ชื่อสินค้า:
ต้นอบเชยไทย
รหัส:
346730
ประเภท:
ราคา:
200.00 บาท
/ต้น
ติดต่อ:
คุณปุณณภา งานสำเร็จ
ที่อยู่ร้าน:
อ.เมืองนครราชสีมา จ.นครราชสีมา
ร้านนี้ยังไม่มีการแจ้งเลขทะเบียนพานิชย์
เปิดร้านมาแล้ว 14 ปี 3 เดือน
ไอดีไลน์:
โทรศัพท์:
คำเตือน: โปรดตรวจสอบความน่าเชื่อถือของร้าน เพื่อหลีกเลี่ยงการทุจริต การขอชำระเงินปลายทางเมื่อรับสินค้าถือเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ดี
รายละเอียด
ต้นอบเชยไทย พันธุ์ไม้ประจำจังหวัดระนอง
อบเชยต้น (เชียด)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cinnamomum iners Reinw. ex Blume
ชื่อสามัญ : Cinnamon
วงศ์ : Lauraceae
ชื่ออื่น : กระแจะโมง กะเชียด กะทังนั้น (ยะลา) กระดังงา (กาญจนบุรี) กะพังหัน โกเล่ เนอม้า (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี) เขียด เคียด เฉียด ชะนุต้น (ภาคใต้) มหาปราบตัวผู้ อบเชย อบเชยต้น (ภาคกลาง) ดิ๊กซี่สอ (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่) บอกคอก (ลำปาง) ฝักดาบ (พิษณุโลก) พญาปราบ (นครราชสีมา) สะวง (ปราจีนบุรี) อบเชยไทย
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของอบเชยต้น
อบเชยมีอยู่หลายชนิดซึ่งคุณภาพแตกต่างกันไป ตามสถานที่ปลูกหรือแหล่งผลิต ส่วนที่นำมาใช้เช่นเปลือกของใบและกิ่งก้าน แต่สรรพคุณทางยาจะใช้เหมือนกันหมด
‘อบเชยเทศ’ หรือที่คนไทยเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า อบเชยศรีลังกา มีราคาแพงที่สุดเป็นมีลักษณะไม้ยืนต้นขนาดเล็กไม่ผลัดใบ เปลือกลำต้นมีสีเทาและหนา กิ่งขนานกับพื้นและตั้งชันขึ้น ใบเป็นใบเดี่ยวออกสลับกันตามลำต้น ลักษณะใบคล้ายรูปไข่ ปลายใบแหลม มีเส้นใบ 3 เส้น ดอกออกเป็นช่อตามปลายกิ่ง ดอกขนาดเล็กสีเหลืองมีกลิ่นหอม ผลมีสีดำคล้ายรูปไข่
‘อบเชยจีน’ เป็นไม้ยืนต้น มีความสูงและขนาดของลำต้นมากกว่าอบเชยเทศ มีเปลือกหนาหยาบกว่า และสีเข้มกว่าอบเชยเทศเช่นกัน ใบมีลักษณะคล้ายรูปหอก เป็นมันสีเขียวเข้ม ออกดอกเป็นช่อ ดอกมีขนาดเล็ก มีขนอ่อน ๆ ที่ก้านดอก เนื้อผลนิ่ม กลิ่นหอมฉุน มีรสขมเล็กน้อย
‘อบเชยญวน’เป็นไม้ยืนต้น ซึ่งมีลักษณะลำต้นคล้ายคลึงกับอบเชยจีนมาก ใบเป้นใบเดี่ยวค่อนข้างบาง รูปร่างยาวเรียว ปลายใบแหลม ดอกและผลมีขนาดเล็ก มีรสหวาน แต่มีกลิ่นหอมไม่เท่ากับอบเชยเทศ ปลูกได้ดีมากในประเทศไทย และประเทศไทยเราส่งออกอบเชยชนิดนี้
‘อบเชยชวา’ หรือ อบเชยอินโดนีเซีย เป็นไม้ยืนต้นที่ใหญ่กว่าอบเชยที่กล่าวมาแล้วทั้งหมด เป้นอบเชยที่วางจำหน่ายตามท้องตลาดทั่วไป แต่นิยมเรียกกันว่าอบเชยเทศ ใบยาวเรียว ปลายใบแหลม ดอกและผลมีขนาดเล็ก มีกลิ่นหอมแต่น้อยกว่าอบเชยเทศ
ส่วน อบเชยต้น(เชียด) หรือ อบเชยไทย นั้น เป็นไม้ต้นที่มีใบและเปลือกหอม ลักษณะใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม เมื่อขยี้ใบจะมีกลิ่นหอม ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง มีสีเหลืองอ่อนหรือเขียวอ่อน เหม็น กลีบรวมชั้นนอก 3 กลีบ คล้ายกลีบเลี้ยง กลีบรวมชั้นใน 3 กลีบ แยกกันแต่ติดตรงโคน ผลสด แก่สีม่วงดำ
อบเชยต้น หรือ อบเชยไทย เป็นอบเชย สายพันธุ์ไทย พบมากที่สุดทางภาคเหนือของไทย และอบเชยต้น เปลือกต้นจะมีความหนาและแข็งกว่าอบเชยต้นที่นำเข้าจากญวน, อินเดีย และจีนมาก
ส่วนที่ใช้ : อบเชยมีหลายชนิดซึ่งคุณภาพแตกต่างกันไป ตามสถานที่ปลูกหรือแหล่งผลิต ส่วนที่นำมาใช้คือเปลือกของใบและกิ่งก้าน
สรรพคุณและวิธีใช้
อบเชยมีฤทธิ์อุ่นร้อน มีรสหอมหวาน ช่วยขับเหงื่อ ให้ความสดชื่น แก้อาการอ่อนเพลีย น้ำมันอบเชยเทศใช้เป็นส่วนผสมในยาขับลม แก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อราและเชื้อจุลินทรีย์ แต่มีผลข้างเคียงคือก่อให้เกิดความระคายเคืองมากกว่าน้ำมันอบเชยเทศ
เปลือก
- หอมหวาน บำรุงดวงจิต แก้อ่อนเพลัน ทำให้มีกำลัง ขับผายลม
- เปลือกต้ม หรือทำเป็นผง แก้โรคหนองในและแก้โทษน้ำคาวปลา
- ใช้เป็นยานัตถุ์ แก้ปวดศีรษะ ปรุงรับประทานเป็นยาบำรุงกำลัง และปรุงเป็นยาแก้บิด และไข้สันนิบาต
ใบ – เป็นสมุนไพรหอม ปรุงเป็นยาหอม แก้ลมวิงเวียนและจุกเสียดแน่นและลงท้อง เป็นยาบำรุงกำลัง และบำรุงธาตุ
รากกับใบ – ต้มน้ำรับประทาน แก้ไข้เนื่องจากความอักเสบของสตรีที่คลอดบุตรใหม่ๆ
ข้อควรสังเกต/ข้อควรระวัง
1. ใบของต้นอบเชยบางชนิดที่นำมาใช้เป็นส่วนผสมของเครื่องแกง นิยมเรียกกันว่า ใบกระวาน
2. ผู้ที่มีปัสสาวะเป็นเลือด ปัสสาวะขัด เป็นโรคริดสีดวง อุจจาระแข้งแห้ง และหญิงมีครรถ์ไม่ควรรับประทานอบเชย แก้ไขข้อมูลเมื่อ 05 May 21 01:37
อบเชยต้น (เชียด)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cinnamomum iners Reinw. ex Blume
ชื่อสามัญ : Cinnamon
วงศ์ : Lauraceae
ชื่ออื่น : กระแจะโมง กะเชียด กะทังนั้น (ยะลา) กระดังงา (กาญจนบุรี) กะพังหัน โกเล่ เนอม้า (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี) เขียด เคียด เฉียด ชะนุต้น (ภาคใต้) มหาปราบตัวผู้ อบเชย อบเชยต้น (ภาคกลาง) ดิ๊กซี่สอ (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่) บอกคอก (ลำปาง) ฝักดาบ (พิษณุโลก) พญาปราบ (นครราชสีมา) สะวง (ปราจีนบุรี) อบเชยไทย
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของอบเชยต้น
อบเชยมีอยู่หลายชนิดซึ่งคุณภาพแตกต่างกันไป ตามสถานที่ปลูกหรือแหล่งผลิต ส่วนที่นำมาใช้เช่นเปลือกของใบและกิ่งก้าน แต่สรรพคุณทางยาจะใช้เหมือนกันหมด
‘อบเชยเทศ’ หรือที่คนไทยเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า อบเชยศรีลังกา มีราคาแพงที่สุดเป็นมีลักษณะไม้ยืนต้นขนาดเล็กไม่ผลัดใบ เปลือกลำต้นมีสีเทาและหนา กิ่งขนานกับพื้นและตั้งชันขึ้น ใบเป็นใบเดี่ยวออกสลับกันตามลำต้น ลักษณะใบคล้ายรูปไข่ ปลายใบแหลม มีเส้นใบ 3 เส้น ดอกออกเป็นช่อตามปลายกิ่ง ดอกขนาดเล็กสีเหลืองมีกลิ่นหอม ผลมีสีดำคล้ายรูปไข่
‘อบเชยจีน’ เป็นไม้ยืนต้น มีความสูงและขนาดของลำต้นมากกว่าอบเชยเทศ มีเปลือกหนาหยาบกว่า และสีเข้มกว่าอบเชยเทศเช่นกัน ใบมีลักษณะคล้ายรูปหอก เป็นมันสีเขียวเข้ม ออกดอกเป็นช่อ ดอกมีขนาดเล็ก มีขนอ่อน ๆ ที่ก้านดอก เนื้อผลนิ่ม กลิ่นหอมฉุน มีรสขมเล็กน้อย
‘อบเชยญวน’เป็นไม้ยืนต้น ซึ่งมีลักษณะลำต้นคล้ายคลึงกับอบเชยจีนมาก ใบเป้นใบเดี่ยวค่อนข้างบาง รูปร่างยาวเรียว ปลายใบแหลม ดอกและผลมีขนาดเล็ก มีรสหวาน แต่มีกลิ่นหอมไม่เท่ากับอบเชยเทศ ปลูกได้ดีมากในประเทศไทย และประเทศไทยเราส่งออกอบเชยชนิดนี้
‘อบเชยชวา’ หรือ อบเชยอินโดนีเซีย เป็นไม้ยืนต้นที่ใหญ่กว่าอบเชยที่กล่าวมาแล้วทั้งหมด เป้นอบเชยที่วางจำหน่ายตามท้องตลาดทั่วไป แต่นิยมเรียกกันว่าอบเชยเทศ ใบยาวเรียว ปลายใบแหลม ดอกและผลมีขนาดเล็ก มีกลิ่นหอมแต่น้อยกว่าอบเชยเทศ
ส่วน อบเชยต้น(เชียด) หรือ อบเชยไทย นั้น เป็นไม้ต้นที่มีใบและเปลือกหอม ลักษณะใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม เมื่อขยี้ใบจะมีกลิ่นหอม ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง มีสีเหลืองอ่อนหรือเขียวอ่อน เหม็น กลีบรวมชั้นนอก 3 กลีบ คล้ายกลีบเลี้ยง กลีบรวมชั้นใน 3 กลีบ แยกกันแต่ติดตรงโคน ผลสด แก่สีม่วงดำ
อบเชยต้น หรือ อบเชยไทย เป็นอบเชย สายพันธุ์ไทย พบมากที่สุดทางภาคเหนือของไทย และอบเชยต้น เปลือกต้นจะมีความหนาและแข็งกว่าอบเชยต้นที่นำเข้าจากญวน, อินเดีย และจีนมาก
ส่วนที่ใช้ : อบเชยมีหลายชนิดซึ่งคุณภาพแตกต่างกันไป ตามสถานที่ปลูกหรือแหล่งผลิต ส่วนที่นำมาใช้คือเปลือกของใบและกิ่งก้าน
สรรพคุณและวิธีใช้
อบเชยมีฤทธิ์อุ่นร้อน มีรสหอมหวาน ช่วยขับเหงื่อ ให้ความสดชื่น แก้อาการอ่อนเพลีย น้ำมันอบเชยเทศใช้เป็นส่วนผสมในยาขับลม แก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อราและเชื้อจุลินทรีย์ แต่มีผลข้างเคียงคือก่อให้เกิดความระคายเคืองมากกว่าน้ำมันอบเชยเทศ
เปลือก
- หอมหวาน บำรุงดวงจิต แก้อ่อนเพลัน ทำให้มีกำลัง ขับผายลม
- เปลือกต้ม หรือทำเป็นผง แก้โรคหนองในและแก้โทษน้ำคาวปลา
- ใช้เป็นยานัตถุ์ แก้ปวดศีรษะ ปรุงรับประทานเป็นยาบำรุงกำลัง และปรุงเป็นยาแก้บิด และไข้สันนิบาต
ใบ – เป็นสมุนไพรหอม ปรุงเป็นยาหอม แก้ลมวิงเวียนและจุกเสียดแน่นและลงท้อง เป็นยาบำรุงกำลัง และบำรุงธาตุ
รากกับใบ – ต้มน้ำรับประทาน แก้ไข้เนื่องจากความอักเสบของสตรีที่คลอดบุตรใหม่ๆ
ข้อควรสังเกต/ข้อควรระวัง
1. ใบของต้นอบเชยบางชนิดที่นำมาใช้เป็นส่วนผสมของเครื่องแกง นิยมเรียกกันว่า ใบกระวาน
2. ผู้ที่มีปัสสาวะเป็นเลือด ปัสสาวะขัด เป็นโรคริดสีดวง อุจจาระแข้งแห้ง และหญิงมีครรถ์ไม่ควรรับประทานอบเชย แก้ไขข้อมูลเมื่อ 05 May 21 01:37
คำสำคัญ:
อบเชย
พันธุ์ไม้หายาก