”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.kanchanapisek.or.th/kp14/project_dev/project_area/Ratburi/index.php. [05 ต.ค. 2014].
เครดิต : (Medthai)
ติดตามข่าวสาร
Facebook FanPage : www.facebook.com/baitangrean
Facebook FanPage : www.facebook.com/panpunorganic แก้ไขข้อมูลเมื่อ 03 Mar 22 09:49
คำสำคัญ:
หญ้าเกล็ดหอย
ใบต่างเหรียญ