ชื่อสินค้า:
เอื้องหมายนาหรือเอื่องเวียน
รหัส:
357376
ประเภท:
ราคา:
30.00 บาท
/1ต้น
ติดต่อ:
คุณพรเพ็ญ แสงเพชร
ที่อยู่ร้าน:
อ.พรานกระต่าย จ.กำแพงเพชร
ร้านนี้แจ้งเลขทะเบียนพานิชย์แล้ว
เปิดร้านมาแล้ว 3 ปี 5 เดือน
ไอดีไลน์:
โทรศัพท์:
คำเตือน: โปรดตรวจสอบความน่าเชื่อถือของร้าน เพื่อหลีกเลี่ยงการทุจริต การขอชำระเงินปลายทางเมื่อรับสินค้าถือเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ดี
รายละเอียด
ชาวม้งจะใช้เหง้าใต้ดิน นำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยารักษาโรคความดันโลหิตต่ำ อาการหน้าซีด (เหง้า)[8]
ชาวไทใหญ่จะใช้รากนำมาดองกับเหล้าดื่มเป็นยาบำรุงกำลัง (ราก)[8] หลายพื้นที่ริยมกินหน่ออ่อนและดอกอ่อนเป็นผัก โดยชาวม้งจะนิยมนำมาต้มกินกับไก่เป็นยาบำรุงกำลัง แก้ตัวเหลือง แก้อาการอ่อนเพลียไม่มีแรง (หน่อ,ดอก)[10]
คนเมืองจะใช้ลำต้นนำไปต้มกิน เชื่อว่าเป็นยาต้านโรคมะเร็ง (ลำต้น)[8]
ตำรายาสมุนไพรพื้นบ้านจังหวัดอุบลราชธานี จะใช้เหง้าเอื้องหมายนาเข้ายาแก้ซางเด็ก (เหง้า)[4]
ลำต้นนำมาย่างไฟคั้นเอาน้ำใช้หยอดหู แก้หูน้ำหนวก (ลำต้น)[4],[8] ส่วนชาวไทใหญ่จะใช้ใบนำไปรมไฟ แล้วบีบเอาน้ำมาหยอดหู รักษาโรคหูเป็นหนอง (ใบ)[8]
ใบมีสรรพคุณเป็นยาแก้ไข้ (ใบ)[6] รากใช้เป็นยาแก้ไข้หวัด (ราก)[7]
รากมีรสขมเมา มีสรรพคุณช่วยแก้อาการไอ (ราก)[2],[3]
ช่วยขับเสมหะ (ราก)[2],[3]
หมอยาบางพื้นที่จะใช้ใบเอื้องหมายนากับใบเปล้าใหญ่ นำมาซอยตากแห้งอย่างละเท่ากัน นำมามวนสูบเป็นบุหรี่เพื่อรักษาริดสีดวงจมูก (ใบ)[10]
ต้นตลอดถึงราก มีสรรพคุณเป็นยาช่วยบำบัดอาการปวดมวนในท้องคล้ายโรคกระเพาะ ถ่ายเป็นเลือด กินอาหารแสลงแล้วจะมีอาการปวดและออกทางทวาร (ต้นตลอดถึงราก)[1],[4]
น้ำคั้นจากลำต้นใช้เป็นยารักษาโรคบิด (น้ำคั้นจากลำต้น)[3]
ช่วยแก้อาการท้องผูกเป็นประจำ (ต้นตลอดถึงราก)[1],[4]
ช่วยในการย่อยอาหาร (ราก)[3]
เหง้านำมาตำพอกบริเวณสะดือเป็นยารักษาโรคท้องมาน (เหง้า)[5]
เหง้าใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาสมานแผลภายใน (เหง้า)[4]
เหง้ามีสรรพคุณเป็นยาถ่าย ยาแก้พยาธิ ฆ่าพยาธิ (เหง้า)[2],[3] น้ำคั้นจากเหง้าสดมีฤทธิ์เป็นยาถ่ายอย่างแรง (น้ำคั้นจากเหง้าสด)[3]
รากมีสรรพคุณเป็นยาขับพยาธิ (ราก)[2],[3]
เหง้ามีรสขมเมา มีสรรพคุณเป็นยาขับปัสสาวะ (เหง้า)[2],[3]
ใช้ลำต้นนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาขับปัสสาวะ แก้อาการกระเพาะปัสสาวะอักเสบ หรือจะใช้ลำต้นนำมารับประทานสดเป็นยาแก้นิ่ว โดยตัดให้มีความยาวหนึ่งวา แล้วเอาไปย่างไฟคั้นเอาน้ำดื่ม (ลำต้น)[8] ส่วนชาวลั้วะจะใช้ใบเป็นส่วนประกอบในยารักษาโรคนิ่ว ร่วมกับใบของมะละกอตัวผู้ และพืชอื่น ๆ อีกหลายชนิด (ใบ)[8]
ช่วยแก้โรคติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ (เหง้า)[2],[3]
น้ำคั้นจากเหง้าสด ใช้เป็นยารักษาซิฟิลิส (เหง้า)[3]
ต้นตลอดถึงรากมีสรรพคุณเป็นยาสมานมดลูก (ต้นตลอดถึงราก)[1],[4]
เหง้ามีสรพคุณช่วยแก้อาการตกขาวของสตรี (เหง้า)[2],[3]
เหง้ามีฤทธิ์ทำให้แท้ง ควรระวังในการใช้ (เหง้า)[3]
เหง้าใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาช่วยบำรุงมดลูก (เหง้า)[4]
รากมีสรรพคุณช่วยกระตุ้นความต้องการทางเพศ (ราก)[7]
ช่วยแก้อาการบวมน้ำ (เหง้า)[2],[3]
รากใช้เป็นยาขม ฝาดสมาน (ราก)[3]
ใช้รักษาพิษงูกัด (ราก)[3]
รากใช้เป็นยาแก้โรคผิวหนัง (ราก)[2],[3]
เอื้องหมายนายังมีสรรพคุณเป็นยารักษาอาการผิวหนังเป็นผื่น มีอาการคันตามผิวหนัง รวมทั้งอาการคันจากพิษหมามุ่ย โดยชาวไทใหญ่จะนิยมตัดลำต้นเอื้องหมายนายาวประมาณ 1 นิ้ว พกใส่กระเป๋าในยามที่ต้องเข้าป่า หรือไปถางไร่เพื่อป้องกันไม่ให้ขนหมามุ่ยติด กล่าวคือ มีความเชื่อว่าถ้ามีก้านเอื้องหมายนาพกติดตัวไว้จะไม่มีคันเมื่อถูกหมามุ่ย (ลำต้น)[10]
เหง้าใช้เป็นยาแก้แผลหนอง อักเสบ บวม ด้วยการนำเหง้ามาต้มเอาแต่น้ำใช้ชะล้างหรือใช้ตำพอกบริเวณที่เป็น (เหง้า)[2],[3]
หมายเหตุ : วิธีการใช้ตาม [3] ในส่วนของเหง้า ให้ใช้เหง้าแห้งครั้งละประมาณ 3-6 กรัม นำมาต้มกับน้ำกินหรือใช้ตุ๋นกับเนื้อสัตว์กิน[3]
ข้อควรระวังในการใช้เอื้องหมายนา
สตรีมีครรภ์ไม่ควรใช้สมุนไพรชนิดนี้ เพราะอาจทำให้แท้งบุตรได้ เนื่องจากสมุนไพรชนิดนี้มีฤทธิ์ต้านการฝังตัวของตัวอ่อนที่ผนังมดลูก และการใช้สมุนไพรชนิดนี้อาจไปรบกวนรอบประจำเดือนด้วย[10]
เหง้าสดมีพิษมาก หากใช้ในปริมาณมากจะทำให้มีอาการวิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน ท้องร่วงอย่างรุนแรง ต้องนำมาทำให้สุกก่อนนำมาใช้[2] ราคาไม่รวมค่าจัดส่งค่ะ แก้ไขข้อมูลเมื่อ 20 Aug 23 03:25
ชาวไทใหญ่จะใช้รากนำมาดองกับเหล้าดื่มเป็นยาบำรุงกำลัง (ราก)[8] หลายพื้นที่ริยมกินหน่ออ่อนและดอกอ่อนเป็นผัก โดยชาวม้งจะนิยมนำมาต้มกินกับไก่เป็นยาบำรุงกำลัง แก้ตัวเหลือง แก้อาการอ่อนเพลียไม่มีแรง (หน่อ,ดอก)[10]
คนเมืองจะใช้ลำต้นนำไปต้มกิน เชื่อว่าเป็นยาต้านโรคมะเร็ง (ลำต้น)[8]
ตำรายาสมุนไพรพื้นบ้านจังหวัดอุบลราชธานี จะใช้เหง้าเอื้องหมายนาเข้ายาแก้ซางเด็ก (เหง้า)[4]
ลำต้นนำมาย่างไฟคั้นเอาน้ำใช้หยอดหู แก้หูน้ำหนวก (ลำต้น)[4],[8] ส่วนชาวไทใหญ่จะใช้ใบนำไปรมไฟ แล้วบีบเอาน้ำมาหยอดหู รักษาโรคหูเป็นหนอง (ใบ)[8]
ใบมีสรรพคุณเป็นยาแก้ไข้ (ใบ)[6] รากใช้เป็นยาแก้ไข้หวัด (ราก)[7]
รากมีรสขมเมา มีสรรพคุณช่วยแก้อาการไอ (ราก)[2],[3]
ช่วยขับเสมหะ (ราก)[2],[3]
หมอยาบางพื้นที่จะใช้ใบเอื้องหมายนากับใบเปล้าใหญ่ นำมาซอยตากแห้งอย่างละเท่ากัน นำมามวนสูบเป็นบุหรี่เพื่อรักษาริดสีดวงจมูก (ใบ)[10]
ต้นตลอดถึงราก มีสรรพคุณเป็นยาช่วยบำบัดอาการปวดมวนในท้องคล้ายโรคกระเพาะ ถ่ายเป็นเลือด กินอาหารแสลงแล้วจะมีอาการปวดและออกทางทวาร (ต้นตลอดถึงราก)[1],[4]
น้ำคั้นจากลำต้นใช้เป็นยารักษาโรคบิด (น้ำคั้นจากลำต้น)[3]
ช่วยแก้อาการท้องผูกเป็นประจำ (ต้นตลอดถึงราก)[1],[4]
ช่วยในการย่อยอาหาร (ราก)[3]
เหง้านำมาตำพอกบริเวณสะดือเป็นยารักษาโรคท้องมาน (เหง้า)[5]
เหง้าใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาสมานแผลภายใน (เหง้า)[4]
เหง้ามีสรรพคุณเป็นยาถ่าย ยาแก้พยาธิ ฆ่าพยาธิ (เหง้า)[2],[3] น้ำคั้นจากเหง้าสดมีฤทธิ์เป็นยาถ่ายอย่างแรง (น้ำคั้นจากเหง้าสด)[3]
รากมีสรรพคุณเป็นยาขับพยาธิ (ราก)[2],[3]
เหง้ามีรสขมเมา มีสรรพคุณเป็นยาขับปัสสาวะ (เหง้า)[2],[3]
ใช้ลำต้นนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาขับปัสสาวะ แก้อาการกระเพาะปัสสาวะอักเสบ หรือจะใช้ลำต้นนำมารับประทานสดเป็นยาแก้นิ่ว โดยตัดให้มีความยาวหนึ่งวา แล้วเอาไปย่างไฟคั้นเอาน้ำดื่ม (ลำต้น)[8] ส่วนชาวลั้วะจะใช้ใบเป็นส่วนประกอบในยารักษาโรคนิ่ว ร่วมกับใบของมะละกอตัวผู้ และพืชอื่น ๆ อีกหลายชนิด (ใบ)[8]
ช่วยแก้โรคติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ (เหง้า)[2],[3]
น้ำคั้นจากเหง้าสด ใช้เป็นยารักษาซิฟิลิส (เหง้า)[3]
ต้นตลอดถึงรากมีสรรพคุณเป็นยาสมานมดลูก (ต้นตลอดถึงราก)[1],[4]
เหง้ามีสรพคุณช่วยแก้อาการตกขาวของสตรี (เหง้า)[2],[3]
เหง้ามีฤทธิ์ทำให้แท้ง ควรระวังในการใช้ (เหง้า)[3]
เหง้าใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาช่วยบำรุงมดลูก (เหง้า)[4]
รากมีสรรพคุณช่วยกระตุ้นความต้องการทางเพศ (ราก)[7]
ช่วยแก้อาการบวมน้ำ (เหง้า)[2],[3]
รากใช้เป็นยาขม ฝาดสมาน (ราก)[3]
ใช้รักษาพิษงูกัด (ราก)[3]
รากใช้เป็นยาแก้โรคผิวหนัง (ราก)[2],[3]
เอื้องหมายนายังมีสรรพคุณเป็นยารักษาอาการผิวหนังเป็นผื่น มีอาการคันตามผิวหนัง รวมทั้งอาการคันจากพิษหมามุ่ย โดยชาวไทใหญ่จะนิยมตัดลำต้นเอื้องหมายนายาวประมาณ 1 นิ้ว พกใส่กระเป๋าในยามที่ต้องเข้าป่า หรือไปถางไร่เพื่อป้องกันไม่ให้ขนหมามุ่ยติด กล่าวคือ มีความเชื่อว่าถ้ามีก้านเอื้องหมายนาพกติดตัวไว้จะไม่มีคันเมื่อถูกหมามุ่ย (ลำต้น)[10]
เหง้าใช้เป็นยาแก้แผลหนอง อักเสบ บวม ด้วยการนำเหง้ามาต้มเอาแต่น้ำใช้ชะล้างหรือใช้ตำพอกบริเวณที่เป็น (เหง้า)[2],[3]
หมายเหตุ : วิธีการใช้ตาม [3] ในส่วนของเหง้า ให้ใช้เหง้าแห้งครั้งละประมาณ 3-6 กรัม นำมาต้มกับน้ำกินหรือใช้ตุ๋นกับเนื้อสัตว์กิน[3]
ข้อควรระวังในการใช้เอื้องหมายนา
สตรีมีครรภ์ไม่ควรใช้สมุนไพรชนิดนี้ เพราะอาจทำให้แท้งบุตรได้ เนื่องจากสมุนไพรชนิดนี้มีฤทธิ์ต้านการฝังตัวของตัวอ่อนที่ผนังมดลูก และการใช้สมุนไพรชนิดนี้อาจไปรบกวนรอบประจำเดือนด้วย[10]
เหง้าสดมีพิษมาก หากใช้ในปริมาณมากจะทำให้มีอาการวิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน ท้องร่วงอย่างรุนแรง ต้องนำมาทำให้สุกก่อนนำมาใช้[2] ราคาไม่รวมค่าจัดส่งค่ะ แก้ไขข้อมูลเมื่อ 20 Aug 23 03:25
คำสำคัญ:
เอื้องหมายนาดอกแดง