ชื่อสินค้า:
พรหมจุฬาภรณ์
รหัส:
352390
ราคา:
399.00 บาท
/ต้น
ติดต่อ:
คุณเสน่หานานาพันธุ์ ติดต่อ คุณปัท
ที่อยู่ร้าน:
จ.สมุทรปราการ
ร้านนี้ยังไม่มีการแจ้งเลขทะเบียนพานิชย์
เปิดร้านมาแล้ว 3 ปี 5 เดือน
โทรศัพท์:
ปุ่มติดต่อ:
คำเตือน: โปรดตรวจสอบความน่าเชื่อถือของร้าน เพื่อหลีกเลี่ยงการทุจริต การขอชำระเงินปลายทางเมื่อรับสินค้าถือเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ดี
รายละเอียด
พรหมจุฬาภรณ์
ต้นละ 399
ค่าจัดส่ง 85 บาท
เมื่อ 2 ปีที่แล้ว ได้มีการค้นพบ พรหมชนิดใหม่ เป็นพันธุ์ไม้ที่ใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่งยวด พบเพียงไม่กี่ต้น บริเวณป่าดิบแล้งบนเขาหินปูนขนาดเล็กในอำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งอยู่นอกเขตอนุรักษ์ของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ต่อมาจึคงได้ขอพระราชทามนามว่า พรหมจุฬาภรณ์ Mitrephora chulabhorniana Damth., Aongyong & Chaowasku
พืชชนิดนี้มีลักษณะเด่นคือ เป็นไม้ต้นขนาดเล็ก สูงไม่เกิน 2 เมตร มีดอกขนาดเล็กที่สุดในสกุล ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 1 เซนติเมตร สีขาวเด่น และเปลี่ยนเป็นสีครีมเมื่อดอกมีอายุมากขึ้น มีกลิ่นหอมปานกลางคล้ายกลิ่นดอกโมก กลีบดอกชั้นในประกบกันเป็นรูปโดม โคนกลีบคอด เผยให้เห็นช่องว่างระหว่างกลีบ ผลเมื่อสุกสีแดงอมส้ม
"พรหมจุฬาภรณ์" หรือ Mitrephora chulabhorniana Damth., Aongyong & Chaowasku
เนื่องจากระบบนิเวศเขาหินปูนนั้นเป็นระบบนิเวศที่เปราะบาง และมักพบสิ่งมีชีวิตที่จำเพาะ กล่าวคือ ไม่พบที่อื่นใดอีก เมื่อถูกคุกคามมีโอกาสสูญพันธุ์สูง เขาหินปูนลูกที่พบต้นพรหมจุฬาภรณ์นี้มีโอกาสถูกคุกคามในอนาคตอันใกล้ เนื่องจากการขยายตัวของสวนยางพาราและสวนปาล์มน้ำมัน หรือแม้กระทั่งการระเบิดหินปูนเพื่อการใช้ประโยชน์ จึงสมควรอย่างยิ่งที่หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง อีกทั้งประชาชนคนไทยทุกคน จักต้องช่วยกันหวงแหนเขาหินปูนในประเทศไทย เพื่ออนุรักษ์ไม่ให้สิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นสูญพันธุ์ไปจากประเทศไทยและจากโลก
นอกจากนี้ยังสามารถใช้เทคโนโลยีชีวภาพ โดยเฉพาะการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช เพื่อช่วยขยายพันธุ์ต้นพรหมจุฬาภรณ์ให้มีจำนวนมากขึ้น และนำไปปลูกอนุรักษ์ไว้ในสวนพฤกษศาสตร์ หรือสถานที่ราชการต่างๆ เป็นการลดโอกาสการสูญพันธุ์ของต้นพรหมจุฬาภรณ์
การค้นพบ “พรหมจุฬาภรณ์” นี้ จัดได้ว่าเป็นงานวิจัยพื้นฐานที่สำคัญยิ่งต่อการพัฒนาต่อยอดในสาขาต่างๆ เปรียบเสมือนกับต้นน้ำที่ค่อยๆไหลไปยังกลางน้ำและปลายน้ำ ซึ่งก็คือการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน ถ้าขาดพื้นฐาน ประเทศชาติย่อมขาดโอกาสในการพัฒนาต่อยอด การพัฒนายารักษาโรคจากพืชสมุนไพร ก็เป็นหนึ่งในแนวทางการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน
โดยพบว่า พืชสกุลมหาพรหมหลายชนิดมีสารเคมีทุติยภูมิที่มีฤทธิ์ต้านมะเร็ง จึงเป็นที่น่าสนใจว่า ต้นพรหมจุฬาภรณ์ก็อาจจะมีสารเคมีทุติยภูมิที่มีฤทธิ์ต้านมะเร็งและอาจพัฒนาเป็นยาต้านมะเร็งได้ในอนาคต แก้ไขข้อมูลเมื่อ 18 Sep 21 04:08
ต้นละ 399
ค่าจัดส่ง 85 บาท
เมื่อ 2 ปีที่แล้ว ได้มีการค้นพบ พรหมชนิดใหม่ เป็นพันธุ์ไม้ที่ใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่งยวด พบเพียงไม่กี่ต้น บริเวณป่าดิบแล้งบนเขาหินปูนขนาดเล็กในอำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งอยู่นอกเขตอนุรักษ์ของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ต่อมาจึคงได้ขอพระราชทามนามว่า พรหมจุฬาภรณ์ Mitrephora chulabhorniana Damth., Aongyong & Chaowasku
พืชชนิดนี้มีลักษณะเด่นคือ เป็นไม้ต้นขนาดเล็ก สูงไม่เกิน 2 เมตร มีดอกขนาดเล็กที่สุดในสกุล ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 1 เซนติเมตร สีขาวเด่น และเปลี่ยนเป็นสีครีมเมื่อดอกมีอายุมากขึ้น มีกลิ่นหอมปานกลางคล้ายกลิ่นดอกโมก กลีบดอกชั้นในประกบกันเป็นรูปโดม โคนกลีบคอด เผยให้เห็นช่องว่างระหว่างกลีบ ผลเมื่อสุกสีแดงอมส้ม
"พรหมจุฬาภรณ์" หรือ Mitrephora chulabhorniana Damth., Aongyong & Chaowasku
เนื่องจากระบบนิเวศเขาหินปูนนั้นเป็นระบบนิเวศที่เปราะบาง และมักพบสิ่งมีชีวิตที่จำเพาะ กล่าวคือ ไม่พบที่อื่นใดอีก เมื่อถูกคุกคามมีโอกาสสูญพันธุ์สูง เขาหินปูนลูกที่พบต้นพรหมจุฬาภรณ์นี้มีโอกาสถูกคุกคามในอนาคตอันใกล้ เนื่องจากการขยายตัวของสวนยางพาราและสวนปาล์มน้ำมัน หรือแม้กระทั่งการระเบิดหินปูนเพื่อการใช้ประโยชน์ จึงสมควรอย่างยิ่งที่หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง อีกทั้งประชาชนคนไทยทุกคน จักต้องช่วยกันหวงแหนเขาหินปูนในประเทศไทย เพื่ออนุรักษ์ไม่ให้สิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นสูญพันธุ์ไปจากประเทศไทยและจากโลก
นอกจากนี้ยังสามารถใช้เทคโนโลยีชีวภาพ โดยเฉพาะการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช เพื่อช่วยขยายพันธุ์ต้นพรหมจุฬาภรณ์ให้มีจำนวนมากขึ้น และนำไปปลูกอนุรักษ์ไว้ในสวนพฤกษศาสตร์ หรือสถานที่ราชการต่างๆ เป็นการลดโอกาสการสูญพันธุ์ของต้นพรหมจุฬาภรณ์
การค้นพบ “พรหมจุฬาภรณ์” นี้ จัดได้ว่าเป็นงานวิจัยพื้นฐานที่สำคัญยิ่งต่อการพัฒนาต่อยอดในสาขาต่างๆ เปรียบเสมือนกับต้นน้ำที่ค่อยๆไหลไปยังกลางน้ำและปลายน้ำ ซึ่งก็คือการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน ถ้าขาดพื้นฐาน ประเทศชาติย่อมขาดโอกาสในการพัฒนาต่อยอด การพัฒนายารักษาโรคจากพืชสมุนไพร ก็เป็นหนึ่งในแนวทางการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน
โดยพบว่า พืชสกุลมหาพรหมหลายชนิดมีสารเคมีทุติยภูมิที่มีฤทธิ์ต้านมะเร็ง จึงเป็นที่น่าสนใจว่า ต้นพรหมจุฬาภรณ์ก็อาจจะมีสารเคมีทุติยภูมิที่มีฤทธิ์ต้านมะเร็งและอาจพัฒนาเป็นยาต้านมะเร็งได้ในอนาคต แก้ไขข้อมูลเมื่อ 18 Sep 21 04:08
คำสำคัญ:
กลาย