ค้นหาสินค้า

เล็งเก็ง

ร้าน สวนไม้ไซเบอร์
เล็งเก็ง
เล็งเก็ง
ชื่อสินค้า:

เล็งเก็ง

รหัส:
351848
ราคา:
260.00 บาท /ต้น
ติดต่อ:
คุณเสน่หานานาพันธุ์ ติดต่อ คุณปัท
ที่อยู่ร้าน:
จ.สมุทรปราการ
ร้านนี้ยังไม่มีการแจ้งเลขทะเบียนพานิชย์ เปิดร้านมาแล้ว 3 ปี 5 เดือน
โทรศัพท์:
ปุ่มติดต่อ:
โทรศัพท์
คำเตือน: โปรดตรวจสอบความน่าเชื่อถือของร้าน เพื่อหลีกเลี่ยงการทุจริต การขอชำระเงินปลายทางเมื่อรับสินค้าถือเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ดี
รายละเอียด
ขอแนะนำ 1 ในพันธุ์ไม้ใกล้สูญพันธุ์ ควรค่าแก่การอนุรักษ์ นางมีชื่อว่า เล็งเก็ง หรือ ยี่หุบเบตง
ราคา 260 บาท ค่าจัดส่ง 65 บาท
เล็งเก็ง (ยี่หุบเบตง) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Magnolia betongensis (Craib) H.Keng วงศ์จำปี
ชื่อว่า "เล็งเก็ง" ก็บ่งบอกได้เป็นอย่างดีถึงความเป็นพรรณไม้พื้นถิ่นของปักษ์ใต้ เนื่องจากคำนี้เป็นชื่อที่ชาวมุสลิมชายแดนไทย-มาเลเซียใช้เรียกพรรณไม้ชนิดหนึ่งในวงศ์จำปา ซึ่งมีการกระจายพันธุ์อยู่ในจังหวัดสงขลา ตรัง พัทลุง สตูล ปัตตานี ยะลา และนราธิวาสไปจนถึงตอนเหนือของประเทศมาเลเซีย
เล็งเก็ง (ยี่หุบเบตง) ไม้ดอกหอมพื้นเมืองของไทย ดอกใหญ่สวย มีกลิ่นหอมแรง
เป็นพรรณไม้ที่มีความใกล้ชิดกับมณฑาป่าและมณฑาดอย ด้วยมีลักษณะของดอกคล้ายคลึงกัน วิธีสังเกตความแตกต่างให้ดูที่กลีบดอกชั้นนอก ซึ่งหากเป็นเล็งเก็งกลีบดอกจะบางกว่าและมีสีเขียวอ่อน
ขณะที่มณฑาป่าและมณฑาดอยกลีบดอกชั้นนอกมีสีม่วงแดง และหากสังเกตที่ใบจะพบว่า ปลายใบของเล็งเก็งเป็นรูปไข่กลับ ส่วนปลายใบของมณฑาป่าและมณฑาดอยจะเรียวแหลม
เล็งเก็งเป็นไม้พื้นเมืองของไทยที่ชอบอากาศร้อนชื้น ทรงพุ่มสวยงาม มีดอกขนาดใหญ่ และส่งกลิ่นหอมแรง โดยจะเริ่มส่งกลิ่นหอมตั้งแต่ดอกแรกแย้มในช่วงพลบค่ำ และสามารถส่งกลิ่นหอมไปไกลแม้กลีบดอกจะร่วงลงสู่โคนต้นจนหมดแล้ว จึงเหมาะแก่การปลูกเป็นไม้ประดับ
แต่ด้วยข้อจำกัดที่เล็งเก็งเป็นพรรณไม้หายากเพราะมีการกระจายพันธุ์ต่ำ อันเนื่องมาจากขณะที่เป็นผลอ่อนจะมีผีเสื้อกลางคืนเจาะผลเข้าไปวางไข่ในเมล็ดอ่อน
เมื่อไข่ฟักเป็นตัวอ่อนก็จะกัดกินเมล็ดอ่อนจนเมล็ดเสียหายเกือบทั้งหมด ไม่มีเมล็ดแก่ที่สมบูรณ์พอจะงอกเป็นต้นใหม่ได้ เป็นเหตุให้เล็งเก็งมีจำนวนต้นอยู่ในถิ่นกำเนิดน้อยมาก จนมีสภาพเป็นพรรณไม้หายาก ใกล้จะสูญพันธุ์
ด้วยความมุ่งมั่นพยายามที่จะขยายพันธุ์เล็งเก็ง ของโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
นักวิจัยจึงได้เฝ้าเก็บผลแก่ของเล็งเก็งนำมาขยายพันธุ์เพาะเป็นต้นกล้า แล้วนำออกไปปลูกในพื้นที่อื่นๆ ที่มีสภาพเป็นป่าดิบชื้นคล้ายคลึงกับแหล่งกำเนิดเดิม
ประกอบกับการที่เล็งเก็งเป็นพรรณไม้ที่มีดอกหอมและสวยงาม จึงได้รับความนิยมปลูกเป็นไม้ดอกหอม จนมีจำนวนต้นเพิ่มมากขึ้นและพ้นสภาพจากการเป็นพรรณไม้หายากแล้ว ถึงแม้ว่าการขยายพันธุ์โดยวิธีอื่นๆ จะยังไม่ประสบความสำเร็จก็ตาม แก้ไขข้อมูลเมื่อ 29 Aug 21 01:58
คำสำคัญ: ยี่หุบ