ชื่อสินค้า:
สมุนไพรเถาวัลย์เปรียง
รหัส:
351994
ประเภท:
ราคา:
50.00 บาท
/ชอง
ติดต่อ:
คุณอังศรา ไพฑูรย์
ที่อยู่ร้าน:
อ.เมืองระยอง จ.ระยอง
ร้านนี้ยังไม่มีการแจ้งเลขทะเบียนพานิชย์
เปิดร้านมาแล้ว 7 ปี 8 เดือน
ไอดีไลน์:
โทรศัพท์:
คำเตือน: โปรดตรวจสอบความน่าเชื่อถือของร้าน เพื่อหลีกเลี่ยงการทุจริต การขอชำระเงินปลายทางเมื่อรับสินค้าถือเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ดี
รายละเอียด
เมล็ดชุดละ50บาท ต้น100บาท เถาแห้งกก250บาท สรรพคุณของเถาวัลย์เปรียง
เถาใช้ต้มรับประทานเป็นยาถ่ายกระษัย แก้กระษัย (เถา)
รากมีรสเฝื่อนเมา ใช้เป็นยาอายุวัฒนะ (ราก) ใช้เป็นส่วนประกอบของยาอายุวัฒนะ เพื่อช่วยทำให้ร่างกายแข็งแรง
ตำรับยาไทยใช้รากเป็นยารักษาอาการไข้ (ราก)
ช่วยแก้หวัด แก้ไอ (เถา)
เถาใช้ต้มรับประทานเป็นยาถ่ายเสมหะลงสู่ทวารหนัก แก้เสมหะพิการโดยไม่ทำให้ถ่ายอุจจาระ จึงเหมาะสำหรับผู้ที่เป็นโรคบิด โรคหวัด โรคไอ และใช้ได้ดีในเด็ก (เถา)
ช่วยแก้บิด (เถา)
เถามีรสเฝื่อนเอียน ใช้ต้มรับประทานเป็นยาขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะผิดปกติ แก้ปัสสาวะกะปริดกะปรอย ส่วนรากมีรสเฝื่อนเอียนมีสรรพคุณเป็นยาขับปัสสาวะเช่นกัน (เถา, ราก) และยังมีข้อมูลระบุว่าการใช้สมุนไพรชนิดนี้จะทำให้ปัสสาวะได้บ่อยกว่าปกติ จึงอาจเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยที่เป็นโรคต่อมลูกหมากโตด้วย
เถาใช้ดองกับเหล้าเป็นยาขับระดูของสตรี (เถา)
คนโบราณจะนิยมใช้เถาของเถาวัลย์เปรียงเพื่อเป็นยารักษาอาการตกขาวของสตรี (อาการตกขาวชนิดที่ไม่มีกลิ่น ไม่มีอาการคัน ไม่เปลี่ยนเป็นสีเขียว) (เถ)
เถามีสรรพคุณในการบีบมดลูก (เถา)
ช่วยขับโลหิตเสียของสตรี ด้วยการใช้เถาวัลย์เปรียงทั้งห้าแบบสด ๆ นำมาต้มกับน้ำ แล้วนำน้ำที่ได้มาใช้ดื่มต่างน้ำ (ทั้งห้า)
ช่วยทำให้มดลูกเข้าอู่ ด้วยการใช้เถาสดนำมาทุบให้ยุ่ย แล้ววางทาบลงบนหน้าท้อง แล้วนำหม้อเกลือที่ร้อนมานาบลงไปบนเถาวัลย์เปรียง จะช่วยทำให้มดลูกเข้าอู่ได้เร็วขึ้น (เถา)
บางตำรากล่าวว่าเถามีสรรพคุณเป็นยาบำรุงกำลัง ทำให้มีกำลังดีแข็งแรงสู้ไม่ถอย (เถา)
เถามีรสเฝื่อนเอียน ใช้ต้มรับประทานเป็นยาถ่ายเส้น ทำให้เส้นเอ็นอ่อนและหย่อนดี ช่วยรักษาเส้นเอ็นขอด เส้นเอ็นพิการ แก้อาการปวด ปวดเมื่อย ปวดหลัง ปวดเอว ปวดข้อ ข้ออักเสบ ช่วยรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม แก้อาการอักเสบของกล้ามเนื้อ หรือจะใช้เถานำมาหั่นตากแห้ง คั่วชงน้ำกินต่างน้ำชาเป็นยาทำให้เส้นหย่อน แก้อาการเมื่อยขบตามร่างกาย แก้อาการปวดเมื่อย แก้เหน็บชา (เถา)
มีการใช้เถาเพื่อรักษาโรคอัมพฤกษ์และกระดูกหัก โดยการนำเถามาตำให้เป็นผงผสมกับน้ำมันมะพร้าวหรือน้ำมันหัวครำ แล้วใช้เป็นยาทานวดบริเวณที่เป็นทุกวันจนหาย (เถา)
วิธีใช้สมุนไพรเถาวัลย์เปรียง
ยาแคปซูลที่ได้จากผลของเถาวัลย์เปรียง ใช้เพื่อบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อและลดการอักเสบของกล้ามเนื้อ โดยให้รับประทานหลังอาหารทันทีครั้งละ 500 มิลลิกรัม ถึง 1,000 มิลลิกรัม วันละ 3 ครั้ง[13]
ยาแคปซูลที่สกัดจากเถาวัลย์เปรียงด้วย 50% ของเอทิลแอลกอฮอล์ ใช้เพื่อบรรเทาอาการปวดหลังส่วนล่างและแก้อาการปวดจากข้อเข่าเสื่อม
สมุนไพรเถาวัลย์เปรียง
ข้อควรระวังในการใช้สมุนไพรเถาวัลย์เปรียง
สตรีมีครรภ์ห้ามรับประทานสมุนไพรชนิดนี้
ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับโรคหัวใจยังไม่ควรรับประทานจนกว่าจะมีรายงานความปลอดภัยอย่างแน่ชัด รวมไปถึงผู้ที่เป็นโรคความดันที่รับประทานยาแผนปัจจุบันอยู่ก็ไม่ควรใช้สมุนไพรชนิดนี้ เพราะอาจจะมีผลไปยับยั้งหรือเสริมฤทธิ์ของยาก็เป็นได้ นอกจากจะมีการควบคุมและดูแลอย่างใกล้ชิดจากแพทย์เจ้าของไข้
เถามีสารที่มีฤทธิ์เช่นเดียวกับฮอร์โมนเพศหญิง ดังนั้นจึงควรระมัดระวังหากใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน
ควรระมัดระวังการใช้ในสมุนไพรชนิดนี้ในผู้ป่วยที่เป็นแผลในกระเพาะอาหาร เนื่องจากเถาวัลย์เปรียงมีกลไกการออกฤทธิ์เช่นเดียวกับยาแก้ปวดในกลุ่มยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (Nonsteroidal Anti-Inflammatory Drugs: NSAIDs) และการรับประทานสมุนไพรชนิดนี้อาจทำให้เกิดอาการระคายเคืองต่อระบบทางเดินอาหาร
อาการไม่พึงประสงค์ของการใช้ยาผงจากเถาวัลย์เปรียง คือ คอแห้ง ใจสั่น ปวดท้อง ท้องผูก ปัสสาวะบ่อย ผิวหนังอักเสบ เป็นผื่นจากการแพ้
อาการไม่พึงประสงค์ของการใช้สารสกัดจากเถาของเถาวัลย์เปรียงที่สกัดด้วย 50% เอทิลแอลกอฮอล์ คือ มีอาการเวียนศีรษะ ปวดศีรษะ และอุจจาระเหลว
ประโยชน์ของเถาวัลย์เปรียง
ยอดอ่อน ใบอ่อน ช่อดอก และผลอ่อนของต้นเถาวัลย์เปรียงสามารถนำมารับประทานเป็นผักสดจิ้มกับน้ำพริกได้ โดยมีรสมัน
รากมีรสเฝื่อนเบา มีสารจำพวก Flavonol ที่มีชื่อว่า สคาเดอนิน (Scadeninm) และนันลานิน (Nallanin) ใช้เป็นยาเบื่อปลาได้ แต่ไม่มีคุณสมบัติในการใช้เป็นยาฆ่าแมลง] แต่บ้างก็ว่าใช้เป็นยาฆ่าแมลงได้
เถาวัลย์เปรียงเป็นสมุนไพรที่ถูกนำมาใช้ในสูตรยาอบสมุนไพรเพื่อสุขภาพ โดยนำมาใช้เป็นส่วนประกอบเพิ่มเติมจากสูตรยาอบสมุนไพรหลัก เมื่อต้องการอบเพื่อรักษาอาการปวดเมื่อย ปวดเอว ปวดหลัง
สมุนไพรเถาวัลย์เปรียงสามารถนำมาใช้แทนยาแผนปัจจุบัน "ไดโคลฟีแนค" (Diclofenac) ในการรักษาอาการปวดหลังส่วนล่าง และใช้แทนยาแผนปัจจุบัน "นาโพรเซน" (Naproxen) ในการรักษาอาการอักเสบจากข้อเข่าเสื่อมได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังมีความปลอดภัยสูงและมีผลข้างเคียงน้อยกว่ายาแผนปัจจุบันอีกด้วย แก้ไขข้อมูลเมื่อ 05 Sep 21 11:05
เถาใช้ต้มรับประทานเป็นยาถ่ายกระษัย แก้กระษัย (เถา)
รากมีรสเฝื่อนเมา ใช้เป็นยาอายุวัฒนะ (ราก) ใช้เป็นส่วนประกอบของยาอายุวัฒนะ เพื่อช่วยทำให้ร่างกายแข็งแรง
ตำรับยาไทยใช้รากเป็นยารักษาอาการไข้ (ราก)
ช่วยแก้หวัด แก้ไอ (เถา)
เถาใช้ต้มรับประทานเป็นยาถ่ายเสมหะลงสู่ทวารหนัก แก้เสมหะพิการโดยไม่ทำให้ถ่ายอุจจาระ จึงเหมาะสำหรับผู้ที่เป็นโรคบิด โรคหวัด โรคไอ และใช้ได้ดีในเด็ก (เถา)
ช่วยแก้บิด (เถา)
เถามีรสเฝื่อนเอียน ใช้ต้มรับประทานเป็นยาขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะผิดปกติ แก้ปัสสาวะกะปริดกะปรอย ส่วนรากมีรสเฝื่อนเอียนมีสรรพคุณเป็นยาขับปัสสาวะเช่นกัน (เถา, ราก) และยังมีข้อมูลระบุว่าการใช้สมุนไพรชนิดนี้จะทำให้ปัสสาวะได้บ่อยกว่าปกติ จึงอาจเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยที่เป็นโรคต่อมลูกหมากโตด้วย
เถาใช้ดองกับเหล้าเป็นยาขับระดูของสตรี (เถา)
คนโบราณจะนิยมใช้เถาของเถาวัลย์เปรียงเพื่อเป็นยารักษาอาการตกขาวของสตรี (อาการตกขาวชนิดที่ไม่มีกลิ่น ไม่มีอาการคัน ไม่เปลี่ยนเป็นสีเขียว) (เถ)
เถามีสรรพคุณในการบีบมดลูก (เถา)
ช่วยขับโลหิตเสียของสตรี ด้วยการใช้เถาวัลย์เปรียงทั้งห้าแบบสด ๆ นำมาต้มกับน้ำ แล้วนำน้ำที่ได้มาใช้ดื่มต่างน้ำ (ทั้งห้า)
ช่วยทำให้มดลูกเข้าอู่ ด้วยการใช้เถาสดนำมาทุบให้ยุ่ย แล้ววางทาบลงบนหน้าท้อง แล้วนำหม้อเกลือที่ร้อนมานาบลงไปบนเถาวัลย์เปรียง จะช่วยทำให้มดลูกเข้าอู่ได้เร็วขึ้น (เถา)
บางตำรากล่าวว่าเถามีสรรพคุณเป็นยาบำรุงกำลัง ทำให้มีกำลังดีแข็งแรงสู้ไม่ถอย (เถา)
เถามีรสเฝื่อนเอียน ใช้ต้มรับประทานเป็นยาถ่ายเส้น ทำให้เส้นเอ็นอ่อนและหย่อนดี ช่วยรักษาเส้นเอ็นขอด เส้นเอ็นพิการ แก้อาการปวด ปวดเมื่อย ปวดหลัง ปวดเอว ปวดข้อ ข้ออักเสบ ช่วยรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม แก้อาการอักเสบของกล้ามเนื้อ หรือจะใช้เถานำมาหั่นตากแห้ง คั่วชงน้ำกินต่างน้ำชาเป็นยาทำให้เส้นหย่อน แก้อาการเมื่อยขบตามร่างกาย แก้อาการปวดเมื่อย แก้เหน็บชา (เถา)
มีการใช้เถาเพื่อรักษาโรคอัมพฤกษ์และกระดูกหัก โดยการนำเถามาตำให้เป็นผงผสมกับน้ำมันมะพร้าวหรือน้ำมันหัวครำ แล้วใช้เป็นยาทานวดบริเวณที่เป็นทุกวันจนหาย (เถา)
วิธีใช้สมุนไพรเถาวัลย์เปรียง
ยาแคปซูลที่ได้จากผลของเถาวัลย์เปรียง ใช้เพื่อบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อและลดการอักเสบของกล้ามเนื้อ โดยให้รับประทานหลังอาหารทันทีครั้งละ 500 มิลลิกรัม ถึง 1,000 มิลลิกรัม วันละ 3 ครั้ง[13]
ยาแคปซูลที่สกัดจากเถาวัลย์เปรียงด้วย 50% ของเอทิลแอลกอฮอล์ ใช้เพื่อบรรเทาอาการปวดหลังส่วนล่างและแก้อาการปวดจากข้อเข่าเสื่อม
สมุนไพรเถาวัลย์เปรียง
ข้อควรระวังในการใช้สมุนไพรเถาวัลย์เปรียง
สตรีมีครรภ์ห้ามรับประทานสมุนไพรชนิดนี้
ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับโรคหัวใจยังไม่ควรรับประทานจนกว่าจะมีรายงานความปลอดภัยอย่างแน่ชัด รวมไปถึงผู้ที่เป็นโรคความดันที่รับประทานยาแผนปัจจุบันอยู่ก็ไม่ควรใช้สมุนไพรชนิดนี้ เพราะอาจจะมีผลไปยับยั้งหรือเสริมฤทธิ์ของยาก็เป็นได้ นอกจากจะมีการควบคุมและดูแลอย่างใกล้ชิดจากแพทย์เจ้าของไข้
เถามีสารที่มีฤทธิ์เช่นเดียวกับฮอร์โมนเพศหญิง ดังนั้นจึงควรระมัดระวังหากใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน
ควรระมัดระวังการใช้ในสมุนไพรชนิดนี้ในผู้ป่วยที่เป็นแผลในกระเพาะอาหาร เนื่องจากเถาวัลย์เปรียงมีกลไกการออกฤทธิ์เช่นเดียวกับยาแก้ปวดในกลุ่มยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (Nonsteroidal Anti-Inflammatory Drugs: NSAIDs) และการรับประทานสมุนไพรชนิดนี้อาจทำให้เกิดอาการระคายเคืองต่อระบบทางเดินอาหาร
อาการไม่พึงประสงค์ของการใช้ยาผงจากเถาวัลย์เปรียง คือ คอแห้ง ใจสั่น ปวดท้อง ท้องผูก ปัสสาวะบ่อย ผิวหนังอักเสบ เป็นผื่นจากการแพ้
อาการไม่พึงประสงค์ของการใช้สารสกัดจากเถาของเถาวัลย์เปรียงที่สกัดด้วย 50% เอทิลแอลกอฮอล์ คือ มีอาการเวียนศีรษะ ปวดศีรษะ และอุจจาระเหลว
ประโยชน์ของเถาวัลย์เปรียง
ยอดอ่อน ใบอ่อน ช่อดอก และผลอ่อนของต้นเถาวัลย์เปรียงสามารถนำมารับประทานเป็นผักสดจิ้มกับน้ำพริกได้ โดยมีรสมัน
รากมีรสเฝื่อนเบา มีสารจำพวก Flavonol ที่มีชื่อว่า สคาเดอนิน (Scadeninm) และนันลานิน (Nallanin) ใช้เป็นยาเบื่อปลาได้ แต่ไม่มีคุณสมบัติในการใช้เป็นยาฆ่าแมลง] แต่บ้างก็ว่าใช้เป็นยาฆ่าแมลงได้
เถาวัลย์เปรียงเป็นสมุนไพรที่ถูกนำมาใช้ในสูตรยาอบสมุนไพรเพื่อสุขภาพ โดยนำมาใช้เป็นส่วนประกอบเพิ่มเติมจากสูตรยาอบสมุนไพรหลัก เมื่อต้องการอบเพื่อรักษาอาการปวดเมื่อย ปวดเอว ปวดหลัง
สมุนไพรเถาวัลย์เปรียงสามารถนำมาใช้แทนยาแผนปัจจุบัน "ไดโคลฟีแนค" (Diclofenac) ในการรักษาอาการปวดหลังส่วนล่าง และใช้แทนยาแผนปัจจุบัน "นาโพรเซน" (Naproxen) ในการรักษาอาการอักเสบจากข้อเข่าเสื่อมได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังมีความปลอดภัยสูงและมีผลข้างเคียงน้อยกว่ายาแผนปัจจุบันอีกด้วย แก้ไขข้อมูลเมื่อ 05 Sep 21 11:05
คำสำคัญ:
ต้นสมุนไพร